xs
xsm
sm
md
lg

เปรียบเทียบกม.คุ้มครองเงินฝาก "ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


จากการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ประเทศไทยกำลังมีเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้มาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา "ผู้จัดการกองทุนรวม" เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับคนที่กำลังต้องการหาคำตอบว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ซึ่งการประกาศให้กฎหมายดังกล่าว หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ถือว่าเราค่อนข้างตามหลังหลายประเทศอยู่พอสมควร...วันนี้ จึงนำข้อมูลจากการวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เกี่ยวกับการใช้กฎหมายคุ้มครองเงินฝากในต่างประเทศมาเปรียบเทียบให้ดูกัน ว่ามีรูปแบบและความแตกต่างอย่างไรบ้าง

เปรียบเทียบสถาบันคุ้มครองเงินฝากของประเทศต่างๆ
สหรัฐฯ
FDIC (Federal Deposit Insurance Corporation) เริ่มบังคับใช้ในปี 2476 โดยวงเงินคุ้มครอง เป็นการประกันเงินฝากทั่วไปในวงเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.4 ล้านบาท) /ราย/สถาบันการเงินและประกันเงินฝากเพื่อนการเกษียณอายุ ในวงเงิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อราย ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน เป็นลักษณะ Risk-Based โดยต่ำสุด 0.05-0.07% ของระดับความเสี่ยง และสูงสุดที่ 0.43% ของระดับความเสี่ยง

ฟิลิปปินส์ เริ่มบังคับใช้ปี 2506 วงเงินคุ้มครองนั้น เป็นการประกันเงินฝากสูงสุดไม่เกิน 250,000 เปโซ/ราย/ต่อสถาบันการเงิน (ประมาณ 200,000 บาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน อัตราเดียว 0.2% ของเงินฝาก ต่อปี

ญี่ปุ่น เริ่มบังคับใช้ปี 2514 ประกันเงินฝากสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านเยน/ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 3.2 ล้านบาท) แต่สำหรับบัญชีประเภท Settlement เพื่อการหักบัญชีค่าบริการสาธารณูปโภคต่างๆ ทางการมีนโยบายคุ้มครองเต็มวงเงินต่อเนื่อง ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน แตกต่างกันตามประเภทของเงินฝาก กล่าวคือ อัตรา 0.083% ต่อปีของเงินฝากทุกประเภทที่ประกัน และ 0.115% จากเงินฝากประเภท Settlement ซึ่งให้ความคุ้มครองเต็มจำนวน

เกาหลีใต้ เริ่มบังคับใช้ปี 2539 โดยวงเงินคุ้มครอง 50 ล้านบาท/ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 1.9 ล้านบาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน 0.1-0.3% จากฐานเงินฝากเฉลี่ยทั้งสิ้น โดยกำหนดอัตราดังกล่าวแตกต่างกันตามประเภทของสถาบันการเงิน คือ ธนาคารพาณิชย์ 0.1% บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) 0.2% และสถาบันประเภทอื่น (Merchant Banks, Mutual Saving Bank) 0.3%

เวียดนาม เริ่มบังคับใช้ปี 2543 ประกันเงินฝากสกุลเวียดนามดองสูงสุดจำนวน 50 ล้านดอง/ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 100,000 บาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน เก็บเบี้ยประกันจากสถาบันการเงินในอัตรา 0.15% ต่อปีของยอดเงินฝากที่ประกัน

มาเลเซีย เริ่มบังคับใช้ปี 2548 โดยวงเงินคุ้มครอง เป็นเงินฝากทั่วไปและเงินฝากอิสลามประเภทละ 60,000 ริงกิต/ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 630,000 บาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน 2 ปีแรกเรียกเก็บในอัตราคงที่ (Flat Rate) 0.06% ของเงินฝากที่ประกัน และตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป จะเก็บอัตราเบี้ยประกันแตกต่างกันตามความเสี่ยง ของฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงิน

อินโดนีเซีย เริ่มบังคับใช้ปี 2548 โดยวงเงินคุ้มครองที่ 100 ล้านรูเปีย/ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 450,000 บาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน เก็บเบี้ยประกันแบบคงที่ (Flat Rate) สำหรับสมาชิกทุกแห่ง (ธนาคารพาณิชย์ และ Rural Bank) ในอัตรา 0.20% ของเงินฝากต่อปี

สิงคโปร์ เริ่มบังคับใช้ปี 2549 โดยคุ้มครองผู้ฝากเงินที่เป็นบุคคลธรรมดา และองค์กรการกุศลที่มีบัญชีเงินฝากสกุลดอลลาร์สิงคโปร์ในจำนวนไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ /ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 500,000 บาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน เก็บเบี้ยประกันตามความเสี่ยง (Risk-Based) 0.03-0.08% ของเงินฝากที่ได้รับความคุ้มครองตามผลการกำกับและตรวจสอบของธนาคารกลาง

ฮ่องกง เริ่มบังคับใช้ปี 2549 โดยคุ้มครองเงินฝากทั้งที่เป็นฮ่องกงดอลลาร์ และเงินสกุลต่างประเทศไม่เกิน HK$ 100,000 /ราย/สถาบันการเงิน (ประมาณ 440,000 บาท) ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน เก็บในอัตราแตกต่างกัน 0.05-0.14% ของระดับความเสี่ยง ตามความเสี่ยงของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง (Risk-Based) ตามผลการจัดอันดับของ HKMA

ไทย เริ่มบังคับใช้ 11 สิงหาคม 2551 โดยคุ้มครองเงินฝากที่เป็นเงินบาทในจำนวนไม่เกิน 1 ล้านบาท /ราย/สถาบันการเงิน ยอดเงินสมทบ (เบี้ยประกัน) รายปีของสถาบันการเงิน กฎหมายกำหนดให้ไม่เกิน 1% ของฐานเงินฝากเฉลี่ย โดยในปีแรกคงจะเก็บเป็น Flat Rate ในอัตรา 0.4% ของฐานเงินฝากเฉลี่ยเท่ากับที่เคยนำส่งให้ FIDF แต่หลังจากนั้น มีแนวโน้มว่าจะเก็บในลักษณะ Risk-Based

เปรียบเทียบ"ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย"
เมื่อเปรียบเทียบระบบสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ไทย มาเลเซีย(PIDM) และอินโดนีเซีย โดยสำหรับประเทศไทยพบว่า ปีที่จัดตั้งสถาบันได้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งเริ่มมีการบังคับใช้ เมื่อ 11 สิงหาคม 2551 ด้านกฎหมายรองรับได้มีพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 มีสมาชิกคือ ธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ+ธนาคารเพื่อรายย่อย+Subsidiary+สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ+บง.+บค. รวม 42 แห่ง (ณ. มิ.ย. 51) และมีแหล่งที่มาของทุนประเดิมจากรัฐในวงเงินไม่เกิน 1,000 ล้านบาท + เงินสมทบรายปีจากสมาชิก

อย่างไรก็ตาม เบี้ยประกันในทางปฎิบัติในปีแรก คงจะเก็บเป็น Flat Rate ในอัตรา 0.4%เท่ากับที่เคยนำส่งให้ FIDF แต่หลังจากนั้น มีแนวโน้มว่าจะเก็บในลักษณะ Risk-Based มีประเภทเงินฝากที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง เป็นบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน(Non-Resident Baht Account:NRBA) และเงินฝากในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ

นอกจากนี้ วงเงินที่ได้รับการคุ้มครอง(รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)ไม่เกิน 1 ล้านบาท/ราย/สถาบันการเงิน โดยวงเงินคุ้มครองจะทยอยลดลงภายใน 4 ปีหลังจากบังคับใช้กฎหมาย คือ จาก100 ล้านบาท มาเป็น 50 ล้านบาท จาก 50 ล้านบาท มาเป็น 10 บาท และมาเป็น 1 ล้านบาท ซึ่งจะครบคลุม 98.8%ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมดที่ธนาคารพาณิชย์

ขณะเดียวกัน ในประเทศมาเลเซีย (PIDM) ได้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 โดยได้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 โดยมีกฎหมายคุ้มครองเงินฝากจาก The Malaysia Deposit Insurance Corporation Act 2005 (MDIC Act) ซึ่งมีสมาชิกคือ ธนาคารพาณิชย์ โดยรวม ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในมาเลเซีย+บง.+ธ.อิสลาม รวม 35 แห่ง ( ณ มิ.ย.51) และมีแหล่งที่มาของทุนจากเงินสมทบรายปีจากสมาชิก

ทั้งนี้ เบี้ยประกันในทางปฎิบัติ คือ 2 ปีแรกเรียกเก็บเป็น Flat Rate 0.06%ของเงินฝากที่ประกัน และตั้งแต่ต้นปี 2551 (ปีที่ 3 )เป็นต้นไป จะเก็บอัตราดอกเบี้ยประกันแตกต่างกันตามความเสี่ยง(Risk-Based)ของฐานะการดำเนินงานของ สถาบันการเงิน โดยมีประเภทเงินฝากที่ไม่ได้รับความคุ้มครองได้แก่ เงินฝากที่ไม่ได้อยู่ในมาเลเซีย เงินฝากในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ Negotiable Instruments of Deposits (NIDs) เงินฝากในตลาดเงินระหว่างประเทศ (Money Market) Repurchase Agreements หุ้นและพันธบัตร Unit Trusts

อีกทั้ง วงเงินที่ได้คุ้มครอง(รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)ไม่เกิน 60,000 ริงกิต/ราย/สถาบันการเงิน(630,000 บาท) ซึ่งจะแยกกันระหว่าง เงินฝากปกติ เงินฝากอิสลาม บัญชีร่วม (Joint Accounts) บัญชีของเงินผู้ดูแลผลประโยชน์(Trust Accounts)บัญชีเงินฝากของเจ้าของกิจการรายเดียว ห้างหุ้นส่วน และธุรกิจเฉพาะที่เป็นวิชาชีพ ซึ่งจะครอบคลุม 95% ของผู้ฝากทั้งหมดที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน

ขณะที่ ประเทศอินโดนีเซีย ได้จัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 ( 1 ปีหลังจากผ่านกฎหมาย) เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 โดยมีกฎหมายรองรับจาก The Republic of Indonesia Law Number 24 of 2004 concerning the Indonesia Deposit Insurance Corporation ซึ่งมีสมาชิกคือ ธนาคารพาณิชย์(รวมสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ)128 แห่ง และRural Banks ประมาณ 1,800แห่ง (ณ มี.ค. 51) และมีแหล่งที่มาของทุนประเดิม 4,000 ล้านล้านรูเปีย+ค่าสมาชิกแรกเข้าจาก สถาบันการเงิน0.1% ของเงินกองทุน+เงินสมทบรายปี(จ่าย 2 ครั้งต่อปี)

ในส่วนของ เบี้ยประกันในทางปฎิบัติ 0.2% ต่อปีของค่าเฉลี่ยรายเดือนของเงินฝากทั้งหมด (รวมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อื่นด้วย) โดยมีประเภทเงินฝากที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง คือเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์อินโดนีเซียที่อยู่ในต่างประเทศ (ส่วนเงินฝากในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ จะได้รับความคุ้มครองด้วย) ซึ่งวงเงินที่ได้รับความคุ้มครอง(รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)อยู่ที่ 100 ล้านรูเปีย/ราย/สถาบันการเงิน (450,000 บาท)

อนึ่ง การวงเงินคุ้มครองจะทยอยลดลงจาก 5,000 ล้านรูเปีย (22 มี.ค. 2549- 21 ก.ย. 49)เป็น 1,000ล้านรูเปีย (22 ก.ย. 2549-21มีนาคม 2551)มาเป็น 100 ล้านรูเปีย (22 มีนาคม 2550) และมีความครอบคลุ้ม 98% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมดที่ธนาคารพาณิชย์

ข้อสังเกตหลังมีสถาบันการคุ้มครองเงินฝาก
ในประเทศมาเลเซีย เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าการพุ่งขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น การเติบโตของจำนวน Unit trust เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัดส่วนเงินฝากประเภทกระแสรายวันต่อเงินฝากรวมเพิ่มขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์และประจำลดลง

สำหรับประเทศอินโดนีเซียพบว่า เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่าการพุ่งขึ้นของดัชนีตลาดหุ้น มีสัดส่วนเงินฝากประเภทกระแสรายวันและเงินฝากประจำต่อเงินฝากรวมเพิ่มขึ้น ขณะที่สัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์ลดลง

กำลังโหลดความคิดเห็น