ในช่วงสภาวะตลาดร่วงหนัก! ไม่แปลกที่จะเห็นค่ายรถอัดแคมเปญอย่างร้อนแรง เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้มากที่สุด ท่ามกลางวิกฤตจึงเป็นโอกาสของผู้บริโภค และยิ่งใน 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ นับเป็นช่วงเวลาทองที่ควรจะคว้าไว้ เพราะวันที่ 1 มกราคม 2559 เป็นต้นไป จะเริ่มบังคับใช้อัตราโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถใหม่ ที่คิดตามค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ส่งผลให้รถหลายรุ่นต้องปรับราคาขึ้นแน่นอน ส่วนจะเป็นรถประเภทไหน? ไปดูชัดๆ กันเลย...
เก๋งขึ้นพรึบ! เชื้อเพลิงทดแทนถูกตัดแต้มต่อ
ตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตปัจจุบัน นอกจากอัตราการจัดเก็บแยกตามขนาดเครื่องยนต์แล้ว ยังมีเรื่องของรถที่ใช้พลังงานทดแทนมาสร้างความแตกต่างของอัตราภาษี เพราะรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาต้องการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือ E85 ซึ่งจะมีอัตราภาษีต่ำกว่ารถใช้น้ำมันปกติ และแก๊สโซฮอล์ E10
เหตุนี้จึงทำให้ค่ายรถพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่แนะนำสู่ตลาดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนเหล่านี้ หรืออย่างน้อยใช้น้ำมัน E20 ได้ โดยเสียภาษีต่ำกว่ารถที่ใช้น้ำมันปกติ และ E10 ในอัตราร้อยละ 5 แต่ในโครงสร้างภาษีใหม่ที่อัตราการจัดเก็บแบ่งตามค่าการปล่อย CO2 ทำให้เก๋งเกือบทั้งหมดที่ใช้น้ำมัน E20 ต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 หมื่นบาท และหากเป็นรถใหญ่ราคายิ่งต้องปรับสูงกว่านี้มาก แม้ว่ารถเหล่านี้จะมีปริมาณการปล่อย CO2 ต่ำสุดไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตรก็ตาม และหากปล่อย CO2 มากกว่าช่วงขั้นต่ำ อัตราภาษียิ่งจะปรับขึ้นเป็นแบบขั้นบันไดสูงสุดอยู่ที่ 40% สำหรับรถที่เครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี (ถ้ามากกว่าเสียอัตรา 50%)
เช่นเดียวกับรถที่ใช้น้ำมัน E85 จะมีการปรับราคาขึ้นเช่นกัน และในตลาดปัจจุบันมีรถหลายรุ่นที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ได้ แม้เชื้อเพลิงนี้จะไม่ค่อยมีให้บริการมากนัก แต่เนื่องจากการได้แต้มต่อทางภาษี หรือมีอัตราภาษีเพียง 22-32%(แล้วแต่ขนาดเครื่องยนต์) ขณะที่รถเชื้อเพลิงปกติ หรือ E10 ต้องเสียภาษี 30-40%
เหตุนี้รถที่ใช้น้ำมัน E85 โดยเฉพาะค่าย “ฮอนด้า” ที่หลังๆ พัฒนารถรุ่นใหม่ให้รองรับน้ำมันประเภทนี้ได้ เมื่อใช้โครงสร้างภาษีรถใหม่ที่มีอัตราจัดเก็บเพิ่มขึ้น จึงต้องปรับราคาขึ้นตาม อย่าง “ฮอนด้า ซีวิค” หรือรุ่น “แอคคอร์ด” ที่จะต้องปรับราคาตั้งแต่หลัก 5-6 หมื่นบาท ไปจนถึงหลักกว่าแสนบาท หากไม่สามารถทำค่า CO2 ต่ำกว่า 100 กรัม/กิโลเมตร รวมถึงรถยอดนิยมอย่าง “โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส” ที่ใช้น้ำมัน E85 ได้ หรืออย่าง “มาสด้า3” เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ที่มีค่าการปล่อยไอเสียต่ำยังต้องปรับขึ้นประมาณ 3 หมื่นบาท
ขณะที่รถใช้เชื้อเพลิง NGV จะต้องปรับภาษีขึ้นตามโครงสร้างภาษีใหม่เช่นกัน ในอัตราเดียวกับรถใช้น้ำมัน E85 ซึ่งเดิมรถที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ติดตั้งระบบจากโรงงานที่เดิมเสียภาษีในอัตรา 20% เท่านั้น รถหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส ซีเอ็นจี หรือฮอนด้า ซิตี้ ซีเอ็นจี จึงต้องปรับราคาขึ้นตามโครงสร้างภาษีใหม่น่าจะไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นบาท
อีโคคาร์ไม่ขยับมีลด /ไฮบริดส่อขึ้นมากกว่า
ตามโครงสร้างภาษีใหม่ “อีโคคาร์” เป็นรถที่ค่อนข้างได้ประโยชน์ เพราะหากมีค่าการปล่อย CO2 ได้ไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร จะได้รับสิทธิเสียภาษีต่ำกว่าปัจจุบัน หรือเพียง 14% เนื่องจากรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้รถประเภทนี้เป็นฐานการผลิตหลักในโลกเช่นเดียวกับปิกอัพ อย่าง “มาสด้า2 สกายแอคทีฟ” ที่ราคาจะต้องลดลง 2-3 หมื่นบาท และปัจจุบันได้เริ่มใช้แคมเปญคืนส่วนต่างให้กับลูกค้า เท่ากับอัตราภาษีใหม่แบบไม่ต้องรอ 1 มกราคมปีหน้า ส่วนอีโคคาร์อื่นๆ ที่ล้วนปลายโมเดล อาจจะไม่สามารถมีค่า CO2 ต่ำสุด หรือ 100 กรัม/กิโลเมตรได้ แต่ยังคงเสียภาษีในอัตราเดิม 17%
ด้านรถไฮบริดตามโครงสร้างภาษีใหม่ แม้ไม่ได้ปรับขึ้นหากมีปริมาณการปล่อยค่า CO2 ต่ำสุด แต่ถือว่าเสียประโยชน์เพราะจากเดิมมีอัตราเดียว 10% ภาษีใหม่เปลี่ยนเป็นแบบขั้นบันไดตามค่า CO2 (10-50%) และดูแล้วแนวโน้มส่วนใหญ่จะปรับขึ้นมากกว่า เพราะรถไฮบริดที่เข้ามาทำตลาดในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรถใหญ่ หรือเอสยูวี ที่มีค่าการปล่อยไอเสียค่อนข้างสูงกว่า 100 กรัม/กิโลเมตร โดยเฉพาะเอสยูวีไฮบริดหรูที่ราคาน่าจะพุ่งไม่ใช่แค่หลักแสนบาทแน่นอน
ไม่หนุนปิกอัพแค็บ/พีพีวี-เอสยูวีเจอหนัก!
ส่วนปิกอัพยังคงเป็นประเภทรถสำคัญของไทย รัฐบาลจึงคงสนับสนุนต่อไป เพียงแต่บางประเภทอย่าง “ปิกอัพแค็บ” ซึ่งภาครัฐมองว่าเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ไม่ควรสนับสนุนมากนัก จึงปรับอัตราภาษีจากเดิม 3% เพิ่มเป็น 5% หรือสูงสุด 7% หากมีอัตราค่าการปล่อย CO2 เกินมาตรฐานขั้นต่ำ หรือไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร นั่นย่อมหมายถึงปิกอัพมีแค็บจะต้องปรับราคาเพิ่มบวกลบประมาณ 1 หมื่นบาท ขณะที่ปิกอัพประเภทอื่นๆ หากมีค่า CO2 สูงกว่าค่าขั้นต่ำจะถูกปรับขึ้นเป็น 5% เช่นกัน
สำหรับรถพีพีวีที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานตัวถังของปิกอัพในการพัฒนา เป็นรถอีกประเภทที่จะต้องปรับราคาขึ้นแน่ๆ เพราะภาษีใหม่ต้องเสียในอัตรา 25% จากเดิมภาษีอยู่ที่ 20% ดังนั้นรถพีพีวีจึงต้องปรับราคาขึ้นหลายหมื่นบาท และน่าจะทะลุหลักแสนบาทขึ้นไป เพราะการที่จะทำค่าการปล่อย CO2 ขั้นต่ำสุดไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร(ปริมาณเดียวกับปิกอัพ) เป็นเรื่องลำบาก เพราะด้วยขนาดเครื่องยนต์และน้ำหนักของรถ หากทำไม่ได้อัตราภาษีจะปรับสูงสุดเป็น 30%
เอสยูวีเป็นอีกประเภทที่จะต้องเจอหนัก เพราะด้วยขนาดและน้ำหนักรถ ที่จะทำให้การปล่อยปริมาณ CO2 ยากที่จะทำได้ตามค่าปริมาณขั้นต่ำสุด(อัตราภาษีเอสยูวีเหมือนกับเก๋ง) เช่นเดียวกับเอสยูวีไฮบริดหรู(ภาษีรถไฮบริด) อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้า เหตุนี้ไม่ว่าจะเป็น “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” หรือ “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ราคาพุ่งสูงสุดเกินแสนบาทแน่นอน
ลุ้นค่ายรถอัดแคมเปญฉุดราคาพุ่งไม่แรง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงสร้างภาษีใหม่จะทำให้ราคารถบางประเภทปรับขึ้น แต่ในสภาวะตลาดชะลอตัวเช่นนี้ ซึ่งค่ายรถได้ทุ่มงบสนับสนุนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นของแถม หรือส่วนลดคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นบาท ไปจนถึงเป็นแสนบาทในบางรุ่น
เหตุนี้จึงเชื่อว่าค่ายรถจะใช้งบตรงนี้ มาสนับสนุนส่วนต่างของราคาที่ปรับตามอัตราโครงสร้างภาษีใหม่ ทำให้ราคาอาจจะไม่ปรับขึ้นตามความเป็นจริงเสียทั้งหมด เพื่อผลักดันการขายต่อไปและไม่ให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นการปรับราคาแรงเกินไป จนส่งผลกระทบต่อภาพรวมตลาดในปีต่อไป...
เก๋งขึ้นพรึบ! เชื้อเพลิงทดแทนถูกตัดแต้มต่อ
ตามโครงสร้างภาษีสรรพสามิตปัจจุบัน นอกจากอัตราการจัดเก็บแยกตามขนาดเครื่องยนต์แล้ว ยังมีเรื่องของรถที่ใช้พลังงานทดแทนมาสร้างความแตกต่างของอัตราภาษี เพราะรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาต้องการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงทดแทน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือ E85 ซึ่งจะมีอัตราภาษีต่ำกว่ารถใช้น้ำมันปกติ และแก๊สโซฮอล์ E10
เหตุนี้จึงทำให้ค่ายรถพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่แนะนำสู่ตลาดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนเหล่านี้ หรืออย่างน้อยใช้น้ำมัน E20 ได้ โดยเสียภาษีต่ำกว่ารถที่ใช้น้ำมันปกติ และ E10 ในอัตราร้อยละ 5 แต่ในโครงสร้างภาษีใหม่ที่อัตราการจัดเก็บแบ่งตามค่าการปล่อย CO2 ทำให้เก๋งเกือบทั้งหมดที่ใช้น้ำมัน E20 ต้องปรับราคาเพิ่มขึ้นประมาณ 2-3 หมื่นบาท และหากเป็นรถใหญ่ราคายิ่งต้องปรับสูงกว่านี้มาก แม้ว่ารถเหล่านี้จะมีปริมาณการปล่อย CO2 ต่ำสุดไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตรก็ตาม และหากปล่อย CO2 มากกว่าช่วงขั้นต่ำ อัตราภาษียิ่งจะปรับขึ้นเป็นแบบขั้นบันไดสูงสุดอยู่ที่ 40% สำหรับรถที่เครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี (ถ้ามากกว่าเสียอัตรา 50%)
เช่นเดียวกับรถที่ใช้น้ำมัน E85 จะมีการปรับราคาขึ้นเช่นกัน และในตลาดปัจจุบันมีรถหลายรุ่นที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ได้ แม้เชื้อเพลิงนี้จะไม่ค่อยมีให้บริการมากนัก แต่เนื่องจากการได้แต้มต่อทางภาษี หรือมีอัตราภาษีเพียง 22-32%(แล้วแต่ขนาดเครื่องยนต์) ขณะที่รถเชื้อเพลิงปกติ หรือ E10 ต้องเสียภาษี 30-40%
เหตุนี้รถที่ใช้น้ำมัน E85 โดยเฉพาะค่าย “ฮอนด้า” ที่หลังๆ พัฒนารถรุ่นใหม่ให้รองรับน้ำมันประเภทนี้ได้ เมื่อใช้โครงสร้างภาษีรถใหม่ที่มีอัตราจัดเก็บเพิ่มขึ้น จึงต้องปรับราคาขึ้นตาม อย่าง “ฮอนด้า ซีวิค” หรือรุ่น “แอคคอร์ด” ที่จะต้องปรับราคาตั้งแต่หลัก 5-6 หมื่นบาท ไปจนถึงหลักกว่าแสนบาท หากไม่สามารถทำค่า CO2 ต่ำกว่า 100 กรัม/กิโลเมตร รวมถึงรถยอดนิยมอย่าง “โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส” ที่ใช้น้ำมัน E85 ได้ หรืออย่าง “มาสด้า3” เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ที่มีค่าการปล่อยไอเสียต่ำยังต้องปรับขึ้นประมาณ 3 หมื่นบาท
ขณะที่รถใช้เชื้อเพลิง NGV จะต้องปรับภาษีขึ้นตามโครงสร้างภาษีใหม่เช่นกัน ในอัตราเดียวกับรถใช้น้ำมัน E85 ซึ่งเดิมรถที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ติดตั้งระบบจากโรงงานที่เดิมเสียภาษีในอัตรา 20% เท่านั้น รถหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส ซีเอ็นจี หรือฮอนด้า ซิตี้ ซีเอ็นจี จึงต้องปรับราคาขึ้นตามโครงสร้างภาษีใหม่น่าจะไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นบาท
อีโคคาร์ไม่ขยับมีลด /ไฮบริดส่อขึ้นมากกว่า
ตามโครงสร้างภาษีใหม่ “อีโคคาร์” เป็นรถที่ค่อนข้างได้ประโยชน์ เพราะหากมีค่าการปล่อย CO2 ได้ไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร จะได้รับสิทธิเสียภาษีต่ำกว่าปัจจุบัน หรือเพียง 14% เนื่องจากรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้รถประเภทนี้เป็นฐานการผลิตหลักในโลกเช่นเดียวกับปิกอัพ อย่าง “มาสด้า2 สกายแอคทีฟ” ที่ราคาจะต้องลดลง 2-3 หมื่นบาท และปัจจุบันได้เริ่มใช้แคมเปญคืนส่วนต่างให้กับลูกค้า เท่ากับอัตราภาษีใหม่แบบไม่ต้องรอ 1 มกราคมปีหน้า ส่วนอีโคคาร์อื่นๆ ที่ล้วนปลายโมเดล อาจจะไม่สามารถมีค่า CO2 ต่ำสุด หรือ 100 กรัม/กิโลเมตรได้ แต่ยังคงเสียภาษีในอัตราเดิม 17%
ด้านรถไฮบริดตามโครงสร้างภาษีใหม่ แม้ไม่ได้ปรับขึ้นหากมีปริมาณการปล่อยค่า CO2 ต่ำสุด แต่ถือว่าเสียประโยชน์เพราะจากเดิมมีอัตราเดียว 10% ภาษีใหม่เปลี่ยนเป็นแบบขั้นบันไดตามค่า CO2 (10-50%) และดูแล้วแนวโน้มส่วนใหญ่จะปรับขึ้นมากกว่า เพราะรถไฮบริดที่เข้ามาทำตลาดในไทย ส่วนใหญ่จะเป็นรถใหญ่ หรือเอสยูวี ที่มีค่าการปล่อยไอเสียค่อนข้างสูงกว่า 100 กรัม/กิโลเมตร โดยเฉพาะเอสยูวีไฮบริดหรูที่ราคาน่าจะพุ่งไม่ใช่แค่หลักแสนบาทแน่นอน
ไม่หนุนปิกอัพแค็บ/พีพีวี-เอสยูวีเจอหนัก!
ส่วนปิกอัพยังคงเป็นประเภทรถสำคัญของไทย รัฐบาลจึงคงสนับสนุนต่อไป เพียงแต่บางประเภทอย่าง “ปิกอัพแค็บ” ซึ่งภาครัฐมองว่าเป็นการใช้ผิดวัตถุประสงค์ไม่ควรสนับสนุนมากนัก จึงปรับอัตราภาษีจากเดิม 3% เพิ่มเป็น 5% หรือสูงสุด 7% หากมีอัตราค่าการปล่อย CO2 เกินมาตรฐานขั้นต่ำ หรือไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร นั่นย่อมหมายถึงปิกอัพมีแค็บจะต้องปรับราคาเพิ่มบวกลบประมาณ 1 หมื่นบาท ขณะที่ปิกอัพประเภทอื่นๆ หากมีค่า CO2 สูงกว่าค่าขั้นต่ำจะถูกปรับขึ้นเป็น 5% เช่นกัน
สำหรับรถพีพีวีที่ใช้โครงสร้างพื้นฐานตัวถังของปิกอัพในการพัฒนา เป็นรถอีกประเภทที่จะต้องปรับราคาขึ้นแน่ๆ เพราะภาษีใหม่ต้องเสียในอัตรา 25% จากเดิมภาษีอยู่ที่ 20% ดังนั้นรถพีพีวีจึงต้องปรับราคาขึ้นหลายหมื่นบาท และน่าจะทะลุหลักแสนบาทขึ้นไป เพราะการที่จะทำค่าการปล่อย CO2 ขั้นต่ำสุดไม่เกิน 200 กรัม/กิโลเมตร(ปริมาณเดียวกับปิกอัพ) เป็นเรื่องลำบาก เพราะด้วยขนาดเครื่องยนต์และน้ำหนักของรถ หากทำไม่ได้อัตราภาษีจะปรับสูงสุดเป็น 30%
เอสยูวีเป็นอีกประเภทที่จะต้องเจอหนัก เพราะด้วยขนาดและน้ำหนักรถ ที่จะทำให้การปล่อยปริมาณ CO2 ยากที่จะทำได้ตามค่าปริมาณขั้นต่ำสุด(อัตราภาษีเอสยูวีเหมือนกับเก๋ง) เช่นเดียวกับเอสยูวีไฮบริดหรู(ภาษีรถไฮบริด) อย่างที่กล่าวไว้ก่อนหน้า เหตุนี้ไม่ว่าจะเป็น “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” หรือ “มาสด้า ซีเอ็กซ์-5” ราคาพุ่งสูงสุดเกินแสนบาทแน่นอน
ลุ้นค่ายรถอัดแคมเปญฉุดราคาพุ่งไม่แรง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงสร้างภาษีใหม่จะทำให้ราคารถบางประเภทปรับขึ้น แต่ในสภาวะตลาดชะลอตัวเช่นนี้ ซึ่งค่ายรถได้ทุ่มงบสนับสนุนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือแคมเปญ ไม่ว่าจะเป็นของแถม หรือส่วนลดคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นบาท ไปจนถึงเป็นแสนบาทในบางรุ่น
เหตุนี้จึงเชื่อว่าค่ายรถจะใช้งบตรงนี้ มาสนับสนุนส่วนต่างของราคาที่ปรับตามอัตราโครงสร้างภาษีใหม่ ทำให้ราคาอาจจะไม่ปรับขึ้นตามความเป็นจริงเสียทั้งหมด เพื่อผลักดันการขายต่อไปและไม่ให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นการปรับราคาแรงเกินไป จนส่งผลกระทบต่อภาพรวมตลาดในปีต่อไป...