บลจ.กสิกรไทย ใจดีจ่ายปันผลกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟสุดหรู อัตรา 17 บาทต่อหน่วย จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ 1 ธ.ค 50 - 31 พ.ค. 51 ผู้ถือหน่วยรับเงินพร้อมกัน 27 มิ.ย.นี้
นางสาวเอื้อพันธ์ เพ็ชราภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายบริการผู้ลงทุนและทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH) เปิดเผยว่า บริษัทมีมติจ่ายเงินปันผลของกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ในอัตรา 17.00 บาทต่อหน่วย ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อในสมุดทะเบียนเวลา 8.00 ของวันที่ 2 มิถุนายน 2551 โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 27 มิถุนายน 2551
ทั้งนี้ที่ผ่านมากองทุนได้ทำการจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 ในอัตรา 40.00 บาทต่อหน่วย ไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 และได้จ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ในอัตรา 0.60 บาทต่อหน่วย เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551
รายงานข่าวจากบลจ.กสิกรไทย ระบุว่า กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด
ขณะเดียวกันกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟจะเน้นลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้สกุลเงินบาทดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย หรือ (2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรของรัฐบาลไทย หรือองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลไทย หรือหน่วยงานราชการอิสระ หรือส่วนราชการ หรือองค์กรกึ่งรัฐ (Quasi Thai Government) โดยตราสารดังกล่าว ต้องมีรัฐบาลไทยค้ำประกันทั้งจำนวนหรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade จาก Fitch Ratings หรือ Standard & Poor's หรือ Moody's Investors Service
นอกจากนี้กองทุนจะเน้นลงทุนใน (3) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลของสมาชิก EMEAP หรือ (4) ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศ (Supranational) ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับ AA- จากผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) หรือ (5) ตราสารอื่น ๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง หรือ (6) ตราสารไม่ด้อยสิทธิอื่นๆ ที่ผู้ออกตราสารอยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ตราสารของผู้ออกตราสารนั้นมีคุณสมบัติเป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องมีการค้ำประกันจากรัฐบาล
โดยกองทุนมีขนาดกองทุน 15,000 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 กองทุนมีการแบ่งลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงินของ หรือรับรอง รับอาวัลโดยสถาบันการเงิน และอื่นๆ ในสัดส่วน 1.2499% , ลงทุนในหุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน สัดส่วน 2.2177% และลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังค้ำประกัน สัดส่วน 96.5324%
นางสาวเอื้อพันธ์ เพ็ชราภรณ์ ผู้บริหารฝ่ายบริการผู้ลงทุนและทะเบียน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด ในฐานะบริษัทจัดการของกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ (ABFTH) เปิดเผยว่า บริษัทมีมติจ่ายเงินปันผลของกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2550 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ในอัตรา 17.00 บาทต่อหน่วย ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อในสมุดทะเบียนเวลา 8.00 ของวันที่ 2 มิถุนายน 2551 โดยกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 27 มิถุนายน 2551
ทั้งนี้ที่ผ่านมากองทุนได้ทำการจ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2550 ในอัตรา 40.00 บาทต่อหน่วย ไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 และได้จ่ายปันผลสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ในอัตรา 0.60 บาทต่อหน่วย เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2551
รายงานข่าวจากบลจ.กสิกรไทย ระบุว่า กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ เป็นกองทุนรวมอีทีเอฟที่ลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ประเภทรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่ามาตรฐานการกระจายการลงทุนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด
ขณะเดียวกันกองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟจะเน้นลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้สกุลเงินบาทดังต่อไปนี้ (1) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลไทย หรือ (2) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรของรัฐบาลไทย หรือองค์กรที่จัดตั้งโดยรัฐบาลไทย หรือหน่วยงานราชการอิสระ หรือส่วนราชการ หรือองค์กรกึ่งรัฐ (Quasi Thai Government) โดยตราสารดังกล่าว ต้องมีรัฐบาลไทยค้ำประกันทั้งจำนวนหรือได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ต่ำกว่าระดับ Investment Grade จาก Fitch Ratings หรือ Standard & Poor's หรือ Moody's Investors Service
นอกจากนี้กองทุนจะเน้นลงทุนใน (3) ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลของสมาชิก EMEAP หรือ (4) ตราสารหนี้ที่ออกโดยองค์กรระหว่างประเทศ (Supranational) ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่างน้อยในระดับ AA- จากผู้จัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (2) หรือ (5) ตราสารอื่น ๆ ที่อยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง หรือ (6) ตราสารไม่ด้อยสิทธิอื่นๆ ที่ผู้ออกตราสารอยู่ในส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิง ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ตราสารของผู้ออกตราสารนั้นมีคุณสมบัติเป็นส่วนประกอบของดัชนีอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องมีการค้ำประกันจากรัฐบาล
โดยกองทุนมีขนาดกองทุน 15,000 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 เมษายน 2551 กองทุนมีการแบ่งลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงินของ หรือรับรอง รับอาวัลโดยสถาบันการเงิน และอื่นๆ ในสัดส่วน 1.2499% , ลงทุนในหุ้นกู้ ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน สัดส่วน 2.2177% และลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังค้ำประกัน สัดส่วน 96.5324%