ASTVผู้จัดการรายวัน -อมตะ คอร์ปอเรชั่น หวังการเมืองนิ่ง ส่งผลดีต่อยอดขาที่ดินในนิคมปี 53 ทะลุ 300 ไร่ หลังปีนี้รับผลกระทบการเมืองเต็ม ๆ คาดขายได้ประมาณ 300 ไร่ "วิบูลย์" เผยเร่งระบายที่ดินเพื่อเก็บกำไรขั้นต้นดี ดันผลงานสวย
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA กล่าวว่า บริษัทจะพยายามเพิ่มยอดขายที่ดินทั้งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและอมตะซิตี้ให้กลับมาสู่ภาวะปกติที่เคยมีสัดส่วนจากการขายที่ดิน 70% ส่วนอีก 30% จะมาจากรายได้การบริการ เพราะปีนี้ถือเป็นปีที่ไม่ปกติเพราะได้รับจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นิ่ง
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจนและไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงก็น่าจะทำให้ยอดขายที่ดินของบริษัทในปี 53 สูงกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะขายได้ประมาณ 300 ไร่ โดย 9 เดือนแรกของปี 52 มียอดขายที่ดินแล้วเพียง 121 ไร่ ซึ่งหากการเมืองเลวร้ายก็อาจจะทำให้ขายแทบไม่ได้ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทยังมีที่ดินเหลืออยู่ 1 หมื่นไร่ แบ่งเป็นที่ดินในอมตะนคร 6 พันไร่ และอมตะซิตี้ 4 พันไร่ ซึ่งบริษัทจะพยายามขายที่ดินให้ได้เพิ่มขึ้น เพื่อดันให้อัตรากำไรขั้นต้น(Gross Profit ) สูงถึง 50-60%
"เราอยากทำให้ปีหน้าการขายที่ดินของเรากลับมาปกติ และกลับมาทำสถิติที่ 900-1,000ไร่อย่างปี 51 แต่ก็พูดยาก เพราะหากสถานการณ์การเมืองยังระอุคุกรุ่น ก็อาจจะทำให้ขายไม่ได้ หรือเป็นศูนย์ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่ลูกค้าก็กังวลเหมือนกัน " นายวิบูลย์ กล่าว
สำหรับกรณีมาบตาพุด ส่วนตัวมองว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เพราะโครงการที่มาบพุดเป็นโครงการต้นน้ำ หากต้นน้ำแย่ พวกที่ทำธุรกิจปลายน้ำก็จะแย่ไปด้วย ซึ่งในส่วนของบริษัท มองว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปลายน้ำในระยะสั้นคงจะยังไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีที่สุด และประเมินว่าในไตรมาสแรกปี53 คงจะมีความชัดเจน
ขณะที่ในส่วนของเศรษฐกิจโลกมองว่า ยังไม่ได้ดีมาก แต่ที่ดีขึ้นมาจากการอัดฉีดเงินของภาครัฐมากกว่า แต่จะชัดเจนกลางปี 53 เชื่อว่าต่างชาติที่จะเข้ามาซื้อที่ดินคงจะยังไม่ถอนการลงทุน แต่ก็มีบ้างที่ชะลอออกไป เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประนีประนอม เทียบกับเพื่อนบ้านแล้วถือว่าดีกว่า
ก่อนหน้านี้ AMATA บอกว่าขอประเมินการกระตุ้นของภาครัฐก่อน แต่ก็เหมือนว่าจะไม่ได้ผล เพราแม้ว่าจะเจรจาลูกค้าและนักลงทุน เพื่อให้เข้าลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทแต่จากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ดีลเจรจาล่าช้ากว่าเดิมและสุดท้ายก็จบลงด้วยการปิดดีลไม่ได้ แม้ว่าลูกค้าใหม่จะไม่ได้ประสบผลสำเร็จนัก แต่ในส่วนของลูกค้าเก่าที่ลงทุนอยู่นิคมของบริษัท ไม่มีการปิดกิจการหรือถอนการลงทุนแต่อย่างใดเพราะส่วนใหญ่จะปรับลดต้นทุนการผลิตแทนการปลดพนักงาน
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA กล่าวว่า บริษัทจะพยายามเพิ่มยอดขายที่ดินทั้งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและอมตะซิตี้ให้กลับมาสู่ภาวะปกติที่เคยมีสัดส่วนจากการขายที่ดิน 70% ส่วนอีก 30% จะมาจากรายได้การบริการ เพราะปีนี้ถือเป็นปีที่ไม่ปกติเพราะได้รับจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่นิ่ง
อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจนและไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงก็น่าจะทำให้ยอดขายที่ดินของบริษัทในปี 53 สูงกว่าปีนี้ที่คาดว่าจะขายได้ประมาณ 300 ไร่ โดย 9 เดือนแรกของปี 52 มียอดขายที่ดินแล้วเพียง 121 ไร่ ซึ่งหากการเมืองเลวร้ายก็อาจจะทำให้ขายแทบไม่ได้ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทยังมีที่ดินเหลืออยู่ 1 หมื่นไร่ แบ่งเป็นที่ดินในอมตะนคร 6 พันไร่ และอมตะซิตี้ 4 พันไร่ ซึ่งบริษัทจะพยายามขายที่ดินให้ได้เพิ่มขึ้น เพื่อดันให้อัตรากำไรขั้นต้น(Gross Profit ) สูงถึง 50-60%
"เราอยากทำให้ปีหน้าการขายที่ดินของเรากลับมาปกติ และกลับมาทำสถิติที่ 900-1,000ไร่อย่างปี 51 แต่ก็พูดยาก เพราะหากสถานการณ์การเมืองยังระอุคุกรุ่น ก็อาจจะทำให้ขายไม่ได้ หรือเป็นศูนย์ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่ลูกค้าก็กังวลเหมือนกัน " นายวิบูลย์ กล่าว
สำหรับกรณีมาบตาพุด ส่วนตัวมองว่าเร็วเกินไปที่จะประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าจะมีผลกระทบระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เพราะโครงการที่มาบพุดเป็นโครงการต้นน้ำ หากต้นน้ำแย่ พวกที่ทำธุรกิจปลายน้ำก็จะแย่ไปด้วย ซึ่งในส่วนของบริษัท มองว่าผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปลายน้ำในระยะสั้นคงจะยังไม่รุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ดีที่สุด และประเมินว่าในไตรมาสแรกปี53 คงจะมีความชัดเจน
ขณะที่ในส่วนของเศรษฐกิจโลกมองว่า ยังไม่ได้ดีมาก แต่ที่ดีขึ้นมาจากการอัดฉีดเงินของภาครัฐมากกว่า แต่จะชัดเจนกลางปี 53 เชื่อว่าต่างชาติที่จะเข้ามาซื้อที่ดินคงจะยังไม่ถอนการลงทุน แต่ก็มีบ้างที่ชะลอออกไป เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ประนีประนอม เทียบกับเพื่อนบ้านแล้วถือว่าดีกว่า
ก่อนหน้านี้ AMATA บอกว่าขอประเมินการกระตุ้นของภาครัฐก่อน แต่ก็เหมือนว่าจะไม่ได้ผล เพราแม้ว่าจะเจรจาลูกค้าและนักลงทุน เพื่อให้เข้าลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทแต่จากภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลให้ดีลเจรจาล่าช้ากว่าเดิมและสุดท้ายก็จบลงด้วยการปิดดีลไม่ได้ แม้ว่าลูกค้าใหม่จะไม่ได้ประสบผลสำเร็จนัก แต่ในส่วนของลูกค้าเก่าที่ลงทุนอยู่นิคมของบริษัท ไม่มีการปิดกิจการหรือถอนการลงทุนแต่อย่างใดเพราะส่วนใหญ่จะปรับลดต้นทุนการผลิตแทนการปลดพนักงาน