ในเดือนที่ผ่านมา นักลงทุนในประเทศไทย ต่างก็รู้สึกร้อนๆหนาวๆไปตามๆกัน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นเดือนจนถึงปลายเดือน โดยสาเหตุหลักก็คือปัญหาวิกฤตการเงิน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก...สิ่งที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมกองทุนรวมเช่นกัน ซึ่งวันนี้ มีรายงานของ "ลิปเปอร์" ล่าสุดถึงภาพรวมการลงทุนในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า มีอะไรเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ลิปเปอร์รายงานว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในเดือนตุลาคมนั้น ต้องเผชิญกับทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ จากการปะทะอย่างรุนแรงกันระหว่างตำรวจและผู้ต่อต้านรัฐบาลในวันที่ 7 ตุลาคม รวมถึงปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกฉุดให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งเหว และส่งผลถึงการลงทุนตลาดหุ้นไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมนี้ตลาดหุ้นไทยต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit breaker) ถึง 2 ครั้ง คือ วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปรับลงตามตลาดต่างประเทศจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ที่มีจุดเริ่มมาจากเกิดวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐฯ
และต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม เนื่องจากตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นภูมิภาค หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆประกาศออกมาไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ ตลาดหุ้นไทยได้ลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 383.63 จุด ในวันที่ 28 ตุลาคมก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวมาปิดที่ 416.53 จุด หรือลดลงร้อยละ 30.18 ในวันที่ 31 ตุลาคม หลังจากที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกู้วิกฤติเศรษฐกิจ
ขณะที่การปรับตัวลงลดของตลาดหุ้นไทย เป็นผลจากการเทขายของของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ขายสุทธิติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยในเดือนตุลาคมได้ขายสุทธิจำนวน 1.58 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปี นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 1.4 แสนล้านบาท และนักลงทุนสถาบันขายสุทธิเล็กน้อยจำนวน 656 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยยังคงซื้อสุทธิจำนวน 1.63 หมื่นล้านบาท
และผลของวิกฤติการเงินครั้งนี้ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมากถึงร้อยละ 6.87 เทียบกับค่าเงินบาท โดยเฉพาะค่าเงินเหรียญออสเตรเลียร่วงลงไปกว่าร้อยละ 15.35 ภายใน 1 เดือน ขณะที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และค่าเงินเยนกลับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.52 และ 10.62 เมื่อเทียบกับค่าเงินบาท
สำหรับภาพรวมการลงทุนในกองทุนรวม พบว่า จากการร่วงลงของราคาสินทรัพย์ทั่วโลกส่งผลให้กองทุนรวมประเภทต่างๆมีผลตอบแทนติบลบ โดยเฉพาะกองทุนรวมหุ้น (Equity funds) ที่ขาดทุนไปกว่าร้อยละ 24.56 ในเดือนตุลาคม รองลงมา ได้แก่ กองทุนรวมผสม (Mixed assets funds) ขาดทุนร้อยละ 16.29 ตามการร่วงลงของตลาดหุ้น ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ (Bond funds) และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market funds) ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำก็ขาดทุนเล็กน้อยร้อยละ 2.28 และ 0.64 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยนจากกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่กองทุนประเภทอื่นๆ มีผลตอบแทนลดลงร้อยละ 8.83 ตามการขาดทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities funds) และตามราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากกว่าร้อยละ 35 ภายใน 1 เดือน
ทางด้าน กองทุนรวมหุ้น ในเดือนตุลาคมได้รับผลกระทบหนักจากการดิ่งลงของทั้งดัชนีตลาดหุ้น ส่งผลให้กองทุนรวมหุ้นมีผลตอบแทนติดลบทุกกอง โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIFs) ได้รับผลลบจากทั้งราคาหุ้นต่างประเทศที่ร่วงลงมากเนื่องจากมีแรงเทขายออกมามาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนในประเทศกำลังเกิดใหม่ทั่วโลก ทั้งเอเชียและยุโรป และกลุ่มที่ลงทุนภาคทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน
โดย กองทุนรวมหุ้นที่ขาดทุนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ขาดทุนสูงถึงร้อยละ 40.77 ในหนึ่งเดือน รองลงมาได้แก่ กองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ขาดทุนร้อยละ 39.66 และเป็นกองทุนรวมหุ้นที่ขาดทุนนับตั้งแต่ต้นปีสูงที่สุดที่ร้อยละ 68.69 ซึ่งได้รับผลลบจากการปรับลดลงของทั้งตลาดหุ้นจีน บราซิล และรัสเซีย ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในเดือนตุลาคม ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท ไฟแนนเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 6.14 ตามมาด้วย กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล สมาร์ท ฟันด์ และกองทุนเปิดเอสซีไอ โกลบอล เฮลธ์แคร์ ซึ่งขาดทุนร้อยละ 12.32 และ 12.87 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศ (Equity Thailand) ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิด อเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น มีผลตอบแทนติดลบร้อยละ 16.78
ส่วนกองทุนรวมตราสารหนี้ ผลจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าในการประชุมธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ แต่ก็ทำให้**อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยฯ อายุ 10 ปี ได้ปรับลดลง 58 basis points มาอยู่ที่ร้อยละ 3.95 ขณะที่ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯพบว่าผลตอบแทนพันธบัตรในระยะสั้นได้ปรับลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับสูงขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่ผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ (Bond funds) ในเดือนตุลาคม โดยเฉพาะกองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศพบว่ามีความผันผวนสูงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก โดย กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก (Bond Global) ขาดทุนเฉลี่ยร้อยละ 3.89 และกองทุนรวมตราสารหนี้สกุลเงินเกาหลี (Bond KRW) ที่เป็นที่นิยมในอดีต ขาดทุนเฉลี่ยร้อยละ 4.85 ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 เนื่องจากได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง
โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 กองแรกในเดือนตุลาคมเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มกองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พลัส และกลุ่มกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน เนื่องจากได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนตุลาคม ได้แก่ กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศเกิดใหม่ (Bond Emerging Markets Global) อย่าง กองทุนรวมพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์)อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตบอนด์ฟันด์ และกองทุนเปิดอเบอร์ดีนอีเมอร์จิ้งออพพอร์ทูนิตี้ส์บอนด์ฟันด์ ที่ขาดทุนร้อยละ 20.14 และ 20.30 ตามลำดับ
ภาพรวมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ พบว่า กองทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนตุลาคม เป็นของกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนภายในประเทศเป็นหลักซึ่งได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรภายในประเทศที่ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา อาทิอย่าง ธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 1.36 และ 1.27 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนตุลาคมตกเป็นของกองทุนรวมหุ้นที่เน้นลงทุนในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ (Big-Cap) ซึ่งปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา อาทิ กองทุนเปิดอยุธยา SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดเค หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ขาดทุนร้อยละ 30.81 และ 31.43 ตามลำดับ
ส่วน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว มีการปรับลดลงอย่างหนักของตลาดหุ้นไทยในเดือนตุลาคม โดยดัชนี SET TR และ SET 50 CR ดิ่งลงไปร้อยละ 30.10 และ 30.79 ตามลำดับฉุดให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ร่วงลงและขาดทุนตามไปด้วย ยกเว้นกองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว ที่ปิดความเสี่ยงของตลาดโดยตราสารอนุพันธ์ (Derivative) และทำให้มีผลตอบแทนเป็นบวกร้อยละ 4.21 กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนรองลงมา ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ขาดทุนร้อยละ 8.91 และ 16.83 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด ได้แก่ กองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผลกองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยา SET50 และกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นระยะยาว SET50 ซึ่งเน้นลงทุนในกลุ่ม Big-Cap ขาดทุนร้อยละ -30.79, -30.37 และ -30.34 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนจะปรับตัวดีขึ้น ภายหลังจากได้รับแรงสนับสนุนจากการที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็**ต้องยอมรับว่าภาวะรวมของตลาดและความเสี่ยงยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะสิ่งที่นักลงทุนกำลังจับจ้องอยู่ คือ นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ **ภายหลังจากที่นายโอบามาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีหน้าตาอย่างไร และนโยบายดังกล่าวจะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯที่เข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นสามารถฟื้นตัวกลับมาได้หรือไม่
ปัจจุบันเครื่องชี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯต่างๆ ก็มีทิศทางที่ไม่น่าไว้ใจนักทั้งอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น และตัวเลขผลประกอบการภาคธุรกิจที่ชะลอตัวลงมาก ดังนั้นแม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจะช่วยลดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศเริ่มผ่อนคลายลงแล้ว แต่ ปัจจัยภายนอกประเทศก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง นักลงทุนจึงควรให้ความระมัดระวังการลงทุน แนวทางการลงทุนแบบ Conservative เช่น ลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ภาครัฐภายในประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำยังคงเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ขณะที่การลงทุนแบบ Dollar cost average ก็เป็นการลงทุนอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ยังมีส่วนลดสูงซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเกิดวิกฤติความเชื่อมั่น และเมื่อปัญหาต่างๆคลี่คลายราคาสินทรัพย์ก็จะกลับสู่ภาวะปกติแต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวพอสมควร จึงเหมาะสมกับนักลงทุนในระยะยาวเป็นหลัก
ที่มา : ลิปเปอร์
ลิปเปอร์รายงานว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในเดือนตุลาคมนั้น ต้องเผชิญกับทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ จากการปะทะอย่างรุนแรงกันระหว่างตำรวจและผู้ต่อต้านรัฐบาลในวันที่ 7 ตุลาคม รวมถึงปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกฉุดให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งเหว และส่งผลถึงการลงทุนตลาดหุ้นไทยอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเดือนตุลาคมนี้ตลาดหุ้นไทยต้องหยุดการซื้อขายชั่วคราว (Circuit breaker) ถึง 2 ครั้ง คือ วันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหุ้นไทยปรับลงตามตลาดต่างประเทศจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย ที่มีจุดเริ่มมาจากเกิดวิกฤติสถาบันการเงินในสหรัฐฯ
และต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม เนื่องจากตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปรับตัวลงอย่างรุนแรงของตลาดหุ้นภูมิภาค หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆประกาศออกมาไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ ตลาดหุ้นไทยได้ลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 383.63 จุด ในวันที่ 28 ตุลาคมก่อนที่จะสามารถฟื้นตัวมาปิดที่ 416.53 จุด หรือลดลงร้อยละ 30.18 ในวันที่ 31 ตุลาคม หลังจากที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกู้วิกฤติเศรษฐกิจ
ขณะที่การปรับตัวลงลดของตลาดหุ้นไทย เป็นผลจากการเทขายของของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งได้ขายสุทธิติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยในเดือนตุลาคมได้ขายสุทธิจำนวน 1.58 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้นับตั้งแต่ต้นปี นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 1.4 แสนล้านบาท และนักลงทุนสถาบันขายสุทธิเล็กน้อยจำนวน 656 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยยังคงซื้อสุทธิจำนวน 1.63 หมื่นล้านบาท
และผลของวิกฤติการเงินครั้งนี้ ส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงมากถึงร้อยละ 6.87 เทียบกับค่าเงินบาท โดยเฉพาะค่าเงินเหรียญออสเตรเลียร่วงลงไปกว่าร้อยละ 15.35 ภายใน 1 เดือน ขณะที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และค่าเงินเยนกลับแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.52 และ 10.62 เมื่อเทียบกับค่าเงินบาท
สำหรับภาพรวมการลงทุนในกองทุนรวม พบว่า จากการร่วงลงของราคาสินทรัพย์ทั่วโลกส่งผลให้กองทุนรวมประเภทต่างๆมีผลตอบแทนติบลบ โดยเฉพาะกองทุนรวมหุ้น (Equity funds) ที่ขาดทุนไปกว่าร้อยละ 24.56 ในเดือนตุลาคม รองลงมา ได้แก่ กองทุนรวมผสม (Mixed assets funds) ขาดทุนร้อยละ 16.29 ตามการร่วงลงของตลาดหุ้น ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ (Bond funds) และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money market funds) ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำก็ขาดทุนเล็กน้อยร้อยละ 2.28 และ 0.64 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยนจากกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ขณะที่กองทุนประเภทอื่นๆ มีผลตอบแทนลดลงร้อยละ 8.83 ตามการขาดทุนของกองทุนรวมสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities funds) และตามราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมากกว่าร้อยละ 35 ภายใน 1 เดือน
ทางด้าน กองทุนรวมหุ้น ในเดือนตุลาคมได้รับผลกระทบหนักจากการดิ่งลงของทั้งดัชนีตลาดหุ้น ส่งผลให้กองทุนรวมหุ้นมีผลตอบแทนติดลบทุกกอง โดยเฉพาะกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIFs) ได้รับผลลบจากทั้งราคาหุ้นต่างประเทศที่ร่วงลงมากเนื่องจากมีแรงเทขายออกมามาก โดยเฉพาะกลุ่มที่ลงทุนในประเทศกำลังเกิดใหม่ทั่วโลก ทั้งเอเชียและยุโรป และกลุ่มที่ลงทุนภาคทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน
โดย กองทุนรวมหุ้นที่ขาดทุนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ แพลทตินัม โกลบอล ฟันด์ ขาดทุนสูงถึงร้อยละ 40.77 ในหนึ่งเดือน รองลงมาได้แก่ กองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ขาดทุนร้อยละ 39.66 และเป็นกองทุนรวมหุ้นที่ขาดทุนนับตั้งแต่ต้นปีสูงที่สุดที่ร้อยละ 68.69 ซึ่งได้รับผลลบจากการปรับลดลงของทั้งตลาดหุ้นจีน บราซิล และรัสเซีย ขณะที่กองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในเดือนตุลาคม ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท ไฟแนนเชียล ออพพอร์จูนนิตี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนติดลบร้อยละ 6.14 ตามมาด้วย กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอล สมาร์ท ฟันด์ และกองทุนเปิดเอสซีไอ โกลบอล เฮลธ์แคร์ ซึ่งขาดทุนร้อยละ 12.32 และ 12.87 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศ (Equity Thailand) ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด ได้แก่ กองทุนเปิด อเบอร์ดีนไทย เอคควิตี้ ดีวิเด็น มีผลตอบแทนติดลบร้อยละ 16.78
ส่วนกองทุนรวมตราสารหนี้ ผลจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง แม้ว่าในการประชุมธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ แต่ก็ทำให้**อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้นในระยะสั้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยฯ อายุ 10 ปี ได้ปรับลดลง 58 basis points มาอยู่ที่ร้อยละ 3.95 ขณะที่ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯพบว่าผลตอบแทนพันธบัตรในระยะสั้นได้ปรับลดลงตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ย Fed ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับสูงขึ้นเล็กน้อย
ขณะที่ผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้ (Bond funds) ในเดือนตุลาคม โดยเฉพาะกองทุนรวมตราสารหนี้ต่างประเทศพบว่ามีความผันผวนสูงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก โดย กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วโลก (Bond Global) ขาดทุนเฉลี่ยร้อยละ 3.89 และกองทุนรวมตราสารหนี้สกุลเงินเกาหลี (Bond KRW) ที่เป็นที่นิยมในอดีต ขาดทุนเฉลี่ยร้อยละ 4.85 ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ในประเทศให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 เนื่องจากได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง
โดยกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 กองแรกในเดือนตุลาคมเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ กลุ่มกองทุนเปิดอยุธยาตราสารหนี้พลัส และกลุ่มกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ ฟอร์เรน เนื่องจากได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่กองทุนรวมตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนตุลาคม ได้แก่ กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในประเทศเกิดใหม่ (Bond Emerging Markets Global) อย่าง กองทุนรวมพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์)อีเมอร์จิ้งมาร์เก็ตบอนด์ฟันด์ และกองทุนเปิดอเบอร์ดีนอีเมอร์จิ้งออพพอร์ทูนิตี้ส์บอนด์ฟันด์ ที่ขาดทุนร้อยละ 20.14 และ 20.30 ตามลำดับ
ภาพรวมของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ พบว่า กองทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือนตุลาคม เป็นของกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนภายในประเทศเป็นหลักซึ่งได้รับประโยชน์จากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรภายในประเทศที่ปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมา อาทิอย่าง ธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดฟิลลิปตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ให้ผลตอบแทนร้อยละ 1.36 และ 1.27 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีผลตอบแทนต่ำสุดในเดือนตุลาคมตกเป็นของกองทุนรวมหุ้นที่เน้นลงทุนในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ (Big-Cap) ซึ่งปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา อาทิ กองทุนเปิดอยุธยา SET100 เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดเค หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ ขาดทุนร้อยละ 30.81 และ 31.43 ตามลำดับ
ส่วน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว มีการปรับลดลงอย่างหนักของตลาดหุ้นไทยในเดือนตุลาคม โดยดัชนี SET TR และ SET 50 CR ดิ่งลงไปร้อยละ 30.10 และ 30.79 ตามลำดับฉุดให้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ร่วงลงและขาดทุนตามไปด้วย ยกเว้นกองทุนเปิดวรรณเอเอ็มสมาร์ทหุ้นระยะยาว ที่ปิดความเสี่ยงของตลาดโดยตราสารอนุพันธ์ (Derivative) และทำให้มีผลตอบแทนเป็นบวกร้อยละ 4.21 กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีผลตอบแทนรองลงมา ได้แก่ กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นระยะยาวสมาร์ท และกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25 ขาดทุนร้อยละ 8.91 และ 16.83 ตามลำดับ ขณะที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ผลตอบแทนติดลบมากที่สุด ได้แก่ กองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คท์หุ้นระยะยาวปันผลกองทุนเปิดหุ้นระยะยาวอยุธยา SET50 และกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นระยะยาว SET50 ซึ่งเน้นลงทุนในกลุ่ม Big-Cap ขาดทุนร้อยละ -30.79, -30.37 และ -30.34 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนจะปรับตัวดีขึ้น ภายหลังจากได้รับแรงสนับสนุนจากการที่ธนาคารกลางประเทศต่างๆเดินหน้าปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่ก็**ต้องยอมรับว่าภาวะรวมของตลาดและความเสี่ยงยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะสิ่งที่นักลงทุนกำลังจับจ้องอยู่ คือ นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐฯ **ภายหลังจากที่นายโอบามาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะมีหน้าตาอย่างไร และนโยบายดังกล่าวจะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯที่เข้าสู่ภาวะถดถอยนั้นสามารถฟื้นตัวกลับมาได้หรือไม่
ปัจจุบันเครื่องชี้เศรษฐกิจของสหรัฐฯต่างๆ ก็มีทิศทางที่ไม่น่าไว้ใจนักทั้งอัตราการว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น และตัวเลขผลประกอบการภาคธุรกิจที่ชะลอตัวลงมาก ดังนั้นแม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงจะช่วยลดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ และสถานการณ์การเมืองภายในประเทศเริ่มผ่อนคลายลงแล้ว แต่ ปัจจัยภายนอกประเทศก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง นักลงทุนจึงควรให้ความระมัดระวังการลงทุน แนวทางการลงทุนแบบ Conservative เช่น ลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ภาครัฐภายในประเทศ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำยังคงเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ขณะที่การลงทุนแบบ Dollar cost average ก็เป็นการลงทุนอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้ เนื่องจากราคาสินทรัพย์ยังมีส่วนลดสูงซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเกิดวิกฤติความเชื่อมั่น และเมื่อปัญหาต่างๆคลี่คลายราคาสินทรัพย์ก็จะกลับสู่ภาวะปกติแต่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวพอสมควร จึงเหมาะสมกับนักลงทุนในระยะยาวเป็นหลัก
ที่มา : ลิปเปอร์