เมื่อกล่าวถึงการลงทุนในกองทุนรวม นักลงทุนหลายท่านจะถามก่อนเลยว่าคืออะไร มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และผลตอบแทนจะได้แน่นอนอย่างไร ผมคิดว่านักลงทุนทุกท่านคงได้ยินคำแนะนำทุกครั้งเวลาท่านจะตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต” พอได้ยินแค่ประโยคนี้ ก็มีคำถามตามมาอีกว่า “เมื่อมีความเสี่ยง และไม่ทราบผลตอบแทนที่แน่นอน แล้วจะลงทุนกับกองทุนทำไม ไปฝากเงินกับธนาคารดีกว่า” นี้คือประเด็นสำหรับบทความนี้ที่ผมอยากอธิบายให้นักลงทุนได้เข้าใจใน “การลงทุนในกองทุนรวม” ว่าทำไมต้องลงทุน และกองทุนรวมมีกี่ประเภทรวมทั้งมีความเสี่ยงอย่างไร
กองทุนรวม คือ กองทุนที่ผู้มีเงินน้อยๆ นำเงินมารวมกันตามการเสนอบริการจัดการของ บลจ. ต่างๆ โดยได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. บลจ.จะนำเงินกองนี้ไปลงทุน เมื่อมีผลกำไร ก็นำมาแบ่งคืนให้กับผู้ถือหน่วยแต่ละคน กองทุนรวมก็จะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ กองทุนปิด และกองทุนเปิด
สำหรับกองทุนปิด คือกองทุนที่เปิดรับผู้ซื้อหน่วยในเวลาที่กำหนดเพียงครึ่งเดียว แล้วไม่เปิดขายอีก และก็ไม่รับซื้อคืนก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ด้วย ซึ่งกองทุนชนิดนี้ก็จะคล้ายๆ กับการฝากเงินประจำ และเพื่อเพิ่มสภาพคล่องบางกองก็มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้ขายก่อนครบกำหนดอายุก็ได้
อีกองทุนหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันคือ กองทุนเปิดกองทุนเปิด คือกองทุนที่เปิดรับซื้อหน่วยลงทุนทุกวัน ตามเวลาที่ระบุไว้ซึ่งบางกองเวลาซื้อและขายคืนจะแตกต่างกัน(อ่านได้จากหนังสือชี้ชวน) และที่สำคัญคือสามารถทำได้ทุกวัน โดยราคาซื้อและราคาขายก็จะต่างกันบ้าง กล่าวคือ ราคาซื้อคืนจากนักลงทุนก็จะต่ำกว่าราคาขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุน
กองทุนรวมสามารถแบ่งออกได้อีกตามประเภทและลักษณะของการลงทุนได้ 12 กองทุนด้วยกัน คือ
1)กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) จะลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีที่ให้ดอกเบี้ย เช่น ตั๋วเงิน พันธบัตรและเงินฝากธนาคาร โดยให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินธนาคาร อย่างน้อยก็ไม่เสียภาษี รวมทั้งความเสี่ยงก็ต่ำด้วย
2)กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งให้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินและหุ้นกู้ ที่เน้นความเสี่ยงต่ำ ข้อดีเมื่อเทียบกับการซื้อตราสารหนี้คือสภาพคล่องที่สามารถขายคืนให้กองทุนได้ทันที และการลงทุนก็ใช้เงินไม่มากเมื่อเทียบกับการซื้อโดยตรงอีกด้วย
3)กองทุนหุ้น (Equity Fund) หรือกองทุนตราสารทุน จะเน้นการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่า 65% ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุนในหุ้นแต่ไม่มีความชำนาญ หรือมีเวลามากในการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ก็ต้องอาศัยมืออาชีพอย่าง ผู้จัดการกองทุน มาบริหารให้ กองทุนชนิดนี้อย่างที่ทราบกันดีเหมาะสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้มาก เพื่อผลตอบแทนที่สูง
4)กองทุนรวมแบบผสม (Balanced Fund) จะลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสัดส่วนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับวิธีและรูปแบบการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุน ของ บลจ. นั้นๆ กล่าวคือเน้นความยืดหยุ่น ปรับตามสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
5)กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Capital Protected Fund) จะลงทุนแบบรักษาเงินต้นและกำไรไม่สูงมากนัก โดยจะลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ
6)กองทุนรวมมีประกัน (Guaranteed Fund) เป็นการลงทุนที่มีผู้รับประกันความเสี่ยงให้ตามเงื่อนไขของการลงทุนที่กำหนดไว้
7)กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) กระจายการลงทุนไปในต่างประเทศที่มีเศรษฐกิจดีเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยอาจจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมา คือ ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราการแลกเปลี่ยน แต่ก็มีหลายกองทุนที่ทำสัญญาคุ้มครองความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้
8)กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) เน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เพื่อหวังรายได้ที่สม่ำเสมอจากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยผู้ลงทุนสามารถเป็นเจ้าของและได้รับผลตอบแทนจากทรัพย์สินนั้นๆ
9)กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) เน้นการลงทุนสร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหลักทรัพย์ ตามที่แต่ละ บลจ. เสนอขายต่อนักลงทุน เช่น ลงทุนใน FTSE Index, NYSE Index, HANGSENG Index, SET Index เป็นต้น
10)กองทุนรวมหน่วยลงทุน(Fund of Funds) เป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมอื่นอีกทีหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้
11)กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) เน้นการลงทุนในหุ้นโดยใช้ระยะเวลา 5 ปีปฏิทิน ผู้ถือหน่วยได้สิทธิในการนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ โดยมากถึง 15% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 300,000 บาท
12)กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) เป็นการลงทุนเพื่อประโยชน์ในวัยเกษียณอายุพร้อมได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งเน้นการลงทุนอย่างต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี หรือถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แล้วแต่แบบไหนจะนานกว่ากัน โดยนักลงทุนต้องใส่เงินเข้าไปทุกปี แต่ไม่จำกัดจำนวนว่าต้องถึง 15% ของรายได้หรือถึง 300,000 บาท ข้อแตกต่างจากกองทุน LTF คือ ไม่ต้องลงทุนเฉพาะในหุ้น สามารถโยกเงินจากกองทุนหนึ่งไปอีกกองทุนหนึ่งได้ รวมทั้งสามารถโยกย้ายเงินจาก บลจ.หนึ่งไปอีก บลจ.หนึ่งได้ด้วย
ทำไมต้องลงทุนในกองทุนรวม
1)สามารถลงทุนโดยใช้เงินไม่มากนักในการลงทุนในตลาดหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ โดยการลงทุนเงินผ่าน บลจ. ซึ่งนักลงทุนใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เริ่มต้นจาก 2,000 บาท 5,000 บาท หรือ 10,000 บาทก็ลงทุนได้แล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบลจ.
2)ลงทุนโดยใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญ การบริหารการลงทุนโดยผ่านนักบริหารมืออาชีพอย่างผู้จัดการกองทุนของแต่ละบลจ. ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจัดการกองทุน มาทำหน้าที่วิเคราะห์ว่าจะซื้อ จะขาย จะลงทุนเมื่อไหร่ ลงทุนเมื่อไร ลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทไหน
3)เป็นการกระจายความเสี่ยง โดยกองทุนรวมจะมีการลงทุนที่หลากหลายซึ่งจะเป็นกระจายความเสี่ยง และเมื่อเทียบกับการที่ลงทุนด้วยตัวเอง นักลงทุนต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยที่จะซื้อตราสารทางการเงินที่หลากหลาย
4)สามารถเลือกให้เหมาะสมกับตัวของนักลงทุนเอง โดยแต่ละกองทุนซึ่งมีการกระจายลงทุนที่แตกต่างกัน และปรับตามความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ไปถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง
5)มีสภาพคล่อง นักลงทุนสามารถซื้อขายเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละกองทุนว่าต้องซื้อหรือขายก่อนเวลาใด รวมทั้งได้รับเงินคืนเมื่อไรเพราะบางกองให้เงินคืนแบบ T+1, T+2, T+3 เป็นต้น
6)มีกลไกปกป้องผู้ลงทุน เพราะ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแล โดยกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อปกป้องผู้ลงทุน เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจให้แก่นักลงทุนโดยระบุไว้ในเงื่อนไขของการจัดตั้งกองทุนนั้นๆ
กองทุนรวม คือ กองทุนที่ผู้มีเงินน้อยๆ นำเงินมารวมกันตามการเสนอบริการจัดการของ บลจ. ต่างๆ โดยได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต. บลจ.จะนำเงินกองนี้ไปลงทุน เมื่อมีผลกำไร ก็นำมาแบ่งคืนให้กับผู้ถือหน่วยแต่ละคน กองทุนรวมก็จะมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ กองทุนปิด และกองทุนเปิด
สำหรับกองทุนปิด คือกองทุนที่เปิดรับผู้ซื้อหน่วยในเวลาที่กำหนดเพียงครึ่งเดียว แล้วไม่เปิดขายอีก และก็ไม่รับซื้อคืนก่อนครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ด้วย ซึ่งกองทุนชนิดนี้ก็จะคล้ายๆ กับการฝากเงินประจำ และเพื่อเพิ่มสภาพคล่องบางกองก็มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ให้ขายก่อนครบกำหนดอายุก็ได้
อีกองทุนหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันคือ กองทุนเปิดกองทุนเปิด คือกองทุนที่เปิดรับซื้อหน่วยลงทุนทุกวัน ตามเวลาที่ระบุไว้ซึ่งบางกองเวลาซื้อและขายคืนจะแตกต่างกัน(อ่านได้จากหนังสือชี้ชวน) และที่สำคัญคือสามารถทำได้ทุกวัน โดยราคาซื้อและราคาขายก็จะต่างกันบ้าง กล่าวคือ ราคาซื้อคืนจากนักลงทุนก็จะต่ำกว่าราคาขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุน
กองทุนรวมสามารถแบ่งออกได้อีกตามประเภทและลักษณะของการลงทุนได้ 12 กองทุนด้วยกัน คือ
1)กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) จะลงทุนในหลักทรัพย์ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปีที่ให้ดอกเบี้ย เช่น ตั๋วเงิน พันธบัตรและเงินฝากธนาคาร โดยให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินธนาคาร อย่างน้อยก็ไม่เสียภาษี รวมทั้งความเสี่ยงก็ต่ำด้วย
2)กองทุนรวมตราสารหนี้ (Fixed Income Fund) เน้นลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งให้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินและหุ้นกู้ ที่เน้นความเสี่ยงต่ำ ข้อดีเมื่อเทียบกับการซื้อตราสารหนี้คือสภาพคล่องที่สามารถขายคืนให้กองทุนได้ทันที และการลงทุนก็ใช้เงินไม่มากเมื่อเทียบกับการซื้อโดยตรงอีกด้วย
3)กองทุนหุ้น (Equity Fund) หรือกองทุนตราสารทุน จะเน้นการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่น้อยกว่า 65% ซึ่งเหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุนในหุ้นแต่ไม่มีความชำนาญ หรือมีเวลามากในการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ก็ต้องอาศัยมืออาชีพอย่าง ผู้จัดการกองทุน มาบริหารให้ กองทุนชนิดนี้อย่างที่ทราบกันดีเหมาะสำหรับผู้รับความเสี่ยงได้มาก เพื่อผลตอบแทนที่สูง
4)กองทุนรวมแบบผสม (Balanced Fund) จะลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้ ซึ่งสัดส่วนเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับวิธีและรูปแบบการบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุน ของ บลจ. นั้นๆ กล่าวคือเน้นความยืดหยุ่น ปรับตามสถานการณ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
5)กองทุนรวมคุ้มครองเงินต้น (Capital Protected Fund) จะลงทุนแบบรักษาเงินต้นและกำไรไม่สูงมากนัก โดยจะลงทุนในตราสารทางการเงินที่มีความเสี่ยงต่ำ
6)กองทุนรวมมีประกัน (Guaranteed Fund) เป็นการลงทุนที่มีผู้รับประกันความเสี่ยงให้ตามเงื่อนไขของการลงทุนที่กำหนดไว้
7)กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (Foreign Investment Fund) กระจายการลงทุนไปในต่างประเทศที่มีเศรษฐกิจดีเพื่อกระจายความเสี่ยง โดยอาจจะลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ ทองคำในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมา คือ ความเสี่ยงในเรื่องของอัตราการแลกเปลี่ยน แต่ก็มีหลายกองทุนที่ทำสัญญาคุ้มครองความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไว้
8)กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) เน้นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ เช่น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า เพื่อหวังรายได้ที่สม่ำเสมอจากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น โดยผู้ลงทุนสามารถเป็นเจ้าของและได้รับผลตอบแทนจากทรัพย์สินนั้นๆ
9)กองทุนรวมดัชนี (Index Fund) เน้นการลงทุนสร้างผลตอบแทนตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหลักทรัพย์ ตามที่แต่ละ บลจ. เสนอขายต่อนักลงทุน เช่น ลงทุนใน FTSE Index, NYSE Index, HANGSENG Index, SET Index เป็นต้น
10)กองทุนรวมหน่วยลงทุน(Fund of Funds) เป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมอื่นอีกทีหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้
11)กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) เน้นการลงทุนในหุ้นโดยใช้ระยะเวลา 5 ปีปฏิทิน ผู้ถือหน่วยได้สิทธิในการนำเงินลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ โดยมากถึง 15% ของรายได้ทั้งปี หรือไม่เกิน 300,000 บาท
12)กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) เป็นการลงทุนเพื่อประโยชน์ในวัยเกษียณอายุพร้อมได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งเน้นการลงทุนอย่างต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี หรือถือไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แล้วแต่แบบไหนจะนานกว่ากัน โดยนักลงทุนต้องใส่เงินเข้าไปทุกปี แต่ไม่จำกัดจำนวนว่าต้องถึง 15% ของรายได้หรือถึง 300,000 บาท ข้อแตกต่างจากกองทุน LTF คือ ไม่ต้องลงทุนเฉพาะในหุ้น สามารถโยกเงินจากกองทุนหนึ่งไปอีกกองทุนหนึ่งได้ รวมทั้งสามารถโยกย้ายเงินจาก บลจ.หนึ่งไปอีก บลจ.หนึ่งได้ด้วย
ทำไมต้องลงทุนในกองทุนรวม
1)สามารถลงทุนโดยใช้เงินไม่มากนักในการลงทุนในตลาดหุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ โดยการลงทุนเงินผ่าน บลจ. ซึ่งนักลงทุนใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เริ่มต้นจาก 2,000 บาท 5,000 บาท หรือ 10,000 บาทก็ลงทุนได้แล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบลจ.
2)ลงทุนโดยใช้ความชำนาญและความเชี่ยวชาญ การบริหารการลงทุนโดยผ่านนักบริหารมืออาชีพอย่างผู้จัดการกองทุนของแต่ละบลจ. ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งผ่านการอบรมและได้รับใบอนุญาตจัดการกองทุน มาทำหน้าที่วิเคราะห์ว่าจะซื้อ จะขาย จะลงทุนเมื่อไหร่ ลงทุนเมื่อไร ลงทุนในตราสารทางการเงินประเภทไหน
3)เป็นการกระจายความเสี่ยง โดยกองทุนรวมจะมีการลงทุนที่หลากหลายซึ่งจะเป็นกระจายความเสี่ยง และเมื่อเทียบกับการที่ลงทุนด้วยตัวเอง นักลงทุนต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อยที่จะซื้อตราสารทางการเงินที่หลากหลาย
4)สามารถเลือกให้เหมาะสมกับตัวของนักลงทุนเอง โดยแต่ละกองทุนซึ่งมีการกระจายลงทุนที่แตกต่างกัน และปรับตามความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้น นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ไปถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง
5)มีสภาพคล่อง นักลงทุนสามารถซื้อขายเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละกองทุนว่าต้องซื้อหรือขายก่อนเวลาใด รวมทั้งได้รับเงินคืนเมื่อไรเพราะบางกองให้เงินคืนแบบ T+1, T+2, T+3 เป็นต้น
6)มีกลไกปกป้องผู้ลงทุน เพราะ ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแล โดยกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อปกป้องผู้ลงทุน เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจให้แก่นักลงทุนโดยระบุไว้ในเงื่อนไขของการจัดตั้งกองทุนนั้นๆ