"ปกรณ์" ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้การจัดงานไทยแลนด์โฟกัส หวังเรียกความมั่นใจและดึงเม็ดเงินลงทุนจากสถาบันต่างประเทศ แจงตั้งแต่ต้นปีต่างชาติทิ้งหุ้นน้อยมากแค่ 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับปีก่อนที่เม็ดเงินเข้ามาทั้งใน-นอกตลาดหุ้นรวมกว่า 5.7 หมื่นล้านเหรียญ พร้อมจูงใจหุ้นพื้นฐานดีราคาลดลงมาแล้ว 30-40% ด้านเอ็มดีตลาดหุ้น พอใจสถาบันต่างชาติเข้าร่วมงาน มีพอร์ตภายใต้การบริหารงานกว่า 3.5 ล้านล้านเหรียญ ระบุนักลงทุนรอการเมืองชัดเจน ก่อนกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้ง
วานนี้ (17 ก.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) จำกัด จัดการประชุมผู้ลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์นานาชาติ หรือ Thailand Focus 2008 - Diversifying the Thai Portfolio ซึ่งภายในงานได้มีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนทั้ง ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทขนาดใหญ่ 10 อันดับแรก ประมาณ 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 119 ล้านล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดงานไทยแลนด์โฟกัสครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง หลังจากมีการชี้แจงข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีโดยมีกองทุนต่างประเทศสนใจเข้าร่วมงาน 57 ราย ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงหากเทียบกับสถานการณ์ทางการเงินโลกที่มีปัญหาในปัจจุบัน รวมทั้งยกเลิกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้มีนักลงทุนแสดงความสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มหลังจากมีการยกเลิกไปก่อนหน้านี้
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศจะเข้าช่วยเหลือด้านการเงินแก่ เอไอจี เพื่อไม่ให้ผลกระทบขยายวงกว้างและลุกลามถึงสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นข่าวดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่การปล่อยให้เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสู่กระบวนการล้มละลายอาจจะมองว่าผลกระทบที่จะเกิดจากเลห์แมน บราเธอร์สนั้นไม่มาก
"วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจจะสามารถดูแลได้ เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการวางกลไกให้มีการซื้อขายที่เรียบร้อย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาหากหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง"
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมา 24% ค่า P/E ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 10 เท่า และหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีๆ ราคาปรับตัวลดลงจากช่วงที่สูงสุดถึง 30-40% ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าหากลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานในระดับราคาปัจจุบันเมื่อเทียบกับเงินปันผลจะได้รับผลตอบแทนสูงถึง 10%
นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ตั้งปีสูงกว่า 1.1 แสนล้านบาท ถือเป็นจำนวนที่สูงเมื่อเทียบกับปี 2550 ขณะที่ผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติลงทุนในบริษัทจดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยรวม 5.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยสัดส่วน 90% นั้นลงทุนในบจ. ดังนั้นการยอดขายสุทธิตั้งแต่ตั้งปี-ปัจจุบันมีเพียง 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ จึงถือว่าน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าต่างประเทศมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทย และภาคธุรกิจของไทย
***ต่างชาติรอการเมืองชัดเจน***
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า การจัดงานไทยแลนด์โฟกัสครั้งนี้ นักลงทุนสถาบันได้ยกเลิกการเข้าร่วมงานประมาณ 10 กองทุน จากก่อนที่จะมีการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และปัญหาทางการเมือง มีกองทุนสนใจที่จะเข้าร่วมงานจำนวน 66 กองทุน แต่เข้าร่วมงานครั้งนี้ 51 ราย หรือลดลง 10-20% โดยมีมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารกองทุนดังกล่าว คิดเป็น 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มีบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 66 แห่ง
สำหรับประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจนั้น นักลงทุนได้สอบถามถึงปัญหาทางการเมือง และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่นักลงทุนจะรอดูพัฒนาการและภาพรวมการเมืองจะเป็นอย่างไร รัฐบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงจะเดินหน้าในเรื่องนโยบายต่างๆ ที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร และด้านนโยบายต้องการให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน คือ เสถียรภาพทางธุรกิจ และการเงินของไทยมั่นคง และมีการเติบโต แม้มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแต่ยังมีอัตราการเติบโตที่ชัดเจน โดยปัจจัยที่นักลงทุนกังวลเป็นเรื่องของการเมืองมากกว่าภาพรวมของเศรษฐกิจ เพราะกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง จึงไม่ค่อยกังวลต่อภาคธุรกิจ
***เน้นพัฒนาตลาดทุนรับมือเปิดเสรี***
นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า นโยบายการพัฒนาตลาดทุนได้เน้นไปในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ปี 2555) โดย ก.ล.ต. จะให้อิสระแก่ระบบออกใบอนุญาตหลักทรัพย์เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้มาใหม่ พร้อมให้อิสระในการต่อรองค่าธรรมเนียมระหว่างนายหน้าและผู้ลงทุน รวมทั้งให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องมาตรฐานการที่ใช้ร่วมกันในควบคุมดูแลตลาดให้ได้มาตรฐานโลก ซึ่งถือว่าสำคัญมากใจการสร้างความมั่นใจและดึงนักลงทุนจากนานาชาติให้เข้ามาลุงทุนในตลาดทุนไทย
สำหรับการพัฒนาตลาดทุนไทยในอนาคตนั้น เราต้องกระตุ้นตลาดในประเทศโดยการสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้ตลาดภายในประเทศมีความเข้มแข็ง การส่งเสริมการให้บริการระหว่างประเทศของธุรกิจหลักทรัพย์มีส่วนช่วยขยายขอบเขตการลงทุนให้กับนักลงทุนในประเทศไทย การร่วมมือกันในภูมิภาคอาเซียนจะมีส่วนช่วยเพิ่มความเข็มแข็งของตลาดทุนและเศรษฐกิจในภูมิภาค
นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมการผนึกกำลังในภูมิภาค เช่น ตลาดหลักทรัพย์ควรจะสามารถเปิดโอกาสการซื้อขายให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกที่มีอยู่เดิม และควรมีนโยบายชัดเจนที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานของตลาดให้สอดคล้องกันภายทั้งภายในภูมิภาคและในตลาดโลก
***ธปท.ปลอบพื้นฐานศก.ไทยยังแกร่ง***
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะลดลงจากไตรมาสแรกที่ 6.1% เป็น 5.3% ในไตรมาส 2 นี้ ซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ และอาจจะดีกว่าหลายๆ ประเทศ เช่น ฮ่องกง ที่จีดีพีลดจาก 7.3% เหลือ 4.2% สิงคโปร์ ลดจาก 6.9% เหลือ 2.1% และไต้หวัน ลดจาก 6.3% เหลือ 4.3% ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าภาพรวมของไทยยังดีกว่าอีกหลาย ๆ ประเทศนัก เนื่องจากความสามารถในการปรับและฟื้นตัว รวมทั้งความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยจะยังคงดีอยู่ โดยผลสำรวจล่าสุดของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า บริษัทจดทะเบียนส่วนมากยังมั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศ เพราะสัดส่วนหนี้สินของไทยเมื่อเทียบกับจีดีพีเพิ่งลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีในปีที่แล้วที่ 29.4% ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงระดับกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน
นางธาริษา กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจธนาคารในปัจจุบันอยู่ในสถานะที่แข็งแรงพอที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนจากตลาดการเงินโลก ภาคเอกชนไทยที่มีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวอย่างรวดเร็วกว่าในอดีต และการที่ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทำธุรกิจริเริ่มการลงทุนใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยวัดจากการจัดลำดับล่าสุดของประเทศที่ง่ายต่อทำธุรกิจ โดยธนาคารโลกที่ ปรับให้ไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 13 ของ 181 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย
นายสุชาติ ธาราดำรงค์เวช รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แผนการพัฒนาตลาดทุนที่จะครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์ และตลาดตราสารเอกชน คือการเพิ่มจำนวนนักลงทุนรายย่อยในตลาดตราสารหนี้ ก่อนที่จะไปเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในตลาด และส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงอื่นๆ ต่อไป
วานนี้ (17 ก.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) จำกัด จัดการประชุมผู้ลงทุนสถาบันและนักวิเคราะห์นานาชาติ หรือ Thailand Focus 2008 - Diversifying the Thai Portfolio ซึ่งภายในงานได้มีผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนทั้ง ผู้จัดการกองทุน และนักลงทุนสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทขนาดใหญ่ 10 อันดับแรก ประมาณ 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 119 ล้านล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การจัดงานไทยแลนด์โฟกัสครั้งนี้ จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง หลังจากมีการชี้แจงข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีโดยมีกองทุนต่างประเทศสนใจเข้าร่วมงาน 57 ราย ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงหากเทียบกับสถานการณ์ทางการเงินโลกที่มีปัญหาในปัจจุบัน รวมทั้งยกเลิกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้มีนักลงทุนแสดงความสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มหลังจากมีการยกเลิกไปก่อนหน้านี้
สำหรับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศจะเข้าช่วยเหลือด้านการเงินแก่ เอไอจี เพื่อไม่ให้ผลกระทบขยายวงกว้างและลุกลามถึงสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นข่าวดีต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่การปล่อยให้เลห์แมน บราเธอร์ส เข้าสู่กระบวนการล้มละลายอาจจะมองว่าผลกระทบที่จะเกิดจากเลห์แมน บราเธอร์สนั้นไม่มาก
"วิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ตลาดหลักทรัพย์ฯ มั่นใจจะสามารถดูแลได้ เพราะตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการวางกลไกให้มีการซื้อขายที่เรียบร้อย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาหากหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง"
ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมา 24% ค่า P/E ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 10 เท่า และหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีๆ ราคาปรับตัวลดลงจากช่วงที่สูงสุดถึง 30-40% ขณะที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าหากลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงานในระดับราคาปัจจุบันเมื่อเทียบกับเงินปันผลจะได้รับผลตอบแทนสูงถึง 10%
นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยออกมาต่อเนื่อง ทำให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ตั้งปีสูงกว่า 1.1 แสนล้านบาท ถือเป็นจำนวนที่สูงเมื่อเทียบกับปี 2550 ขณะที่ผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติลงทุนในบริษัทจดทะเบียนและไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยรวม 5.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยสัดส่วน 90% นั้นลงทุนในบจ. ดังนั้นการยอดขายสุทธิตั้งแต่ตั้งปี-ปัจจุบันมีเพียง 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ จึงถือว่าน้อยมาก แสดงให้เห็นว่าต่างประเทศมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทย และภาคธุรกิจของไทย
***ต่างชาติรอการเมืองชัดเจน***
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า การจัดงานไทยแลนด์โฟกัสครั้งนี้ นักลงทุนสถาบันได้ยกเลิกการเข้าร่วมงานประมาณ 10 กองทุน จากก่อนที่จะมีการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และปัญหาทางการเมือง มีกองทุนสนใจที่จะเข้าร่วมงานจำนวน 66 กองทุน แต่เข้าร่วมงานครั้งนี้ 51 ราย หรือลดลง 10-20% โดยมีมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การบริหารกองทุนดังกล่าว คิดเป็น 3.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มีบริษัทจดทะเบียนเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 66 แห่ง
สำหรับประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจนั้น นักลงทุนได้สอบถามถึงปัญหาทางการเมือง และนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่นักลงทุนจะรอดูพัฒนาการและภาพรวมการเมืองจะเป็นอย่างไร รัฐบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงจะเดินหน้าในเรื่องนโยบายต่างๆ ที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร และด้านนโยบายต้องการให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน คือ เสถียรภาพทางธุรกิจ และการเงินของไทยมั่นคง และมีการเติบโต แม้มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแต่ยังมีอัตราการเติบโตที่ชัดเจน โดยปัจจัยที่นักลงทุนกังวลเป็นเรื่องของการเมืองมากกว่าภาพรวมของเศรษฐกิจ เพราะกำไรบริษัทจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง จึงไม่ค่อยกังวลต่อภาคธุรกิจ
***เน้นพัฒนาตลาดทุนรับมือเปิดเสรี***
นายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า นโยบายการพัฒนาตลาดทุนได้เน้นไปในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขึ้น เพื่อรองรับการเปิดเสรีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (ปี 2555) โดย ก.ล.ต. จะให้อิสระแก่ระบบออกใบอนุญาตหลักทรัพย์เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้มาใหม่ พร้อมให้อิสระในการต่อรองค่าธรรมเนียมระหว่างนายหน้าและผู้ลงทุน รวมทั้งให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องมาตรฐานการที่ใช้ร่วมกันในควบคุมดูแลตลาดให้ได้มาตรฐานโลก ซึ่งถือว่าสำคัญมากใจการสร้างความมั่นใจและดึงนักลงทุนจากนานาชาติให้เข้ามาลุงทุนในตลาดทุนไทย
สำหรับการพัฒนาตลาดทุนไทยในอนาคตนั้น เราต้องกระตุ้นตลาดในประเทศโดยการสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันเพื่อให้ตลาดภายในประเทศมีความเข้มแข็ง การส่งเสริมการให้บริการระหว่างประเทศของธุรกิจหลักทรัพย์มีส่วนช่วยขยายขอบเขตการลงทุนให้กับนักลงทุนในประเทศไทย การร่วมมือกันในภูมิภาคอาเซียนจะมีส่วนช่วยเพิ่มความเข็มแข็งของตลาดทุนและเศรษฐกิจในภูมิภาค
นอกจากนี้ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยส่งเสริมการผนึกกำลังในภูมิภาค เช่น ตลาดหลักทรัพย์ควรจะสามารถเปิดโอกาสการซื้อขายให้กับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกที่มีอยู่เดิม และควรมีนโยบายชัดเจนที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ พร้อมทั้งสร้างมาตรฐานของตลาดให้สอดคล้องกันภายทั้งภายในภูมิภาคและในตลาดโลก
***ธปท.ปลอบพื้นฐานศก.ไทยยังแกร่ง***
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า แม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจะลดลงจากไตรมาสแรกที่ 6.1% เป็น 5.3% ในไตรมาส 2 นี้ ซึ่งสอดคล้องกับประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ และอาจจะดีกว่าหลายๆ ประเทศ เช่น ฮ่องกง ที่จีดีพีลดจาก 7.3% เหลือ 4.2% สิงคโปร์ ลดจาก 6.9% เหลือ 2.1% และไต้หวัน ลดจาก 6.3% เหลือ 4.3% ซึ่งก็ทำให้เห็นว่าภาพรวมของไทยยังดีกว่าอีกหลาย ๆ ประเทศนัก เนื่องจากความสามารถในการปรับและฟื้นตัว รวมทั้งความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยจะยังคงดีอยู่ โดยผลสำรวจล่าสุดของตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่า บริษัทจดทะเบียนส่วนมากยังมั่นใจในเศรษฐกิจของประเทศ เพราะสัดส่วนหนี้สินของไทยเมื่อเทียบกับจีดีพีเพิ่งลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปีในปีที่แล้วที่ 29.4% ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงระดับกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐในปัจจุบัน
นางธาริษา กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจธนาคารในปัจจุบันอยู่ในสถานะที่แข็งแรงพอที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนจากตลาดการเงินโลก ภาคเอกชนไทยที่มีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวอย่างรวดเร็วกว่าในอดีต และการที่ประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจทำธุรกิจริเริ่มการลงทุนใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย โดยวัดจากการจัดลำดับล่าสุดของประเทศที่ง่ายต่อทำธุรกิจ โดยธนาคารโลกที่ ปรับให้ไทยขึ้นมาอยู่ที่อันดับที่ 13 ของ 181 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย
นายสุชาติ ธาราดำรงค์เวช รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า แผนการพัฒนาตลาดทุนที่จะครอบคลุมทั้งตลาดหลักทรัพย์ และตลาดตราสารเอกชน คือการเพิ่มจำนวนนักลงทุนรายย่อยในตลาดตราสารหนี้ ก่อนที่จะไปเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในตลาด และส่งเสริมการพัฒนาและการใช้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงอื่นๆ ต่อไป