Thaibma เผยตลาดตราสารหนี้ไทยยังไม่คึก แม้ตลาดหุ้นผันผวน เหตุนักลงทุนหันลงทุนบอนด์ภาครัฐ เมินหุ้นกู้เอกชน ในช่วงวิกฤตมากขึ้น ระบุแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้นักลงทุนสนใจพันธบัตรระยะกลาง หวังเก็งกำไรจากราคาที่ปรับขึ้นมากกว่าผลตอบแทนที่ตราไว้
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thaibma) เปิดเผยว่า การซื้อขายตราสารหนี้ภายในตลาดตราสารหนี้ไทยปัจจุบันยังคงเป็นปกติ ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมาการลงทุนในตลาดหุ้นจะมีความผันผวนมากขึ้น จากวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล และแบงก์ชาติ ทำให้การออกหุ้นกู้เอกชนในระยะนี้ทำได้ลำบากมากขึ้น
“ส่วนใหญ่จะหันมาลงทุนอะไรที่มั่นเสี่ยงน้อยลงทำให้ปัจจุบัน หุ้นกู้เอกชนขายลำบาก ซึ่งเรตติ้งประมาณ A+ อายุ 3-4 ปีต้องปรับยิลด์ให้สูงขึ้นเกือบ 1% ส่วน 5 ปี ก็ต้องปรับขึ้นอีก 1% กว่าๆ โดยที่มีอยู่ตอนนี้ก็จะมีประมาณ 5.2% และ 5.56%”นายณัฐพลกล่าว
นายณัฐพล กล่าวอีกว่า สำหรับตราสารหนี้ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในปัจจุบันจะมีอายุไม่ยาวมากนักคือ 3 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี ซึ่งแนวโน้มเชื่อว่านักลงทุนคงจะให้ความสนใจตราสารหนี้ที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงหลังจากนี้ ทำให้ตราสารที่อยู่มีราคาสูงมากขึ้นจากการคาดการณ์ดังกล่าว
“พันธบัตรรัฐบาลมันจะสวนทางกับหุ้นกู้คือ ยิลด์มันจะลดลง แต่ราคามันจะสูงขึ้นหากดอกเบี้ยมันลด ซึ่งหุ้นกู้เอกชนปัจจุบันราคามันถูก แต่ต้องให้ยิลด์ที่สูงกว่าปกติมากถึงจะมีคนสนใจ”นายณัฐพลกล่าว
นายณัฐพล กล่าวอีกว่า สำหรับกองทุนรวมแล้วในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีการลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้นขนาดไหน แต่เชื่อว่าการต้องกองทุนรวมต่างประเทศ หรือFIF ในช่วงนี้คงจะต้องมีการชะลอออกไปก่อน เนื่องจากนักลงทุนจะมีความระมัดระวังมากขึ้น จากปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ รายงานจากตลาดตราสารหนี้ไทย ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พบว่า มีปริมาณการซื้อขายทั้งสิ้น 158,836.10 ล้านบาท ในส่วนนี้เป็นการซื้อขายแบบ Outright หรือการซื้อขายขาดแบบไม่มีภาระผูกพันมูลค่า 26,603.09 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของมูลค่าการซื้อขายรวม และปรับตัวลดลงจากเมื่อวานร้อยละ 73 มูลค่าการซื้อขายสูงสุดแบบ Outright ของวันได้แก่ พันธบัตร ธปท. มูลค่า 22,694.09 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 76 มูลค่าการซื้อขายรองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล มูลค่า 2,940.90 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ในส่วนนี้พันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือประมาณ 5และ 10ปี (LB133A และ LB183B) เป็นที่นิยมซื้อขายสูงสุดด้วยสัดส่วนรวมร้อยละ 49 ของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมด ตามด้วยการซื้อขายหุ้นกู้เอกชน 637.82 ล้านบาท ส่วนการซื้อขายตราสารหนี้ประเภทอื่นเบาบาง ผู้ซื้อขายหลักของวันได้แก่ กลุ่มกองทุนรวม ที่เน้นซื้อขายพันธบัตร ธปท. อายุคงเหลือสั้น ๆ เป็นหลัก
สำหรับเส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบางช่วงอายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 5 ปี ปิดที่ 3.57% ไม่เปลี่ยนแปลง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 10 ปี ปิดที่ 3.93% ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 basis point ทั้งนี้ ปิดตลาด ThaiBMA Government Index ปรับตัวลดลง 0.10 จุด ส่งผลให้ Index ปิดที่ระดับ 182.98 จุด
นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thaibma) เปิดเผยว่า การซื้อขายตราสารหนี้ภายในตลาดตราสารหนี้ไทยปัจจุบันยังคงเป็นปกติ ถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมาการลงทุนในตลาดหุ้นจะมีความผันผวนมากขึ้น จากวิกฤตสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้นักลงทุนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจะหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำมากขึ้น โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาล และแบงก์ชาติ ทำให้การออกหุ้นกู้เอกชนในระยะนี้ทำได้ลำบากมากขึ้น
“ส่วนใหญ่จะหันมาลงทุนอะไรที่มั่นเสี่ยงน้อยลงทำให้ปัจจุบัน หุ้นกู้เอกชนขายลำบาก ซึ่งเรตติ้งประมาณ A+ อายุ 3-4 ปีต้องปรับยิลด์ให้สูงขึ้นเกือบ 1% ส่วน 5 ปี ก็ต้องปรับขึ้นอีก 1% กว่าๆ โดยที่มีอยู่ตอนนี้ก็จะมีประมาณ 5.2% และ 5.56%”นายณัฐพลกล่าว
นายณัฐพล กล่าวอีกว่า สำหรับตราสารหนี้ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในปัจจุบันจะมีอายุไม่ยาวมากนักคือ 3 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี ซึ่งแนวโน้มเชื่อว่านักลงทุนคงจะให้ความสนใจตราสารหนี้ที่มีอายุมากขึ้น เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงหลังจากนี้ ทำให้ตราสารที่อยู่มีราคาสูงมากขึ้นจากการคาดการณ์ดังกล่าว
“พันธบัตรรัฐบาลมันจะสวนทางกับหุ้นกู้คือ ยิลด์มันจะลดลง แต่ราคามันจะสูงขึ้นหากดอกเบี้ยมันลด ซึ่งหุ้นกู้เอกชนปัจจุบันราคามันถูก แต่ต้องให้ยิลด์ที่สูงกว่าปกติมากถึงจะมีคนสนใจ”นายณัฐพลกล่าว
นายณัฐพล กล่าวอีกว่า สำหรับกองทุนรวมแล้วในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้ว่ามีการลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้นขนาดไหน แต่เชื่อว่าการต้องกองทุนรวมต่างประเทศ หรือFIF ในช่วงนี้คงจะต้องมีการชะลอออกไปก่อน เนื่องจากนักลงทุนจะมีความระมัดระวังมากขึ้น จากปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ รายงานจากตลาดตราสารหนี้ไทย ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน พบว่า มีปริมาณการซื้อขายทั้งสิ้น 158,836.10 ล้านบาท ในส่วนนี้เป็นการซื้อขายแบบ Outright หรือการซื้อขายขาดแบบไม่มีภาระผูกพันมูลค่า 26,603.09 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของมูลค่าการซื้อขายรวม และปรับตัวลดลงจากเมื่อวานร้อยละ 73 มูลค่าการซื้อขายสูงสุดแบบ Outright ของวันได้แก่ พันธบัตร ธปท. มูลค่า 22,694.09 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 76 มูลค่าการซื้อขายรองลงมาได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล มูลค่า 2,940.90 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ในส่วนนี้พันธบัตรรุ่นอายุคงเหลือประมาณ 5และ 10ปี (LB133A และ LB183B) เป็นที่นิยมซื้อขายสูงสุดด้วยสัดส่วนรวมร้อยละ 49 ของการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลทั้งหมด ตามด้วยการซื้อขายหุ้นกู้เอกชน 637.82 ล้านบาท ส่วนการซื้อขายตราสารหนี้ประเภทอื่นเบาบาง ผู้ซื้อขายหลักของวันได้แก่ กลุ่มกองทุนรวม ที่เน้นซื้อขายพันธบัตร ธปท. อายุคงเหลือสั้น ๆ เป็นหลัก
สำหรับเส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในบางช่วงอายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 5 ปี ปิดที่ 3.57% ไม่เปลี่ยนแปลง และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุคงเหลือ 10 ปี ปิดที่ 3.93% ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 basis point ทั้งนี้ ปิดตลาด ThaiBMA Government Index ปรับตัวลดลง 0.10 จุด ส่งผลให้ Index ปิดที่ระดับ 182.98 จุด