ผ่านพ้นปี 2558 ไปแล้ว ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มสรุปออกมา รวมถึงตลาดรถยนต์ไทยที่ดิ้นสู้ฟัด จนทะลุเส้นประมาณการณ์ก่อนหน้าไปได้เล็กน้อย จบยอดขายที่ 7.99 แสนคัน แต่ยังคงติดลบ 9.3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ในส่วนตัวเลขการขายยี่ห้อหรือรุ่นไหน? ครองแชมป์ ใครเป็นดาวรุ่ง-ดาวรุ่ง?! “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จะพาไปเจาะสำรวจเป็นรายกลุ่ม หรือเซกเมนต์ย่อย(ยกเว้นเอ็มพีวีและรถหรู) เผยโฉมหน้าให้เห็นกันชัดๆ เลย…
เก๋งโตโยต้ากวาดเพียบ -มาสด้ามาแรง
เริ่มจากตลาดเก๋งที่แตกเป็นเซกเมนต์ย่อยๆ หลากหลาย เริ่มตั้งแต่เล็กสุดในไทยกลุ่มอีโคคาร์ ซึ่งเกือบทุกยี่ห้อที่ผลิตอีโคคาร์สู่ตลาดจะมีตัวถังให้เลือก ทั้งแบบซีดาน 4 ประตู และรุ่น 5 ประตู หรือแฮตช์แบ็ก แม้คนไทยจะนิยมแบบซีดานมากที่สุด เห็นได้จากยอดขาย “นิสสัน อัลเมร่า” ยังครองความเป็นเจ้าตลาดกลุ่มนี้เหนียวแน่น (ดูตารางยอดขาย 3 อันดับแยกตามเซกเมนต์ประกอบ) ถึงจะมีคู่แข่งหน้า “ซูซูกิ เซียส” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปี ชูจุดขายตัวถังใหญ่ห้องโดยสารกว้างขวางเหมือนกันก็ตาม แต่ตัวเลขก็ยังไม่เปรี้ยงปร้างเท่า หรือ 6 เดือนทำไปได้เพียง 3,675 คัน
ส่วนอันดับสองไม่เปลี่ยนจากปีก่อนหน้าเช่นกัน “มิตซูบิชิ แอททราจ” แต่ที่น่าสนใจเห็นจะเป็นอีโคคาร์น้องใหม่ “มาสด้า2” ที่มาแรงทะยานอยู่อันดับ 3 ทั้งแบบตัวถังซีดานและแฮตช์แบ็ก จากเรื่องของดีไซน์ สมรรถนะ และเทคโนโลยี นอกจากนี้มาสด้ายังเป็นค่ายเดียวในกลุ่มอีโคคาร์ ที่มียอดขายเป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2557 ขณะที่แชมป์อีโคคาร์ตัวถังแฮตช์แบ็กยังเป็น “โตโยต้า ยาริส” และตามมาด้วย “ซูซูกิ สวิฟท์” เช่นเดิม จะมีเพียง “มิตซูบิชิ มิราจ” ที่ถูกมาสด้า2 โค่นไป
ขยับมากลุ่มซับคอมแพ็กต์ หรือบี-คาร์(B-Car) การเปลี่ยนไปเล่นในตลาดอีโคคาร์ของมาสด้า2 และโตโยต้า ยาริส ตลอดจนการโบกมือลาของ “เชฟโรเลต โซนิค” ทำให้ตัวเลือกกลุ่มนี้น้อยลง โดยเฉพาะตัวถังแฮตช์แบ็ก “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จึงไม่แยกตัวถังเหมือนอีโคคาร์ ซึ่งหากนับยอดขายเป็นรุ่น(ตามชื่อย่อยที่แตกต่าง) “โตโยต้า วีออส” ยึดแท่นต่อเนื่อง โดยมีรุ่น “ซิตี้” และ “แจ๊ซ” ซับคอมแพ็กต์ของค่ายฮอนด้า” ครองอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา แต่ถ้านับรวมยอดขายของแต่ละยี่ห้อในกลุ่มบี-คาร์ ฮอนด้านับว่าทำตัวเลขได้สูงสุด ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์ด หรือนิสสันก็ยังไม่สามารถสู้ยอดขาย โตโยต้า วีออส รุ่นเดียวได้
ส่วนเซกเมนต์ซี-คาร์ หรือเก๋งคอมแพกต์ โตโยต้ายึดบัลลังก์เจ้าตลาดเช่นเดิมจากฝีมือของ “โคโรลล่า อัลติส” และค่อนข้างทิ้งห่างอันดับ 2 “มาสด้า3” (ในรายงาน JCC รวมตัวถังซีดานและแฮตช์แบ็ก) ที่ผงาดมาแทน “ฮอนด้า ซีวิค” ซึ่งอยู่ช่วงปลายโมเดล และมี “นิสสัน ซิลฟี” ที่ตามมาห่างๆ หรือแม้จะรวมกับรุ่นพัลซาร์ก็ยังทำได้แค่ครึ่งเดียวของรุ่นซีวิค
มาที่เก๋งขนาดกลาง หรือดี-คาร์(D-Car) รถหรูของกลุ่มเก๋งตลาด(Mass Product) ซึ่ง “โตโยต้า คัมรี” ที่เพิ่งไมเนอร์เชนจ์ไปเมื่อต้นปียึดบัลลังก์เหนียวแน่น และมียอดขายไม่ติดลบเหมือนคู่แข่ง ตามมาด้วย “ฮอนด้า แอคคอร์ด” ที่อยู่ในช่วงปลายโมเดล ถึงจะมีรุ่นไฮบริดมาเสริมทัพก็ยังไม่สามารถโค่นคัมรีได้ และปิดท้ายกับ “นิสสัน เทียน่า” ที่ตามเขามาห่างๆ
ฮอนด้ายึดเอสยูวี -ฟอร์จูนเนอร์เหนียว
ตลาดรถที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคงจะเป็นกลุ่มรถอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นเอสยูวี/ครอสโอเวอร์ หรือรถที่พัฒนาจากพื้นตัวถังปิกอัพอย่างรถพีพีวี(PPV) เห็นได้จากยอดขายที่ยังเป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2557 ขณะที่ตลาดรถกลุ่มอื่นๆ ติดลบกันหมด ซึ่งค่ายที่ประสบความสำเร็จสุดในกลุ่มเอสยูวี/ครอสโอเวอร์ ย่อมต้องเป็น “ฮอนด้า” เพราะกวาดยอดขาย 2 อันดับแรกไปครองหมด โดยเฉพาะน้องใหม่รุ่น “เอชอาร์-วี” ที่นอกจากเบียดแซงรุ่นพี่ “ซีอาร์-วี” ยังโค่นคู่แข่ง “นิสสัน จู๊ค” จากอันดับ 2 เดิมร่วงไม่ติดอันกลุ่มท็อปทรี แต่นิสสันก็ได้โฉมใหม่ของรุ่น “เอ็กซ์-เทรล” จากยอดขายหลักร้อยทะยานแซงคู่แข่งอย่าง “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ขึ้นมาครองอันดับสามในกลุ่มแทนจู๊ครุ่นน้องได้สำเร็จ
สำหรับตลาดรถพีพีวีที่ช่วงครึ่งปีแรกร่วงระนาว นอกจากเป็นไปตามสถานการณ์ภาพรวมตลาดรถและเศรษฐกิจ รถรุ่นธงในกลุ่มยังอยู่ในช่วงเตรียมปรับโฉมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น “โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์” และ “มิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต” ดังนั้นเมื่อทั้งสองโมเดลเปิดตัวบุกตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง ตัวเลขภาพรวมของกลุ่มพีพีวีก็กลับมา โดยรุ่นฟอร์จูนเนอร์ยังครองตลาดเหนียวแน่น ขณะที่รุ่นปาเจโร่ สปอร์ต ใหม่ เริ่มส่งมอบช่วงไตรมาสสุดท้าย แต่จากการที่มิตซูบิชิอัดแคมเปญโล๊ะสต็อกรุ่นเก่าอย่างดุเดือด ทำให้ตัวเลขยอดขายรุ่นเก่าและใหม่ทะยานเป็นบวกหมด ผงาดมาอยู่อันดับ 2 แทน “อีซูซุ มิว-เอ็กซ์” ที่ร่วงไปอยู่อันดับ 3
ปิกอัพใหม่อืด! ‘เรนเจอร์-นาวารา’ฉิว
กลุ่ม “ปิกอัพ” น่าจะเป็นปีที่คึกคักและแข่งขันกันรุนแรง เพราะมีรถรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัวมากันครบ โดยเฉพาะโฉมใหม่ของ “มิตซูบิชิ ไทรทัน” และ “โตโยต้า ไฮลักซ์” ใหม่ รวมถึง “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” ที่ทำตลาดก่อนตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่ามีความใหม่สดอยู่มาก ขณะที่รุ่นอื่นๆ มีการไมเนอร์เชนจ์และเพิ่มรุ่นย่อยสู้ ก่อนมาปิดท้ายกับ “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ใหม่ ที่ปรับหน้าตาและวางเครื่องยนต์ใหม่ช่วงจะสิ้นปีที่ผ่านมา เพื่อประกาศศึกเต็มรูปแบบในปีนี้
ปรากฏว่าตลาดปิกอัพกลับไม่ร้อนแรง เจอพิษเศรษฐกิจราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ยอดขายติดลบกันเป็นแถว โดยเฉพาะค่ายยักษ์ใหญ่ที่ปรับโฉมใหม่กัน มีเพียง “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” และ “ฟอร์ด เรนเจอร์” ที่ยอดขายวิ่งฉิว ทั้งจากรูปลักษณ์หน้าตา และการอัดแคมเปญเข้าไปช่วย แต่ก็ยังไม่สามารถโค่นผู้นำ 3 อันดับแรก โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่(ชื่อปัจจุบันแทนรุ่นวีโก้), อีซูซุ ดี-แมคซ์ และมิตซูบิชิ ไทรทัน ตามลำดับได้
นี่คือโฉมหน้าของเจ้าตลาดรถยนต์แยกตามเซกเมนต์ย่อย รวมถึงบรรดาดาวรุ่ง-ดาวรุ่ง และภาพรวมความเคลื่อนไหวของตลาดรถไทยในปีที่ผ่านมา ส่วนปีวอก 2559 ที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเล็กน้อย จะเปลี่ยนแปลงไปจากนี้หรือไม่? ต้องติดตามกันต่อไป...
เก๋งโตโยต้ากวาดเพียบ -มาสด้ามาแรง
เริ่มจากตลาดเก๋งที่แตกเป็นเซกเมนต์ย่อยๆ หลากหลาย เริ่มตั้งแต่เล็กสุดในไทยกลุ่มอีโคคาร์ ซึ่งเกือบทุกยี่ห้อที่ผลิตอีโคคาร์สู่ตลาดจะมีตัวถังให้เลือก ทั้งแบบซีดาน 4 ประตู และรุ่น 5 ประตู หรือแฮตช์แบ็ก แม้คนไทยจะนิยมแบบซีดานมากที่สุด เห็นได้จากยอดขาย “นิสสัน อัลเมร่า” ยังครองความเป็นเจ้าตลาดกลุ่มนี้เหนียวแน่น (ดูตารางยอดขาย 3 อันดับแยกตามเซกเมนต์ประกอบ) ถึงจะมีคู่แข่งหน้า “ซูซูกิ เซียส” ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อกลางปี ชูจุดขายตัวถังใหญ่ห้องโดยสารกว้างขวางเหมือนกันก็ตาม แต่ตัวเลขก็ยังไม่เปรี้ยงปร้างเท่า หรือ 6 เดือนทำไปได้เพียง 3,675 คัน
ส่วนอันดับสองไม่เปลี่ยนจากปีก่อนหน้าเช่นกัน “มิตซูบิชิ แอททราจ” แต่ที่น่าสนใจเห็นจะเป็นอีโคคาร์น้องใหม่ “มาสด้า2” ที่มาแรงทะยานอยู่อันดับ 3 ทั้งแบบตัวถังซีดานและแฮตช์แบ็ก จากเรื่องของดีไซน์ สมรรถนะ และเทคโนโลยี นอกจากนี้มาสด้ายังเป็นค่ายเดียวในกลุ่มอีโคคาร์ ที่มียอดขายเป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2557 ขณะที่แชมป์อีโคคาร์ตัวถังแฮตช์แบ็กยังเป็น “โตโยต้า ยาริส” และตามมาด้วย “ซูซูกิ สวิฟท์” เช่นเดิม จะมีเพียง “มิตซูบิชิ มิราจ” ที่ถูกมาสด้า2 โค่นไป
ขยับมากลุ่มซับคอมแพ็กต์ หรือบี-คาร์(B-Car) การเปลี่ยนไปเล่นในตลาดอีโคคาร์ของมาสด้า2 และโตโยต้า ยาริส ตลอดจนการโบกมือลาของ “เชฟโรเลต โซนิค” ทำให้ตัวเลือกกลุ่มนี้น้อยลง โดยเฉพาะตัวถังแฮตช์แบ็ก “ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จึงไม่แยกตัวถังเหมือนอีโคคาร์ ซึ่งหากนับยอดขายเป็นรุ่น(ตามชื่อย่อยที่แตกต่าง) “โตโยต้า วีออส” ยึดแท่นต่อเนื่อง โดยมีรุ่น “ซิตี้” และ “แจ๊ซ” ซับคอมแพ็กต์ของค่ายฮอนด้า” ครองอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา แต่ถ้านับรวมยอดขายของแต่ละยี่ห้อในกลุ่มบี-คาร์ ฮอนด้านับว่าทำตัวเลขได้สูงสุด ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟอร์ด หรือนิสสันก็ยังไม่สามารถสู้ยอดขาย โตโยต้า วีออส รุ่นเดียวได้
ส่วนเซกเมนต์ซี-คาร์ หรือเก๋งคอมแพกต์ โตโยต้ายึดบัลลังก์เจ้าตลาดเช่นเดิมจากฝีมือของ “โคโรลล่า อัลติส” และค่อนข้างทิ้งห่างอันดับ 2 “มาสด้า3” (ในรายงาน JCC รวมตัวถังซีดานและแฮตช์แบ็ก) ที่ผงาดมาแทน “ฮอนด้า ซีวิค” ซึ่งอยู่ช่วงปลายโมเดล และมี “นิสสัน ซิลฟี” ที่ตามมาห่างๆ หรือแม้จะรวมกับรุ่นพัลซาร์ก็ยังทำได้แค่ครึ่งเดียวของรุ่นซีวิค
มาที่เก๋งขนาดกลาง หรือดี-คาร์(D-Car) รถหรูของกลุ่มเก๋งตลาด(Mass Product) ซึ่ง “โตโยต้า คัมรี” ที่เพิ่งไมเนอร์เชนจ์ไปเมื่อต้นปียึดบัลลังก์เหนียวแน่น และมียอดขายไม่ติดลบเหมือนคู่แข่ง ตามมาด้วย “ฮอนด้า แอคคอร์ด” ที่อยู่ในช่วงปลายโมเดล ถึงจะมีรุ่นไฮบริดมาเสริมทัพก็ยังไม่สามารถโค่นคัมรีได้ และปิดท้ายกับ “นิสสัน เทียน่า” ที่ตามเขามาห่างๆ
ฮอนด้ายึดเอสยูวี -ฟอร์จูนเนอร์เหนียว
ตลาดรถที่กำลังมาแรงในปัจจุบันคงจะเป็นกลุ่มรถอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นเอสยูวี/ครอสโอเวอร์ หรือรถที่พัฒนาจากพื้นตัวถังปิกอัพอย่างรถพีพีวี(PPV) เห็นได้จากยอดขายที่ยังเป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2557 ขณะที่ตลาดรถกลุ่มอื่นๆ ติดลบกันหมด ซึ่งค่ายที่ประสบความสำเร็จสุดในกลุ่มเอสยูวี/ครอสโอเวอร์ ย่อมต้องเป็น “ฮอนด้า” เพราะกวาดยอดขาย 2 อันดับแรกไปครองหมด โดยเฉพาะน้องใหม่รุ่น “เอชอาร์-วี” ที่นอกจากเบียดแซงรุ่นพี่ “ซีอาร์-วี” ยังโค่นคู่แข่ง “นิสสัน จู๊ค” จากอันดับ 2 เดิมร่วงไม่ติดอันกลุ่มท็อปทรี แต่นิสสันก็ได้โฉมใหม่ของรุ่น “เอ็กซ์-เทรล” จากยอดขายหลักร้อยทะยานแซงคู่แข่งอย่าง “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ขึ้นมาครองอันดับสามในกลุ่มแทนจู๊ครุ่นน้องได้สำเร็จ
สำหรับตลาดรถพีพีวีที่ช่วงครึ่งปีแรกร่วงระนาว นอกจากเป็นไปตามสถานการณ์ภาพรวมตลาดรถและเศรษฐกิจ รถรุ่นธงในกลุ่มยังอยู่ในช่วงเตรียมปรับโฉมใหม่ ไม่ว่าจะเป็น “โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์” และ “มิตซูบิชิ ปาเจโร่ สปอร์ต” ดังนั้นเมื่อทั้งสองโมเดลเปิดตัวบุกตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง ตัวเลขภาพรวมของกลุ่มพีพีวีก็กลับมา โดยรุ่นฟอร์จูนเนอร์ยังครองตลาดเหนียวแน่น ขณะที่รุ่นปาเจโร่ สปอร์ต ใหม่ เริ่มส่งมอบช่วงไตรมาสสุดท้าย แต่จากการที่มิตซูบิชิอัดแคมเปญโล๊ะสต็อกรุ่นเก่าอย่างดุเดือด ทำให้ตัวเลขยอดขายรุ่นเก่าและใหม่ทะยานเป็นบวกหมด ผงาดมาอยู่อันดับ 2 แทน “อีซูซุ มิว-เอ็กซ์” ที่ร่วงไปอยู่อันดับ 3
ปิกอัพใหม่อืด! ‘เรนเจอร์-นาวารา’ฉิว
กลุ่ม “ปิกอัพ” น่าจะเป็นปีที่คึกคักและแข่งขันกันรุนแรง เพราะมีรถรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัวมากันครบ โดยเฉพาะโฉมใหม่ของ “มิตซูบิชิ ไทรทัน” และ “โตโยต้า ไฮลักซ์” ใหม่ รวมถึง “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” ที่ทำตลาดก่อนตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังถือว่ามีความใหม่สดอยู่มาก ขณะที่รุ่นอื่นๆ มีการไมเนอร์เชนจ์และเพิ่มรุ่นย่อยสู้ ก่อนมาปิดท้ายกับ “อีซูซุ ดี-แมคซ์” ใหม่ ที่ปรับหน้าตาและวางเครื่องยนต์ใหม่ช่วงจะสิ้นปีที่ผ่านมา เพื่อประกาศศึกเต็มรูปแบบในปีนี้
ปรากฏว่าตลาดปิกอัพกลับไม่ร้อนแรง เจอพิษเศรษฐกิจราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ยอดขายติดลบกันเป็นแถว โดยเฉพาะค่ายยักษ์ใหญ่ที่ปรับโฉมใหม่กัน มีเพียง “นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา” และ “ฟอร์ด เรนเจอร์” ที่ยอดขายวิ่งฉิว ทั้งจากรูปลักษณ์หน้าตา และการอัดแคมเปญเข้าไปช่วย แต่ก็ยังไม่สามารถโค่นผู้นำ 3 อันดับแรก โตโยต้า ไฮลักซ์ รีโว่(ชื่อปัจจุบันแทนรุ่นวีโก้), อีซูซุ ดี-แมคซ์ และมิตซูบิชิ ไทรทัน ตามลำดับได้
นี่คือโฉมหน้าของเจ้าตลาดรถยนต์แยกตามเซกเมนต์ย่อย รวมถึงบรรดาดาวรุ่ง-ดาวรุ่ง และภาพรวมความเคลื่อนไหวของตลาดรถไทยในปีที่ผ่านมา ส่วนปีวอก 2559 ที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเล็กน้อย จะเปลี่ยนแปลงไปจากนี้หรือไม่? ต้องติดตามกันต่อไป...