“ซีเอ็กซ์-5” รถยนต์รุ่นธงของมาสด้าในตลาดเมืองไทย ขยับปรับตัวตามจังหวะของอายุการทำตลาด หลังจากเปิดตัวครั้งแรกเดือนพฤศจิกายน 2556 ซึ่งผ่านมาเกือบ 3 ปี โฉมไมเนอร์เชนจ์ก็มาตามนัด
สำหรับการเปลี่ยนแปลง นอกจากรูปโฉมโนมพรรณและการปรับเพิ่มออปชันใหม่ๆเพื่อกระตุ้นความน่าสนใจแล้ว มาสด้ายังปรับไลน์อัพการขายโดยถอดรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตรออกไปจากตลาด เหลือไว้เพียงเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร และ ดีเซล 2.2 ลิตร ซึ่งในบล็อกหลังมีรุ่นขับเคลื่อนสองล้อเข้าเป็นทางเลือกด้วย (เดิมรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลมีแต่ขับเคลื่อนสี่ล้อ)
ราคา “ซีเอ็กซ์-5 ไมเนอร์เชนจ์” 4 รุ่นย่อย
...ว่ากันที่ตัวท็อป มากับระบบไฟหน้าใหม่ Adaptive LED พร้อมไฟ Daytime running light และไฟตัดหมอกแบบ LED มาในกรอบที่ทันสมัย รับกับกระจังหน้าออกแบบใหม่ ส่วนโคมไฟท้ายทรงเดิมแต่ปรับความสดใสภายในด้วยหลอด LED เช่นกัน ภายในแต้มแต่งคอนโซล แผงประตู พวงมาลัย ด้วยวัสดุสีเงินเมทาลิก เพิ่มออปชันอย่างหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วมารองรับกับระบบ Mazda MZD Connect
ทั้งนี้ “ซีเอ็กซ์-5” ถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกๆของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชันใหม่ (ในตลาดโลกเปิดตัวต่อจากมาสด้า 6)ที่มาพร้อมสไตล์การออกแบบ “โคโดะ” และ “เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ” (เครื่องยนต์ เกียร์ ตัวถัง ช่วงล่าง) ซึ่งรถยนต์รุ่นหลังๆที่เปิดตัวตามมา นอกจากจะเดินตามทิศทางนี้แล้ว ยังเพิ่มบางออปชันที่ทันสมัยกว่า “ซีเอ็กซ์-5”
ดังนั้นเมื่อถึงคราวไมเนอร์เชนจ์ มาสด้าก็จัดหนักอัดเต็มออปชัน ไม่ให้ “ซีเอ็กซ์-5” น้อยหน้ารถยนต์รุ่นน้องละครับ ไล่ตั้งแต่ ระบบเบรกมือไฟฟ้า และสวิตช์ DRIVE SELECTION ที่ผู้ขับสามารถปรับให้เป็นโหมดสปอร์ต(ปรับการตอบสนองของเกียร์) ซึ่งมาในรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน รวมถึงเบาะนั่งคู่หน้าปรับไฟฟ้าพร้อมระบบบันทึกความจำ 2 ตำแหน่งฝั่งคนขับ (ในรุ่น XDL)
ขณะที่เทคโนโลยีความปลอดภัย ในตัวท็อป XDL จัดเต็มด้วย ระบบไฟหน้า LED อัจฉริยะ (Adaptive LED Headlamps) ที่จะช่วยปรับการทำงานของไฟสูง-ต่ำ แยกกันอย่างอิสระทั้งซ้าย-ขวาให้เหมาะสมกับระยะห่าง และตำแหน่งของรถคันหน้าโดยอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ยามค่ำคืน และช่วยไม่ให้การทำงานของไฟสูงไปรบกวนรถคันอื่น
ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน (Lane Departure Warning System) ที่จะส่งสัญญาณเตือนเมื่อรถอาจเบี่ยงออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ อันเกิดจากความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่
ระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลน (Lane-keep Assist System) ช่วยคนขับในการควบคุมรถ เมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ (Smart City Brake Support) เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการชนปะทะด้านหน้าเมื่อขับด้วยความเร็วต่ำ
ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง (Smart City Brake Support-Reverse) เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการชนปะทะขณะขับถอยหลังด้วยความเร็วต่ำ
ระบบช่วยเตือนเมื่อเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (Driver Attention Alert) ระบบจะช่วงส่งสัญญาณเตือนหากตรวจพบความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความเหนื่อยล้าของผู้ขับ
ส่วนที่เพิ่มมาและให้เป็นมาตรฐานทุกรุ่น ก็มีทั้ง ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน (Advanced Blind Spot Monitoring) ช่วยให้ผู้ขับปลอดภัยขณะเปลี่ยนเลนโดยระบบจะส่งสัญญาณเตือนหากตรวจพบรถในเลนด้านข้างที่กำลังแซงขึ้นมาจากทางด้านหลังและอยู่ในจุดที่ผู้ขับอาจมองไม่เห็น รวมถึงระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (Rear Cross Traffic Alert) ที่ระบบจะส่งสัญญาณเตือนขณะขับรถถอยหลัง หากตรวจพบความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาทางด้านหลัง
ตลอดจนระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS, ระบบกระจายแรงเบรก EBD, ระบบช่วยควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว DSC, ระบบช่วยในการออกตัวรถขณะอยู่บนทางลาดชัน HLA, ระบบช่วยป้องกันรถเลื่อนไถล TCS และถุงลมนิรภัยคู่หน้า ด้านข้าง พร้อมม่านถุงลมนิรภัย รวม 6 จุด ย้ำว่าทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานครบทุกรุ่นนะครับ
โดยผู้เขียนได้ลองรุ่นท็อปเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร 175 แรงม้า ใช้วิ่งขึ้นเหนือมุ่งสู่อำเภอไกลปืนเที่ยงอย่าง “อมก๋อย” จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเส้นทางเหมาะสมกับสมรรถนะของรถดีครับ ทั้งขึ้นเขา-ลงเนิน ผ่านทางโค้ง และถนนสมบุกสมบัน สัมผัสแรงบิด 420 นิวตัน-เมตร ที่บริหารจัดการเรี่ยวแรงลงสู่ล้อด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ออกแนวเนียนนุ่ม แต่เต็มไปด้วยพละกำลัง
ตัวรถพุ่งทยานตามแรงกดของเท้าขวา เครื่องยนต์และเกียร์ตอบสนองการทำงานอย่างสามัคคี พลังมาแบบแน่นๆที่รอบประมาณ 2,000-3,000 และนุ่มนวลในทุกอัตราเร่ง ผสานกันดีกับจังหวะการควบคุมพวงมาลัยที่แม่นยำ กำได้สบายมือพร้อมความมั่นใจทุกครั้งที่สั่งงานซ้าย-ขวา ว่าจะให้รถไปตามทิศทางที่กำหนดแบบไม่ขาดไม่เกิน
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังมีโอกาสได้ลองรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร ในช่วงขากลับกรุงเทพ ต้องยอมรับว่าอัตราเร่งต่างกันพอสมควร หรือขับเครียดกว่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ด้วยกำลังสูงสุด 165 แรงม้า มาที่ 6,000 รอบ ส่วนแรงบิด 210 นิวตัน-เมตร มาที่ 4,000 รอบ ประสิทธิผลที่ต่างกันยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนเวลาขับทางไกลผ่านภูมิประเทศลักษณะนี้ครับ
ทั้งนี้ จะกว่าไปรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร สมรรถนะก็ไม่ถึงกับอืดครับ เพียงแต่ผู้เขียนอาจจะเพิ่งเปลี่ยนมือมาจากรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลที่ให้พลังเนียนแน่น ดังนั้นคงต้องปรับอารมณ์และลักษณะการขับขี่สักระยะ แต่หลังจากปรับตัวเข้าหากันได้ พร้อมการเลือกเล่นเปลี่ยนเกียร์เอง ก็ช่วยตอบสนองการขับขี่ให้ทันใจขึ้นมาเยอะ
ความโดดเด่นที่หาตัวจับยากของ “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ยังอยู่ที่การควบคุมและช่วงล่าง ที่ผสานคนกับรถให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้กับรถประเภทเอสยูวี) กับความสนุก แน่น มั่นใจ ไปไหนไปกัน แม้ในรุ่นใหม่จะปรับช่วงล่างให้นุ่มนวลตามความต้องการของตลาด(เดิมหลายคนว่าช่วงล่างแข็งไป) แต่ในภาพรวมผู้เขียนยังประทับใจกับเสถียรภาพการทรงตัว ความหนึบแน่น เกาะนิ่งทุกโค้งครับ
ด้วยโครงสร้างช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สัน สตรัท หลังแบบมัลติลิงค์ แต่สำหรับรุ่นไมเนอร์เชนจ์ มาสด้าจัดการเปลี่ยนโช้คอัพหน้าและหลังใหม่ พร้อมบูชลูกยางด้านหน้าตอนล่าง ขณะที่ขนาดของกระบอกสูบโช้คอัพด้านหลังเพิ่มขึ้นจาก 25 มม. เป็น 30 มม. รวมถึงปรับปรุงค่าความเสียดทานเพื่อตอบสนองการเคลื่อนตัวของโช้คอัพที่นุ่มนวลขึ้น เช่นเดียวกับลูกหมากในส่วนของปีกนกล่างด้านหน้า ถูกออกแบบใหม่เพื่อรักษารูปแบบที่เหมาะสมในขณะที่ยางสัมผัสพื้นถนนอย่างเต็มที่
ขณะเดียวกัน มาสด้ายังพัฒนาเรื่องเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนภายในห้องโดยสาร (NVH - Noise vibration and harshness) ด้วยการเพิ่มฉนวนดูดซับเสียง พร้อมปรับปรุงยางบริเวณรอบๆประตู และเพิ่มวัสดุพิเศษสำหรับกันลมบริเวณที่ล็อคทั้งประตูหน้าและประตูหลัง ทั้งยังเพิ่มความหนาของกระจกหลัง พร้อมปรับปรุงโครงสร้างของแผ่นรองพื้นในห้องโดยสาร และเพิ่มชั้นของฉนวนดูดซับเสียงขึ้นไปอีกครึ่งหนึ่ง
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร ขับเคลื่อนสี่ล้อ วิ่งทางไกลๆ ถนนแนวโน้มขึ้นเขา อัดความเร็วกันมาเต็มที่ (นั่งกันไป 4 คน) ยังกินน้ำมันระดับ 12-13 กม./ลิตร ส่วนขากลับเป็นรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน มีตัวเลขระดับ 10-11 กม./ลิตร (หน้าจอแสดงเป็น ลิตร/100 กม.)
รวบรัดตัดความ... “ซีเอ็กซ์-5 ไมเนอร์เชนจ์” ดูทันสมัยจากอุปกรณ์ที่ใส่มาให้เพิ่มขึ้น (ตอนเปิดตัวครั้งแรก ออปชันภายในดูจืดมาก) สมรรถนะจากรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ไม่มีที่ติ ทั้งอัตราเร่งนุ่มนวล ตอบสนองดีในรอบต่ำ การควบคุม-ช่วงล่างแน่นหนึบ ขับทางไกลสบายไม่เครียด ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร มีดีพอตัวและไม่ได้ด้อยไปกว่าเอสยูวีคู่แข่งเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรในตลาด ขณะที่ราคาปรับขึ้นประมาณ 20,000-30,000 บาท ถือเป็นรถอเนกประสงค์ที่โดดเด่นและน่าใช้ เพียงแต่เลือกรุ่นย่อย(เครื่องยนต์) ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความชอบของผู้ใช้เท่านั้นเอง
ขอบคุณภาพภายในจาก http://www.motortrivia.com/
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ MGR Motoring
สำหรับการเปลี่ยนแปลง นอกจากรูปโฉมโนมพรรณและการปรับเพิ่มออปชันใหม่ๆเพื่อกระตุ้นความน่าสนใจแล้ว มาสด้ายังปรับไลน์อัพการขายโดยถอดรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.5 ลิตรออกไปจากตลาด เหลือไว้เพียงเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร และ ดีเซล 2.2 ลิตร ซึ่งในบล็อกหลังมีรุ่นขับเคลื่อนสองล้อเข้าเป็นทางเลือกด้วย (เดิมรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลมีแต่ขับเคลื่อนสี่ล้อ)
ราคา “ซีเอ็กซ์-5 ไมเนอร์เชนจ์” 4 รุ่นย่อย
รุ่น | ราคา(บาท) | ราคาเพิ่มขึ้น(บาท) |
เบนซิน 2.0C (2WD) | 1,220,000 | 20,000 |
เบนซิน 2.0S (2WD) | 1,330,000 | 30,000 |
ดีเซล 2.2 XD(2WD) | 1,530,000 | - |
ดีเซล 2.2 XDL (AWD) | 1,690,000 | 20,000 |
...ว่ากันที่ตัวท็อป มากับระบบไฟหน้าใหม่ Adaptive LED พร้อมไฟ Daytime running light และไฟตัดหมอกแบบ LED มาในกรอบที่ทันสมัย รับกับกระจังหน้าออกแบบใหม่ ส่วนโคมไฟท้ายทรงเดิมแต่ปรับความสดใสภายในด้วยหลอด LED เช่นกัน ภายในแต้มแต่งคอนโซล แผงประตู พวงมาลัย ด้วยวัสดุสีเงินเมทาลิก เพิ่มออปชันอย่างหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วมารองรับกับระบบ Mazda MZD Connect
ทั้งนี้ “ซีเอ็กซ์-5” ถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกๆของรถยนต์มาสด้าเจเนอเรชันใหม่ (ในตลาดโลกเปิดตัวต่อจากมาสด้า 6)ที่มาพร้อมสไตล์การออกแบบ “โคโดะ” และ “เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ” (เครื่องยนต์ เกียร์ ตัวถัง ช่วงล่าง) ซึ่งรถยนต์รุ่นหลังๆที่เปิดตัวตามมา นอกจากจะเดินตามทิศทางนี้แล้ว ยังเพิ่มบางออปชันที่ทันสมัยกว่า “ซีเอ็กซ์-5”
ดังนั้นเมื่อถึงคราวไมเนอร์เชนจ์ มาสด้าก็จัดหนักอัดเต็มออปชัน ไม่ให้ “ซีเอ็กซ์-5” น้อยหน้ารถยนต์รุ่นน้องละครับ ไล่ตั้งแต่ ระบบเบรกมือไฟฟ้า และสวิตช์ DRIVE SELECTION ที่ผู้ขับสามารถปรับให้เป็นโหมดสปอร์ต(ปรับการตอบสนองของเกียร์) ซึ่งมาในรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน รวมถึงเบาะนั่งคู่หน้าปรับไฟฟ้าพร้อมระบบบันทึกความจำ 2 ตำแหน่งฝั่งคนขับ (ในรุ่น XDL)
ขณะที่เทคโนโลยีความปลอดภัย ในตัวท็อป XDL จัดเต็มด้วย ระบบไฟหน้า LED อัจฉริยะ (Adaptive LED Headlamps) ที่จะช่วยปรับการทำงานของไฟสูง-ต่ำ แยกกันอย่างอิสระทั้งซ้าย-ขวาให้เหมาะสมกับระยะห่าง และตำแหน่งของรถคันหน้าโดยอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ยามค่ำคืน และช่วยไม่ให้การทำงานของไฟสูงไปรบกวนรถคันอื่น
ระบบเตือนเมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลน (Lane Departure Warning System) ที่จะส่งสัญญาณเตือนเมื่อรถอาจเบี่ยงออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ อันเกิดจากความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่
ระบบควบคุมรถให้อยู่ในเลน (Lane-keep Assist System) ช่วยคนขับในการควบคุมรถ เมื่อรถเบี่ยงออกนอกเลนโดยไม่ได้ตั้งใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ (Smart City Brake Support) เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการชนปะทะด้านหน้าเมื่อขับด้วยความเร็วต่ำ
ระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติขณะถอยหลัง (Smart City Brake Support-Reverse) เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการชนปะทะขณะขับถอยหลังด้วยความเร็วต่ำ
ระบบช่วยเตือนเมื่อเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (Driver Attention Alert) ระบบจะช่วงส่งสัญญาณเตือนหากตรวจพบความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความเหนื่อยล้าของผู้ขับ
ส่วนที่เพิ่มมาและให้เป็นมาตรฐานทุกรุ่น ก็มีทั้ง ระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน (Advanced Blind Spot Monitoring) ช่วยให้ผู้ขับปลอดภัยขณะเปลี่ยนเลนโดยระบบจะส่งสัญญาณเตือนหากตรวจพบรถในเลนด้านข้างที่กำลังแซงขึ้นมาจากทางด้านหลังและอยู่ในจุดที่ผู้ขับอาจมองไม่เห็น รวมถึงระบบเตือนเมื่อมีรถในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (Rear Cross Traffic Alert) ที่ระบบจะส่งสัญญาณเตือนขณะขับรถถอยหลัง หากตรวจพบความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุกับรถที่กำลังเคลื่อนที่เข้ามาทางด้านหลัง
ตลอดจนระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS, ระบบกระจายแรงเบรก EBD, ระบบช่วยควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว DSC, ระบบช่วยในการออกตัวรถขณะอยู่บนทางลาดชัน HLA, ระบบช่วยป้องกันรถเลื่อนไถล TCS และถุงลมนิรภัยคู่หน้า ด้านข้าง พร้อมม่านถุงลมนิรภัย รวม 6 จุด ย้ำว่าทั้งหมดนี้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานครบทุกรุ่นนะครับ
โดยผู้เขียนได้ลองรุ่นท็อปเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร 175 แรงม้า ใช้วิ่งขึ้นเหนือมุ่งสู่อำเภอไกลปืนเที่ยงอย่าง “อมก๋อย” จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเส้นทางเหมาะสมกับสมรรถนะของรถดีครับ ทั้งขึ้นเขา-ลงเนิน ผ่านทางโค้ง และถนนสมบุกสมบัน สัมผัสแรงบิด 420 นิวตัน-เมตร ที่บริหารจัดการเรี่ยวแรงลงสู่ล้อด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ออกแนวเนียนนุ่ม แต่เต็มไปด้วยพละกำลัง
ตัวรถพุ่งทยานตามแรงกดของเท้าขวา เครื่องยนต์และเกียร์ตอบสนองการทำงานอย่างสามัคคี พลังมาแบบแน่นๆที่รอบประมาณ 2,000-3,000 และนุ่มนวลในทุกอัตราเร่ง ผสานกันดีกับจังหวะการควบคุมพวงมาลัยที่แม่นยำ กำได้สบายมือพร้อมความมั่นใจทุกครั้งที่สั่งงานซ้าย-ขวา ว่าจะให้รถไปตามทิศทางที่กำหนดแบบไม่ขาดไม่เกิน
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังมีโอกาสได้ลองรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร ในช่วงขากลับกรุงเทพ ต้องยอมรับว่าอัตราเร่งต่างกันพอสมควร หรือขับเครียดกว่ารุ่นเครื่องยนต์ดีเซล ด้วยกำลังสูงสุด 165 แรงม้า มาที่ 6,000 รอบ ส่วนแรงบิด 210 นิวตัน-เมตร มาที่ 4,000 รอบ ประสิทธิผลที่ต่างกันยิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนเวลาขับทางไกลผ่านภูมิประเทศลักษณะนี้ครับ
ทั้งนี้ จะกว่าไปรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร สมรรถนะก็ไม่ถึงกับอืดครับ เพียงแต่ผู้เขียนอาจจะเพิ่งเปลี่ยนมือมาจากรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลที่ให้พลังเนียนแน่น ดังนั้นคงต้องปรับอารมณ์และลักษณะการขับขี่สักระยะ แต่หลังจากปรับตัวเข้าหากันได้ พร้อมการเลือกเล่นเปลี่ยนเกียร์เอง ก็ช่วยตอบสนองการขับขี่ให้ทันใจขึ้นมาเยอะ
ความโดดเด่นที่หาตัวจับยากของ “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ยังอยู่ที่การควบคุมและช่วงล่าง ที่ผสานคนกับรถให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้กับรถประเภทเอสยูวี) กับความสนุก แน่น มั่นใจ ไปไหนไปกัน แม้ในรุ่นใหม่จะปรับช่วงล่างให้นุ่มนวลตามความต้องการของตลาด(เดิมหลายคนว่าช่วงล่างแข็งไป) แต่ในภาพรวมผู้เขียนยังประทับใจกับเสถียรภาพการทรงตัว ความหนึบแน่น เกาะนิ่งทุกโค้งครับ
ด้วยโครงสร้างช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สัน สตรัท หลังแบบมัลติลิงค์ แต่สำหรับรุ่นไมเนอร์เชนจ์ มาสด้าจัดการเปลี่ยนโช้คอัพหน้าและหลังใหม่ พร้อมบูชลูกยางด้านหน้าตอนล่าง ขณะที่ขนาดของกระบอกสูบโช้คอัพด้านหลังเพิ่มขึ้นจาก 25 มม. เป็น 30 มม. รวมถึงปรับปรุงค่าความเสียดทานเพื่อตอบสนองการเคลื่อนตัวของโช้คอัพที่นุ่มนวลขึ้น เช่นเดียวกับลูกหมากในส่วนของปีกนกล่างด้านหน้า ถูกออกแบบใหม่เพื่อรักษารูปแบบที่เหมาะสมในขณะที่ยางสัมผัสพื้นถนนอย่างเต็มที่
ขณะเดียวกัน มาสด้ายังพัฒนาเรื่องเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนภายในห้องโดยสาร (NVH - Noise vibration and harshness) ด้วยการเพิ่มฉนวนดูดซับเสียง พร้อมปรับปรุงยางบริเวณรอบๆประตู และเพิ่มวัสดุพิเศษสำหรับกันลมบริเวณที่ล็อคทั้งประตูหน้าและประตูหลัง ทั้งยังเพิ่มความหนาของกระจกหลัง พร้อมปรับปรุงโครงสร้างของแผ่นรองพื้นในห้องโดยสาร และเพิ่มชั้นของฉนวนดูดซับเสียงขึ้นไปอีกครึ่งหนึ่ง
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันในรุ่นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร ขับเคลื่อนสี่ล้อ วิ่งทางไกลๆ ถนนแนวโน้มขึ้นเขา อัดความเร็วกันมาเต็มที่ (นั่งกันไป 4 คน) ยังกินน้ำมันระดับ 12-13 กม./ลิตร ส่วนขากลับเป็นรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน มีตัวเลขระดับ 10-11 กม./ลิตร (หน้าจอแสดงเป็น ลิตร/100 กม.)
รวบรัดตัดความ... “ซีเอ็กซ์-5 ไมเนอร์เชนจ์” ดูทันสมัยจากอุปกรณ์ที่ใส่มาให้เพิ่มขึ้น (ตอนเปิดตัวครั้งแรก ออปชันภายในดูจืดมาก) สมรรถนะจากรุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร ไม่มีที่ติ ทั้งอัตราเร่งนุ่มนวล ตอบสนองดีในรอบต่ำ การควบคุม-ช่วงล่างแน่นหนึบ ขับทางไกลสบายไม่เครียด ส่วนรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 ลิตร มีดีพอตัวและไม่ได้ด้อยไปกว่าเอสยูวีคู่แข่งเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรในตลาด ขณะที่ราคาปรับขึ้นประมาณ 20,000-30,000 บาท ถือเป็นรถอเนกประสงค์ที่โดดเด่นและน่าใช้ เพียงแต่เลือกรุ่นย่อย(เครื่องยนต์) ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความชอบของผู้ใช้เท่านั้นเอง
ขอบคุณภาพภายในจาก http://www.motortrivia.com/
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวในวงการยานยนต์ได้ที่หน้าแฟนเพจ MGR Motoring