บลจ.อเบอร์ดีน มองตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ทั่วโลกน่าลงทุน ระบุแม้ระยะสั้นจะผันผวน แต่โอกาสเติบโตระยะยาว 3-5 ปีข้างหน้ามีสูง ชี้ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมา เป็นโอกาสเหมาะต่อการลงทุน พร้อมจับจังหวะส่งกองทุน “ABGEM” รองรับ ไอพีโอ 17-31 มีนาคมนี้ ด้านแมนูไลฟ์มองกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกน่าสน หลัง P/E ขยับลงมาอยู่ที่ 6-8 เท่า
นายคริสโตเฟอร์ หว่อง ผู้จัดการฝ่ายการลงทุน อเบอร์ดีน แอสเซท เมเนเจอร์ส เอเชีย ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า การลงทุนในหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกทั้งในเอเชีย ยุโรปตะวันออก และลาตินอเมริกา ถือว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว 3-5 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประเทศตลาดเกิดใหม่มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ที่แข็งแกร่งโดยในปี2551 นี้คาดว่าจะเติบโต 8% ในขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
ขณะเดียวกัน การเติบโตของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ยังถูกประเมินไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง หากดูสัดส่วนจีดีพีของกลุ่มตลาดเกิดใหม่แล้วคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 25% ของเศรษฐกิจโลก แต่มีน้ำหนักในการคำนวณดัชนี MSCI AC World เพียง 8% เท่านั้น ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานนี้อาจจะสะท้อนภาพในอดีตของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ แต่ยังไม่แสดงถึงแนวโน้มในอนาคตของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีโอกาสจะเติบโตขึ้นได้อีกมาก
ทั้งนี้ การที่ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะตลาดหุ้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะเข้าไปลงทุน เพราะถ้ามองจากพื้นฐานราคาที่ปรับตัวลงมาทำให้ความเสี่ยงลดลงเมื่อเทียบกับโอกาสในการเติบโตในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ ถือว่าน่าสนใจ
นายคริสโตเฟอร์กล่าวว่า ในส่วนของเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั่วโลกนั้น คาดว่าจะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากจากปี 2006 ที่มีสัดส่วนประมาณ 22,384.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 40,818.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007 และคาดว่าในปีนี้ จะยังคงมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่อย่าง แม้ว่าตัวเลขอาจจะลดลงบ้างเล็กน้อยก็ตาม
“แม้ว่านักลงทุนกลุ่มหนึ่งก็จะมีกำไรจากการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ไปพอสมควร แต่นักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่ง ก็ต้องมองหาโอกาสการลงทุนอยู่ เช่น นักลงทุนจากตะวันออกกลางที่มีความมั่งคั่งขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น เมื่อไม่รู้ว่าจะไปลงทุนที่ไหน โอกาสหนึ่งที่เขาจะเข้ามาลงทุนก็คือกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มของเงินทุนไหลเข้าในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในระยะยาวยังคงเป็นบวกอยู่”นายคริสโตเฟอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่า 20% ต่อปี ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง กลุ่มประเทศเหล่านี้ย่อมได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนอาจจะปรับตัวลดลงจากต้นทุนที่แพงขึ้น แต่ตัวเลขการเติบโตของกำไรก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และในจังหวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมา จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทเหล่านี้จะได้มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงการบริหารให้เข้ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถึงจุดนั้นเมื่อการบริหารเริ่มนิ่งเราจะเห็นการเติบโตของกำไรที่ดีขึ้นในอนาคต
ด้านนายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ หัวหน้าฝ่ายตราสารทุน บลจ.อเบอร์ดีน กล่าวว่า บริษัทเตรียมจะเสนอขายกองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง โกรท ฟันด์(ABGEM) ซึ่งเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ที่จะลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เกต ฟันด์ ในต่างประเทศ โดยกองทุนหลักดังกล่าว มีนโยบายลงทุนในหุ้นของประเทศเกิดใหม่ทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรปตะวันออก และลาตินอเมริกา รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่มีอัตราการเติบโตที่ดีในระยะยาว ทั้งนี้ กองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง โกรท ฟันด์ จะเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 17-31 มีนาคมนี้
ทั้งนี้ กองทุนหลักของกองทุนดังกล่าว ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยประมาณ 4.7% ซึ่งสูงกว่าน้ำหนักการลงทุนของดัชนี MSCI EM ที่ให้น้ำหนักเพียง 1.5% ซึ่งสาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจอยู่นั้น เรามองว่าในระยะยาวยังเป็นตลาดที่ดี ซึ่งไทยเองหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแล้ว ถือว่าค่อนข้างโชคดี เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยไม่ดีมากนักทำให้ราคายังไม่สูงมากนัก โดยหลังจากที่มีการเลือกตั้งแล้ว ก็เริ่มมีนักลงทุนเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่าในระยะยาวเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวได้ดี ดังนั้น อเบอร์ดีนจึงยังให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่
ส่วนการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 18 มีนาคมนี้ มองว่า หากเฟดลดดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.75-1% คงจะไม่มีผลกระทบอะไร เพราะหลายคนก็คาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่า ท้ายที่สุดดอกเบี้ยเฟดอาจจะลดต่ำไปอยู่ที่ 1% แต่ในทางตรงกันข้าม หากเฟดไม่ปรับอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการลงทุนทั่วโลกมากกว่า
นายอลัน แคม กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในหุ้นของประเทศตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ยังมีความน่าสนใจค่อนข้างมาก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงจากผลกระทบของปัญหาซับไพรม์ เห็นได้จาก P/E ของหุ้นในกลุ่มประเทศดังกล่าวขยับลงมาอยู่ที่ระดับ 6-8 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นกับประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีมีบทบาทต่อการเติบโตของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก มองว่าเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น ประกอบกับพรรคการเมืองที่เข้ามาก็ยังเป็นพรรคการเมืองเดียวกัน
ส่วนภาพรวมของการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่ (อีเมอร์จิ้งมาร์เกต) ยังมองว่ามีความน่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งตลาดหุ้นจีนเองมีนักวิเคราะห์ประเมินว่ายังมีโอกาสเติบโตได้ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า แม้ในช่วงที่ผ่านมาถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมาจะขยายตัวไปแล้วกว่า 300% ก็ตาม
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกามากนัก เพราะปัจจุบันกลุ่มประเทศเหล่านี้ลดการพึ่งพาสหรัฐมากขึ้น เช่น จีนที่มีการอัตราการส่งออกไปสหรัฐเพียง 22% เท่านั้น โดยนอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งออกไปกลุ่มประเทศยุโรป และประเทศเอเชียด้วยกัน ในขณะที่อินเดียเองก็มีการส่งออกไปสหรัฐเพียง 30% เท่านั้น
ทั้งนี้ ในส่วนของบลจ.แมนูไลฟ์ มีกองทุนเปิดแมนูไลฟ์ สเตรงค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ ซึ่งเป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่เน้นลงทุนในหุ้นประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกด้วยเช่นกัน
นายคริสโตเฟอร์ หว่อง ผู้จัดการฝ่ายการลงทุน อเบอร์ดีน แอสเซท เมเนเจอร์ส เอเชีย ลิมิเต็ด เปิดเผยว่า การลงทุนในหุ้นกลุ่มตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกทั้งในเอเชีย ยุโรปตะวันออก และลาตินอเมริกา ถือว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตในระยะยาว 3-5 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะประเทศตลาดเกิดใหม่มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ที่แข็งแกร่งโดยในปี2551 นี้คาดว่าจะเติบโต 8% ในขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง
ขณะเดียวกัน การเติบโตของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ยังถูกประเมินไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง หากดูสัดส่วนจีดีพีของกลุ่มตลาดเกิดใหม่แล้วคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 25% ของเศรษฐกิจโลก แต่มีน้ำหนักในการคำนวณดัชนี MSCI AC World เพียง 8% เท่านั้น ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานนี้อาจจะสะท้อนภาพในอดีตของกลุ่มตลาดเกิดใหม่ แต่ยังไม่แสดงถึงแนวโน้มในอนาคตของกลุ่มประเทศเหล่านี้ ซึ่งมีโอกาสจะเติบโตขึ้นได้อีกมาก
ทั้งนี้ การที่ตลาดหุ้นทั่วโลกโดยเฉพาะตลาดหุ้นกลุ่มประเทศเกิดใหม่ปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการที่จะเข้าไปลงทุน เพราะถ้ามองจากพื้นฐานราคาที่ปรับตัวลงมาทำให้ความเสี่ยงลดลงเมื่อเทียบกับโอกาสในการเติบโตในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้าต่อจากนี้ ถือว่าน่าสนใจ
นายคริสโตเฟอร์กล่าวว่า ในส่วนของเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ทั่วโลกนั้น คาดว่าจะเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากจากปี 2006 ที่มีสัดส่วนประมาณ 22,384.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็น 40,818.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2007 และคาดว่าในปีนี้ จะยังคงมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดเกิดใหม่อย่าง แม้ว่าตัวเลขอาจจะลดลงบ้างเล็กน้อยก็ตาม
“แม้ว่านักลงทุนกลุ่มหนึ่งก็จะมีกำไรจากการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ไปพอสมควร แต่นักลงทุนอีกกลุ่มหนึ่ง ก็ต้องมองหาโอกาสการลงทุนอยู่ เช่น นักลงทุนจากตะวันออกกลางที่มีความมั่งคั่งขึ้นจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้น เมื่อไม่รู้ว่าจะไปลงทุนที่ไหน โอกาสหนึ่งที่เขาจะเข้ามาลงทุนก็คือกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งจะทำให้แนวโน้มของเงินทุนไหลเข้าในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในระยะยาวยังคงเป็นบวกอยู่”นายคริสโตเฟอร์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่า 20% ต่อปี ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง กลุ่มประเทศเหล่านี้ย่อมได้รับผลกระทบบ้าง ซึ่งการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนอาจจะปรับตัวลดลงจากต้นทุนที่แพงขึ้น แต่ตัวเลขการเติบโตของกำไรก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และในจังหวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงมา จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทเหล่านี้จะได้มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงการบริหารให้เข้ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถึงจุดนั้นเมื่อการบริหารเริ่มนิ่งเราจะเห็นการเติบโตของกำไรที่ดีขึ้นในอนาคต
ด้านนายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ หัวหน้าฝ่ายตราสารทุน บลจ.อเบอร์ดีน กล่าวว่า บริษัทเตรียมจะเสนอขายกองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง โกรท ฟันด์(ABGEM) ซึ่งเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ (FIF) ที่จะลงทุนผ่านหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง มาร์เกต ฟันด์ ในต่างประเทศ โดยกองทุนหลักดังกล่าว มีนโยบายลงทุนในหุ้นของประเทศเกิดใหม่ทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรปตะวันออก และลาตินอเมริกา รวมถึงตลาดหุ้นไทยที่มีอัตราการเติบโตที่ดีในระยะยาว ทั้งนี้ กองทุนเปิดอเบอร์ดีน โกลบอล อีเมอร์จิ้ง โกรท ฟันด์ จะเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 17-31 มีนาคมนี้
ทั้งนี้ กองทุนหลักของกองทุนดังกล่าว ให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยประมาณ 4.7% ซึ่งสูงกว่าน้ำหนักการลงทุนของดัชนี MSCI EM ที่ให้น้ำหนักเพียง 1.5% ซึ่งสาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจอยู่นั้น เรามองว่าในระยะยาวยังเป็นตลาดที่ดี ซึ่งไทยเองหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแล้ว ถือว่าค่อนข้างโชคดี เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยไม่ดีมากนักทำให้ราคายังไม่สูงมากนัก โดยหลังจากที่มีการเลือกตั้งแล้ว ก็เริ่มมีนักลงทุนเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่าในระยะยาวเศรษฐกิจของประเทศจะขยายตัวได้ดี ดังนั้น อเบอร์ดีนจึงยังให้น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่
ส่วนการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นอีกครั้งในวันที่ 18 มีนาคมนี้ มองว่า หากเฟดลดดอกเบี้ยลงอีกประมาณ 0.75-1% คงจะไม่มีผลกระทบอะไร เพราะหลายคนก็คาดการณ์ล่วงหน้าแล้วว่า ท้ายที่สุดดอกเบี้ยเฟดอาจจะลดต่ำไปอยู่ที่ 1% แต่ในทางตรงกันข้าม หากเฟดไม่ปรับอัตราดอกเบี้ย เชื่อว่าน่าจะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการลงทุนทั่วโลกมากกว่า
นายอลัน แคม กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในหุ้นของประเทศตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ยังมีความน่าสนใจค่อนข้างมาก เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงจากผลกระทบของปัญหาซับไพรม์ เห็นได้จาก P/E ของหุ้นในกลุ่มประเทศดังกล่าวขยับลงมาอยู่ที่ระดับ 6-8 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าปีที่แล้วค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้นกับประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีมีบทบาทต่อการเติบโตของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก มองว่าเป็นเพียงเรื่องชั่วคราวเท่านั้น ประกอบกับพรรคการเมืองที่เข้ามาก็ยังเป็นพรรคการเมืองเดียวกัน
ส่วนภาพรวมของการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่ (อีเมอร์จิ้งมาร์เกต) ยังมองว่ามีความน่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ที่เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ซึ่งตลาดหุ้นจีนเองมีนักวิเคราะห์ประเมินว่ายังมีโอกาสเติบโตได้ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า แม้ในช่วงที่ผ่านมาถึงแม้ในช่วงที่ผ่านมาจะขยายตัวไปแล้วกว่า 300% ก็ตาม
ทั้งนี้ กลุ่มประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐอเมริกามากนัก เพราะปัจจุบันกลุ่มประเทศเหล่านี้ลดการพึ่งพาสหรัฐมากขึ้น เช่น จีนที่มีการอัตราการส่งออกไปสหรัฐเพียง 22% เท่านั้น โดยนอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งออกไปกลุ่มประเทศยุโรป และประเทศเอเชียด้วยกัน ในขณะที่อินเดียเองก็มีการส่งออกไปสหรัฐเพียง 30% เท่านั้น
ทั้งนี้ ในส่วนของบลจ.แมนูไลฟ์ มีกองทุนเปิดแมนูไลฟ์ สเตรงค์ อิเมอร์จิ้ง อีสเทอร์น ยุโรป เอฟไอเอฟ ซึ่งเป็นกองทุนรวมต่างประเทศที่เน้นลงทุนในหุ้นประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกด้วยเช่นกัน