ASTVผู้จัดการรายวัน- กพช. ไฟเขียวแผนลงทุนระบบท่อก๊าซฯเส้นที่ 5 ของปตท.วงเงิน 1.1 แสนล้านบาท ส่วนแผนสร้างคลัง LNG แห่งใหม่สั่งตั้งคณะทำงานศึกษาใน 3 เดือนหวังเปิดให้แข่งขันไม่ผูกขาดโดยปตท. พร้อมเคาะแผนก๊าซฯ น้ำมัน และพลังงานทดแทน โดยแผนน้ำมันวางกรอบลดชนิดน้ำมันเบนซินจาก 5 ชนิดเหลือ 3 ชนิด โรงกลั่นใหม่หมดสิทธิ์เกิด จ่อสร้างคลัง LNG เพิ่มอีก 2 คลัง เล็งเก็บภาษีสรรพสามิต NGV1บ/กก.ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันที่17ก.ย.ว่า กพช.ได้เห็นชอบแผนบริหารแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติพ.ศ.2558-79 (Gas Plan) แผนบริหารจัดการน้ำม้นเชื้อเพลิงพ.ศ.2558-79(Oil Plan) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกพ.ศ.2558-79 (AEDP) และเห็นชอบแผนการลงทุนระบบท่อก๊าซฯบนกบกเส้นที่5เพื่อรองรับความต้องการก๊าซฯที่เพิ่มขึ้นในอนาคตในทุกภาคส่วนวงเงินลงทุนรวม 110,100 ล้านบาทซึ่งมอบหมายให้บมจ.ปตท.ดำเนินการ
ทั้งนี้การเห็นชอบแผนระบบส่งก๊าซฯเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ปตท.เสนอปรับลดวงเงินลงทุนลงจากเดิม 136,000 ล้านบาทเหลือ 110,100 ล้านบาทซึ่งประกอบด้วยระบบท่อก๊าซฯบนบกจากระยอง ไปไทรน้อย และไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือและใต้ระยะทาง 435 กิโลเมตรจากเดิมท่อขนาด 48 นิ้วเหลือ 42 นิ้วจึงทำให้วงเงินลงทุนลดลง และระบบท่อบนบกจากสถานีควบคุมแรงดันก๊าซราชบุรี-วังน้อยที่6 ไปจ.ราชบุรี ระยะทาง130 กม.เสร็จปี2564 ส่วนการสร้างคลัง LNGแห่งที่3 และคลังลอยน้ำ(PSRU) ในพื้นที่ภาคใต้วงเงินลงทุนรวม 65,500 ล้านบาทยังไม่มีการอนุมัติโดยมอบให้ตั้งคณะทำงานศึกษาให้เสร็จภายใน3 เดือน
"การนำเข้า LNG ต่อไปไทยจะมีความจำเป็นต้องพึ่งพิงในระยะยาวมากขึ้นจึงยังไม่อนุมัติเพราะต้องการให้ไปศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีที่จะทำอย่างไรไม่ให้ปตท.ผูกขาดรายเดียวซึ่งจะต้องคำนึงหลักการในแผนก๊าซฯ"รมว.พลังงานกล่าว
นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า แผนน้ำมันฯมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ระบุภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เช่น การทยอยปรับลดประเภทน้ำมันเบนซินในระยะยาว ที่ควรมีเหลือไม่เกิน 3 ประเภท จากปัจจุบัน5 ประเภทโดยเน้นพลังงานชีวภาพ ที่จะต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ใช้ มีการปรับราคาสะท้อนต้นทุน รวมถึงเก็บภาษีสรรพสามิตNGV 1 บาทต่อกก.คาดว่าจะทยอยประกาศได้ในอีก 2-3ปีข้างหน้า เป็นต้น
ส่วนแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP 2015)มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากปัจจุบัน 11.9% เป็น30% ของปริมาณความต้องการพลังงานรวมประเทศปี'79 โดยปรับเพิ่มพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนรวม 19,635 เมกะวัตต์ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเป็น 14 ล้านลิตรต่อวัน และเอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวัน เป็นต้น
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า แผนน้ำมันฯได้คำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและนโยบายส่งเสริมระบบรางจึงทำให้คาดว่าการใช้น้ำมันจะอยู่ที่ 9 แสนบาร์เรลต่อวันแบ่งเป็นภาคขนส่ง 7 แสนบาร์เรลต่อวันที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมและอื่นๆ ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ปัจจุบันกำลังผลิต1 ล้านกว่าบาร์เรลต่อวันจึงเพียงพอที่ไม่จำเป็นต้องเกิดโรงกลั่นใหม่แต่จะเกิดเป็นโรงกลั่นประเภทชีวภาพแทน
สำหรับแผนก๊าซฯ การใช้ก๊าซฯจะลดลง เป็น4,200 ล้านลบ.ฟุตต่อวันในปี79 เพราะก๊าซในประเทศผลิตลดลงและมีการบริหารตามแผนพีดีพีที่จะกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงอื่นๆเข้ามาเพิ่มแทน แต่ก็จำเป็นจะต้องนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นเป็น 24ล้านตันในปลายแผนจากปัจจุบันนำเข้าอยู่3 ล้านตันต่อปีและมีแผนสร้างคลังรองรับ 10ล้านตันดังนั้นจึงต้องเพิ่มคลัง LNG อีก 2 คลังเป็นอย่างต่ำ รักษาระดับการผลิตก๊าซฯจากแหล่งในประเทศให้ยาวนานขึ้น เป็นต้น
พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันที่17ก.ย.ว่า กพช.ได้เห็นชอบแผนบริหารแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติพ.ศ.2558-79 (Gas Plan) แผนบริหารจัดการน้ำม้นเชื้อเพลิงพ.ศ.2558-79(Oil Plan) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกพ.ศ.2558-79 (AEDP) และเห็นชอบแผนการลงทุนระบบท่อก๊าซฯบนกบกเส้นที่5เพื่อรองรับความต้องการก๊าซฯที่เพิ่มขึ้นในอนาคตในทุกภาคส่วนวงเงินลงทุนรวม 110,100 ล้านบาทซึ่งมอบหมายให้บมจ.ปตท.ดำเนินการ
ทั้งนี้การเห็นชอบแผนระบบส่งก๊าซฯเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ปตท.เสนอปรับลดวงเงินลงทุนลงจากเดิม 136,000 ล้านบาทเหลือ 110,100 ล้านบาทซึ่งประกอบด้วยระบบท่อก๊าซฯบนบกจากระยอง ไปไทรน้อย และไปยังโรงไฟฟ้าพระนครเหนือและใต้ระยะทาง 435 กิโลเมตรจากเดิมท่อขนาด 48 นิ้วเหลือ 42 นิ้วจึงทำให้วงเงินลงทุนลดลง และระบบท่อบนบกจากสถานีควบคุมแรงดันก๊าซราชบุรี-วังน้อยที่6 ไปจ.ราชบุรี ระยะทาง130 กม.เสร็จปี2564 ส่วนการสร้างคลัง LNGแห่งที่3 และคลังลอยน้ำ(PSRU) ในพื้นที่ภาคใต้วงเงินลงทุนรวม 65,500 ล้านบาทยังไม่มีการอนุมัติโดยมอบให้ตั้งคณะทำงานศึกษาให้เสร็จภายใน3 เดือน
"การนำเข้า LNG ต่อไปไทยจะมีความจำเป็นต้องพึ่งพิงในระยะยาวมากขึ้นจึงยังไม่อนุมัติเพราะต้องการให้ไปศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีที่จะทำอย่างไรไม่ให้ปตท.ผูกขาดรายเดียวซึ่งจะต้องคำนึงหลักการในแผนก๊าซฯ"รมว.พลังงานกล่าว
นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงานกล่าวว่า แผนน้ำมันฯมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ระบุภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เช่น การทยอยปรับลดประเภทน้ำมันเบนซินในระยะยาว ที่ควรมีเหลือไม่เกิน 3 ประเภท จากปัจจุบัน5 ประเภทโดยเน้นพลังงานชีวภาพ ที่จะต้องคำนึงถึงความพร้อมของผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ใช้ มีการปรับราคาสะท้อนต้นทุน รวมถึงเก็บภาษีสรรพสามิตNGV 1 บาทต่อกก.คาดว่าจะทยอยประกาศได้ในอีก 2-3ปีข้างหน้า เป็นต้น
ส่วนแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP 2015)มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากปัจจุบัน 11.9% เป็น30% ของปริมาณความต้องการพลังงานรวมประเทศปี'79 โดยปรับเพิ่มพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนรวม 19,635 เมกะวัตต์ รวมทั้งส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลเป็น 14 ล้านลิตรต่อวัน และเอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวัน เป็นต้น
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า แผนน้ำมันฯได้คำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและนโยบายส่งเสริมระบบรางจึงทำให้คาดว่าการใช้น้ำมันจะอยู่ที่ 9 แสนบาร์เรลต่อวันแบ่งเป็นภาคขนส่ง 7 แสนบาร์เรลต่อวันที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมและอื่นๆ ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่ปัจจุบันกำลังผลิต1 ล้านกว่าบาร์เรลต่อวันจึงเพียงพอที่ไม่จำเป็นต้องเกิดโรงกลั่นใหม่แต่จะเกิดเป็นโรงกลั่นประเภทชีวภาพแทน
สำหรับแผนก๊าซฯ การใช้ก๊าซฯจะลดลง เป็น4,200 ล้านลบ.ฟุตต่อวันในปี79 เพราะก๊าซในประเทศผลิตลดลงและมีการบริหารตามแผนพีดีพีที่จะกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงอื่นๆเข้ามาเพิ่มแทน แต่ก็จำเป็นจะต้องนำเข้า LNG เพิ่มขึ้นเป็น 24ล้านตันในปลายแผนจากปัจจุบันนำเข้าอยู่3 ล้านตันต่อปีและมีแผนสร้างคลังรองรับ 10ล้านตันดังนั้นจึงต้องเพิ่มคลัง LNG อีก 2 คลังเป็นอย่างต่ำ รักษาระดับการผลิตก๊าซฯจากแหล่งในประเทศให้ยาวนานขึ้น เป็นต้น