ASTVผู้จัดการรายวัน- ดันแผนก๊าซฯ-น้ำมันเข้ากพช.วันนี้(17ก.ย.) พบแผนก๊าซฯ ไทยต้องพึ่งนำเข้า LNG พุ่งคาดจะอยู่ในช่วง 22-31 ล้านตันในปี 79 เสนอแผนจัดตั้งสำนัก LNG บริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เดินหน้าเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบใหม่ และเร่งสรุปแหล่งก๊าซฯที่จะหมดอายุสัมปทาน 2 แหล่งภายในกรอบ 1 ปี ส่วนแผนน้ำมันหนุนขยับภาษีสรรพสามิต NGV จัดโครงสร้างภาษีฯเบนซิน ดีเซล ให้เหมาะสม ระยะยาวเล็งบี 20
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เปิดเผยว่า การประชุมกพช.วันนี้(17ก.ย.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะมีวาระสำคัญในการเข้าพิจารณาคือแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติปีพ.ศ. 2558-79 (Gas Plan 2015) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558-79 (Oil Plan 2015) ซึ่งทั้ง 2 แผนรวมอยู่ในแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติระยะยาวปี 2558-79
ที่ประกอบด้วย 5 แผนหลักได้แก่ OIL Plan Gas Plan แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP2015) แผนอนุรักษ์พลังงาน(EEP) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP) ซึ่งแผนเหล่านี้มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับ Gas Plan ได้กำหนดแผนจัดหาก๊าซฯกำหนดไว้ 3 กรณีได้แก่ 1.กรณีฐาน 2.กรณีคิดความเสี่ยงด้านความ และ3. กรณีสัมปทานที่จะสิ้นสุดอายุในปี 2565 และ 2566 โดยทั้ง 3 กรณีบ่งชี้ว่าการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากปริมาณสำรองมีจำกัด โดยจะเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2567อัตราการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาร์มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน คาดว่าเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2560 ส่งผลให้การจัดหา LNG นำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะอยู่ในช่วง 22-31 ล้านตันต่อปี ในปี 2579 จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนพลังงานของประเทศที่จะสูงขึ้น เนื่องจากโดยทั่วไปราคา LNG นำเข้า จะสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศค่อนข้างมาก
ดังนั้นแผนดังกล่าวจึงเน้นการลดใช้ก๊าซฯเพื่อลดการนำเข้า LNGได้แก่ 1.ส่งสัญญาณของราคา รวมถึงการปรับPool Pricing – เพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติรายใหม่ๆ พิจารณาต้นทุนเศรษฐศาสตร์ของโครงการจากราคาก๊าซธรรมชาติที่อิงกับราคาก๊าซ LNG โดยจะมีการศึกษาเสร็จในไตรมาสแรกปี 2559 ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากการกระจายเชื้อเพลิงตามแผน PDP 2015 เน้นการใช้ถ่านหิน เพิ่มจัดหาไฟฟ้า จากต่างประเทศ โดยเพิ่มเป็น 9,543 เมกะวัตต์ ในปี 2579 และเพิ่มไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผนAEDP เป็น20% ของปริมาณความต้องการไฟฟ้ารวมของประเทศ 19,634 เมกะวัตต์ ในปี 2579 เป็นต้น
2.ควรยืดอายุแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติโดยกระตุ้นการสำรวจและพัฒนาแหล่งในประเทศและการใช้เทคโนโลยี เพื่อรักษาระดับการจัดหาให้ยาวนานขึ้นได้แก่ การเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ การบริหารจัดการสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดภายในกรอบ 1 ปี บริหารจัดการแหล่งก๊าซในอ่าว ระยะสั้น ลดปริมาณ Gas Bypassที่โรงแยกก๊าซ โดยร่วมกับ ปตท. จัดทำแผนการลดปริมาณ Bypass Gas ช่วยยืดอายุแหล่งผลิตแหล่งในประเทศและ ใช้ประโยชน์ก๊าซจากอ่าวไทยให้ได้ประโยชน์สูงสุด ระยะยาว สนับสนุนการพัฒนาแหล่งขนาดเล็กมาก (Marginal Field) และสนับสนุนการเพิ่ม Recovery Rate
3.การหาแหล่งและการบริหารจัดการ LNG ที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มจำนวนผู้จัดหาและจำหน่าย เพื่อสร้างการแข่งขันภายในประเทศ –ประเทศมีแนวโน้มต้องการนำเข้า LNG ถึง 24 ล้านตันต่อปี ในระยะ 20 ปีข้างหน้า เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจ LNG โดยหน่วยงานต่างๆจะต้องไปสร้างกลไกในการดำเนินงาน รวมถึงจัดตั้งสำนัก LNG
เพื่อให้การสนับสนุน และดูแลความเสี่ยงการจัดหา รวมถึงการจัดสร้างฐานข้อมูล และเครื่องมือการ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า จำนวน LNG นำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 12 – 15 เท่าจากปัจจุบันคิดมูลค่าการนำเข้ากว่า 400,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งแนวนโยบายส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในด้านการจัดหา LNG ส่งผลใหจำนวนผู้จัดหาและผู้จำหน่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงต้องมีการพิจารณาด้านแนวทางกำกับด้านการจัดหาและบริหารจัดการ LNG ที่เหมาะสม 4. มีโครงสร้างพื้นฐานและแนวทางด้านการแข่งขัน ทั้งทางกายภาพได้แก่ระบบท่อก๊าซฯ และกติกาที่สอดรับกับแผนจัดหา (Third Party Access, TPA เพื่อให้สามารถจัดหาก๊าซธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคต
สำหรับแผนน้ำมัน เน้นการผลักดันให้เกิดการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลตามแผน AEDP โดยเฉพาะการส่งเสริมใช้ E 20ในรถบรรทุกขนาดใหญ่บางกลุ่ม ส่งเสริมใช้ B 20 ในระยะยาว การปรับราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV ) ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงรวมถึงการพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิตเพื่อให้มีความเป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมันในภาคขนส่ง
รวมถึงปรับอัตราภาษีสรรพสามิตของกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลให้ใกล้เคียงกันมากขึ้นอยู่ในช่วง 2.85 ถึง 5.55 บาทต่อลิตร โดยให้สะท้อนต้นทุนมลภาวะและถนนชำรุด เป็นต้น
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เปิดเผยว่า การประชุมกพช.วันนี้(17ก.ย.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะมีวาระสำคัญในการเข้าพิจารณาคือแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติปีพ.ศ. 2558-79 (Gas Plan 2015) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558-79 (Oil Plan 2015) ซึ่งทั้ง 2 แผนรวมอยู่ในแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติระยะยาวปี 2558-79
ที่ประกอบด้วย 5 แผนหลักได้แก่ OIL Plan Gas Plan แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP2015) แผนอนุรักษ์พลังงาน(EEP) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP) ซึ่งแผนเหล่านี้มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับ Gas Plan ได้กำหนดแผนจัดหาก๊าซฯกำหนดไว้ 3 กรณีได้แก่ 1.กรณีฐาน 2.กรณีคิดความเสี่ยงด้านความ และ3. กรณีสัมปทานที่จะสิ้นสุดอายุในปี 2565 และ 2566 โดยทั้ง 3 กรณีบ่งชี้ว่าการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากปริมาณสำรองมีจำกัด โดยจะเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2567อัตราการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมาร์มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน คาดว่าเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2560 ส่งผลให้การจัดหา LNG นำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะอยู่ในช่วง 22-31 ล้านตันต่อปี ในปี 2579 จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนพลังงานของประเทศที่จะสูงขึ้น เนื่องจากโดยทั่วไปราคา LNG นำเข้า จะสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งในประเทศค่อนข้างมาก
ดังนั้นแผนดังกล่าวจึงเน้นการลดใช้ก๊าซฯเพื่อลดการนำเข้า LNGได้แก่ 1.ส่งสัญญาณของราคา รวมถึงการปรับPool Pricing – เพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติรายใหม่ๆ พิจารณาต้นทุนเศรษฐศาสตร์ของโครงการจากราคาก๊าซธรรมชาติที่อิงกับราคาก๊าซ LNG โดยจะมีการศึกษาเสร็จในไตรมาสแรกปี 2559 ลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากการกระจายเชื้อเพลิงตามแผน PDP 2015 เน้นการใช้ถ่านหิน เพิ่มจัดหาไฟฟ้า จากต่างประเทศ โดยเพิ่มเป็น 9,543 เมกะวัตต์ ในปี 2579 และเพิ่มไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตามแผนAEDP เป็น20% ของปริมาณความต้องการไฟฟ้ารวมของประเทศ 19,634 เมกะวัตต์ ในปี 2579 เป็นต้น
2.ควรยืดอายุแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติโดยกระตุ้นการสำรวจและพัฒนาแหล่งในประเทศและการใช้เทคโนโลยี เพื่อรักษาระดับการจัดหาให้ยาวนานขึ้นได้แก่ การเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ การบริหารจัดการสัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดภายในกรอบ 1 ปี บริหารจัดการแหล่งก๊าซในอ่าว ระยะสั้น ลดปริมาณ Gas Bypassที่โรงแยกก๊าซ โดยร่วมกับ ปตท. จัดทำแผนการลดปริมาณ Bypass Gas ช่วยยืดอายุแหล่งผลิตแหล่งในประเทศและ ใช้ประโยชน์ก๊าซจากอ่าวไทยให้ได้ประโยชน์สูงสุด ระยะยาว สนับสนุนการพัฒนาแหล่งขนาดเล็กมาก (Marginal Field) และสนับสนุนการเพิ่ม Recovery Rate
3.การหาแหล่งและการบริหารจัดการ LNG ที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มจำนวนผู้จัดหาและจำหน่าย เพื่อสร้างการแข่งขันภายในประเทศ –ประเทศมีแนวโน้มต้องการนำเข้า LNG ถึง 24 ล้านตันต่อปี ในระยะ 20 ปีข้างหน้า เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในธุรกิจ LNG โดยหน่วยงานต่างๆจะต้องไปสร้างกลไกในการดำเนินงาน รวมถึงจัดตั้งสำนัก LNG
เพื่อให้การสนับสนุน และดูแลความเสี่ยงการจัดหา รวมถึงการจัดสร้างฐานข้อมูล และเครื่องมือการ ในระยะ 20 ปีข้างหน้า จำนวน LNG นำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 12 – 15 เท่าจากปัจจุบันคิดมูลค่าการนำเข้ากว่า 400,000 ล้านบาทต่อปี รวมทั้งแนวนโยบายส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในด้านการจัดหา LNG ส่งผลใหจำนวนผู้จัดหาและผู้จำหน่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต จึงต้องมีการพิจารณาด้านแนวทางกำกับด้านการจัดหาและบริหารจัดการ LNG ที่เหมาะสม 4. มีโครงสร้างพื้นฐานและแนวทางด้านการแข่งขัน ทั้งทางกายภาพได้แก่ระบบท่อก๊าซฯ และกติกาที่สอดรับกับแผนจัดหา (Third Party Access, TPA เพื่อให้สามารถจัดหาก๊าซธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการใช้ในอนาคต
สำหรับแผนน้ำมัน เน้นการผลักดันให้เกิดการใช้เอทานอลและไบโอดีเซลตามแผน AEDP โดยเฉพาะการส่งเสริมใช้ E 20ในรถบรรทุกขนาดใหญ่บางกลุ่ม ส่งเสริมใช้ B 20 ในระยะยาว การปรับราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV ) ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงรวมถึงการพิจารณาปรับภาษีสรรพสามิตเพื่อให้มีความเป็นธรรมกับผู้ใช้น้ำมันในภาคขนส่ง
รวมถึงปรับอัตราภาษีสรรพสามิตของกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลให้ใกล้เคียงกันมากขึ้นอยู่ในช่วง 2.85 ถึง 5.55 บาทต่อลิตร โดยให้สะท้อนต้นทุนมลภาวะและถนนชำรุด เป็นต้น