ดร. ธีระศักดิ์ ณ ระนอง
อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินการธนาคาร
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
ขอกล่าวสวัสดีต้อนรับทุกท่านจากการท่องเที่ยวเทศกาลสงกรานต์นะครับ หวังว่าทุกท่านได้พักผ่อนกันอย่างมีความสุขนะครับ ฉะนั้นขอเริ่มด้วยบทความสบายๆสไตล์ “9 สู่การลงทุน“ ขณะนี้ตามที่นักลงทุนมีความสนใจการลงทุนและวิธีการบริหารเงินรูปแบบต่างๆมากขึ้น โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อกระจายและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดการลงทุนต่างๆ แต่รูปแบบของ “การกระจายความเสี่ยง (Risk Diversification)“ ของนักลงทุนแต่ละท่านก็คงไม่เหมือนกัน นักลงทุนบางท่านอาจรับความเสี่ยงได้ไม่มาก จึงเกิดคำถามขึ้นว่า จะจัดพอร์ตการลงทุนการลงทุนอย่างไร โดยคำตอบของ “9 สู่การลงทุน“ จะพูดถึงรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยม พร้อมอัพเดทเรื่องราวต่างๆกัน
1) การลงทุนใน”รูปแบบของการฝากเงิน” โดยฝากเงินตามธนาคารพาณิชย์ เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ไม่ว่าเป็นการฝากแบบประจำต่างๆ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ ซึ่งเป็นวิธีที่นักลงทุนแทบจะทุกท่านลงทุนกัน และสำหรับอีกรูปแบบการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของผู้บริหารจัดการ (Fund Manager) ของ บลจ. ต่างๆ ก็คือ
2)การลงทุนใน “กองทุนรวม” ซึ่งให้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน ก็สามารถแบ่งตามความเสี่ยงหลักๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งมีทั้งหมด 4 รูปแบบการบริหารเงินด้วยกัน
-การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ : ในกรณีที่ผู้ลงทุนรับความเสี่ยงและความผันผวนได้ไม่มากนัก การลงทุน ใน “กองทุนเปิดตราสารเงิน หรือตราสารหนี้ระยะสั้น “ ซึ่งนักลงทุนมีโอกาสจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินแบบออมทรัพย์ (โดยเฉพาะในภาวะดอกเบี้ยขาลง) และยังไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย อีกด้วย นอกจากนั้นกองทุนชนิดนี้ยังเพิ่มสภาพคล่องให้นักลงทุนด้วยการเปิดให้มีการซื้อขายได้ทุกวัน โดยแนวโน้มการเจริญเติบโตของกองทุนชนิดนี้มีสูงมาก เนื่องจากมีสัดส่วนการลงทุน (asset allocation) ที่มีความเสี่ยงน้อย (ดูได้จากหนังสือชี้ชวนของแต่ละ บลจ.) โดยเน้นการลงทุนในตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
-การลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง : การลงทุนใน ”กองทุนเปิดตราสารหนี้ระยะกลางและยาว” แม้ว่าอัตราผลตอบแทนของกองทุนชนิดนี้ปรับตัวลดลงอย่างมาก ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการลงทุน สำหรับกองทุนประเภทนี้มักมีการลงทุนผสมผสานระหว่างตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือภาคเอกชน ซึ่งหมายความว่า “ความผันผวนของราคาหน่วยลงทุนจะมีค่อนข้างมาก” เช่นกัน
-การลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับค่อนข้างสูง : การลงทุนในกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้น หรือ “กองทุนตราสารทุน” ซึ่งมูลค่าของหน่วยลงทุน ( Net Asset Value) ก็จะเคลื่อนไหวตามการเปลี่ยนแปลงของทิศทางตลาดหุ้น บางกองทุนเน้นการลงทุนใน SET50 และบางกองทุนก็เน้นการลงทุนเฉพาะกลุ่มหุ้นบางกลุ่ม เช่น กลุ่มเทคโนโลยี นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงก็เหมาะกับการลงทุนในกองทุนประเภทนี้ (ตามทฤษฏี Risk – Return Trade-off)
- “ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ และสามารถลดหย่อนภาษีได้ (ดูได้จากหนังสือชี้ชวนของแต่ละ บลจ.) สำหรับ LTF และ RMF จะมีทั้งกองทุนที่ลงทุนในตราสารทุน และตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ และ พันธบัตร ทั้งระยะยาวและสั้น เรียกว่ามีผลิตภัณฑ์มากมายให้นักลงทุนพิจารณากัน (อย่าลืมใช้วิธีการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar or Pound Cost Averaging นะครับ)
และสำหรับอีกรูปแบบการบริหารเงิน คงเป็นรูปแบบที่นักลงทุนต้องอาศัยความเข้าใจ ความชำนาญ และความสนใจติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งมีผลต่อรูปแบบของการลงทุนชนิดนี้ นั่นก็คือ
3) การลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนก็ต้องสามารถรับความเสี่ยงได้มากเช่นกัน ได้แก่
-เลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐานต่างๆ เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ก่อสร้าง ฯลฯหรือเลือกลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน SET50 ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่ลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง
-การลงทุนใน “SET50 INDEX FUTURES” ซึ่งเป็นการคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของมูลค่า SET50 INDEX ซึ่งในกรณีที่นักลงทุนมีความแน่นอนว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวสูงขึ้นก็ไปทำ LONG FUTURES ในทางกลับกันนักลงทุนคาดว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวลดลงก็ทำ SHORT FUTURES ไว้
-การลงทุนใน “ SET 50 INDEX OPTIONS ก็เป็นการเสริมทัพการลงทุนในตลาดอนุพันธ์ โดยการคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของมูลค่า SET50 INDEX ซึ่งในกรณีที่นักลงทุนคาดว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวสูงขึ้นก็ไปทำ LONG CALL หรือ SHORT PUT ในทางกลับกันนักลงทุนคาดว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวลดลงก็ทำ LONG PUT หรือ SHORT CALL (หมายเหตุ: การใช้กลยุทธ์ต่างๆนั้นก็ต้องเข้าใจปัจจัยอื่นๆ เช่น ความผันผวนของตลาด และระยะเวลาคงเหลือของสัญญา และอื่นๆอีกด้วย)
-การลงทุนใน “THAIDEX SET 50 EXCHANGE TRADED FUND (ETF) หรือ TDEX” ETF เป็นการลงทุนที่แพร่หลายมากในต่างประเทศ เพราะ ETF เป็นกองทุนเปิดที่จดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนกับหุ้น สำหรับตลาดหลักทรัพย์ของเรา ETF มีนโยบายในการลงทุนเลียนแบบดัชนี SET50 INDEX
4)การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ การซื้อบ้าน คอนโด ทั้งเพื่อการลงทุน หรือเพื่ออยู่อาศัย ก็ถือเป็นการลงทุนระยะยาวอย่างหนึ่ง
5)การลงทุนในทองคำ เป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ มีทั้งการลงทุนโดยตรงเช่น การซื้อทองคำแท่ง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวม FIF ที่ลงทุนในทองคำ (ขอเกริ่นไว้ให้ท่านติดตามกันในบทความหน้านะครับ)
สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป คิดสิ่งใดขอให้สมดังปรารถนานะครับ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ
อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินการธนาคาร
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
ขอกล่าวสวัสดีต้อนรับทุกท่านจากการท่องเที่ยวเทศกาลสงกรานต์นะครับ หวังว่าทุกท่านได้พักผ่อนกันอย่างมีความสุขนะครับ ฉะนั้นขอเริ่มด้วยบทความสบายๆสไตล์ “9 สู่การลงทุน“ ขณะนี้ตามที่นักลงทุนมีความสนใจการลงทุนและวิธีการบริหารเงินรูปแบบต่างๆมากขึ้น โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อกระจายและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และตลาดการลงทุนต่างๆ แต่รูปแบบของ “การกระจายความเสี่ยง (Risk Diversification)“ ของนักลงทุนแต่ละท่านก็คงไม่เหมือนกัน นักลงทุนบางท่านอาจรับความเสี่ยงได้ไม่มาก จึงเกิดคำถามขึ้นว่า จะจัดพอร์ตการลงทุนการลงทุนอย่างไร โดยคำตอบของ “9 สู่การลงทุน“ จะพูดถึงรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยม พร้อมอัพเดทเรื่องราวต่างๆกัน
1) การลงทุนใน”รูปแบบของการฝากเงิน” โดยฝากเงินตามธนาคารพาณิชย์ เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด ไม่ว่าเป็นการฝากแบบประจำต่างๆ ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ ซึ่งเป็นวิธีที่นักลงทุนแทบจะทุกท่านลงทุนกัน และสำหรับอีกรูปแบบการลงทุน ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของผู้บริหารจัดการ (Fund Manager) ของ บลจ. ต่างๆ ก็คือ
2)การลงทุนใน “กองทุนรวม” ซึ่งให้ผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน ก็สามารถแบ่งตามความเสี่ยงหลักๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงปานกลาง และความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งมีทั้งหมด 4 รูปแบบการบริหารเงินด้วยกัน
-การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ : ในกรณีที่ผู้ลงทุนรับความเสี่ยงและความผันผวนได้ไม่มากนัก การลงทุน ใน “กองทุนเปิดตราสารเงิน หรือตราสารหนี้ระยะสั้น “ ซึ่งนักลงทุนมีโอกาสจะได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินแบบออมทรัพย์ (โดยเฉพาะในภาวะดอกเบี้ยขาลง) และยังไม่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย อีกด้วย นอกจากนั้นกองทุนชนิดนี้ยังเพิ่มสภาพคล่องให้นักลงทุนด้วยการเปิดให้มีการซื้อขายได้ทุกวัน โดยแนวโน้มการเจริญเติบโตของกองทุนชนิดนี้มีสูงมาก เนื่องจากมีสัดส่วนการลงทุน (asset allocation) ที่มีความเสี่ยงน้อย (ดูได้จากหนังสือชี้ชวนของแต่ละ บลจ.) โดยเน้นการลงทุนในตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้ที่มีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
-การลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับปานกลาง : การลงทุนใน ”กองทุนเปิดตราสารหนี้ระยะกลางและยาว” แม้ว่าอัตราผลตอบแทนของกองทุนชนิดนี้ปรับตัวลดลงอย่างมาก ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการลงทุน สำหรับกองทุนประเภทนี้มักมีการลงทุนผสมผสานระหว่างตราสารหนี้ภาครัฐ และตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือภาคเอกชน ซึ่งหมายความว่า “ความผันผวนของราคาหน่วยลงทุนจะมีค่อนข้างมาก” เช่นกัน
-การลงทุนที่มีความเสี่ยงระดับค่อนข้างสูง : การลงทุนในกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้น หรือ “กองทุนตราสารทุน” ซึ่งมูลค่าของหน่วยลงทุน ( Net Asset Value) ก็จะเคลื่อนไหวตามการเปลี่ยนแปลงของทิศทางตลาดหุ้น บางกองทุนเน้นการลงทุนใน SET50 และบางกองทุนก็เน้นการลงทุนเฉพาะกลุ่มหุ้นบางกลุ่ม เช่น กลุ่มเทคโนโลยี นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงก็เหมาะกับการลงทุนในกองทุนประเภทนี้ (ตามทฤษฏี Risk – Return Trade-off)
- “ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำ และสามารถลดหย่อนภาษีได้ (ดูได้จากหนังสือชี้ชวนของแต่ละ บลจ.) สำหรับ LTF และ RMF จะมีทั้งกองทุนที่ลงทุนในตราสารทุน และตราสารหนี้ที่เน้นลงทุนในหุ้นกู้ และ พันธบัตร ทั้งระยะยาวและสั้น เรียกว่ามีผลิตภัณฑ์มากมายให้นักลงทุนพิจารณากัน (อย่าลืมใช้วิธีการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar or Pound Cost Averaging นะครับ)
และสำหรับอีกรูปแบบการบริหารเงิน คงเป็นรูปแบบที่นักลงทุนต้องอาศัยความเข้าใจ ความชำนาญ และความสนใจติดตามสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งมีผลต่อรูปแบบของการลงทุนชนิดนี้ นั่นก็คือ
3) การลงทุน ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนักลงทุนก็ต้องสามารถรับความเสี่ยงได้มากเช่นกัน ได้แก่
-เลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐานต่างๆ เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ก่อสร้าง ฯลฯหรือเลือกลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน SET50 ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่ลดความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง
-การลงทุนใน “SET50 INDEX FUTURES” ซึ่งเป็นการคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของมูลค่า SET50 INDEX ซึ่งในกรณีที่นักลงทุนมีความแน่นอนว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวสูงขึ้นก็ไปทำ LONG FUTURES ในทางกลับกันนักลงทุนคาดว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวลดลงก็ทำ SHORT FUTURES ไว้
-การลงทุนใน “ SET 50 INDEX OPTIONS ก็เป็นการเสริมทัพการลงทุนในตลาดอนุพันธ์ โดยการคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนไหวของมูลค่า SET50 INDEX ซึ่งในกรณีที่นักลงทุนคาดว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวสูงขึ้นก็ไปทำ LONG CALL หรือ SHORT PUT ในทางกลับกันนักลงทุนคาดว่าราคาของ SET50 INDEX จะปรับตัวลดลงก็ทำ LONG PUT หรือ SHORT CALL (หมายเหตุ: การใช้กลยุทธ์ต่างๆนั้นก็ต้องเข้าใจปัจจัยอื่นๆ เช่น ความผันผวนของตลาด และระยะเวลาคงเหลือของสัญญา และอื่นๆอีกด้วย)
-การลงทุนใน “THAIDEX SET 50 EXCHANGE TRADED FUND (ETF) หรือ TDEX” ETF เป็นการลงทุนที่แพร่หลายมากในต่างประเทศ เพราะ ETF เป็นกองทุนเปิดที่จดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนกับหุ้น สำหรับตลาดหลักทรัพย์ของเรา ETF มีนโยบายในการลงทุนเลียนแบบดัชนี SET50 INDEX
4)การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ การซื้อบ้าน คอนโด ทั้งเพื่อการลงทุน หรือเพื่ออยู่อาศัย ก็ถือเป็นการลงทุนระยะยาวอย่างหนึ่ง
5)การลงทุนในทองคำ เป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ มีทั้งการลงทุนโดยตรงเช่น การซื้อทองคำแท่ง หรือลงทุนผ่านกองทุนรวม FIF ที่ลงทุนในทองคำ (ขอเกริ่นไว้ให้ท่านติดตามกันในบทความหน้านะครับ)
สุดท้ายนี้ ขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญยิ่งๆขึ้นไป คิดสิ่งใดขอให้สมดังปรารถนานะครับ และพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ