"อัจฉรา" มองแนวโน้มธุรกิจกองทุนรวมแข่งเดือด หลังเปิดเสรีทางการเงิน ชี้ทุกค่ายต้องปรับตัวสร้างความแตกต่างที่มีเอกลักษณ์ ทั้งฝีมือและผลตอบแทน โดยเฉพาะบรรดาน้องใหม่ เพราะถ้าไม่ฉีกแนวไปจะสู้บลจ.ที่มีเครือข่ายแบงก์ไม่ได้ แนะหน่วยงานกำกับเปิดทางบลจ. บริการพอร์ตด้วยตัวเอง ลดมุมมองการบริหารเพื่อค่าฟีอย่างเดียว ชี้ถ้าบริหารเงินของตัวเองไม่ได้ แล้วจะเอาเงินของคนอื่นมาบริหารได้อย่างไร ล่าสุดเปิดขาย "กองทุนเปิดเอสซีไอพันธบัตรคุ้มครองเงินต้น 2Y/3" ลุยพันธบัตรรัฐบาลไทย - เทศผลตอบแทน4%
นางสาวอัจฉรา สุทธิศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่มีการเปิดเสรีทางการเงินในอีก 3 ปีข้างหน้าแนวโน้มธุรกิจกองทุนรวมจะเปลี่ยนแปลงจากนี้พอสมควร เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทจัดการกองทุนรายใหม่ๆ เข้ามาในธุรกิจนี้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เห็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่การแข่งขันดังกล่าว ต้องมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างจากปัจจุบัน เพราะไม่ใช่ว่าธุรกิจนี้จำสำเร็จได้ง่ายๆ ถ้าหาความเป็นเฉพาะตัวไม่ได้
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า บริษัทจัดการกองทุนที่จะเกิดใหม่ ต้องมีความเป็นนิชมาร์เกตหรือมีความถนัดเฉพาะด้านสูง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่ต้องเน้นฝีมือการบริหารและผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะเดียวกันต้องฉีกไปจากการตราสารหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะหากเป็นบริษัทจัดการที่ไม่มีสาขาของธนาคารพาณิชย์เป็นเครือข่ายในการขายหน่วยลงทุนแล้วยังไงก็สู้ไม่ได้
"โดยส่วนตัวแล้วมองว่า สำหรับบลจ.ใหม่ที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ ต้องมีความเป็นนิชมาร์เกตสูง โดยเฉพาะโพรดักส์ ซึ่งหากไม่ต่างไปจากกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป ก็คงสู้บลจ.ที่เขามีแบงก์ไม่ได้ เพราะแบงก์เองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในหลายด้านไม่ใช่เฉพาะเงินฝากเพียงอย่างเดียว"นางสาวอัจฉรากล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานักลงทุนไทยเองเริ่มเข้าใจการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น เห็นได้จากการจัดการงานสัมมนาต่างๆ มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาฟังมากกว่าแต่ก่อน อีกทั้ง พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนเหล่านี้ตื่นตัวมากขึ้นในการมองหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ โดยเฉพาะการลงทุนระยะยาว ซึ่งในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะเริ่มเข้าไปเป็นหนึ่งในทางเลือกลงทุน แต่ต้องเป็นของที่บริหารอย่างมีฝีมือและจรรยาบรรณด้วยบุคลากรที่มีความสามารถและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
ขณะเดียวกัน แนวคิดในการบริหารจัดการกองทุนในอนาคต จะเริ่มเห็นเป็น 2 แนวคิดมากขึ้น จากเดิมที่มีเพียงการบริหารผลตอบแทนเพื่ออ้างอิงกับเกณฑ์มาตรการใดเกณฑ์หนึ่ง ต่อไปจะเห็นแนวนิดในการบริหารกองทุนแบบกำหนดเป้าหมายผลตอบแทน (Absolute Return) ซึ่งหากบริหารผลตอบแทนได้ตรงตามเป้าเมื่อไหร่ก็รับผลตอบแทนไป โดยลักษณะนี้จะคล้ายกับกองทุนทาร์เกตฟันด์ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเห็นในกองทุนส่วนบุคคลมากกว่า
นางสาวอัจฉรากล่าวว่า การบริหารกองทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะวัดกันที่ฝีมือในการบริหารจัดการมากกว่า โดยเริ่มต้นจากการบริหารเงินของตัวเองให้ประสบความสำเร็จก่อน แล้วก็ทำผลการดำเนินงานออกมาโชว์ให้นักลงทุนได้เห็น หลังจากนั้นก็จะมีนักลงทุนเข้ามาซื้อ ซึ่งการบริหารจัดการแบบนี้ทำให้ลดมุมมองการบริหารกองทุนเพื่อค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) มากกว่าการบริหารเงินให้ลูกค้าล้วนๆ
"ถ้าใครสามารถบริหารผลการดำเนินงานออกมาได้ดีอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนก็จะเข้าไปเอง ซึ่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า หลังจากมีการเปิดเสรีทางการเงินแล้ว เชื่อว่าธุรกิจกองทุนรวมในประเทศไทย จะเห็นคนตั้งกองทุนเพื่อบริหารเงินของตัวเองอย่าง วอเรนต์ บัฟเฟต หรือ มากขึ้น ซึ่งธุรกิจกองทุนรวมในปัจจุบันกลับไม่สามารถบริหารเงินของตัวเองได้ ต้องเอาไปให้คนอื่นบริหารให้แทน"นางสาวอัจฉรากล่าว
ทั้งนี้ มองว่าการที่บลจ. สามารถบริหารเงินของตัวเองได้หรือสามารถลงทุนในกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเองได้ น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า เพราะการที่มีเงินของตัวเองอยู่ในพอร์ตด้วยจะทำให้ไม่ถูกมองว่าบริหารเพื่อค่าฟีเพียงอย่างเดียว ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่กำกับดูแลอาจจะมองว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่คนที่บริหารเงินให้กับคนอื่นถ้าบริหารเงินของตัวเองไม่ได้แล้วจะเอาเงินของคนอื่นมาบริหารได้อย่างไร
ด้าน นายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ. นครหลวงไทย กล่าวว่า บริษัทเตรียมเปิดเสนอขาย กองทุนเปิดเอสซีไอพันธบัตรคุ้มครองเงินต้น 2Y/3 (SCI Phantabat Protection Fund 2Y/3 : SCI PPB 2Y/3) ซึ่งเป็นกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ประเภทกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 2 ปี โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 22-29 กรกฎาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 2,000 บาท
โดย กองทุนดังกล่าวจะนำเงินไปลงทุนใน ตราสารภาครัฐไทย ตราสารภาครัฐต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือใน 2 อันดับแรก (Category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเงินฝาก บัตรเงินฝากของธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทเงินทุน ซึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเกือบทั้งหมดของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และประมาณการอัตราผลตอบแทนของกองทุนอยู่ที่เฉลี่ย 4% ต่อปี
นางสาวอัจฉรา สุทธิศิริกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) นครหลวงไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วงที่มีการเปิดเสรีทางการเงินในอีก 3 ปีข้างหน้าแนวโน้มธุรกิจกองทุนรวมจะเปลี่ยนแปลงจากนี้พอสมควร เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทจัดการกองทุนรายใหม่ๆ เข้ามาในธุรกิจนี้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้เห็นการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่การแข่งขันดังกล่าว ต้องมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนใหม่ๆ ที่มีความแตกต่างจากปัจจุบัน เพราะไม่ใช่ว่าธุรกิจนี้จำสำเร็จได้ง่ายๆ ถ้าหาความเป็นเฉพาะตัวไม่ได้
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า บริษัทจัดการกองทุนที่จะเกิดใหม่ ต้องมีความเป็นนิชมาร์เกตหรือมีความถนัดเฉพาะด้านสูง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่ต้องเน้นฝีมือการบริหารและผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะเดียวกันต้องฉีกไปจากการตราสารหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะหากเป็นบริษัทจัดการที่ไม่มีสาขาของธนาคารพาณิชย์เป็นเครือข่ายในการขายหน่วยลงทุนแล้วยังไงก็สู้ไม่ได้
"โดยส่วนตัวแล้วมองว่า สำหรับบลจ.ใหม่ที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ ต้องมีความเป็นนิชมาร์เกตสูง โดยเฉพาะโพรดักส์ ซึ่งหากไม่ต่างไปจากกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป ก็คงสู้บลจ.ที่เขามีแบงก์ไม่ได้ เพราะแบงก์เองมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าในหลายด้านไม่ใช่เฉพาะเงินฝากเพียงอย่างเดียว"นางสาวอัจฉรากล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานักลงทุนไทยเองเริ่มเข้าใจการลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น เห็นได้จากการจัดการงานสัมมนาต่างๆ มีนักลงทุนให้ความสนใจเข้ามาฟังมากกว่าแต่ก่อน อีกทั้ง พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ เชื่อว่าจะทำให้นักลงทุนเหล่านี้ตื่นตัวมากขึ้นในการมองหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ โดยเฉพาะการลงทุนระยะยาว ซึ่งในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะเริ่มเข้าไปเป็นหนึ่งในทางเลือกลงทุน แต่ต้องเป็นของที่บริหารอย่างมีฝีมือและจรรยาบรรณด้วยบุคลากรที่มีความสามารถและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
ขณะเดียวกัน แนวคิดในการบริหารจัดการกองทุนในอนาคต จะเริ่มเห็นเป็น 2 แนวคิดมากขึ้น จากเดิมที่มีเพียงการบริหารผลตอบแทนเพื่ออ้างอิงกับเกณฑ์มาตรการใดเกณฑ์หนึ่ง ต่อไปจะเห็นแนวนิดในการบริหารกองทุนแบบกำหนดเป้าหมายผลตอบแทน (Absolute Return) ซึ่งหากบริหารผลตอบแทนได้ตรงตามเป้าเมื่อไหร่ก็รับผลตอบแทนไป โดยลักษณะนี้จะคล้ายกับกองทุนทาร์เกตฟันด์ ซึ่งในต่างประเทศเริ่มพูดถึงกันมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเห็นในกองทุนส่วนบุคคลมากกว่า
นางสาวอัจฉรากล่าวว่า การบริหารกองทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะวัดกันที่ฝีมือในการบริหารจัดการมากกว่า โดยเริ่มต้นจากการบริหารเงินของตัวเองให้ประสบความสำเร็จก่อน แล้วก็ทำผลการดำเนินงานออกมาโชว์ให้นักลงทุนได้เห็น หลังจากนั้นก็จะมีนักลงทุนเข้ามาซื้อ ซึ่งการบริหารจัดการแบบนี้ทำให้ลดมุมมองการบริหารกองทุนเพื่อค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) มากกว่าการบริหารเงินให้ลูกค้าล้วนๆ
"ถ้าใครสามารถบริหารผลการดำเนินงานออกมาได้ดีอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนก็จะเข้าไปเอง ซึ่งในช่วง 3 ปีข้างหน้า หลังจากมีการเปิดเสรีทางการเงินแล้ว เชื่อว่าธุรกิจกองทุนรวมในประเทศไทย จะเห็นคนตั้งกองทุนเพื่อบริหารเงินของตัวเองอย่าง วอเรนต์ บัฟเฟต หรือ มากขึ้น ซึ่งธุรกิจกองทุนรวมในปัจจุบันกลับไม่สามารถบริหารเงินของตัวเองได้ ต้องเอาไปให้คนอื่นบริหารให้แทน"นางสาวอัจฉรากล่าว
ทั้งนี้ มองว่าการที่บลจ. สามารถบริหารเงินของตัวเองได้หรือสามารถลงทุนในกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเองได้ น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมกว่า เพราะการที่มีเงินของตัวเองอยู่ในพอร์ตด้วยจะทำให้ไม่ถูกมองว่าบริหารเพื่อค่าฟีเพียงอย่างเดียว ซึ่งเรื่องนี้หน่วยงานที่กำกับดูแลอาจจะมองว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่คนที่บริหารเงินให้กับคนอื่นถ้าบริหารเงินของตัวเองไม่ได้แล้วจะเอาเงินของคนอื่นมาบริหารได้อย่างไร
ด้าน นายนที ดำรงกิจการ ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ บลจ. นครหลวงไทย กล่าวว่า บริษัทเตรียมเปิดเสนอขาย กองทุนเปิดเอสซีไอพันธบัตรคุ้มครองเงินต้น 2Y/3 (SCI Phantabat Protection Fund 2Y/3 : SCI PPB 2Y/3) ซึ่งเป็นกองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น เพื่อผู้ลงทุนทั่วไป ประเภทกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ มูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท อายุโครงการประมาณ 2 ปี โดยจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (ไอพีโอ) และครั้งเดียวระหว่างวันที่ 22-29 กรกฎาคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 2,000 บาท
โดย กองทุนดังกล่าวจะนำเงินไปลงทุนใน ตราสารภาครัฐไทย ตราสารภาครัฐต่างประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือใน 2 อันดับแรก (Category) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือเงินฝาก บัตรเงินฝากของธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทเงินทุน ซึ่งมีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นเกือบทั้งหมดของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ และประมาณการอัตราผลตอบแทนของกองทุนอยู่ที่เฉลี่ย 4% ต่อปี