สถานการณ์ในเดือนกรกฎาคม
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนกรกฎาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 77.18 พันล้านบาทจาก 72.43 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร?อยละ 4.48 และดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 2.37 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 5.14 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.34 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 5.48 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.81 ป? อัตราผลตอบแทนมีคามผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1-6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ถึง 0.17 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.34 ถึง 0.73 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.75 ถึง 0.82 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 ถึง 0.75
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนสิงหาคม ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดต่ำลงซึ่งส่งผลให้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อในประเทศทุเลาลงกว่าที่คาดไว้ จะส่งผลทางจิตวิทยาในแง่บวกต่อการลงทุนก็ตาม แต่คาดว่านักลงทุนยังคงเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน ของปัจจัยทางเศรษฐกิจหลาย ๆปัจจัยในช่วงนี้ สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ในบางช่วงอาจมีการแกว่งตัว เนื่องจากอาจมีการขายทำกำไรของนักลงทุน จากการที่อัตราผลตอบแทนขยับลงมาค่อนข้างมากในเดือนที่แล้ว แต่จากอุปทานที่ค่อนข้างน้อยในเดือนสิงหาคม และ ภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่น่าจะดีขึ้น อาจจะส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนทรงตัว หรือปรับลงได้อีก
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น และ ระยะกลาง
ตลาดตราสารทุน
เดือนสิงหาคม 2551
สรุปภาวะและแนวโน้มตลาดหุ้น
สรุปตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกรกฏาคม 2551
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) และ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ชะลอตัวลง ในขณะที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เติบโตแข็งแกร่ง
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) ฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 31.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนมิถุนายน โดยเทียบกับร้อยละ 17.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเรามองว่าน่าจะเป็นการฟื้นตัวเพียงชั่วคราว เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอ่อนแออยู่ สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอชน (PII) ชะลอตัวลงมาที่ระดับร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (BSI) นับแต่ต้นปีปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ ร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีเช่นกัน
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคการส่งออก
การส่งออกขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับร้อยละ 27.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าเติบโตอยู่ที่ ร้อยละ 30.7 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ระดับ 926 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและเครื่องจักรแสดงให้เห็นว่าการส่งออกน่าจะยังคงขยายตัวได้ดีในอีกช่วงสองสามเดือนข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวสูงถึงระดับร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และดัชนีราคาผู้ผลิตอยู่ที่ร้อยละ 18.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปในอีกช่วงสองสามเดือนข้างหน้า แต่มาตรการล่าสุดของรัฐบาล (ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการขึ้นรถโดยสาร รถไฟ และใช้ไฟฟ้า น้ำประปาฟรี) และการลดลงของราคาน้ำมันระยะสั้นจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อไม่น่าจะปรับตัวสูงเกินกว่าร้อยละ 10ได้
สรุปภาวะตลาดเดือนกรกฎาคม
SET ปิดตลาดเดือน กรกฎาคมที่ 676.32 จุด ดีดตัวขึ้นระหว่างเดือนจากจุดต่ำสุดที่ 664.52 จุด แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12 หรือ 92.27 จุด จากที่เปิด 768.59 จุดตอนต้นเดือน เงินทุนต่างชาติไหลออกอย่างต่อเนื่องเพราะบรรยากาศการลงทุนในตลาดโลกที่ไม่มั่นใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทการเงินที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ เช่น Fannie Mae กับ Freddie Mac ในขณะที่ภายในประเทศนั้นตลาดได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงหลังจากที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 145.86 ดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 3 กรกฎาคม ความกังวลกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นก็ส่งผลทำให้หุ้นกลุ่มธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ความสับสนทางการเมืองก็มีมากขึ้นหลังจากการพิพากษาตัดสินของศาลที่มีผลทำให้รัฐมนตรี 3 ท่านลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลกระทบต่อตำแหน่งของ รัฐมนตรีท่านอื่นอีก 3 ท่าน และจากนั้นคุณหญิงพจมาน ภรรยาอดีตนายกฯทักษิณซึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี
แนวโน้มตลาดเดือนสิงหาคม
ตลาดหุ้นเดือนสิงหาคมน่าจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากปัจจัยการเมืองในประเทศเพราะจะมีการเปิดสภาและการยื่นแก้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้แล้วราคาพลังงานที่ผันผวน อัตราเงินเฟ้อที่สูงพร้อมกับความไม่มั่นคงของสถาบันการเงินในต่างประเทศจะเป็นปัจจัยที่จำกัดการขึ้นของ SET อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้ใช้ความไม่แน่นอนนี้เป็นโอกาสในการเข้าเลือกซื้อหุ้นพลังงานเนื่องจากเรามองว่าราคาน้ำมันน่าจะคงอยู่ระดับสูงในงวดครึ่งหลังของปี 2551
กลยุทธ์ประจำเดือนสิงหาคม
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวดพลังงาน ธนาคารขนาดใหญ่ และสื่อสาร
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดปิโตรเคมี วัสดุก่อสร้าง และ อสังหาริมทรัพย์
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนกรกฎาคม 2551 ของตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 77.18 พันล้านบาทจาก 72.43 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร?อยละ 4.48 และดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร?อยละ 2.37 ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 5.14 และมีอายุเฉลี่ยเท?ากับ 5.34 ป? ในขณะที่ดัชนีหุ?นกู?ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร?อยละ 5.48 และอายุเฉลี่ยเท?ากับ 2.81 ป? อัตราผลตอบแทนมีคามผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1-6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 ถึง 0.17 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-3 ปีปรับตัวลดลงร้อยละ 0.34 ถึง 0.73 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ป?ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.75 ถึง 0.82 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 ถึง 0.75
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนสิงหาคม ถึงแม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดต่ำลงซึ่งส่งผลให้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อในประเทศทุเลาลงกว่าที่คาดไว้ จะส่งผลทางจิตวิทยาในแง่บวกต่อการลงทุนก็ตาม แต่คาดว่านักลงทุนยังคงเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน ของปัจจัยทางเศรษฐกิจหลาย ๆปัจจัยในช่วงนี้ สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล ในบางช่วงอาจมีการแกว่งตัว เนื่องจากอาจมีการขายทำกำไรของนักลงทุน จากการที่อัตราผลตอบแทนขยับลงมาค่อนข้างมากในเดือนที่แล้ว แต่จากอุปทานที่ค่อนข้างน้อยในเดือนสิงหาคม และ ภาวะเงินเฟ้อในประเทศที่น่าจะดีขึ้น อาจจะส่งผลให้ อัตราผลตอบแทนทรงตัว หรือปรับลงได้อีก
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น และ ระยะกลาง
ตลาดตราสารทุน
เดือนสิงหาคม 2551
สรุปภาวะและแนวโน้มตลาดหุ้น
สรุปตัวเลขเศรษฐกิจเดือนกรกฏาคม 2551
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) และ ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ชะลอตัวลง ในขณะที่ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เติบโตแข็งแกร่ง
ดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) ฟื้นตัวจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 31.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนมิถุนายน โดยเทียบกับร้อยละ 17.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเรามองว่าน่าจะเป็นการฟื้นตัวเพียงชั่วคราว เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังคงอ่อนแออยู่ สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอชน (PII) ชะลอตัวลงมาที่ระดับร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่ลดลง ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (BSI) นับแต่ต้นปีปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ ร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับการส่งออกที่ยังคงขยายตัวได้ดีเช่นกัน
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบที่ขยายตัวเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับภาคการส่งออก
การส่งออกขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับร้อยละ 27.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าเติบโตอยู่ที่ ร้อยละ 30.7 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ระดับ 926 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและเครื่องจักรแสดงให้เห็นว่าการส่งออกน่าจะยังคงขยายตัวได้ดีในอีกช่วงสองสามเดือนข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับตัวสูงถึงระดับร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และดัชนีราคาผู้ผลิตอยู่ที่ร้อยละ 18.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปในอีกช่วงสองสามเดือนข้างหน้า แต่มาตรการล่าสุดของรัฐบาล (ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการขึ้นรถโดยสาร รถไฟ และใช้ไฟฟ้า น้ำประปาฟรี) และการลดลงของราคาน้ำมันระยะสั้นจะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อไม่น่าจะปรับตัวสูงเกินกว่าร้อยละ 10ได้
สรุปภาวะตลาดเดือนกรกฎาคม
SET ปิดตลาดเดือน กรกฎาคมที่ 676.32 จุด ดีดตัวขึ้นระหว่างเดือนจากจุดต่ำสุดที่ 664.52 จุด แต่ปรับตัวลดลงร้อยละ 12 หรือ 92.27 จุด จากที่เปิด 768.59 จุดตอนต้นเดือน เงินทุนต่างชาติไหลออกอย่างต่อเนื่องเพราะบรรยากาศการลงทุนในตลาดโลกที่ไม่มั่นใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับบริษัทการเงินที่ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ เช่น Fannie Mae กับ Freddie Mac ในขณะที่ภายในประเทศนั้นตลาดได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงหลังจากที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 145.86 ดอลลาร์สหรัฐในวันที่ 3 กรกฎาคม ความกังวลกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นก็ส่งผลทำให้หุ้นกลุ่มธนาคาร และอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง นอกจากนี้ความสับสนทางการเมืองก็มีมากขึ้นหลังจากการพิพากษาตัดสินของศาลที่มีผลทำให้รัฐมนตรี 3 ท่านลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลกระทบต่อตำแหน่งของ รัฐมนตรีท่านอื่นอีก 3 ท่าน และจากนั้นคุณหญิงพจมาน ภรรยาอดีตนายกฯทักษิณซึ่งมีแนวโน้มที่จะถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี
แนวโน้มตลาดเดือนสิงหาคม
ตลาดหุ้นเดือนสิงหาคมน่าจะเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากปัจจัยการเมืองในประเทศเพราะจะมีการเปิดสภาและการยื่นแก้รัฐธรรมนูญ นอกจากนี้แล้วราคาพลังงานที่ผันผวน อัตราเงินเฟ้อที่สูงพร้อมกับความไม่มั่นคงของสถาบันการเงินในต่างประเทศจะเป็นปัจจัยที่จำกัดการขึ้นของ SET อย่างไรก็ดี เราแนะนำให้ใช้ความไม่แน่นอนนี้เป็นโอกาสในการเข้าเลือกซื้อหุ้นพลังงานเนื่องจากเรามองว่าราคาน้ำมันน่าจะคงอยู่ระดับสูงในงวดครึ่งหลังของปี 2551
กลยุทธ์ประจำเดือนสิงหาคม
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวดพลังงาน ธนาคารขนาดใหญ่ และสื่อสาร
ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดปิโตรเคมี วัสดุก่อสร้าง และ อสังหาริมทรัพย์