โดย บลจ.แอสเซทพลัส
ภาวะตลาดตราสารหนี้ในประเทศ yield curve ตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลง ระหว่าง -49 ถึง -75 bps. เนื่องจาก SWAP CURVE (IRS) ปรับตัวลงตามพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจาก Fed ประกาศลดดอกเบี้ยลงถึง 1.25% ภายในระยะเวลา 10 วัน เพื่อบรรเทาปัญหา Sub-prime และหลีกเลี่ยงโอกาสในการเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ของสหรัฐฯ ดังนั้น yield 2 ปี จึงปรับตัวลดลงประมาณ -68 bps. ในขณะที่พันธบัตร 10 ปี yield ปรับลดลง -65 bps ส่งผลให้ yield curve มีความชันเพิ่มขึ้น (Bull Steepening) โดยส่วนต่าง yield 2-10 ปี เพิ่มขึ้นจาก 97 bps. เป็น 101 bps.
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนธันวาคม ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ชัดเจน โดยดัชนีภาคการผลิต (MPI) ปรับเพิ่มขึ้น 11.7% YoY และดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) ลดลงเหลือ 0.9%YoY เทียบกับ +3.7% ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ขยายตัวที่ +3.6% YoY เทียบกับ +3.4% ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ขณะเดียวกัน ตัวเลขการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) กลับอยู่ที่ 78.1% สูงสุดในรอบ 10 ปี
ด้านดุลการค้าเดือนธันวาคมมีการเกินดุลลดลงเป็น 1,069 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ เนื่องจากการหดตัวของ Exports ซึ่งโตเพียง 19.5% YoY จาก 24.5%YOY ในเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวลดลงเหลือ 10.6% YoY
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.2% และ 1.2% ในเดือนธันวาคมเป็น 4.3% และ 1.2% ตามลำดับในเดือนมกราคม เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และการปรับราคาก๊าซหุงต้ม รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการ อาทิ น้ำมันพืช และน้ำมันปาล์ม ฯลฯ
กลยุทธ์การลงทุน
บลจ.แอสเซท พลัส ปรับเพิ่ม Duration ของ Portfolio จาก 0.5 – 1.0 ปี เป็น 0.7-1.2 ปี เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรง ของ Fed ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศลดลงได้ในที่สุด เนื่องจาก กระแสเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) อันเนื่องมาจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย-สหรัฐฯ รวมทั้งเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จากนักลงทุนต่างชาติ
ภาวะตลาดตราสารหนี้ในประเทศ yield curve ตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป ปรับตัวลดลง ระหว่าง -49 ถึง -75 bps. เนื่องจาก SWAP CURVE (IRS) ปรับตัวลงตามพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจาก Fed ประกาศลดดอกเบี้ยลงถึง 1.25% ภายในระยะเวลา 10 วัน เพื่อบรรเทาปัญหา Sub-prime และหลีกเลี่ยงโอกาสในการเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ของสหรัฐฯ ดังนั้น yield 2 ปี จึงปรับตัวลดลงประมาณ -68 bps. ในขณะที่พันธบัตร 10 ปี yield ปรับลดลง -65 bps ส่งผลให้ yield curve มีความชันเพิ่มขึ้น (Bull Steepening) โดยส่วนต่าง yield 2-10 ปี เพิ่มขึ้นจาก 97 bps. เป็น 101 bps.
ส่วนตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนธันวาคม ส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่ชัดเจน โดยดัชนีภาคการผลิต (MPI) ปรับเพิ่มขึ้น 11.7% YoY และดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) ลดลงเหลือ 0.9%YoY เทียบกับ +3.7% ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) ขยายตัวที่ +3.6% YoY เทียบกับ +3.4% ในเดือนพฤศจิกายน 2550 ขณะเดียวกัน ตัวเลขการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) กลับอยู่ที่ 78.1% สูงสุดในรอบ 10 ปี
ด้านดุลการค้าเดือนธันวาคมมีการเกินดุลลดลงเป็น 1,069 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ เนื่องจากการหดตัวของ Exports ซึ่งโตเพียง 19.5% YoY จาก 24.5%YOY ในเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าขยายตัวลดลงเหลือ 10.6% YoY
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.2% และ 1.2% ในเดือนธันวาคมเป็น 4.3% และ 1.2% ตามลำดับในเดือนมกราคม เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และการปรับราคาก๊าซหุงต้ม รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการ อาทิ น้ำมันพืช และน้ำมันปาล์ม ฯลฯ
กลยุทธ์การลงทุน
บลจ.แอสเซท พลัส ปรับเพิ่ม Duration ของ Portfolio จาก 0.5 – 1.0 ปี เป็น 0.7-1.2 ปี เนื่องจากการปรับลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรง ของ Fed ซึ่งน่าจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยภายในประเทศลดลงได้ในที่สุด เนื่องจาก กระแสเงินทุนไหลเข้า (Capital Inflow) อันเนื่องมาจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของไทย-สหรัฐฯ รวมทั้งเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จากนักลงทุนต่างชาติ