นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ยอมรับแผนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ยังต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เหตุวิกฤตาสถาบันการเงินสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมือง ส่งผลต่อการลงทุนในประเทศไทยของต่างชาติ บางรายต้องเลื่อนแผนลงทุนออกไปก่อน แต่ยืนยันรายได้ปีนี้ ไม่ลดฮวบ คาดอยู่ระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า จากวิกฤติ การเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ขยายวงกว้าง จนส่งผลกระทบต่อการชะลอการลงทุนไปทั่ว โลกในขณะนี้ โดยเฉพาะในส่วนธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจต้นน้ำ ได้รับผลกระจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวก่อนใคร เห็นได้จากการเติบโตที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้แผนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทต้องเลื่อนออกไปอีก จากเดิมที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ภายในปีนี้
“แผนเดิมเราคาดไว้ว่า อาจมีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขึ้นในนิคมของเรา แต่ปีนี้ต้องเลื่อนออกไป ส่วนปีหน้าก็ยังไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการได้เมื่อไร เพราะเราต้องดูในเรื่องรายได้ในการดำเนินธุรกิจก่อน”
ทั้งนี้ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ AMATA ยืนยันว่าในส่วนของรายได้ในปี 2551 นี้แม้จะมีการปรับตัวลดลงจากเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้ในช่วงต้นปี และมั่นใจว่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา หรือปรับตัวลดลงต่ำกว่านี้เพียงเล็กน้อย เนื่องจาก แม้ช่วงการขายพื้นที่หรือให้เช่าจะได้รับผลกระทบ แต่ยอมขายส่วนใหญ่ยังมาจากนิคมอุสาหกรรมอมตนคร ซึ่งมีราคาเช่าและขายที่ดินสูงกว่านิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เข้ามาชดเชยไว้ได้ เพราะนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครมีราคาที่ดินสูงกว่าร่วม 2 ล้านบาทต่อ 1ไร่
อย่างไรก็ตาม ยอดขายพื้นที่ในนิคมได้ประสบปัญหาจากวิกฤตสถานบันการเงินในสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมืองในประเทศสูงมาก เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติหลายราย แม็ได้ตกลงทำการเซ็นสัญญาแล้ว ก็มีบางรายได้ทำการขอเลื่อนกำหนดการจัดตั้งหรือซื้อที่ดินออกไปก่อน เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว เป็นผลให้ที่ผ่านมา AMATA ได้ทำการปรับยอดขาย พื้นที่ในนิคมฯ จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 1,700 ไร่ เหลือ 1,200-1,250 ไร่ เพื่อให้สอดรับสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่ช่วงนี้
“จากการเจรจากับนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายหลายราย พบว่านักลงทุนได้ชะลอการตัดสินใจการลงทุนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบจากภาวะวิกฤติการเงินของสหรัฐฯ ที่รุนแรงและขยายขอบเขตไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ จนไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบดังกล่าวได้ อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ ยังคงมีปัญหา ส่งผลให้โอกาสในการดึงดูด การลงทุนในไทยลดน้อยลงไป แต่สิ่งที่สำคัญนี่คือเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนกลับมาให้เร็วที่สุด” นายวิบูลย์ กล่าว
ล่าสุดในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า มีนักลงทุนญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 4 ราย ขอชะลอการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซึ่งนักลงทุนทั้ง 4 รายต้องการพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่
ส่วนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ นายวิบูลย์ กล่าวว่า จะต้องจับตาดูสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิดทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม เพื่อนำไปสู่การปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับภาวะความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทเตรียมที่จะวางแผนธุรกิจล่วงหน้าใน ปี 2552 เพื่อรักษาระดับการเติบโตทางธุรกิจไว้ต่อไป
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูไนเต็ด จำกัด ได้จัดทำบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเติบโตจทางธุรกิจของ AMATA ว่า ในไตรมาส3/2551 บริษัทจะมียอดขายที่ดิน 241 ไร่จากอมตะนคร 125 ไร่ และอมตะซิตี้ 116 ไร่ รวมเป็นทั้งหมด 650 ไร่ในรอบ 9 เดือนแรก ซึ่งคิดเป็น 38% จากเป้าหมายยอดขายที่ดินทั้งปี 1,700 ไร่ และมียอด Backlog ณ สิ้น 2Q08 ทั้งหมด 1,100 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทยอยรับรู้ในปีนี้ประมาณ 500 ล้านบาท และสำหรับยอดขายที่ดินในไตรมาส 4 ยังต้องขายให้ได้ 1,050 ไร่เพื่อให้ถึงเป้าที่วางไว้ ซึ่งแม้ว่า AMATA จะมีลูกค้าที่กำลังเจรจามีจำนวนมากกว่า 30 ราย คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 1,800 ไร่ แต่มีโอกาสที่ยอดขายที่ดินบางส่วนต้องเลื่อนไปในปี2552 ส่งผลให้ยอดขายที่ดินทั้งปีอยู่ในระดับเพียง 1,000 ไร่ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในประมาณการณ์ที่ตลาดคาดหวัง
ขณะเดียวกัน จากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว เป็นความเสี่ยงในระยะยาวที่ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศหดตัว โดยขณะนี้เริ่มส่งผลให้ยอดขอ BOI ของนักลงทุนต่างชาติใน 8 เดือนแรกปี 2551 ลดลง 43%YoY แต่รายได้ประจำจากค่าเช่าและค่าสาธารณูปโภคยังเติบโตตามลูกค้าในนิคมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนของโรงงานให้เช่าได้ขยายโรงงานอีก 24,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 75%
“เราคาดว่ารายได้โดยรวมในไตรมาส3จะเท่ากับ 1,053 ล้านบาท โดยยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับเดิมได้ และมีกำไร 321 ล้านบาท ลดลง 17.6%YoY และ 2.3%QoQ ซึ่งถ้ามองทั้งปีนี้คาดว่าแม้ปัญหาทางด้านการเมืองจะยังไม่คลี่คลาย เรามองยอดขายที่ดิน 1,000 ไร่ ส่งผลให้รายได้รวมลดลง 5.8%YoY โดยอัตรกำไรขั้นตั้นยังทรงตัว ทำให้กำไรมีแนวโน้มทรงตัวที่ 1,084 ล้านบาท ซึ่งมองจากภาพรวมยังไม่เห็นปัจจัยที่จะผลักดันยอดขายที่ดินให้โดดเด่นเหมือนในอดีต”
โดย บล.ยูไนเต็ด ให้คำแนะนำถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ AMATA ว่า ในปัจจุบันAMATA ซื้อขายกัน ณ ระดับ P/E เท่ากับ 11.2x ของกำไรต่อหุ้นปี2551จากการประเมินราคาเป้าหมายโดยอิงจากค่า P/Eที่ระดับเพียง 15x แต่คาดว่าจะไม่เห็นการเติบโตของกำไรในปี2551 และ 2552 เนื่องจากได้รับกดดันจากบรรยากาศทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม AMATA เป็นผู้นำตลาดนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้ราคาเป้าหมาย 14.5บาท/หุ้น โดยมองว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวลงมาจากความกังวลในปัญหาการเมืองมากเกินไป ซึ่งแม้จะประมาณการณ์เพียง 1,000 ไร่ ก็ทำให้มี Upside gain 60% จึงแนะนำ “ซื้อ”
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า จากวิกฤติ การเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ขยายวงกว้าง จนส่งผลกระทบต่อการชะลอการลงทุนไปทั่ว โลกในขณะนี้ โดยเฉพาะในส่วนธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งถือได้ว่าเป็นธุรกิจต้นน้ำ ได้รับผลกระจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวก่อนใคร เห็นได้จากการเติบโตที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้แผนการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทต้องเลื่อนออกไปอีก จากเดิมที่คาดว่าจะสามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ภายในปีนี้
“แผนเดิมเราคาดไว้ว่า อาจมีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ขึ้นในนิคมของเรา แต่ปีนี้ต้องเลื่อนออกไป ส่วนปีหน้าก็ยังไม่แน่ใจว่าจะดำเนินการได้เมื่อไร เพราะเราต้องดูในเรื่องรายได้ในการดำเนินธุรกิจก่อน”
ทั้งนี้ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ AMATA ยืนยันว่าในส่วนของรายได้ในปี 2551 นี้แม้จะมีการปรับตัวลดลงจากเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้ในช่วงต้นปี และมั่นใจว่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา หรือปรับตัวลดลงต่ำกว่านี้เพียงเล็กน้อย เนื่องจาก แม้ช่วงการขายพื้นที่หรือให้เช่าจะได้รับผลกระทบ แต่ยอมขายส่วนใหญ่ยังมาจากนิคมอุสาหกรรมอมตนคร ซึ่งมีราคาเช่าและขายที่ดินสูงกว่านิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เข้ามาชดเชยไว้ได้ เพราะนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครมีราคาที่ดินสูงกว่าร่วม 2 ล้านบาทต่อ 1ไร่
อย่างไรก็ตาม ยอดขายพื้นที่ในนิคมได้ประสบปัญหาจากวิกฤตสถานบันการเงินในสหรัฐฯ และสถานการณ์การเมืองในประเทศสูงมาก เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติหลายราย แม็ได้ตกลงทำการเซ็นสัญญาแล้ว ก็มีบางรายได้ทำการขอเลื่อนกำหนดการจัดตั้งหรือซื้อที่ดินออกไปก่อน เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว เป็นผลให้ที่ผ่านมา AMATA ได้ทำการปรับยอดขาย พื้นที่ในนิคมฯ จากเดิมตั้งเป้าไว้ที่ 1,700 ไร่ เหลือ 1,200-1,250 ไร่ เพื่อให้สอดรับสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่ช่วงนี้
“จากการเจรจากับนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายหลายราย พบว่านักลงทุนได้ชะลอการตัดสินใจการลงทุนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบจากภาวะวิกฤติการเงินของสหรัฐฯ ที่รุนแรงและขยายขอบเขตไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ จนไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบดังกล่าวได้ อีกทั้งสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ ยังคงมีปัญหา ส่งผลให้โอกาสในการดึงดูด การลงทุนในไทยลดน้อยลงไป แต่สิ่งที่สำคัญนี่คือเรื่องที่รัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนกลับมาให้เร็วที่สุด” นายวิบูลย์ กล่าว
ล่าสุดในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า มีนักลงทุนญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ จำนวน 4 ราย ขอชะลอการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซึ่งนักลงทุนทั้ง 4 รายต้องการพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่
ส่วนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ นายวิบูลย์ กล่าวว่า จะต้องจับตาดูสถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิดทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม เพื่อนำไปสู่การปรับกลยุทธ์ให้สอดรับกับภาวะความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทเตรียมที่จะวางแผนธุรกิจล่วงหน้าใน ปี 2552 เพื่อรักษาระดับการเติบโตทางธุรกิจไว้ต่อไป
เมื่อเร็วๆนี้ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูไนเต็ด จำกัด ได้จัดทำบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มการเติบโตจทางธุรกิจของ AMATA ว่า ในไตรมาส3/2551 บริษัทจะมียอดขายที่ดิน 241 ไร่จากอมตะนคร 125 ไร่ และอมตะซิตี้ 116 ไร่ รวมเป็นทั้งหมด 650 ไร่ในรอบ 9 เดือนแรก ซึ่งคิดเป็น 38% จากเป้าหมายยอดขายที่ดินทั้งปี 1,700 ไร่ และมียอด Backlog ณ สิ้น 2Q08 ทั้งหมด 1,100 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทยอยรับรู้ในปีนี้ประมาณ 500 ล้านบาท และสำหรับยอดขายที่ดินในไตรมาส 4 ยังต้องขายให้ได้ 1,050 ไร่เพื่อให้ถึงเป้าที่วางไว้ ซึ่งแม้ว่า AMATA จะมีลูกค้าที่กำลังเจรจามีจำนวนมากกว่า 30 ราย คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 1,800 ไร่ แต่มีโอกาสที่ยอดขายที่ดินบางส่วนต้องเลื่อนไปในปี2552 ส่งผลให้ยอดขายที่ดินทั้งปีอยู่ในระดับเพียง 1,000 ไร่ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในประมาณการณ์ที่ตลาดคาดหวัง
ขณะเดียวกัน จากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว เป็นความเสี่ยงในระยะยาวที่ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศหดตัว โดยขณะนี้เริ่มส่งผลให้ยอดขอ BOI ของนักลงทุนต่างชาติใน 8 เดือนแรกปี 2551 ลดลง 43%YoY แต่รายได้ประจำจากค่าเช่าและค่าสาธารณูปโภคยังเติบโตตามลูกค้าในนิคมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนของโรงงานให้เช่าได้ขยายโรงงานอีก 24,000 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 75%
“เราคาดว่ารายได้โดยรวมในไตรมาส3จะเท่ากับ 1,053 ล้านบาท โดยยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับเดิมได้ และมีกำไร 321 ล้านบาท ลดลง 17.6%YoY และ 2.3%QoQ ซึ่งถ้ามองทั้งปีนี้คาดว่าแม้ปัญหาทางด้านการเมืองจะยังไม่คลี่คลาย เรามองยอดขายที่ดิน 1,000 ไร่ ส่งผลให้รายได้รวมลดลง 5.8%YoY โดยอัตรกำไรขั้นตั้นยังทรงตัว ทำให้กำไรมีแนวโน้มทรงตัวที่ 1,084 ล้านบาท ซึ่งมองจากภาพรวมยังไม่เห็นปัจจัยที่จะผลักดันยอดขายที่ดินให้โดดเด่นเหมือนในอดีต”
โดย บล.ยูไนเต็ด ให้คำแนะนำถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ AMATA ว่า ในปัจจุบันAMATA ซื้อขายกัน ณ ระดับ P/E เท่ากับ 11.2x ของกำไรต่อหุ้นปี2551จากการประเมินราคาเป้าหมายโดยอิงจากค่า P/Eที่ระดับเพียง 15x แต่คาดว่าจะไม่เห็นการเติบโตของกำไรในปี2551 และ 2552 เนื่องจากได้รับกดดันจากบรรยากาศทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
อย่างไรก็ตาม AMATA เป็นผู้นำตลาดนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งจะได้ราคาเป้าหมาย 14.5บาท/หุ้น โดยมองว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวลงมาจากความกังวลในปัญหาการเมืองมากเกินไป ซึ่งแม้จะประมาณการณ์เพียง 1,000 ไร่ ก็ทำให้มี Upside gain 60% จึงแนะนำ “ซื้อ”