กองทุนส่วนบุคคลเดือนกรกฎาคมซึมพิษหุ้น เงินลงทุนทั้งระบบไหลเข้า-ออกค่อนข้างเบาบาง สุดท้ายลดลงอีก 170.81 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมขยับลงมาอยู่ที่ 176,330.71 ล้านบาท โดย "บลจ.นครหลวงไทย" รับพอร์ตบริษัทในเครือเข้าพอร์ตกว่า 2,375.71 ล้านบาท ผู้บริหารเผยปีนี้ ทำการตลาดยาก เหตุหุ้นผันผวน ฉุดการลงทุนเพิ่ม ด้าน "บลจ.กสิกรไทย" ยังรั้งแชมป์มาร์เกตแชร์เบอร์หนึ่ง ด้วยสินทรัพย์รวม 33,780.37 ล้านบาท
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีทรัพย์สินสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 176,330.71 ล้านบาท โดยคิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ประมาณ 170.81 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 176,501.52 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรม บริษัทจัดการกองทุนหลายรายมีสินทรัพย์เพิ้มขึ้นจากเดือนก่อนหน้านี้ และอีกหลายบริษัทมีสินทรัพย์ลดลง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย เพราะการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล ส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในหุ้นมากกว่า อย่างไรก็ตาม จากสัดส่วนที่เพิ่มจากจากหลายบริษัทจัดการ จึงทำให้ภาพรวมปรับลดลงไปเพียงเล็กน้อยดังกล่าว
สำหรับบริษัทจัดการที่มีสินทรัพย์ลดลงสูงที่สุดคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด โดยสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,107.06 ล้านบาท ลดลงประมาณ 2,339.25 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 6,446.31 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งการลดลงดังกล่าว เป็นการไถ่ถอนของกองทุนรายหนึ่งออกไป ในขณะที่บลจ. ที่มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่ บลจ.นครหลวงไทย โดยมีสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้นเป็น 2,375.71 ล้านบาท จากเดิมก่อนหน้านี้ ที่ไม่มีพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลบริหารอยู่เลย
นายนที ดำรงค์กิจการ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า เงินลงทุนในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นมาดังกล่าว มาจากพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทในเครือ นั่นคือ บริษัทประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด ซึ่งเดิมบลจ. อเบอร์ดีน เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ แผนงานสำหรับกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทนั้น ในช่วงนี้คงขยายได้ลำบาก โดยเฉพาะกองทุนส่วนบุคคลของนักลงทุนรายย่อยทั่วไป เพราะปัจจุบันภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน และดัชนีปรับลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้โอกาสที่จะขยายตลาดเขาไปถึงนักลงทุนกลุ่มนี้เป็นไปได้ยาก
สำหรับส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด ณ เดือนกรกฎาคม 2551 ที่มีทรัพย์สินสุทธิสูงสุด 10 อันดับแรก ปรากฏว่า บลจ.กสิกรไทย ยังมีสินทรัพย์เป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 33,780.37 ล้านบาท ลดลงประมาณ 655.10 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 34,435.47 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ บลจ.ทิสโก้ โดยมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 30,600.24 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยประมาณ 46.85 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 30,647.09 ล้านบาท
อันดับ 3. บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ซึ่งมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,002.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 815.87 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 22,186.62 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.เอ็มเอฟซี มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,989.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 145.50 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,844.47 ล้านบาท อันดับ 5. บลจ.วรรณ มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,559.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 228.14 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,331.83 ล้านบาท
อันดับ 6. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,535.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 209.22 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 9,326.75 ล้านบาท อันดับ 7. บลจ.ไทยพาณิชย์ มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 6,702.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 196.09 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,506.89 ล้านบาท อันดับ 8. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,893.75 ล้านบาท ลดลงประมาณ 203.21 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,096.96 ล้านบาท
อันดับ 9. บลจ.อเบอร์ดีน มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,107.06 ล้านบาท ลดลงประมาณ 2,339.25 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,446.31 ล้านบาท และอันดับ 10. บลจ.อยุธยา ซึ่งในเดือนกรกฎาคม มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,775.06 ล้านบาท ลดลงประมาณ 22.34 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 3,797.40 ล้านบาทในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานถึงความคืบหน้าการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนส่วนบุคคลว่า ตัวเลข ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551 มีผู้แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศแล้วทั้งสิ้น 183 ราย โดยมีผู้ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private fund) 98 ราย แบ่งเป็นบุคคลรายย่อย 93 ราย และนิติส่วนบุคคล 5 ราย สำหรับผู้ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์นั้นมีแต่บุคคลรายย่อยที่สนใจเข้ามาลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 85 ราย
นอกเหนือจากนั้น สำนักงาน ก.ล.ต ได้ผ่อนคลายการขอวงเงินใหม่ โดยก.ล.ต.จะอนุมัติให้ทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา สามารถลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องทยอยออกไปลงทุนเหมือนที่ผ่านมา แต่ต้องอยู่ในวงเงินที่ก.ล.ต.กำหนดไว้แต่แรก นั่นคือนิติบุคคล 50 ล้านเหรียญสหรัฐ บุคคลธรรมดา 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันก.ล.ต.จะปรับลดระยะเวลาการเข้าลงทุนหลังจากที่ได้รับการอนุมัติลงจากเดิมให้เวลา 30 วัน จะเหลือเพียง 7 วันเท่านั้น
ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะเข้าไปลงทุนได้คือ 1.หุ้น 2. ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน 3.หน่วยลงทุนของกองทุนรวม 4. Structured Note และ5. Derivatives แต่บางกรณีต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เสียก่อนเช่นกรณี Underlying เป็นทองคำหรือ FX ส่วนผู้ลงทุนที่ลงทุนผ่านโบรกเกอร์นั้นยังคงมีข้อจำกัดในการลงทุนได้แก่ หุ้นและตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนเท่านั้น
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า กองทุนส่วนบุคคลทั้งระบบมีทรัพย์สินสุทธิรวมกันทั้งสิ้น 176,330.71 ล้านบาท โดยคิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ประมาณ 170.81 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิรวม 176,501.52 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรม บริษัทจัดการกองทุนหลายรายมีสินทรัพย์เพิ้มขึ้นจากเดือนก่อนหน้านี้ และอีกหลายบริษัทมีสินทรัพย์ลดลง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทย เพราะการลงทุนของกองทุนส่วนบุคคล ส่วนใหญ่จะเน้นลงทุนในหุ้นมากกว่า อย่างไรก็ตาม จากสัดส่วนที่เพิ่มจากจากหลายบริษัทจัดการ จึงทำให้ภาพรวมปรับลดลงไปเพียงเล็กน้อยดังกล่าว
สำหรับบริษัทจัดการที่มีสินทรัพย์ลดลงสูงที่สุดคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อเบอร์ดีน จำกัด โดยสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,107.06 ล้านบาท ลดลงประมาณ 2,339.25 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 6,446.31 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งการลดลงดังกล่าว เป็นการไถ่ถอนของกองทุนรายหนึ่งออกไป ในขณะที่บลจ. ที่มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่ บลจ.นครหลวงไทย โดยมีสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้นเป็น 2,375.71 ล้านบาท จากเดิมก่อนหน้านี้ ที่ไม่มีพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลบริหารอยู่เลย
นายนที ดำรงค์กิจการ ผู้จัดการกองทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า เงินลงทุนในส่วนของกองทุนส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นมาดังกล่าว มาจากพอร์ตกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทในเครือ นั่นคือ บริษัทประกันชีวิต นครหลวงไทย จำกัด ซึ่งเดิมบลจ. อเบอร์ดีน เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ แผนงานสำหรับกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทนั้น ในช่วงนี้คงขยายได้ลำบาก โดยเฉพาะกองทุนส่วนบุคคลของนักลงทุนรายย่อยทั่วไป เพราะปัจจุบันภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน และดัชนีปรับลดลงมาค่อนข้างมาก ทำให้โอกาสที่จะขยายตลาดเขาไปถึงนักลงทุนกลุ่มนี้เป็นไปได้ยาก
สำหรับส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) ล่าสุด ณ เดือนกรกฎาคม 2551 ที่มีทรัพย์สินสุทธิสูงสุด 10 อันดับแรก ปรากฏว่า บลจ.กสิกรไทย ยังมีสินทรัพย์เป็นอันดับ 1 ด้วยจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 33,780.37 ล้านบาท ลดลงประมาณ 655.10 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 34,435.47 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ บลจ.ทิสโก้ โดยมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 30,600.24 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยประมาณ 46.85 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 30,647.09 ล้านบาท
อันดับ 3. บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ซึ่งมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,002.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 815.87 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 22,186.62 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.เอ็มเอฟซี มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,989.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 145.50 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,844.47 ล้านบาท อันดับ 5. บลจ.วรรณ มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,559.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 228.14 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,331.83 ล้านบาท
อันดับ 6. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,535.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 209.22 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 9,326.75 ล้านบาท อันดับ 7. บลจ.ไทยพาณิชย์ มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 6,702.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 196.09 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,506.89 ล้านบาท อันดับ 8. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,893.75 ล้านบาท ลดลงประมาณ 203.21 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,096.96 ล้านบาท
อันดับ 9. บลจ.อเบอร์ดีน มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 4,107.06 ล้านบาท ลดลงประมาณ 2,339.25 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,446.31 ล้านบาท และอันดับ 10. บลจ.อยุธยา ซึ่งในเดือนกรกฎาคม มีจำนวนเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,775.06 ล้านบาท ลดลงประมาณ 22.34 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 3,797.40 ล้านบาทในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานถึงความคืบหน้าการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนส่วนบุคคลว่า ตัวเลข ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2551 มีผู้แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศแล้วทั้งสิ้น 183 ราย โดยมีผู้ลงทุนผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private fund) 98 ราย แบ่งเป็นบุคคลรายย่อย 93 ราย และนิติส่วนบุคคล 5 ราย สำหรับผู้ลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์นั้นมีแต่บุคคลรายย่อยที่สนใจเข้ามาลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 85 ราย
นอกเหนือจากนั้น สำนักงาน ก.ล.ต ได้ผ่อนคลายการขอวงเงินใหม่ โดยก.ล.ต.จะอนุมัติให้ทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา สามารถลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องทยอยออกไปลงทุนเหมือนที่ผ่านมา แต่ต้องอยู่ในวงเงินที่ก.ล.ต.กำหนดไว้แต่แรก นั่นคือนิติบุคคล 50 ล้านเหรียญสหรัฐ บุคคลธรรมดา 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันก.ล.ต.จะปรับลดระยะเวลาการเข้าลงทุนหลังจากที่ได้รับการอนุมัติลงจากเดิมให้เวลา 30 วัน จะเหลือเพียง 7 วันเท่านั้น
ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่กองทุนส่วนบุคคลจะเข้าไปลงทุนได้คือ 1.หุ้น 2. ตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน 3.หน่วยลงทุนของกองทุนรวม 4. Structured Note และ5. Derivatives แต่บางกรณีต้องขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เสียก่อนเช่นกรณี Underlying เป็นทองคำหรือ FX ส่วนผู้ลงทุนที่ลงทุนผ่านโบรกเกอร์นั้นยังคงมีข้อจำกัดในการลงทุนได้แก่ หุ้นและตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนเท่านั้น