บลจ.เอ็มเอฟซี ประกาศจ่ายเงินปันผล "กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี เซ็ท 50" ในรอบ 1 ปี หน่วยลงทุนละ 0.50 บาท หลังฟันกำไรหุ้นใหญ่ ผู้ถือหน่วยเฮรับ 21 พฤษภาคมนี้ ขณะเดียวกัน ประกาศปิดสมุดทะเบียนและหยุดการซื้อขายกองทุนเปิดภิญโญเจ็ดและกองทุนเปิดภิญโญแปดชั่วคราวเพื่อจ่ายปันผล
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี เซ็ท 50 สำหรับรอบระยะเวลา วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 - 30 เมษายน 2551 ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.50 บาท โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ในการรับเงินปันผล ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2551 และจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อ ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551
สำหรับกองทุนเปิด เอ็มเอฟซี เซ็ท 50 (M-S50) เป็นกองทุนเปิด จดทะเบียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 96.27 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุน และมีนโยบายเงินปันผล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของการเพิ่มขึ้นในทรัพย์สินสุทธิจากการดำเนินงาน(unrealized and/or realized gain ) ในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล
โดยผลดำเนินงานของกองทุน ( ณ วันที่ 28 มีนาคม 2551 ) ย้อนหลัง 3 เดือนให้ผลตอบแทนเท่ากับ -3.54% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนเท่ากับ -5.75% ในระยะย้อนหลัง 6 เดือนให้ผลตอบแทนเท่ากับ 0.02 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนเท่ากับ -3.50% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือน เท่ากับ 33.53% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนเท่ากับ 25.96 % และผลดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุน เท่ากับ 60.49 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนอยู่ที่ 38.76%
ขณะที่สัดส่วนการลงทุน (% ของ NVA) พบว่า มีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มพลังงาน 41.25 % ธนาคาร 21.17 % วัสดุก่อสร้าง 9.55 % ขนส่ง 7.91 % สื่อสาร 6.74 % และในกลุ่มของอุตสาหกรรมอื่นๆ 12.13 % พร้อมทั้งมีการลงทุนในตราสารทางการเงินอื่นๆอีก 1.25 % ส่วนหลักทรัพย์ที่ลงทุนใน 10 อันดับแรกตามผู้ออกตราสาร (%ของ NAV) ประกอบด้วย 1. บมจ. ปตท. 19.40% 2. บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยม 9.22 % 3. บมจ. ปูนซีเมนต์ไทย 7.38 % 4. บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 6.74 % 5. บมจ. ธนาคารกรุงเทพ 6.20 % 6. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย 5.75 % 7.บมจ.ไทยพาณิชย์ 5.51 % 8.บมจ. กรุงไทย 3.71% 9. ได้แก่ บมจ. ปตท. เคมิคอล 3.52 และ 10.บมจ. ไทยออยล์ 3.30%
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ประกาศปิดสมุดทะเบียนและหยุดการขายหน่วยลงทุนชั่วคราวของกองทุนเปิดสินภิญโญเจ็ดและกองทุนเปิดสินภิญโญแปด ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 เพื่อจ่ายเงินปันผล สำหรับรอบระยะเวลา วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 - 30 เมษายน 2551 โดยปิดสมุดทะเบียนและเริ่มทำการขายหน่วยลงทุนอีกครั้ง วันที่ 15 พฤษภาคม 2551
ทั้งนี้ กองทุนเปิดสินภิญโญเจ็ด (SF7) เป็นกองทุนเปิด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2542 ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท มีมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน เท่ากับ 381.65 ล้านบาท โดยกองทุนมีนโยบายการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุนและมีนโยบายเงินปันผล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ( realized) ในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล
ขณะที่กองทุนเปิดสินภิญโญแปด เป็นกองทุนเปิด จด
ทะเบียนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท มีมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน เท่ากับ 547.12 ล้านบาท มีนโยบายการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุนและมีนโยบายเงินปันผล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ( realized) ในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล
รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิด เอ็มเอฟซี เซ็ท 50 สำหรับรอบระยะเวลา วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 - 30 เมษายน 2551 ในอัตราหน่วยลงทุนละ 0.50 บาท โดยจะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ในการรับเงินปันผล ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2551 และจะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่มีชื่อ ณ วันปิดสมุดทะเบียนดังกล่าว ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2551
สำหรับกองทุนเปิด เอ็มเอฟซี เซ็ท 50 (M-S50) เป็นกองทุนเปิด จดทะเบียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 3,000 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 96.27 ล้านบาท ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุน และมีนโยบายเงินปันผล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของการเพิ่มขึ้นในทรัพย์สินสุทธิจากการดำเนินงาน(unrealized and/or realized gain ) ในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล
โดยผลดำเนินงานของกองทุน ( ณ วันที่ 28 มีนาคม 2551 ) ย้อนหลัง 3 เดือนให้ผลตอบแทนเท่ากับ -3.54% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนเท่ากับ -5.75% ในระยะย้อนหลัง 6 เดือนให้ผลตอบแทนเท่ากับ 0.02 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนเท่ากับ -3.50% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือน เท่ากับ 33.53% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนเท่ากับ 25.96 % และผลดำเนินงานตั้งแต่จัดตั้งกองทุน เท่ากับ 60.49 % ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานของกองทุนอยู่ที่ 38.76%
ขณะที่สัดส่วนการลงทุน (% ของ NVA) พบว่า มีสัดส่วนการลงทุนในกลุ่มพลังงาน 41.25 % ธนาคาร 21.17 % วัสดุก่อสร้าง 9.55 % ขนส่ง 7.91 % สื่อสาร 6.74 % และในกลุ่มของอุตสาหกรรมอื่นๆ 12.13 % พร้อมทั้งมีการลงทุนในตราสารทางการเงินอื่นๆอีก 1.25 % ส่วนหลักทรัพย์ที่ลงทุนใน 10 อันดับแรกตามผู้ออกตราสาร (%ของ NAV) ประกอบด้วย 1. บมจ. ปตท. 19.40% 2. บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยม 9.22 % 3. บมจ. ปูนซีเมนต์ไทย 7.38 % 4. บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 6.74 % 5. บมจ. ธนาคารกรุงเทพ 6.20 % 6. บมจ. ธนาคารกสิกรไทย 5.75 % 7.บมจ.ไทยพาณิชย์ 5.51 % 8.บมจ. กรุงไทย 3.71% 9. ได้แก่ บมจ. ปตท. เคมิคอล 3.52 และ 10.บมจ. ไทยออยล์ 3.30%
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ประกาศปิดสมุดทะเบียนและหยุดการขายหน่วยลงทุนชั่วคราวของกองทุนเปิดสินภิญโญเจ็ดและกองทุนเปิดสินภิญโญแปด ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2551 เพื่อจ่ายเงินปันผล สำหรับรอบระยะเวลา วันที่ 1 พฤษภาคม 2550 - 30 เมษายน 2551 โดยปิดสมุดทะเบียนและเริ่มทำการขายหน่วยลงทุนอีกครั้ง วันที่ 15 พฤษภาคม 2551
ทั้งนี้ กองทุนเปิดสินภิญโญเจ็ด (SF7) เป็นกองทุนเปิด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2542 ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท มีมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน เท่ากับ 381.65 ล้านบาท โดยกองทุนมีนโยบายการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุนและมีนโยบายเงินปันผล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ( realized) ในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล
ขณะที่กองทุนเปิดสินภิญโญแปด เป็นกองทุนเปิด จด
ทะเบียนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ด้วยทุนจดทะเบียน 2,000 ล้านบาท มีมูลค่าสุทธิในปัจจุบัน เท่ากับ 547.12 ล้านบาท มีนโยบายการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งทุนและมีนโยบายเงินปันผล อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริง ( realized) ในแต่ละงวดบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผล