ASTVผู้จัดการรายวัน - อมตะคอร์ปอเรชั่น อ่อยยอดขายที่ดินในนิคมฯปี 52 ต่ำ ลุ้นปีการเมืองนิ่งปัญหามาบตาพุดจบ ดันยอดขายฟื้น เผยอยู่ระหว่างจัดหาพื้นที่ในพม่าสร้างนิคมฯ รับนักลงทุน ลดความเสี่ยงหลังยอดขายนิคมฯในไทยตก ขณะการตั้งเมืองวิทยาศาสตร์ อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาหาข้อสรุป เบื้องต้นคาดใช้เงิน เกือบ 300 ล.บนพื้นที่ 500-1,000 ไร่
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า ยอดขายพื้นที่รวมของนิคมอุตสาหกรรมอมตะในปี52 อยู่ที่ 200 กว่าไร่ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าเป้าเดิมที่ตั้งไว้ว่าจะขายพื้นที่ได้ 300 ไร่ หรือพลาดเป้าไป 30-40 ไร่ เนื่องจากมีบางส่วนที่เซ็นหนังสือแสดงเจตจำนงซื้อพื้นที่ไว้แต่จะมีการจ่ายเงินจริงในอีก 4 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือว่ายอดขายพื้นที่ของนิคมฯ ลดลงจากปี51 ที่ขายพื้นที่ได้ทั้งหมด 896 ไร่
โดยเป้ายอดขายพื้นที่ในปี53 คงต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปี53 ก่อน โดยเฉพาะปัญหามาบตาพุดว่าจะจบลักษณะใด เพราะหากมีความชัดเจนก็น่าจะประเมินได้ว่ายอดขายพื้นที่ AMATA ปีนี้จะอยู่ที่เท่าใด เบื้องต้นประเมินว่าถ้าสถานการณ์ยังไม่เป็นแบบนี้ยอดขายพื้นที่ก็คงไม่ต่างจากปี52 แต่ถ้าสถานการณ์ผลิกกลับมาเป็นบวกเชื่อว่ายอดขายพื้นที่ AMATA ในปี53 น่าจะฟื้นกลับมาได้ ซึ่้งปัจจัยสำคัญที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนคือ การเมืองและปัญหามาบตาพูดต้องจบลง
สำหรับ รายได้ของ AMATA ในปี 52 ถือว่าเป็นปีที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 7-8 ปี นับตั้งแต่ปี 45-46 ซึ่งขณะนี้ AMATA ยังมีพื้นที่เหลืออยู่ในมือทั้งหมด 1 หมื่นไร่เศษ โดยเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาพร้อมขายแล้ว 1.5-1.8 พันไร่ ล่าสุด AMATA ได้เซ็นสัญญาซื้อขายพื้นที่แปลงแรกของปีนี้ได้แล้ว 5 ไร่ มูลค่า 20 ล้านบาท ให้กับบริษัทร่วมทุนระหว่างนักลงทุนญี่ปุ่นกับไทยที่ทำธุรกิจโลจิสติกส์
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ AMATA อยู่ระหว่างศึกษาการจัดหาพื้นที่การทำนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับกิจการ AMATA ในไทย ทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เบื้องต้นสนใจซื้อที่ดินในประเทศพม่าในสร้างนิคมฯรองรับนักลงทุนจากอินเดียและยุโรปรวมถึงขยายพื้นที่นิคมฯในประเทศเวียดนาม หลังจากโครงการแรกยอดเช่าพื้นที่หมดอย่างรวดเร็ว
นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ AMATA กล่าวภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งเมืองวิทยาศาสตร์AMATA กับ 8 มหาวิทยาลัยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศเพื่อให้ศึกษาว่าจะต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่ ต้องมีอุตสาหกรรมประเภทไหนและต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ คาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในครึ่งแรกปี 53 เบื้องต้นคาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 500-1,000 ไร่ใช้เงินลงทุนประมาณ 200-300 ล้านบาท
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ AMATA เปิดเผยว่า ยอดขายพื้นที่รวมของนิคมอุตสาหกรรมอมตะในปี52 อยู่ที่ 200 กว่าไร่ ซึ่งถือว่าน้อยกว่าเป้าเดิมที่ตั้งไว้ว่าจะขายพื้นที่ได้ 300 ไร่ หรือพลาดเป้าไป 30-40 ไร่ เนื่องจากมีบางส่วนที่เซ็นหนังสือแสดงเจตจำนงซื้อพื้นที่ไว้แต่จะมีการจ่ายเงินจริงในอีก 4 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือว่ายอดขายพื้นที่ของนิคมฯ ลดลงจากปี51 ที่ขายพื้นที่ได้ทั้งหมด 896 ไร่
โดยเป้ายอดขายพื้นที่ในปี53 คงต้องรอดูสถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปี53 ก่อน โดยเฉพาะปัญหามาบตาพุดว่าจะจบลักษณะใด เพราะหากมีความชัดเจนก็น่าจะประเมินได้ว่ายอดขายพื้นที่ AMATA ปีนี้จะอยู่ที่เท่าใด เบื้องต้นประเมินว่าถ้าสถานการณ์ยังไม่เป็นแบบนี้ยอดขายพื้นที่ก็คงไม่ต่างจากปี52 แต่ถ้าสถานการณ์ผลิกกลับมาเป็นบวกเชื่อว่ายอดขายพื้นที่ AMATA ในปี53 น่าจะฟื้นกลับมาได้ ซึ่้งปัจจัยสำคัญที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนคือ การเมืองและปัญหามาบตาพูดต้องจบลง
สำหรับ รายได้ของ AMATA ในปี 52 ถือว่าเป็นปีที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 7-8 ปี นับตั้งแต่ปี 45-46 ซึ่งขณะนี้ AMATA ยังมีพื้นที่เหลืออยู่ในมือทั้งหมด 1 หมื่นไร่เศษ โดยเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาพร้อมขายแล้ว 1.5-1.8 พันไร่ ล่าสุด AMATA ได้เซ็นสัญญาซื้อขายพื้นที่แปลงแรกของปีนี้ได้แล้ว 5 ไร่ มูลค่า 20 ล้านบาท ให้กับบริษัทร่วมทุนระหว่างนักลงทุนญี่ปุ่นกับไทยที่ทำธุรกิจโลจิสติกส์
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ AMATA อยู่ระหว่างศึกษาการจัดหาพื้นที่การทำนิคมอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับกิจการ AMATA ในไทย ทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหาการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เบื้องต้นสนใจซื้อที่ดินในประเทศพม่าในสร้างนิคมฯรองรับนักลงทุนจากอินเดียและยุโรปรวมถึงขยายพื้นที่นิคมฯในประเทศเวียดนาม หลังจากโครงการแรกยอดเช่าพื้นที่หมดอย่างรวดเร็ว
นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ AMATA กล่าวภายหลังลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดตั้งเมืองวิทยาศาสตร์AMATA กับ 8 มหาวิทยาลัยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศเพื่อให้ศึกษาว่าจะต้องใช้พื้นที่เท่าไหร่ ต้องมีอุตสาหกรรมประเภทไหนและต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ คาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในครึ่งแรกปี 53 เบื้องต้นคาดว่าจะใช้พื้นที่ประมาณ 500-1,000 ไร่ใช้เงินลงทุนประมาณ 200-300 ล้านบาท