การมีเงินมากๆ ไม่สำคัญเท่ากับว่า จะรักษาเงินนั้นให้อยู่ได้อย่างไร เพราะต่อให้มีเงินมากเท่าไหร่ ถ้าใช้มากกว่าที่หาได้ ไม่ช้าเงินก็ต้องร่อยหรอ และ หมดไปในที่สุด ดังนั้น ชีวิตเราต้องมีสิ่งที่เป็นสิ่งที่เราต้องการเสมอ นั่นหมายถึงต้องมี “เป้าหมาย” ไว้เสมอ
แล้วเป้าหมายของเราคืออะไรกัน ลองคิดกันดูว่าเป้าหมายของคนเราจะมีอะไรกันบ้าง อย่างแรกคือมีความปรารถนา และมีเป้าหมายที่จะมี บ้าน รถ หรืออยากส่งลูกเรียนต่างประเทศ หรือมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายในช่วงหลังชีวิตวัยเกษียณ หรือ ก่อนเกษียณ หรือไม่ โดยให้กำหนดเป้าหมายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าในชีวิตเรา หรือในช่วงเวลานี้อยากได้อะไร
เมื่อเรารู้แล้วว่าเป้าหมายของเราคืออะไร สิ่งที่ยากมากขึ้นไปกว่านั้นคือ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น เราจะพบว่าบรรดาผู้ที่ทำงานประจำจำนวนไม่น้อย มีวิถีชีวิตที่มีค่าใช้จ่ายมากมายเกินกว่าที่จะมีเหลือเก็บ หรือต้องใช้มากกว่าที่จะหาได้ ทำให้บางคนต้องหาเงินมาใช้โดยการ กู้เงิน เล่นแชร์ หรือยอมเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายๆ ใบ ก็เพราะต้องการใช้สินค้าที่เกินความจำเป็นเนื่องจากความอยากมีอยากได้นั้นเอง เช่น ตอนเย็นก็ต้องไปฉลอง ไปดื่มกับเพื่อน หรือเห็นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง สินค้าลดราคาก็ซื้อ ทั้ง ๆ ที่ของเดิมก็มีอยู่แล้ว เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเราคิดให้ดีๆ ล้างใจตนเอง แล้วนำทั้งเงินและเวลาที่เคยต้องเสียไปในสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์มากนัก เอาไปทำธุรกิจ หรือนำไปวางแผนศึกษาการลงทุน หาโอกาสในการลงทุน หรือหาทางคิดจะทำเงินให้งอกเงยอย่างฉลาด ก็จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ได้ ไม้ช้าก็เร็ว
เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตนเองแล้ว เราต้องมีหลักปฏิบัติ โดยหลักง่ายๆ ก็คือ ควรจ่ายให้กับตนเองก่อน การจ่ายให้กับตนเองหมายถึง การกันเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อนำมาลงทุนและนำไปฝากออม อย่างสม่ำเสมอโดยมีวินัยกับตนเองให้ได้นั่นเอง วิธีง่ายๆ เพื่อสร้างให้ท่านมีวินัยทางการเงินและมีเงินเหลือเก็บที่มากขึ้น มีหลายประการ ดังนี้ ให้ทำการเปิดบัญชีกับธนาคารไว้เท่ากับจำนวนเป้าหมายที่เรากำหนด เช่นต้องการมีเงินเรียนต่อ 1 บัญชี ต้องการมีเงินไว้ใช้ยามแก่ 1 บัญชี เป็นต้นโดยไม่ลืมบัญชีที่จำเป็นคือ บัญชีค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวซึ่งประกอบด้วย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ซ่อมแซมต่างๆ โดยอย่าถอนเงินผิดบัญชีที่เป็นเป้าหมายมาให้ผิดประเภท เมื่อทำได้แล้วให้ทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และเงินเหลือเก็บแต่ละเดือน เราก็จะรู้ว่าแต่ละเดือนจะต้องใส่เงินเข้าไปในแต่ละบัญชี เดือนเท่าไร และต้องกันเงินเป็นสัดส่วนเท่าไรบ้าง ถ้ามีเป้าหมายทางการเงินที่สูง แต่รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแทบจะไม่เหลือ นั้นก็จะเป็นปัญหาของเราแล้วว่าจะต้องแสวงหาเงินจำนวนนั้นมาเพิ่มเติมอย่างสุจริตชนพึงกระทำ อาจเป็นอาชีพเสริมหลังเลิกงาน หรือจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางรายการออกไป เป็นต้น ทั้งนี้ขอให้ยึดมั่นกับเป้าหมายตนเอง และมีวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด หลังจากนั้น เราควรพยายามศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องโอกาสการลงทุน โอกาสในการทำเงิน ความรู้เกี่ยวกับภาษี หรืออาจหาโอกาสเข้าฟังสัมมนาเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวางแผนทางการเงินจากสถาบันต่างๆ และมีหลายสถาบันที่จัดการอบรมให้โดยไม่ต้องเสียเงินเข้าฟัง หรือ เข้าไปเรียนในระบบ E-learning ได้มากมาย เพราะเงินที่เราอุตสาห์มีวินัยออมมาตลอด ไม่ควรนำไปลงทุนหากยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นเพียงพอ
ถึงเวลาแล้วที่เราควรเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของตัวเราเอง แต่เท่าที่ได้พบมา คนที่ไม่สามารถวางแผนการเงินให้ตนเองได้ เพราะมักจะมีข้ออ้างเสมอ “ลูกยังเล็ก” “ทำงานกลับมาก็เหนื่อยแล้ว“ “ยังไม่พร้อม” ไม่มีเงินเหลือ แค่ใช้ให้พอไปวัน ๆ เดือน ๆ ก็จะตายอยู่แล้ว
แต่รู้อะไรหรือเปล่าว่าเวลาที่ดีที่สุดของเราก็คือ เดี๋ยวนี้
Now Or Never
แล้วเป้าหมายของเราคืออะไรกัน ลองคิดกันดูว่าเป้าหมายของคนเราจะมีอะไรกันบ้าง อย่างแรกคือมีความปรารถนา และมีเป้าหมายที่จะมี บ้าน รถ หรืออยากส่งลูกเรียนต่างประเทศ หรือมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบายในช่วงหลังชีวิตวัยเกษียณ หรือ ก่อนเกษียณ หรือไม่ โดยให้กำหนดเป้าหมายออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าในชีวิตเรา หรือในช่วงเวลานี้อยากได้อะไร
เมื่อเรารู้แล้วว่าเป้าหมายของเราคืออะไร สิ่งที่ยากมากขึ้นไปกว่านั้นคือ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตนเอง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น เราจะพบว่าบรรดาผู้ที่ทำงานประจำจำนวนไม่น้อย มีวิถีชีวิตที่มีค่าใช้จ่ายมากมายเกินกว่าที่จะมีเหลือเก็บ หรือต้องใช้มากกว่าที่จะหาได้ ทำให้บางคนต้องหาเงินมาใช้โดยการ กู้เงิน เล่นแชร์ หรือยอมเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายๆ ใบ ก็เพราะต้องการใช้สินค้าที่เกินความจำเป็นเนื่องจากความอยากมีอยากได้นั้นเอง เช่น ตอนเย็นก็ต้องไปฉลอง ไปดื่มกับเพื่อน หรือเห็นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง สินค้าลดราคาก็ซื้อ ทั้ง ๆ ที่ของเดิมก็มีอยู่แล้ว เป็นต้น ซึ่งถ้าหากเราคิดให้ดีๆ ล้างใจตนเอง แล้วนำทั้งเงินและเวลาที่เคยต้องเสียไปในสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์มากนัก เอาไปทำธุรกิจ หรือนำไปวางแผนศึกษาการลงทุน หาโอกาสในการลงทุน หรือหาทางคิดจะทำเงินให้งอกเงยอย่างฉลาด ก็จะทำให้บรรลุถึงสิ่งที่เราตั้งเป้าหมายไว้ได้ ไม้ช้าก็เร็ว
เมื่อต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตนเองแล้ว เราต้องมีหลักปฏิบัติ โดยหลักง่ายๆ ก็คือ ควรจ่ายให้กับตนเองก่อน การจ่ายให้กับตนเองหมายถึง การกันเงินไว้ส่วนหนึ่งเพื่อนำมาลงทุนและนำไปฝากออม อย่างสม่ำเสมอโดยมีวินัยกับตนเองให้ได้นั่นเอง วิธีง่ายๆ เพื่อสร้างให้ท่านมีวินัยทางการเงินและมีเงินเหลือเก็บที่มากขึ้น มีหลายประการ ดังนี้ ให้ทำการเปิดบัญชีกับธนาคารไว้เท่ากับจำนวนเป้าหมายที่เรากำหนด เช่นต้องการมีเงินเรียนต่อ 1 บัญชี ต้องการมีเงินไว้ใช้ยามแก่ 1 บัญชี เป็นต้นโดยไม่ลืมบัญชีที่จำเป็นคือ บัญชีค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวซึ่งประกอบด้วย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ซ่อมแซมต่างๆ โดยอย่าถอนเงินผิดบัญชีที่เป็นเป้าหมายมาให้ผิดประเภท เมื่อทำได้แล้วให้ทำการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายภายในบ้าน และเงินเหลือเก็บแต่ละเดือน เราก็จะรู้ว่าแต่ละเดือนจะต้องใส่เงินเข้าไปในแต่ละบัญชี เดือนเท่าไร และต้องกันเงินเป็นสัดส่วนเท่าไรบ้าง ถ้ามีเป้าหมายทางการเงินที่สูง แต่รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายแทบจะไม่เหลือ นั้นก็จะเป็นปัญหาของเราแล้วว่าจะต้องแสวงหาเงินจำนวนนั้นมาเพิ่มเติมอย่างสุจริตชนพึงกระทำ อาจเป็นอาชีพเสริมหลังเลิกงาน หรือจำเป็นต้องประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นบางรายการออกไป เป็นต้น ทั้งนี้ขอให้ยึดมั่นกับเป้าหมายตนเอง และมีวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด หลังจากนั้น เราควรพยายามศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องโอกาสการลงทุน โอกาสในการทำเงิน ความรู้เกี่ยวกับภาษี หรืออาจหาโอกาสเข้าฟังสัมมนาเกี่ยวกับการลงทุน หรือการวางแผนทางการเงินจากสถาบันต่างๆ และมีหลายสถาบันที่จัดการอบรมให้โดยไม่ต้องเสียเงินเข้าฟัง หรือ เข้าไปเรียนในระบบ E-learning ได้มากมาย เพราะเงินที่เราอุตสาห์มีวินัยออมมาตลอด ไม่ควรนำไปลงทุนหากยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นเพียงพอ
ถึงเวลาแล้วที่เราควรเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของตัวเราเอง แต่เท่าที่ได้พบมา คนที่ไม่สามารถวางแผนการเงินให้ตนเองได้ เพราะมักจะมีข้ออ้างเสมอ “ลูกยังเล็ก” “ทำงานกลับมาก็เหนื่อยแล้ว“ “ยังไม่พร้อม” ไม่มีเงินเหลือ แค่ใช้ให้พอไปวัน ๆ เดือน ๆ ก็จะตายอยู่แล้ว
แต่รู้อะไรหรือเปล่าว่าเวลาที่ดีที่สุดของเราก็คือ เดี๋ยวนี้
Now Or Never