xs
xsm
sm
md
lg

บีทีร่วมแจมกองตราสารหนี้ECPส่งลุยตลาด2กองลงทุน3-6เดือน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

บลจ.บีที ประเดิมศักราชใหม่ ส่งกองทุนเอฟไอเอฟตราสารหนี้ลุยตลาด 2 กอง เน้นหาผลตอบแทนในตั๋ว ECP ลงทุนระยะสั้นๆ 3 เดือนและ 6 เดือน มูลค่าโครงการละ 1,500 ล้านบาท จ่ายผลตอบแทน 3.0-3.3% ต่อปี เปิดขายพร้อมกัน 17 – 25 มกราคมนี้

รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บีที จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ลงทุนในต่างประเทศ จำนวน 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 3/1 (BT Fixed Income 3/1 Fund) อายุโครงการ 3 เดือน และกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 6/1 (BT Fixed Income 6/1 Fund) อายุโครงการ 6 เดือน มูลค่าโครงการกองทุนละ 1,500 ล้านบาท โดยจะเสนอขายครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 17 – 25 มกราคม 2551 มูลค่าเงินลงทุนขั้นต่ำ 10,000 บาท

สำหรับกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 3/1 คาดการณ์ผลตอบแทนประมาณ 3.0-3.2% ต่อปี ซึ่งกองทุนจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เพี่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก เงินฝาก ตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่อง

ทั้งนี้ กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (hedging) เท่านั้น ทั้งนี้ จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (structure note)

ส่วนกองทุนเปิดบีที FIF ตราสารหนี้ 6/1 คาดการณ์ผลตอบแทนประมาณ 3.1-3.3% ต่อปี โดยจะเน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงาน เพี่อเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ส่วนที่เหลืออาจพิจารณาลงทุนในตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายเงินฝาก เงินฝาก ตราสารหนี้ในประเทศที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสำรองไว้สำหรับการดำเนินงาน รอการลงทุน หรือรักษาสภาพคล่อง

ทั้งนี้ กองทุนอาจพิจารณาลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) ที่มีตัวแปรเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันความเสี่ยง (hedging) เท่านั้น ทั้งนี้ จะไม่ลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับตัวแปร (structure note)

ก่อนหน้านี้ นายณัฐพัชร์ ลัคนาธรรมพิชิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ. บีที จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะออกกองทุนเปิดที่ลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ที่มีลักษณะการลงทุนคล้ายกับการลงทุนใน Euro Commercial Paper (ECP) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศซึ่งคาดว่าจะสามารถให้ผลตอบแทนประมาณ 3.2% ขึ้นไป เนื่องจากยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศในปัจจุบันยังค่อนข้างทรงตัวโดยผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่มีอายุ 3 เดือน ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 3.2% และผลตอบแทนของตราสารหนี้ที่มีอายุ 6 เดือน อยู่ที่ประมาณ 3.3% แต่จากการที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยประมา 0.50% ทำให้ตราสารหนี้ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจจะต้องรอดูการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดอีกครั้ง

สำหรับแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ภายในประเทศในช่วง 3 เดือนข้างหน้าจะทรงตัว และยังไม่ขยับตัวมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยยังทรงตัวอยู่ โดยจะต้องจับตาดูอัตราเงินเฟ้อในช่วง 6 เดือนข้างหน้า และนักลงทุนควรเน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นมากกว่าตราสารหนี้ระยะยาว เพราะอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสปรับตัวขึ้น หากไปลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวอาจจะทำให้ขาดทุนและได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าตราสารหนี้ที่ออกมาใหม่ แต่หากเลือกลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น เมื่อครบอายุแล้วยังสามารถเลือกลงทุนใหม่ได้ โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนของตราสารหนี้ในขณะนั้น ว่าตราสารหนี้ใดให้ผลตอบแทนที่ดีกว่ากัน และยังช่วยให้ไม่เสียโอกาสในการลงทุนไปด้วย

ทั้งนี้ บลจ.บีที ได้มีการออกกองทุนรวมเอฟไอเอฟมาแล้ว 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนรวม บีที FIF โกลด์ลิงค์ ฟันด์ 1, กองทุนรวม บีที FIF โกลด์ลิงค์ ฟันด์ 2 และกองทุนรวม บีที FIF โกลด์ลิงค์ ฟันด์ 3 โดยเน้นลงทุนใน Structure note ที่เป็นสกุลเงินออสเตรเลีย และจ่ายผลตอบแทนอิงกับการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคำ
กำลังโหลดความคิดเห็น