xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดตราสารหนี้ สถานการณ์ในเดือนตุลาคม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูโอบี (ไทย) จำกัด


มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนตุลาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้ลดลงเป็น 66.769 พันล้านบาทจาก 70.784 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นคิดเป็นร?อยละ 3.58 และดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 1.47 ณ สิ้นเดือนตุลาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 3.94 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.44 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 4.63 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.86 ป? อัตราผลตอบแทนปรับลดลงเล็กน้อย โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1 - 6 เดือน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.31 ถึง 0.32 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.38 ถึง 0.57 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวลดลงในช่วงร้อยละ 0.55 ถึง 0.68 และพันธบัตรระยะยาวตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.34 ถึง 0.52

แนวโน้ม

สภาวะตลาดในเดือนพฤศจิกายน คาดว่าตลาดตราสารหนี้ไทย ยังคงได้รับปัจจัยทั้งจากทางภายนอกและภายในประเทศ ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และตลาดหุ้นที่ปรับตัวลง ส่งผลในทางบวกกับตลาดตราสารหนี้ คาดว่านักลงทุนน่าจะสนใจลงทุนในตราสารระยะยาวเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ในส่วนทิศทางของดอกเบี้ยภายในประเทศ หลายฝ่ายยังคงคาดการณ์ ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยลงอีกในอนาคตตามทิศทางของดอกเบี้ยโลก เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

กลยุทธ์ประจำเดือน

กลยุทธ์การลงทุนคือ ทยอยลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลางและระยะยาว

ตลาดตราสารทุน

เดือนพฤศจิกายน 2551 สรุปภาวะและแนวโน้มตลาดหุ้น

สรุปตัวเลขเศรษฐกิจเดือนตุลาคม 2551

- การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลงในเดือนกันยายน เครื่องชี้เศรษฐกิจฝั่งอุปทานก็ชะลอตัวลงด้วยเช่นกัน ดุลบัญชีระหว่างประเทศแข็งแกร่ง ภาวะการเงินคลายความตึงตัวเล็กน้อย

- การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) ขยายตัวร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ในเดือนก่อนหน้า ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์และการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (ณ ราคาคงที่) ขยายตัวร้อยละ 31.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และร้อยละ 38.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13.4 และร้อยละ 23.2 ในเดือนก่อนหน้า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ขยายตัวร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อนหน้า ปริมาณจำหน่ายรถเพื่อการพาณิชย์และปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลงร้อยละ 22.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับในเดือนกันยายน

- มีสัญญาณชัดเจนว่าผลผลิตอุตสาหกรรม ผลผลิตการเกษตร และอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ชะลอตัวลง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนกันยายนลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 ในเดือนสิงหาคม อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงสู่ระดับร้อยละ 68.2 จากระดับร้อยละ 70.0 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดอัตราการใช้กำลังการผลิตในอุตสาหกรรมดังต่อไปนี้: เครื่องดื่ม ปิโตรเลียม เหล็กและแร่เหล็ก และวัสดุก่อสร้าง รายได้เกษตรกรก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงสู่ระดับร้อยละ 45.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือน กันยายน จากที่ขยายตัวร้อยละ 57.5 ในเดือนสิงหาคม โดยมีสาเหตุมาจากผลผลิตการเกษตรขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมากสู่ระดับร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในเดือนกันยายนจากที่ขยายตัวร้อยละ 20 ในเดือนสิงหาคม จำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวลดลงร้อยละ 16.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากความวุ่นวายทางการเมืองที่ส่งผลทำให้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ฉุกเฉินในกรุงเทพฯและการปิดท่าอากาศยานบางแห่งในจังหวัดทางภาคใต้

- ดุลบัญชีระหว่างประเทศแข็งแกร่งในเดือน กันยายน

ดุลการชำระเงินมีจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นจากขาดดุล 0.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนสิงหาคม แม้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 0.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิมีจำนวนสูงถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากจำนวนเพียง 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า ดุลการค้าเกินดุล 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากขาดดุล 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า สำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นสู่จำนวน 102.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากจำนวน 101.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนก่อนหน้า

สรุปภาวะตลาดเดือนตุลาคม

SET ปรับตัวลงรวมร้อยละ 30.18 หลังจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตทั้งภายในและภายนอกประเทศ ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ได้มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงแม้ว่าจะมีความพยายามร่วมมือกันทั่วโลกในการแก้วิกฤตการเงินด้วยการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบและลดอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้แล้ว สถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในประเทศก็ส่งผลทำให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในวันที่ 7 ตุลาคม และมีความแตกแยกทางความเห็นที่รุนแรงขึ้น SET ปรับตัวลดลงจากยอดสูงที่ 597.69 จุด (2 ตุลาคม) สู่ยอดต่ำที่ 384.14 จุด (29 ตุลาคม) โดยตลาดหลักทรัพย์ต้องใช้มาตรการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว ถึงสองครั้งภายในเดือนเดียว อย่างไรก็ดี การปรับลดดอกเบี้ยของเฟดเป็นครั้งที่สองในเดือนตุลาคม และการคาดการณ์ว่าตลาดจะปรับตัวขึ้นได้โดยได้รับแรงหนุนจากการเลือกตั้งในสหรัฐช่วยให้มีแรงซื้อเข้ามาในตลาดช่วงปลายเดือน

แนวโน้มตลาดเดือนพฤศจิกายน

ตลาดหุ้นไทยน่าจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากปลายเดือนที่แล้ว ได้รับแรงหนุนจากจากการเลือกตั้งในสหรัฐและนักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรในจังหวะที่หุ้นมีราคาที่ถูกมาก อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าตลาดคงจะไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปได้มากนักเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการเมืองในประเทศและวิกฤตทั่วโลกยังคงมีอยู่ เรามองว่า SET น่าจะเคลื่อนไหวผันผวนอยู่ในกรอบ 400- 500 จุด โดยให้จับตาดูกระแสข่าวด้านลบเกียวกับความไม่แน่นอนทางการเมือง การปรับลดประมาณการกำไร และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ในขณะที่ข่าวดีกับตลาดน่าจะมาจากการประกาศนโยบายการเงินเพิ่มเติมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ และระดับราคาของหุ้นส่วนใหญ่ที่ต่ำมาก

กลยุทธ์ประจำเดือนพฤศจิกายน

ยังคงลงทุนแบบเน้นความปลอดภัย โดยให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวด ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร และบริษัทที่เน้นการบริโภคภายในประเทศ ให้น้ำหนักเท่ากับตลาดในหมวดอสังหาริมทรัพย์ ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดพลังงาน ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง

หมายเหตุ: รายงานนี้จัดทำขึ้น ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2551
กำลังโหลดความคิดเห็น