“พิชิต” มั่นใจวายุภักษ์ จ่ายผลตอบแทนรอบปี 50 ได้ไม่ต่ำกว่า 6% หลังครึ่งปีแรกผู้ถือหน่วยรับไปแล้ว 3% ส่วนผลงานรอบ 4 ปี ฟันกำไรเฉลี่ยไปแล้ว 16.6% ต่อปี แจงแม้ดัชนีหุ้นรูด แต่กองทุนไม่กระทบ เหตุมีกำไรสะสมเหลือเฟือ ด้านความคืบหน้า “วายุภักษ์2” ยังรอจังหวะเวลาที่เหมาะสม ระบุหากรัฐบาลใหม่สนใจก็พร้อมเดินหน้าต่อ
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ว่า ในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา เชื่อว่ากองทุนจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยรายย่อยได้ไม่ต่ำกว่า 6% เช่นเดียวกับปีก่อน ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกกองทุนได้จ่ายปันผลไปแล้วในอัตรา 3% และในช่วงครึ่งปีหลังของปี คาดว่าจะจ่ายปันผลได้ในระดับเดียวกัน โดยในวันที่ 21 มกราคมนี้ คณะกรรมการการลงทุนของกองทุนวายุภักษ์จะประชุมเพื่อสรุปอัตราผลตอบแทนอีกครั้ง ทั้งนี้ หากคิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุน กองทุนวายุภักษ์มีผลตอบแทนแล้ว 66.4% หรือคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 16.6% ต่อปี
“ผลตอบแทนของกองทุนในช่วงที่ผ่านมา อยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถการันตีได้ว่าในระยะยาว ผู้ถือหน่วยจะได้รับผลตอบแทนดีต่อไปไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง”นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของกองทุนมากนัก เนื่องจากกองทุนยังมีกำไรสะสมที่เกิดจากการลงทุนเก็บอยู่เยอะมาก ทำให้ผลกระทบดังกล่าวมีค่อนข้างน้อย โดยในช่วงปี 2550 ทั้งปี กองทุนมีกำไรจากเงินปันผลรวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งมากพอที่จะจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนได้
“ถึงแม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แต่ก็ไม่มีผลต่อกองทุนวายุภักษ์มากนัก เนื่องจากกองทุนมีกำไรสะสมไว้มากอยู่แล้ว ซึ่งหากพูดถึงสินทรัพย์ของกองทุนในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเกือบถึง 3 แสนล้านบาทแล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของเงินลงทุนเริ่มต้น 1 แสนล้านบาทในช่วง 4 ปีก่อนหน้านี้”นายพิชิตกล่าว
ส่วนพอร์ตการลงทุนของกองทุน นายพิชิตกล่าวว่า การลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ใช้โมเดลการลงทุนทางคณิตศาสตร์เป็นแนวทางในการลงทุน ซึ่งหากเซกเตอร์ใดมีความผันผวน ก็จะลดสัดส่วนการลงทุนในเซกเตอร์นั้นๆ โดยในช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน ก็มีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนไปบ้างตามสูตร แล้วเพิ่มสัดส่วนการถือเงินสดและตราสารหนี้ไว้บ้าง
โดยสัดส่วนการลงทุนในปัจจุบัน จากสภาพคล่องจำนวน 30,000 ล้านบาทสำหรับการลงทุน มีจำนวนเงินสดและตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาลที่มีสภาพคล่องสูงๆ ประมาณ 10,000 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วย ส่วนที่เหลือก็เป็นการลงทุนในหุ้น ซึ่งในภาวะปกติกองทุนจะลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่เต็มที่อยู่แล้ว โดยในขณะนี้ กองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นพลังงานกับหุ้นกลุ่มธนาคารเป็นหลัก ซึ่งในปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก แต่กองทุนก็มีกำไรสะสมชดเชยอยู่
อย่างไรก็ตาม การที่กองทุนได้ผลกำไรจากการลงทุนค่อนข้างน้อย จะไม่กระทบต่อการจ่ายปันผลให้แก่นักลงทุนรายย่อย เพราะถึงแม้ราคาของหุ้นจะปรับลดลง แต่หุ้นหลายตัวที่กองทุนลงทุนอยู่ก็จ่ายปันผลในอัตราที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจจะไปอยู่ที่กระทรวงการคลังมากกว่า เพราะคลังเองต้องการดูแลผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อยอยู่แล้ว ดังนั้นกระทรวงการคลังจะรับผลกระทบจากการขาดทุนมากกว่ารายย่อย ขณะเดียวกัน หากมีผลกำไร กระทรวงการคลังก็จะได้รับไปมากกว่าเช่นกัน
สำหรับความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 นายพิชิตกล่าวว่า ในหลักการทางกระทรวงการคลังเห็นชอบไปแล้วตั้งแต่กลางปี 2550 ที่ผ่านมา แต่จังหวะเวลาในการจัดตั้งกองทุนคงยังไม่เหมาะในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ ประกอบกับความจำเป็นต้องใช้เงินของภาครัฐยังไม่มาก อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใหม่เข้ามาแล้วมีการลงทุนเพิ่มและต้องการใช้เงินมากขึ้น ทั้งกระทรวงการคลังและบลจ.เอ็มเอฟซี ก็สามารถเดินหน้าต่อได้
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของกองทุนรวมวายุภักษ์ 1 ว่า ในรอบปี 2550 ที่ผ่านมา เชื่อว่ากองทุนจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหน่วยรายย่อยได้ไม่ต่ำกว่า 6% เช่นเดียวกับปีก่อน ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกกองทุนได้จ่ายปันผลไปแล้วในอัตรา 3% และในช่วงครึ่งปีหลังของปี คาดว่าจะจ่ายปันผลได้ในระดับเดียวกัน โดยในวันที่ 21 มกราคมนี้ คณะกรรมการการลงทุนของกองทุนวายุภักษ์จะประชุมเพื่อสรุปอัตราผลตอบแทนอีกครั้ง ทั้งนี้ หากคิดเป็นผลตอบแทนจากการลงทุน กองทุนวายุภักษ์มีผลตอบแทนแล้ว 66.4% หรือคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 16.6% ต่อปี
“ผลตอบแทนของกองทุนในช่วงที่ผ่านมา อยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถการันตีได้ว่าในระยะยาว ผู้ถือหน่วยจะได้รับผลตอบแทนดีต่อไปไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง”นายพิชิตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในช่วงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการลงทุนของกองทุนมากนัก เนื่องจากกองทุนยังมีกำไรสะสมที่เกิดจากการลงทุนเก็บอยู่เยอะมาก ทำให้ผลกระทบดังกล่าวมีค่อนข้างน้อย โดยในช่วงปี 2550 ทั้งปี กองทุนมีกำไรจากเงินปันผลรวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งมากพอที่จะจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนได้
“ถึงแม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แต่ก็ไม่มีผลต่อกองทุนวายุภักษ์มากนัก เนื่องจากกองทุนมีกำไรสะสมไว้มากอยู่แล้ว ซึ่งหากพูดถึงสินทรัพย์ของกองทุนในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเกือบถึง 3 แสนล้านบาทแล้ว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของเงินลงทุนเริ่มต้น 1 แสนล้านบาทในช่วง 4 ปีก่อนหน้านี้”นายพิชิตกล่าว
ส่วนพอร์ตการลงทุนของกองทุน นายพิชิตกล่าวว่า การลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ใช้โมเดลการลงทุนทางคณิตศาสตร์เป็นแนวทางในการลงทุน ซึ่งหากเซกเตอร์ใดมีความผันผวน ก็จะลดสัดส่วนการลงทุนในเซกเตอร์นั้นๆ โดยในช่วงที่ดัชนีหุ้นไทยค่อนข้างผันผวน ก็มีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนไปบ้างตามสูตร แล้วเพิ่มสัดส่วนการถือเงินสดและตราสารหนี้ไว้บ้าง
โดยสัดส่วนการลงทุนในปัจจุบัน จากสภาพคล่องจำนวน 30,000 ล้านบาทสำหรับการลงทุน มีจำนวนเงินสดและตราสารหนี้ประเภทพันธบัตรรัฐบาลที่มีสภาพคล่องสูงๆ ประมาณ 10,000 หมื่นล้านบาท เพื่อรองรับการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหน่วย ส่วนที่เหลือก็เป็นการลงทุนในหุ้น ซึ่งในภาวะปกติกองทุนจะลงทุนหุ้นในสัดส่วนที่เต็มที่อยู่แล้ว โดยในขณะนี้ กองทุนวายุภักษ์ถือหุ้นพลังงานกับหุ้นกลุ่มธนาคารเป็นหลัก ซึ่งในปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่มพลังงานปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก แต่กองทุนก็มีกำไรสะสมชดเชยอยู่
อย่างไรก็ตาม การที่กองทุนได้ผลกำไรจากการลงทุนค่อนข้างน้อย จะไม่กระทบต่อการจ่ายปันผลให้แก่นักลงทุนรายย่อย เพราะถึงแม้ราคาของหุ้นจะปรับลดลง แต่หุ้นหลายตัวที่กองทุนลงทุนอยู่ก็จ่ายปันผลในอัตราที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว ซึ่งผลกระทบดังกล่าวอาจจะไปอยู่ที่กระทรวงการคลังมากกว่า เพราะคลังเองต้องการดูแลผู้ถือหน่วยลงทุนรายย่อยอยู่แล้ว ดังนั้นกระทรวงการคลังจะรับผลกระทบจากการขาดทุนมากกว่ารายย่อย ขณะเดียวกัน หากมีผลกำไร กระทรวงการคลังก็จะได้รับไปมากกว่าเช่นกัน
สำหรับความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ 2 นายพิชิตกล่าวว่า ในหลักการทางกระทรวงการคลังเห็นชอบไปแล้วตั้งแต่กลางปี 2550 ที่ผ่านมา แต่จังหวะเวลาในการจัดตั้งกองทุนคงยังไม่เหมาะในช่วงนี้ เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ ประกอบกับความจำเป็นต้องใช้เงินของภาครัฐยังไม่มาก อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลใหม่เข้ามาแล้วมีการลงทุนเพิ่มและต้องการใช้เงินมากขึ้น ทั้งกระทรวงการคลังและบลจ.เอ็มเอฟซี ก็สามารถเดินหน้าต่อได้