อินไซด์ผลตอบแทน 3 กองทุนรวมต่างประเทศที่ลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC "แอสเซทพลัสบริค - ไอเอ็นจี ไทย บริค 40 - พรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์" จับมือยิวด์ร่วงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD ที่ให้ผลตอบแทน -10.40%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) และความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ช่วงที่ผ่านตลาดหุ้นทั่วโลกประสบปัญหาดัชนีลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นดาวน์โจนท์ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาแล้ว ยังส่งผลกระทบกดดันยังตลาดหุ้นในอีกหลายประเทศ รวมไปถึงตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศบริค (BRIC) ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และ จีน อีกด้วย
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่ลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC ได้รับผลกระทบดังกล่าวไปด้วย โดยจากการสำรวจผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนเอฟไอเอฟที่ลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าวทั้ง 3 กองทุน พบว่าทั้งหมดให้ผลตอบแทนในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD
โดย ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 กองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค กองทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 359.77 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -13.27% ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -10.40% กว่า 2.87% สำหรับกองทุนนี้มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุน Templeton BRIC Fund ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศในกลุ่ม BRIC ได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน (รวมถึงฮ่องกง และไต้หวัน)
ขณะที่กองทุนไอเอ็นจี ไทย บริค 40 ซึ่งมีนโยบายลงทุนในกองทุน SPDR S&P BRIC 40 ETF (BIK) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ 80% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับ S&P BRIC 40 Index ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 500.51 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -13.88% คิดเป็นการลดลงกว่า 3.48% จากเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -10.40%
ส่วนกองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนของบลจ.พรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz-dit BRIC Stars ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC เช่นเดียวกันนั้น กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 466.54 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -15.19% ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD กว่า 4.79%
ก่อนหน้านี้นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า สถานการณ์การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาซับไพรม์มีกระทบต่อตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่บ้าง แต่เชื่อว่าความผันผวนจะเป็นแค่ช่วงสั้นเท่านั้น ซึ่งการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่หากเป็นการลงทุนในระยะกลางถึงยาวก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก สำหรับการลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในบริค ถือว่ามีข้อดีกว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ด้วยกัน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มี ประชากร และทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการเจริญเติบโตที่สูง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในเวลานี้คงจะเกิดขึ้นแค่ระยะสั้น
ด้านนายเพิ่มพล ประเสริฐล้ำ กรรมการผู้จัดการ บลจ.พรีมาเวสท์ กล่าวว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศบริคในขณะนี้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกพอสมควร ซึ่งกองทุนที่เข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องปรับเปลี่ยนการลงทุนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยแต่ละประเทศจะมีผลกระทบจากแรงกดดันต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน และเมื่อนำมาเฉลี่ยกันให้เหมาะสมการลงทุนก็จะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวไม่มากนัก
"การลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้จะมีส่วนดีคือ สามารถให้น้ำหนักทั้ง 4 ประเทศต่างกันได้ ซึ่งหากมองที่จีนกับอินเดียแล้วก็ได้รับผลกระทบพอสมควร ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นใน 2 ประเทศนี้ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร แต่กับประเทศ บราซิล และรัสเชีย เชื่อว่าน่าจะยังดีอยู่ และเมื่อให้น้ำหนักในการลงทุนที่ดีแล้วจะทำให้การลงทุนได้ประโยชน์มากขึ้น"นายเพิ่มพลกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) และความวิตกเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ช่วงที่ผ่านตลาดหุ้นทั่วโลกประสบปัญหาดัชนีลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหุ้นดาวน์โจนท์ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาแล้ว ยังส่งผลกระทบกดดันยังตลาดหุ้นในอีกหลายประเทศ รวมไปถึงตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศบริค (BRIC) ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และ จีน อีกด้วย
ทั้งนี้ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ที่ลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC ได้รับผลกระทบดังกล่าวไปด้วย โดยจากการสำรวจผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีของกองทุนเอฟไอเอฟที่ลงทุนในกลุ่มประเทศดังกล่าวทั้ง 3 กองทุน พบว่าทั้งหมดให้ผลตอบแทนในระดับที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD
โดย ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 กองทุนเปิดแอสเซทพลัสบริค กองทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แอสเซทพลัส จำกัด มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 359.77 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -13.27% ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -10.40% กว่า 2.87% สำหรับกองทุนนี้มีนโยบายเน้นลงทุนในกองทุน Templeton BRIC Fund ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ของประเทศในกลุ่ม BRIC ได้แก่บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน (รวมถึงฮ่องกง และไต้หวัน)
ขณะที่กองทุนไอเอ็นจี ไทย บริค 40 ซึ่งมีนโยบายลงทุนในกองทุน SPDR S&P BRIC 40 ETF (BIK) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีตั้งแต่ 80% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับ S&P BRIC 40 Index ณ วันที่ 31 มกราคม 2551 ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 500.51 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -13.88% คิดเป็นการลดลงกว่า 3.48% จากเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -10.40%
ส่วนกองทุนเปิดพรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) บริค สตาร์ ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนของบลจ.พรีมาเวสท์(ไทยแลนด์) ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Allianz-dit BRIC Stars ซึ่งมีนโยบายเน้นลงทุนในกลุ่มประเทศ BRIC เช่นเดียวกันนั้น กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 466.54 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี -15.19% ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน MSCI AC World CR USD กว่า 4.79%
ก่อนหน้านี้นายจุมพล สายมาลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า สถานการณ์การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาซับไพรม์มีกระทบต่อตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเกิดใหม่บ้าง แต่เชื่อว่าความผันผวนจะเป็นแค่ช่วงสั้นเท่านั้น ซึ่งการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่หากเป็นการลงทุนในระยะกลางถึงยาวก็จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก สำหรับการลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในบริค ถือว่ามีข้อดีกว่าการลงทุนในตลาดเกิดใหม่อื่นๆ ด้วยกัน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มี ประชากร และทรัพยากรเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการเจริญเติบโตที่สูง ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในเวลานี้คงจะเกิดขึ้นแค่ระยะสั้น
ด้านนายเพิ่มพล ประเสริฐล้ำ กรรมการผู้จัดการ บลจ.พรีมาเวสท์ กล่าวว่า การลงทุนในกลุ่มประเทศบริคในขณะนี้ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกพอสมควร ซึ่งกองทุนที่เข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องปรับเปลี่ยนการลงทุนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ โดยแต่ละประเทศจะมีผลกระทบจากแรงกดดันต่างๆ ที่ไม่เหมือนกัน และเมื่อนำมาเฉลี่ยกันให้เหมาะสมการลงทุนก็จะได้รับผลกระทบจากการปรับตัวไม่มากนัก
"การลงทุนในกลุ่มประเทศเหล่านี้จะมีส่วนดีคือ สามารถให้น้ำหนักทั้ง 4 ประเทศต่างกันได้ ซึ่งหากมองที่จีนกับอินเดียแล้วก็ได้รับผลกระทบพอสมควร ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นใน 2 ประเทศนี้ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร แต่กับประเทศ บราซิล และรัสเชีย เชื่อว่าน่าจะยังดีอยู่ และเมื่อให้น้ำหนักในการลงทุนที่ดีแล้วจะทำให้การลงทุนได้ประโยชน์มากขึ้น"นายเพิ่มพลกล่าว