xs
xsm
sm
md
lg

ยูโอบีโชว์ผลงานกองทุนสิ้นก.พ.มั่นใจนโยบายรัฐดันยิลด์กองหุ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


บลจ.ยูโอบี โชว์ผลดำเนินงานกองทุนภายใต้การบริหารณสิ้นเดือนก.พ. "ทรัพย์บริบูรณ์ตราสารหนี้ 4 " และ "กำไรเพิ่มพูน 2 "ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนสูงสุด "วนา พูลผล" คาดแนวโน้มการลงทุนในตราสารหนี้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ย ส่วนกองทุนหุ้นจะปรับตัวดีขึ้นเหตุหลังการเมืองมีความชัดเจน อีกทั้งต่างชาติเริ่มเข้าซื้อหุ้นไทยเพิ่ม ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ เตือนระวังปัญหาซับไพร์ม ชี้ ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียน่าสนใจ

รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด ระบุว่า ผลการดำเนินงานกองทุนรวมภายใต้การจัดการสิ้นสุด ณ วันที่29 กุมภาพันธ์ 2551 ให้ผลตอบแทนในระดับพอใช้ได้ โดยในส่วนของกองทุนตราสารหนี้นั้น ส่วนใหญให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ให้ผลตอบแทน 11.51% โดย 3 อันดับแรกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด ประกอบไปด้วย กองทุนเปิด ทรัพย์บริบูรณ์ตราสารหนี้ 4 ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ 13.82% ขณะที่ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 5.74% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน 5.07% และย้อนหลัง 1ปีอยู่ที่ 6.76% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน 3.96%

อันดับ 2 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี ซีเล็ค บาสเก็ต อินคัม 1 ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 9.36% และ อันดับ 3 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี มั่นคง 36/1 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 5.70% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 4.43% และย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 5.38%

ส่วนด้าน กองทุนรวมแบบผสมนั้นพบว่า กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท มิเลนเนียท โกรว์ธ ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ -0.09% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน 1.52% ส่วนผลตอบแทน 6 เดือนอยู่ที่ 8.90% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน 3.52% ย้อนหลัง 1 ปี 33.71% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐานที่ 14.39% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 35.33% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่15.73% และกองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เฟล็กซ์ ฟันด์ 2 ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ 1.55% ผลตอบแทน 6 เดือนอยู่ที่ 8.27% ย้อนหลัง 1 ปี 37.52% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 30.56%

ขณะที่กองทุนรวมในตราสารทุนนั้น กองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนสูงสุดได้แก่ กองทุนเปิด กำไรเพิ่มพูน 2 ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ -0.39% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ -0.08% ผลตอบแทนย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 8.90% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐานอยู่ที่ 4.00% ย้อนหลัง 1 ปี 33.44% เทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน 24.56% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 37.55% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตราฐาน16.11%

อันดับ 2 ได้แก่ กองทุนเปิด เอเชียปันผล ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ -0.32% ส่วนผลตอบแทน 6 เดือนอยู่ที่ 8.41% ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีที่ 32.47% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 36.80% ขณะที่อันดับ 3. ได้แก่ กองทุนเปิด เกียรตินาคิน ให้ผลย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -0.36% ผลตอบแทน 6 เดือนอยู่ที่ 8.76% ย้อนหลัง 1 ปีที่ 33.23% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 37.49%

ส่วนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นั้นพบว่า กองทุนเปิด ยูโอบี พันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพโดยให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ 10.50% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 5.33% ย้อนหลัง 1 ปี 4.95% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 2.94% , อันดับ 2 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพโดยให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 2.47% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 2.41% ย้อนหลัง 1 ปี 2.73% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 2.79% และอันดับสุดท้าย กองทุนเปิด ยูโอบี ตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -0.72% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 8.88% ย้อนหลัง 1 ปี 35.74% และย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 39.70%

นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังสูงสุด 3 เดือน พบว่า กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท อินเตอร์เนชั่นเน โกรว์ธ ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ -11.45% เมื่อเทียบกับเกณท์มาตราฐาน Benchmark MSCI AC Wold Index อยู่ที่ -14.38% เทียบกับเกณท์มาตราฐานอยู่ที่ -14.59% ย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -6.35% เมื่อเทียบกับเกณท์มาตราฐานอยู่ที่-11.97% เทียบกับเกณท์มาตราฐานอยู่ที่ -6.51% และย้อนหลัง 1 ปี -2.27% เมื่อเทียบกับเกณท์มาตราฐานอยู่ที่ -8.20% อันดับ 2 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย แอคทีฟ อโลเคชัน ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3เดือนอยู่ที่ -13.45% และ สุดท้ายได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ทเอเชีย ให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 เดือนที่ -15.40% และย้อนหลัง 6 เดือน -7.37%

นายวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี กล่าวถึงแนวโน้มผลตอบแทนของกองทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทว่า สำหรับกองทุนตราสารหนี้นั้น ผลตอบแทนน่าจะเคลื่อนไหวไปตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด ส่วนแนวโน้มของกองทุนที่ลงทุนในหุ้น คาดว่าน่าจะดีขึ้น ซึ่งจะเป็นผลสืบเนื่องจากสภาพทางการเมืองที่ชัดเจนมากขึ้นรวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลประกาศใช้ออกมา โดยจะส่งผลทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความมั่นใจในการลงทุน อย่างไรก็ตามควรระวังในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่อาจเพิ่มสูงขึ้นซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดหุ้นด้วย

นอกจากนี้ในส่วนของกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) นั้น นายวนา มองว่า การลงทุนในอเมริการวมถึงยุโยปและญี่ปุ่นยังไม่ค่อยน่าลงทุนนัก เพราะยังมีปัญหาเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณถาพ (ซับไพรม์) แต่ในส่วนของตลาดเอเชีย มีความน่าลงทุนมากกว่าโดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่เช่น ประเทศจีน เพราะมีรายได้ประชาชาติที่สูงขึ้น แต่ในส่วนของตลาดเกิดใหม่นั้น นักลงทุนควรที่จะเลือกลงทุนในกลุ่มประเทศที่รายได้ไม่ได้พึ่งพากับสหรัฐอเมริกามากเกินไป
กำลังโหลดความคิดเห็น