ท่ามกลางความผันผวนของตลาดรถไทย ทั้งจากเรื่องของการชะลอตัวเศรษฐกิจ และการเริ่มใช้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ตลอดจนการแข่งขันในตลาดรถไทย “นิสสัน” ค่ายรถ 1 ใน 5 แบรนด์นำตลาดไทยจะก้าวเดินในสถานการณ์เช่นนี้อย่างไร? “คะซุทากะ นัมบุ" ประธานบริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จะมาเปิดมุมมองและแนวทางการดำเนินงานชัดๆ...
“สถานการณ์ตลาดรถไทยปี 2559 น่าจะดีขึ้นกว่าในปีนี้เล็กน้อย ซึ่งตลาดอีโคคาร์และปิกอัพยังสามารถโตขึ้น ทำให้อาจจะชดเชยตลาดรถใหญ่ ที่อยู่ในช่วงช็อคจากราคาที่เพิ่มขึ้น และจากปรับใช้โครงสร้างภาษีรถแบบใหม่ ซึ่งคิดว่าจะมีผลกระทบต่อตลาดรถใหญ่ สำหรับนิสสันจะโฟกัสไปที่อีโคคาร์ และรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่นำเอ็กซ์-เทรล ไฮบริด เข้ามาทำตลาดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา”
โดยนัมบุได้อธิบายผลกระทบจากโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถแบบใหม่ที่มีต่อนิสสันว่า โครงสร้างภาษีรถใหม่ที่เปลี่ยนมาใช้เรื่องค่าการปล่อยมลพิษในการจัดเก็บอัตราภาษี น่าจะส่งผลกระทบต่อรถที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ซึ่งในส่วนของนิสสันมี 3 ส่วน กลุ่มแรกอีโคคาร์ไม่ได้มีผลกระทบมาก ส่วนปิกอัพนั้นก็ขึ้นน้อยคือประมาณ 2-3% มีผลกระทบแต่ไม่ได้มาก แต่ตลาดรถใหญ่และรถระดับกลาง เช่น เอสยูวี หรือกลุ่มซี-คาร์ เซกเมนท์ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด อาจจะช็อคอยู่ในช่วง 2-3 เดือนแรก หลังสักพักตลาดจะปรับตัวได้ เพราะภาษีใหม่ทำให้รถทุกยี่ห้อต้องถูกปรับราคาขึ้นทั้งหมด ไม่ใช่เพียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และด้วยกลุ่มลูกค้าของรถยนต์ส่วนนี้ เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมาก ก็อาจจะกระทบในระยะสั้นๆ จากนั้นก็เชื่อว่าลูกค้าจะเริ่มกลับมา
“ส่วนแผนงานของนิสสันที่จะดำเนินในปีนี้ ในเรื่องของการออกรถใหม่มีอยู่แล้ว แต่รุ่นไหนนั้นยังไม่สามารถบอกได้ ซึ่งหากพูดถึงเรื่องของธุรกิจ ประเด็นแรกนิสสัน เอ็กซ์ เทรล ไฮบริด ที่เพิ่งเปิดตัวไปอยากจะรักษาความแรงของยอดขายไว้ต่อเนื่อง เพราะเป็นตัวที่โดดเด่นและทำส่วนแบ่งการตลาดได้ดีปัจจุบันมีแชร์ 30% ของกลุ่มรถเอสยูวี ต่อไปคือการลงทุนเรื่องของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ในปี 2559 นี้ นิสสันจะมี Test Center ซึ่งจะทำให้การพัฒนารถใหม่ๆ มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น เนื่องจากการเปิด R&D Test Center คือการยกระดับจากผู้ผลิตรถยนต์ จากการฐานการประกอบ สู่ฐานการวิจัยพัฒนารถยนต์ อันจะทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ตรงส่วนนั้นถูกยกระดับทักษะเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่การประกอบรถอย่างเดียว และอย่างที่ 3 คือเรื่องของการบริการหลังการขาย นิสสันได้ผลักดันให้ดีลเลอร์มีการดูแลลูกค้าที่ดีขึ้น มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหาในเรื่องที่ลูกค้ามองว่าล่าช้า เช่นเรื่องอะไหล่ให้รวดเร็วขึ้น โดยทั้ง 3 เรื่องนี้จะเป็นเรื่องหลักที่นิสสันจะเน้นให้ความสำคัญในปีนี้”
เมื่อสอบถามถึงรถยนต์ที่พัฒนาบนพื้นฐานตัวถังของปิกอัพ นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตของนิสสันทั่วโลก และปิกอัพรถรุ่นนี้ถูกใช้พัฒนาเป็นปิกอัพภายใต้แบรนด์ “เรโนลต์” และมีกระแสข่าวกำลังพัฒนาเป็นรถอเนกประสงค์แบบพีพีวี เรื่องนี้นัมบุชี้แจงว่านิสสันและเรโนลต์ใช้แพลตฟอร์มที่เหมือนกันในบางรุ่น ส่วนตลาดรถพีพีวีตอนนี้เป็นที่น่าสนใจมาก เพราะถือว่าเป็นตลาดที่สามารถทำยอดได้ นิสสันก็กำลังศึกษากันอยู่ แต่ยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างว่าจะมีพีพีวีเมื่อไหร่
“ถ้าในเรื่องของความเป็นไปได้ก็ไม่ยาก เพราะนิสสันมีแพลตฟอร์มของปิกอัพอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันนี้เราโฟกัสไปที่เอสยูวีอยู่ และตลาดเอสยูวีก็ยังมีลูกค้า ดังนั้นจึงต้องพิจารณาต่อไปว่าการนำพีพีวีเข้ามาในตลาด จะกินส่วนแบ่งของเอสยูวีหรือไม่”
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการเข้ามาดำรงตำแหน่งในไทย นับตั้งแต่เดือนเมษยนปีที่ผ่านมา นัมบุบอกว่าหลักๆ คือการสร้างภาพลักษณ์ของนิสสันให้กลับขึ้นมา อย่างที่สองคือการดูแลลูกค้าที่เคยถูกละเลยไปมาก ทำให้เกิดคำถามว่าทำไม เพราะสำหรับนิสสันในต่างประเทศ สองเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่แข็งแกร่งมาก ส่วนเรื่องของยอดขายในปีทีผ่านมานิสสันจบส่วนแบ่งการตลาดที่ 7% และในปี 2559 นี้ จะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอนไม่ใช่ 7% เหมือนเดิม
“สถานการณ์ตลาดรถไทยปี 2559 น่าจะดีขึ้นกว่าในปีนี้เล็กน้อย ซึ่งตลาดอีโคคาร์และปิกอัพยังสามารถโตขึ้น ทำให้อาจจะชดเชยตลาดรถใหญ่ ที่อยู่ในช่วงช็อคจากราคาที่เพิ่มขึ้น และจากปรับใช้โครงสร้างภาษีรถแบบใหม่ ซึ่งคิดว่าจะมีผลกระทบต่อตลาดรถใหญ่ สำหรับนิสสันจะโฟกัสไปที่อีโคคาร์ และรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่นำเอ็กซ์-เทรล ไฮบริด เข้ามาทำตลาดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา”
โดยนัมบุได้อธิบายผลกระทบจากโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถแบบใหม่ที่มีต่อนิสสันว่า โครงสร้างภาษีรถใหม่ที่เปลี่ยนมาใช้เรื่องค่าการปล่อยมลพิษในการจัดเก็บอัตราภาษี น่าจะส่งผลกระทบต่อรถที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ซึ่งในส่วนของนิสสันมี 3 ส่วน กลุ่มแรกอีโคคาร์ไม่ได้มีผลกระทบมาก ส่วนปิกอัพนั้นก็ขึ้นน้อยคือประมาณ 2-3% มีผลกระทบแต่ไม่ได้มาก แต่ตลาดรถใหญ่และรถระดับกลาง เช่น เอสยูวี หรือกลุ่มซี-คาร์ เซกเมนท์ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด อาจจะช็อคอยู่ในช่วง 2-3 เดือนแรก หลังสักพักตลาดจะปรับตัวได้ เพราะภาษีใหม่ทำให้รถทุกยี่ห้อต้องถูกปรับราคาขึ้นทั้งหมด ไม่ใช่เพียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และด้วยกลุ่มลูกค้าของรถยนต์ส่วนนี้ เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมาก ก็อาจจะกระทบในระยะสั้นๆ จากนั้นก็เชื่อว่าลูกค้าจะเริ่มกลับมา
“ส่วนแผนงานของนิสสันที่จะดำเนินในปีนี้ ในเรื่องของการออกรถใหม่มีอยู่แล้ว แต่รุ่นไหนนั้นยังไม่สามารถบอกได้ ซึ่งหากพูดถึงเรื่องของธุรกิจ ประเด็นแรกนิสสัน เอ็กซ์ เทรล ไฮบริด ที่เพิ่งเปิดตัวไปอยากจะรักษาความแรงของยอดขายไว้ต่อเนื่อง เพราะเป็นตัวที่โดดเด่นและทำส่วนแบ่งการตลาดได้ดีปัจจุบันมีแชร์ 30% ของกลุ่มรถเอสยูวี ต่อไปคือการลงทุนเรื่องของการวิจัยและพัฒนา หรือ R&D ในปี 2559 นี้ นิสสันจะมี Test Center ซึ่งจะทำให้การพัฒนารถใหม่ๆ มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น เนื่องจากการเปิด R&D Test Center คือการยกระดับจากผู้ผลิตรถยนต์ จากการฐานการประกอบ สู่ฐานการวิจัยพัฒนารถยนต์ อันจะทำให้ผู้ที่ทำงานอยู่ตรงส่วนนั้นถูกยกระดับทักษะเพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่การประกอบรถอย่างเดียว และอย่างที่ 3 คือเรื่องของการบริการหลังการขาย นิสสันได้ผลักดันให้ดีลเลอร์มีการดูแลลูกค้าที่ดีขึ้น มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหาในเรื่องที่ลูกค้ามองว่าล่าช้า เช่นเรื่องอะไหล่ให้รวดเร็วขึ้น โดยทั้ง 3 เรื่องนี้จะเป็นเรื่องหลักที่นิสสันจะเน้นให้ความสำคัญในปีนี้”
เมื่อสอบถามถึงรถยนต์ที่พัฒนาบนพื้นฐานตัวถังของปิกอัพ นิสสัน เอ็นพี300 นาวารา ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตของนิสสันทั่วโลก และปิกอัพรถรุ่นนี้ถูกใช้พัฒนาเป็นปิกอัพภายใต้แบรนด์ “เรโนลต์” และมีกระแสข่าวกำลังพัฒนาเป็นรถอเนกประสงค์แบบพีพีวี เรื่องนี้นัมบุชี้แจงว่านิสสันและเรโนลต์ใช้แพลตฟอร์มที่เหมือนกันในบางรุ่น ส่วนตลาดรถพีพีวีตอนนี้เป็นที่น่าสนใจมาก เพราะถือว่าเป็นตลาดที่สามารถทำยอดได้ นิสสันก็กำลังศึกษากันอยู่ แต่ยังไม่ได้เป็นรูปเป็นร่างว่าจะมีพีพีวีเมื่อไหร่
“ถ้าในเรื่องของความเป็นไปได้ก็ไม่ยาก เพราะนิสสันมีแพลตฟอร์มของปิกอัพอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันนี้เราโฟกัสไปที่เอสยูวีอยู่ และตลาดเอสยูวีก็ยังมีลูกค้า ดังนั้นจึงต้องพิจารณาต่อไปว่าการนำพีพีวีเข้ามาในตลาด จะกินส่วนแบ่งของเอสยูวีหรือไม่”
สำหรับวัตถุประสงค์หลักของการเข้ามาดำรงตำแหน่งในไทย นับตั้งแต่เดือนเมษยนปีที่ผ่านมา นัมบุบอกว่าหลักๆ คือการสร้างภาพลักษณ์ของนิสสันให้กลับขึ้นมา อย่างที่สองคือการดูแลลูกค้าที่เคยถูกละเลยไปมาก ทำให้เกิดคำถามว่าทำไม เพราะสำหรับนิสสันในต่างประเทศ สองเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่แข็งแกร่งมาก ส่วนเรื่องของยอดขายในปีทีผ่านมานิสสันจบส่วนแบ่งการตลาดที่ 7% และในปี 2559 นี้ จะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอนไม่ใช่ 7% เหมือนเดิม