xs
xsm
sm
md
lg

กพช.เคาะหนุนไบโอดีเซล - เอทานอล ตัดสิทธิประโยชน์ LPG - หนุน NGV เฉพาะขนส่ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ภาพจากแฟ้ม
ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นชอบแผนเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 30% ภายในปี 2579 ส่งเสริมการผลิตและใช้ไบโอดีเซลและเอทานอล พร้อมจัดทำ 5 ยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง ตัดสิทธิพิเศษก๊าซแอลพีจี พร้อมจำกัดการนำเข้า ลดการส่งเสริมก๊าซเอ็นจีวีเฉพาะรถสาธารณะและรถบรรทุก พร้อมลงทุนท่อส่งน้ำมันหนุนเออีซี

วันนี้ (17 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) โดยภายหลังประชุม นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาวาระสำคัญด้านพลังงาน โดยเห็นชอบแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP 2015) โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 11.9 เป็นร้อยละ 30 ของปริมาณความต้องการพลังานรวมของประเทศในปี 2579 โดยปรับเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ รวมทั้งจะมีการส่งเสริมการผลิต และการใช้ไบโอดีเซลเป็น 14 ล้านลิตรต่อวัน และเอทานอล 11.3 ล้านลิตรต่อวัน

ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 โดยกำหนดจัดทำแผน 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1. สนับสนุนมาตราการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง 2. บริหารจัดการชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ ก๊าซแอลพีจี ที่แม้จะไม่ห้ามใช้ในภาคขนส่ง แต่จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษในการส่งเสริม ขณะที่ก๊าซเอ็นจีวี จะเป็นการส่งเสริมเฉพาะกลุ่มรถสาธารณะ และรถบรรทุก 3. ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อเนื่อง โดยใช้กลไกตลาดเป็นสำคัญ 4. ผลักดันการใช้เชื้อเพลิงเอทานอลและไบโอดีเซล ตามแผน AEDP 2015 และ 5. สนับสนุนการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะระบบท่อขนส่งน้ำมัน เพื่อสนับสนุการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่คาดว่าจะไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่

นอกจากนี้ ยังพิจารณาแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2558 - 2579 โดยวางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ เพื่อรองรับความต้องการ โดยสามารถจำกัดการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ในอนาคตให้อยู่ในระดับที่พอพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ประกอบด้วย 1. กระจายความเสี่ยง โดยลดการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า 2. รักษาระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศให้ยาวนานขึ้น 3. จัดหาแหล่งก๊าซแอลเอ็นจี ที่มีประสิทธิภาพภายใต้รูปแบบที่มีการแข่งขัน และ 4. มีโครงสร้างพื้นฐาน หรือระบบท่อเพียงพอ


กำลังโหลดความคิดเห็น