ผู้จัดการรายวัน- บลจ.บัวหลวงเดินหน้าเพิ่มทุน"กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน"รอบ 3 กว่า 2.4 พันล้านบาท เตรียมลงทุนในกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมโรงงาน 40 แห่ง รวมพื้นที่กว่า 1 แสนตารางเมตร พร้อมด้วยอาคารคลังสินค้าอีก 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3.6 หมื่นตารางเมตร "วรวรรณ" เผย หลังขยายการลงทุนรอบใหม่ ไซส์กองทุนทะลุ 8 พันล้านบาท เสนอขายหน่วยระหว่างวันที่ 25 พ.ย.- 2 ธ.ค.นี้
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.บัวหลวง กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน( TFUND) จำนวน 237 ล้านหน่วย ซึ่งจะจัดสรรให้กับผู้ถือหน่วยเดิม (RO)ในอัตรา 1 ต่อ 0.25 หน่วย เป็นจำนวน 141.25 ล้านหน่วย และจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไป (PO) อีก 95.75 ล้านหน่วย ในราคาเสนอขายหน่วยละ 10.25 บาท คิดเป็นมูลค่าการระดมทุน 2,429.25 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหน่วยลงทุนในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายนถึง 2 ธันวาคม 2551 นี้
สำหรับการระดมทุนครั้งนี้ นับเป็นการเพิ่มทุนครั้งที่ 3 ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ไทคอน โดยจะเข้าลงทุนในที่ดินและสินทรัพย์ของบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON ซึ่งประกอบด้วย โรงงานมาตรฐานจำนวน 40 แห่ง คิดเป็นพื้นที่โรงงาน รวม 100,343 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ส่งผลให้จำนวนโรงงานที่ TFUND เข้าลงทุนเพิ่มจาก 130 โรงงานเป็น 170 โรงงาน โดยมีพื้นที่หลังการเพิ่มทุนรวม 384,350 ตารางเมตร นอกจากนี้ ยังจะลงทุนในที่ดินและอาคารคลังสินค้าของบริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐาน 10 โรง พื้นที่อาคารรวม 36,625 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในโลจิสติคส์ พาร์คของ TICON บริเวณถนน บางนา - ตราด กม. 39 ถือเป็นครั้งเเรกที่กองทุนจะเข้าไปลงทุนในคลังสินค้าอีกด้วย
ขณะเดียวกัน การเพิ่มทุนในครั้งนี้จะส่งผลให้ขนาดของ TFUND เพิ่มขึ้นจาก 5,770.25 ล้านบาทเป็น 8,199.50 ล้านบาท ซึ่งเรามั่นใจว่าการเสนอขายหน่วยลงทุนจะได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน ปัจจุบันมีอัตราการเช่าสูงถึง 97% มีการกระจายตัวของผู้เช่าทั้งสัญชาติและประเภทอุตสาหกรรม กระจายอยู่ในเขตอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ
"การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบเเทนที่ดีในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ย 3% หักค่าภาษีเหลือผลตอบเเทนจริงเพียงเเค่ 2.85% ซึ่งกองทุนTFUND ให้ผลตอบเเทนสูงกว่าโดยความเสี่ยงของกองทุนนั้นถือว่าน้อยกว่าเพราะกองทุนเราเเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสินทรัพย์ หรือ Freehold ขณะที่เราเชื่อว่าฐานการผลิตของบ้านเราดีกว่าประเทศเวียดนามที่ต้องประสบปัญหาหลายด้านเเละที่สำคัญเเรงงานไทยมีฝีมือกว่าเเรงงานเวียดนามนั้นเอง" นางวรวรรณ กล่าว
ขณะที่นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจำหน่าย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า ในถานการณ์ที่การลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ขณะที่ผลตอบแทนจากตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งแม้ปัจจุบันได้มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็เป็นการปรับตัวตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จึงนับได้ว่า เป็นทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ โดยเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อรับเงินปันผล ไม่มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเลยจึงไม่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
โดยกองทุน TFUND ยังมีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ที่ผ่านมาสามารถจ่ายเงินปันผลได้ปีละ 4 ครั้ง ในอัตราประมาณ 0.20 บาทต่อไตรมาส ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับราคา TFUND ที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงเวลาที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผลแต่ละครั้งในอดีต ทั้งนี้เมื่อนับจากวันที่ 30 มิถุนายน 2548 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 กองทุนได้จ่ายเงินปันผลเป็นรายไตรมาสรวมแล้ว 14 ครั้ง ขณะเดียวกันราคาตลาด TFUND มีความผันผวนน้อยกว่าดัชนีตลาดฯ และเป็นกองทุนรวมอสังหาฯที่มีสภาพคล่องสูงโดยมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีสูงติด 1 ใน 3 ของกองทุนรวมอสังหาฯ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ TFUND ยังมีจุดเด่นอยู่ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน( Freehold ) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าให้เช่า ซึ่งในระยะยาวยังมีโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งค่าเช่าที่ปรับตัวขึ้น และมูลค่าเพิ่มจากราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการบริหารจัดการสินทรัพย์ภายใต้การดูแลของมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ยาวนานอย่าง บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับ นักลงทุนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ด้านนายวีรพันธ์ พูลเกษ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาโรงงานให้เช่าที่มีรูปแบบเป็นโรงงานเดี่ยวมาตรฐานมากกว่า 300 โรง และคลังสินค้าอีกกว่า 30 โรง โดยโรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมในประเทศไทย 13 แห่ง และคลังสินค้าในเขตอุตสาหกรรมโลจิสติคส์ 3 แห่ง ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าที่ TFUND จะเข้าไปลงทุนในครั้งนี้ส่วนใหญ่ค่อนข้างใหม่และทันสมัย โดยมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่า 4 ปี ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้เช่าได้เป็นอย่างดี
โดยกลุ่มลูกค้าหลักของเรายังเป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีการผลิตสูง ขณะที่อุตสาหกรรมหลัก ยังคงเป็นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตไปแล้ว และถึงแม้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งอาจทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าลดลงบ้าง แต่โรงงานก็ยังคงผลิตสินค้าเพื่อเป็นอุปกรณ์ทดแทนหรืออะไหล่อยู่ดี
"ส่วนการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกผมมองว่าอาจกลายเป็นโอกาสให้ประเทศไทยได้ก้าวสู่ประเทศที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกได้ เนื่องจากเจ้าของสินค้าและผู้ผลิตรายใหญ่จำเป็นต้องหาฐานการผลิตที่มีต้นทุนการผลิตต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูง และประเทศไทยมีคุณสมบัติดังกล่าวอยู่ครบ ทั้งนี้นับแต่เกิดปัญหาซับไพร์มในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปลายปี 2550 อัตราการเช่าโรงงานของ TFUND ยังไม่เปลี่ยนแปลง และจากประสบการณ์ของ TICON ที่ผ่านมาเช่นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540-2542 ปรากฎว่ามีความต้องการเช่าโรงงานเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการลดความเสี่ยงในการดำเนินงานโดยเลือกที่จะเช่าโรงงานแทนการสร้าง หรือซื้อโรงงาน ดังนั้น TFUND น่าจะได้รับผลกระทบในทางลบค่อนข้างน้อยจากวิกฤติครั้งนี้"
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า บลจ.บัวหลวง กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไทคอน( TFUND) จำนวน 237 ล้านหน่วย ซึ่งจะจัดสรรให้กับผู้ถือหน่วยเดิม (RO)ในอัตรา 1 ต่อ 0.25 หน่วย เป็นจำนวน 141.25 ล้านหน่วย และจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไป (PO) อีก 95.75 ล้านหน่วย ในราคาเสนอขายหน่วยละ 10.25 บาท คิดเป็นมูลค่าการระดมทุน 2,429.25 ล้านบาท โดยจะเสนอขายหน่วยลงทุนในระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายนถึง 2 ธันวาคม 2551 นี้
สำหรับการระดมทุนครั้งนี้ นับเป็นการเพิ่มทุนครั้งที่ 3 ของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ไทคอน โดยจะเข้าลงทุนในที่ดินและสินทรัพย์ของบริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON ซึ่งประกอบด้วย โรงงานมาตรฐานจำนวน 40 แห่ง คิดเป็นพื้นที่โรงงาน รวม 100,343 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรมและเขตส่งเสริมอุตสาหกรรม 7 แห่ง ส่งผลให้จำนวนโรงงานที่ TFUND เข้าลงทุนเพิ่มจาก 130 โรงงานเป็น 170 โรงงาน โดยมีพื้นที่หลังการเพิ่มทุนรวม 384,350 ตารางเมตร นอกจากนี้ ยังจะลงทุนในที่ดินและอาคารคลังสินค้าของบริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นอาคารคลังสินค้ามาตรฐาน 10 โรง พื้นที่อาคารรวม 36,625 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในโลจิสติคส์ พาร์คของ TICON บริเวณถนน บางนา - ตราด กม. 39 ถือเป็นครั้งเเรกที่กองทุนจะเข้าไปลงทุนในคลังสินค้าอีกด้วย
ขณะเดียวกัน การเพิ่มทุนในครั้งนี้จะส่งผลให้ขนาดของ TFUND เพิ่มขึ้นจาก 5,770.25 ล้านบาทเป็น 8,199.50 ล้านบาท ซึ่งเรามั่นใจว่าการเสนอขายหน่วยลงทุนจะได้รับการตอบรับจากผู้ลงทุนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคุณภาพของอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน ปัจจุบันมีอัตราการเช่าสูงถึง 97% มีการกระจายตัวของผู้เช่าทั้งสัญชาติและประเภทอุตสาหกรรม กระจายอยู่ในเขตอุตสาหกรรมชั้นนำของประเทศ
"การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบเเทนที่ดีในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ย 3% หักค่าภาษีเหลือผลตอบเเทนจริงเพียงเเค่ 2.85% ซึ่งกองทุนTFUND ให้ผลตอบเเทนสูงกว่าโดยความเสี่ยงของกองทุนนั้นถือว่าน้อยกว่าเพราะกองทุนเราเเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสินทรัพย์ หรือ Freehold ขณะที่เราเชื่อว่าฐานการผลิตของบ้านเราดีกว่าประเทศเวียดนามที่ต้องประสบปัญหาหลายด้านเเละที่สำคัญเเรงงานไทยมีฝีมือกว่าเเรงงานเวียดนามนั้นเอง" นางวรวรรณ กล่าว
ขณะที่นายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจำหน่าย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า ในถานการณ์ที่การลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ขณะที่ผลตอบแทนจากตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งแม้ปัจจุบันได้มีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็เป็นการปรับตัวตามความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จึงนับได้ว่า เป็นทางเลือกในการลงทุนที่น่าสนใจ โดยเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อรับเงินปันผล ไม่มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเลยจึงไม่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
โดยกองทุน TFUND ยังมีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ที่ผ่านมาสามารถจ่ายเงินปันผลได้ปีละ 4 ครั้ง ในอัตราประมาณ 0.20 บาทต่อไตรมาส ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับราคา TFUND ที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงเวลาที่มีการประกาศจ่ายเงินปันผลแต่ละครั้งในอดีต ทั้งนี้เมื่อนับจากวันที่ 30 มิถุนายน 2548 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2551 กองทุนได้จ่ายเงินปันผลเป็นรายไตรมาสรวมแล้ว 14 ครั้ง ขณะเดียวกันราคาตลาด TFUND มีความผันผวนน้อยกว่าดัชนีตลาดฯ และเป็นกองทุนรวมอสังหาฯที่มีสภาพคล่องสูงโดยมีมูลค่าการซื้อขายต่อวันเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีสูงติด 1 ใน 3 ของกองทุนรวมอสังหาฯ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
นอกจากนี้ TFUND ยังมีจุดเด่นอยู่ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสินทรัพย์ที่เข้าไปลงทุน( Freehold ) ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้าให้เช่า ซึ่งในระยะยาวยังมีโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งค่าเช่าที่ปรับตัวขึ้น และมูลค่าเพิ่มจากราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งการบริหารจัดการสินทรัพย์ภายใต้การดูแลของมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ยาวนานอย่าง บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค ยังสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับ นักลงทุนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ด้านนายวีรพันธ์ พูลเกษ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาโรงงานให้เช่าที่มีรูปแบบเป็นโรงงานเดี่ยวมาตรฐานมากกว่า 300 โรง และคลังสินค้าอีกกว่า 30 โรง โดยโรงงานดังกล่าวตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมในประเทศไทย 13 แห่ง และคลังสินค้าในเขตอุตสาหกรรมโลจิสติคส์ 3 แห่ง ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าที่ TFUND จะเข้าไปลงทุนในครั้งนี้ส่วนใหญ่ค่อนข้างใหม่และทันสมัย โดยมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่า 4 ปี ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของ ผู้เช่าได้เป็นอย่างดี
โดยกลุ่มลูกค้าหลักของเรายังเป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น สิงคโปร์ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีเทคโนโลยีการผลิตสูง ขณะที่อุตสาหกรรมหลัก ยังคงเป็นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมทั้งกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตไปแล้ว และถึงแม้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งอาจทำให้ยอดสั่งซื้อสินค้าลดลงบ้าง แต่โรงงานก็ยังคงผลิตสินค้าเพื่อเป็นอุปกรณ์ทดแทนหรืออะไหล่อยู่ดี
"ส่วนการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกผมมองว่าอาจกลายเป็นโอกาสให้ประเทศไทยได้ก้าวสู่ประเทศที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลกได้ เนื่องจากเจ้าของสินค้าและผู้ผลิตรายใหญ่จำเป็นต้องหาฐานการผลิตที่มีต้นทุนการผลิตต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูง และประเทศไทยมีคุณสมบัติดังกล่าวอยู่ครบ ทั้งนี้นับแต่เกิดปัญหาซับไพร์มในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปลายปี 2550 อัตราการเช่าโรงงานของ TFUND ยังไม่เปลี่ยนแปลง และจากประสบการณ์ของ TICON ที่ผ่านมาเช่นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540-2542 ปรากฎว่ามีความต้องการเช่าโรงงานเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากผู้ประกอบการต้องการลดความเสี่ยงในการดำเนินงานโดยเลือกที่จะเช่าโรงงานแทนการสร้าง หรือซื้อโรงงาน ดังนั้น TFUND น่าจะได้รับผลกระทบในทางลบค่อนข้างน้อยจากวิกฤติครั้งนี้"