ต่อเนื่องจากการนำเสนอบททดสอบบีเอ็มดับเบิลยู X5 xDrive40e “เอสยูวี ปลั๊กอิน ไฮบริด”รุ่นล่าสุดของโลก คลิกอ่าน บุกเยอรมัน...ลองของใหม่ BMW X5 “ปลั๊กอิน ไฮบริด” ในโอกาสเยือนประเทศเยอรมนีคราวนี้ ผู้เขียนยังได้ทดสอบรถยนต์อีกสองรุ่นที่มีความต่างทางลักษณะและสมรรถนะกันอย่างสุดขั้ว นั่นคือสปอร์ตคาร์ M6 กับรถครอบครัว ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์ (2 Series Active Tourer)
รุ่นแรกเป็นรถยนต์ระดับท็อปคลาสของบีเอ็มดับเบิลยู โดยแผนก “เอ็ม พาวเวอร์” จัดการพัฒนาต่อยอดมาจากซีรีส์6 พร้อม 3 ทางเลือกตัวถังคือ รุ่นคูเป้ (2ประตู) แกรนด์คูเป้ (4 ประตู) และเปิดประทุน Convertible
สำหรับ M6 เดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่3 เปิดตัวครั้งแรกช่วงปี 2012 ผ่านมาถึงโมเดลปี 2015 ได้รับการปรับปรุงหน้าตาเล็กน้อย (จะเรียกว่า mild facelift ก็ได้) ตามข้อมูลระบุว่า ปรับเปลี่ยนช่องรับอากาศที่แผงกระจังหน้าใหม่ รวมถึงแผงรีดลมหรือดิฟฟิวเซอร์ที่กันชนหลัง ส่วนตัวผู้เขียนจริงๆก็แทบดูไม่ออกว่าสองจุดนี้ต่างจากรุ่นเดิมตรงไหน แต่ที่เห็นต่างกันชัดเจนก็คือโคมไฟหน้า ที่มีการจัดรายละเอียดของหลอด LED ใหม่
อย่างไรก็ตาม ในรุ่นเปิดประทุนที่ผู้เขียนได้ลองขับก็คลาสสิกดีครับ กับหลังคาผ้าใบควบคุมการเปิด-ปิดด้วยระบบไฟฟ้า สามารถกางออกได้ในเวลา 19 วินาที และปิดทึบกลับมาใช้เวลา 24 วินาที ซึ่งยังทำได้ในขณะรถวิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน 40 กม./ชม.อีกด้วย
การขับออกจากเมืองมิวนิค มุ่งลงใต้ไปที่ทะเลสาบ Tegernsee โดยใช้“ออโต้บาห์น” ทางหลวงที่หลายคนเคยได้ยินว่า สามารถขับรถได้โดยไม่จำกัดความเร็วนั่นละครับ
สำหรับ “ออโต้บาห์น” เป็นทางหลวงเชื่อมระหว่างเมืองต่างๆของประเทศเยอรมนี การใช้ถนนเส้นนี้ผู้เขียนไม่เห็นว่าจะมีด่านเก็บเงิน ขณะเดียวกันพวกมอเตอร์ไซค์(ใหญ่) ก็สามารถขับขี่ร่วมกับรถยนต์ได้ ส่วนเรื่องการใช้ความเร็วนั้น จริงๆแล้วมีจำกัดอยู่หลายช่วงนะครับ โดยจะมีป้ายแจ้งเป็นระยะ ยิ่งสถานการณ์ข้างหน้ามีการจราจรหนาแน่น ผู้เขียนยังเห็นป้ายจำกัดความเร็วไว้ 80 กม./ชม. ทั้งนี้ป้ายเตือนต่างๆรวมถึงป้ายบอกทาง จะมีให้เห็นล่วงหน้าเป็น 2-3 กิโลเมตรเลยทีเดียว
เหนืออื่นใด หลายช่วงเราสามารถตะบี้ตะบันความเร็วขึ้นไปได้ตามความสามารถของรถและผู้ขับ(มีป้ายแจ้งอีกเช่นกัน) ประเทศเยอรมนีใช้รถพวงมาลัยซ้าย ดังนั้นใครจะขับขี่ความเร็วสูงก็ให้อยู่เลนซ้ายสุด ถ้ารถคันหน้าเขารู้ตัวว่าช้ากว่าก็จะหลบขวาให้เอง (แต่ไม่ถึงกับต้องขับจี้ตูดแล้วดิ๊ปไฟเหมือนบ้านเรา)
ความเร็วสูงสุดที่ผู้เขียนใช้ในช่วงทางตรงถนนยาว ก็ไล่ไปได้ถึง 190 กม./ชม. ส่วนความเร็วสูงสุดของรถที่เคลมไว้อยู่ที่ 250 กม./ชม. จากประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ วี8 ขนาด 4.4 ลิตร เทอร์โบคู่ ให้กำลังสูงสุด 560 แรงม้าที่ 6,000-7,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 680 นิวตัน-เมตร 1,500-5,750 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทช์ 7 สปีด
พละกำลังจัดจ้านหายห่วง อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ทำได้ 4.3 วินาที ก็น้องๆพวกซูเปอร์คาร์รุ่นดังๆละครับ ขณะที่การเปลี่ยนเกียร์รวดเร็ว ส่งกำลังสู่ล้อคู่หลังแบบฉลาดทันใจ พร้อมเพลินไปกับเสียงท่อไอเสียที่กระหึ่มดัง แต่ก็ไพเราะจับใจ
ส่วนการควบคุมผ่านพวงมาลัยM Servotronicทำได้กระฉับกระเฉง แม่นยำตามทิศทางที่สั่ง พร้อมแปรผันน้ำหนักตามความเร็วรถ ขณะที่ช่วงล่างประกบกับล้ออัลลอย 19 นิ้ว ผู้เขียนยังนึกว่า M6 จะต้องดิบโหดกว่านี้ แต่พอขับขี่จริงการรองรับยังเหลือที่ว่างสำหรับความนุ่มนวลเอาไว้พอสมควร
...ควบคุมรถได้ไม่เครียด แถมระบบกันสะเทือนออกแนวนุ่มหนึบ ไม่สะท้านไต สะเทือนตับ ยิ่งมองว่าเป็นรถแบบ 4 ที่นั่ง เบาะหลังยังเหลือพื้นที่สบายๆสำหรับผู้โดยสาร น่าจะกลายเป็นจุดเด่นที่ครบครันของรถคันนี้
กล่าวคือสมรรถนะเต็มขั้นจากเครื่องยนต์ วี8 เทอร์โบคู่ เกียร์ดูอัลคลัทช์ แต่ถ้าหวังความนุ่มนวลในการขับขี่ก็เหลือๆ เป็นรถที่สามารถใช้ได้จริงทุกวัน บางวันมีเพื่อนมีครอบครัวเดินทางด้วยยังรับรองได้สบาย
การขับ M6 Convertible ในวันนั้นการจราจรในออโต้บาห์นค่อนข้างหนาแน่น และมีฝนตกตลอดทาง ผู้เขียนก็ระมัดระวังสุดๆ แต่ข้อดีนอกเหนือจากสมรรถนะที่มั่นใจได้ของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนชอบมาก คือระบบ Head Up Display (HUD) (จอเล็กๆอยู่หลังพวงมาลัย ก่อนถึงกระจกบังลมหน้า) พร้อมระบบนำทางเนวิเกอร์เตอร์ที่บอกทิศทางชัดเจน แจ้งล่วงหน้าอย่างเข้าใจและแม่นยำ พร้อมแสดงความเร็วที่ใช้ในปัจจุบันและป้ายจำกัดความเร็ว ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ
ถัดมาอีกรุ่นที่ได้ทดสอบคือ “ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์” (ได้ลองขับช่วงขากลับเข้าเมืองมิวนิค) ที่เมืองไทยเพิ่งเปิดตัวในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ผ่านมา
โดยตัวถังนี้เป็นแบบ “มินิแวน” 5 ที่นั่ง ขับเคลื่อนล้อหน้า คล้ายๆกับ “บี-คลาส” ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งผู้เขียนยัง งงๆ กับแนวทางของบีเอ็มดับเบิลยูที่เอามินิแวนมาใส่ในรถอนุกรมนี้ เพราะตอนแรกซีรีส์2 มากับตัวถังคูเป้ และเปิดประทุนอยู่ก่อนแล้ว(ขับเคลื่อนล้อหลัง) แถมล่าสุดยังเพิ่มตัวถังแบบ “แกรนด์ ทัวเรอร์” ซึ่งก็คือ “แอกทีฟ ทัวเรอร์” ที่ขยายความยาวและมีทั้งแบบ 2 แถว 5 ที่นั่ง และ 3 แถว 7 ที่นั่ง เข้ามาเป็นทางเลือก ทีนี้ก็ยิ่งสับสนเข้าไปกันใหญ่
สำหรับ “ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์” ที่ได้ลองขับสัมผัสบรรยากาศทะเลสาบ Tegernsee และตะลุยฝ่าความสุดยอดของทางหลวงออโต้บาห์นในวันฝนพรำ เป็นรุ่น 220i วางเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 2.0 ลิตร 192 แรงม้า ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้ารุ่นแรกของบีเอ็มดับเบิลยู น่าจะเหมาะเป็นรถครอบครัว หรือเพื่อคุณแม่บ้านเอาไว้ใช้ส่งลูก ขับไปซื้อกับข้าวประมาณนั้น ด้วยบุคลิกการขับขี่แบบเนียนๆ ราบรื่นไร้อารมณ์สปอร์ตตำแหน่งนั่งของผู้ขับเหมือนจะยกให้สูงเพื่อทัศวิสัยการขับขี่ที่ดีขึ้น ประกอบกับการควบคุมเชื่องมือ(ในความเร็วต่ำและปานกลาง) พร้อมช่วงล่างที่นุ่มนวล
ตัวรถยาว 4,324 มิลลิเมตร กว้าง 1,800 มิลลิเมตร สูง 1,586 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,670 มิลลิเมตร ให้ความอเนกประสงค์ด้วยเบาะนั่งแถวสองแยกพับได้ 40:20:40 แต่เมื่อพับให้ราบลงมาหมดจะเพิ่มพื้นที่ได้เป็น1,510 ลิตร (ไม่พับเบาะจะมีพื้นที่ 468 ลิตร)
ขณะที่การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารทำได้ดีระดับหนึ่ง ทั้งเสียงการจราจรภายนอก เสียงเครื่องยนต์ และเสียงยางบดพื้นถนนเล็ดรอดเข้ามาน้อย ทว่าเมื่อใช้ความเร็วสูงขึ้นเกิน 120 กม./ชม.ขึ้นไป การตอบสนองของช่วงล่างและการควบคุมไม่ถึงกับสุดยอดหรือให้ความประทับใจนัก
...หลังจากขับ M6 แล้วเปลี่ยนมาขับคันนี้ คงไม่ต้องบอกว่า อารมณ์ต่างกันขนาดไหน?
เมืองไทย “ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์” มีขายในรุ่น 218i วางเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร ราคา 2.599 ล้านบาท ส่วน M6 เปิดประทุนขายอยู่ 14.399 ล้านบาท
รุ่นแรกเป็นรถยนต์ระดับท็อปคลาสของบีเอ็มดับเบิลยู โดยแผนก “เอ็ม พาวเวอร์” จัดการพัฒนาต่อยอดมาจากซีรีส์6 พร้อม 3 ทางเลือกตัวถังคือ รุ่นคูเป้ (2ประตู) แกรนด์คูเป้ (4 ประตู) และเปิดประทุน Convertible
สำหรับ M6 เดินทางมาถึงเจเนอเรชันที่3 เปิดตัวครั้งแรกช่วงปี 2012 ผ่านมาถึงโมเดลปี 2015 ได้รับการปรับปรุงหน้าตาเล็กน้อย (จะเรียกว่า mild facelift ก็ได้) ตามข้อมูลระบุว่า ปรับเปลี่ยนช่องรับอากาศที่แผงกระจังหน้าใหม่ รวมถึงแผงรีดลมหรือดิฟฟิวเซอร์ที่กันชนหลัง ส่วนตัวผู้เขียนจริงๆก็แทบดูไม่ออกว่าสองจุดนี้ต่างจากรุ่นเดิมตรงไหน แต่ที่เห็นต่างกันชัดเจนก็คือโคมไฟหน้า ที่มีการจัดรายละเอียดของหลอด LED ใหม่
อย่างไรก็ตาม ในรุ่นเปิดประทุนที่ผู้เขียนได้ลองขับก็คลาสสิกดีครับ กับหลังคาผ้าใบควบคุมการเปิด-ปิดด้วยระบบไฟฟ้า สามารถกางออกได้ในเวลา 19 วินาที และปิดทึบกลับมาใช้เวลา 24 วินาที ซึ่งยังทำได้ในขณะรถวิ่งด้วยความเร็วไม่เกิน 40 กม./ชม.อีกด้วย
การขับออกจากเมืองมิวนิค มุ่งลงใต้ไปที่ทะเลสาบ Tegernsee โดยใช้“ออโต้บาห์น” ทางหลวงที่หลายคนเคยได้ยินว่า สามารถขับรถได้โดยไม่จำกัดความเร็วนั่นละครับ
สำหรับ “ออโต้บาห์น” เป็นทางหลวงเชื่อมระหว่างเมืองต่างๆของประเทศเยอรมนี การใช้ถนนเส้นนี้ผู้เขียนไม่เห็นว่าจะมีด่านเก็บเงิน ขณะเดียวกันพวกมอเตอร์ไซค์(ใหญ่) ก็สามารถขับขี่ร่วมกับรถยนต์ได้ ส่วนเรื่องการใช้ความเร็วนั้น จริงๆแล้วมีจำกัดอยู่หลายช่วงนะครับ โดยจะมีป้ายแจ้งเป็นระยะ ยิ่งสถานการณ์ข้างหน้ามีการจราจรหนาแน่น ผู้เขียนยังเห็นป้ายจำกัดความเร็วไว้ 80 กม./ชม. ทั้งนี้ป้ายเตือนต่างๆรวมถึงป้ายบอกทาง จะมีให้เห็นล่วงหน้าเป็น 2-3 กิโลเมตรเลยทีเดียว
เหนืออื่นใด หลายช่วงเราสามารถตะบี้ตะบันความเร็วขึ้นไปได้ตามความสามารถของรถและผู้ขับ(มีป้ายแจ้งอีกเช่นกัน) ประเทศเยอรมนีใช้รถพวงมาลัยซ้าย ดังนั้นใครจะขับขี่ความเร็วสูงก็ให้อยู่เลนซ้ายสุด ถ้ารถคันหน้าเขารู้ตัวว่าช้ากว่าก็จะหลบขวาให้เอง (แต่ไม่ถึงกับต้องขับจี้ตูดแล้วดิ๊ปไฟเหมือนบ้านเรา)
ความเร็วสูงสุดที่ผู้เขียนใช้ในช่วงทางตรงถนนยาว ก็ไล่ไปได้ถึง 190 กม./ชม. ส่วนความเร็วสูงสุดของรถที่เคลมไว้อยู่ที่ 250 กม./ชม. จากประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ วี8 ขนาด 4.4 ลิตร เทอร์โบคู่ ให้กำลังสูงสุด 560 แรงม้าที่ 6,000-7,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 680 นิวตัน-เมตร 1,500-5,750 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ดูอัลคลัทช์ 7 สปีด
พละกำลังจัดจ้านหายห่วง อัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ทำได้ 4.3 วินาที ก็น้องๆพวกซูเปอร์คาร์รุ่นดังๆละครับ ขณะที่การเปลี่ยนเกียร์รวดเร็ว ส่งกำลังสู่ล้อคู่หลังแบบฉลาดทันใจ พร้อมเพลินไปกับเสียงท่อไอเสียที่กระหึ่มดัง แต่ก็ไพเราะจับใจ
ส่วนการควบคุมผ่านพวงมาลัยM Servotronicทำได้กระฉับกระเฉง แม่นยำตามทิศทางที่สั่ง พร้อมแปรผันน้ำหนักตามความเร็วรถ ขณะที่ช่วงล่างประกบกับล้ออัลลอย 19 นิ้ว ผู้เขียนยังนึกว่า M6 จะต้องดิบโหดกว่านี้ แต่พอขับขี่จริงการรองรับยังเหลือที่ว่างสำหรับความนุ่มนวลเอาไว้พอสมควร
...ควบคุมรถได้ไม่เครียด แถมระบบกันสะเทือนออกแนวนุ่มหนึบ ไม่สะท้านไต สะเทือนตับ ยิ่งมองว่าเป็นรถแบบ 4 ที่นั่ง เบาะหลังยังเหลือพื้นที่สบายๆสำหรับผู้โดยสาร น่าจะกลายเป็นจุดเด่นที่ครบครันของรถคันนี้
กล่าวคือสมรรถนะเต็มขั้นจากเครื่องยนต์ วี8 เทอร์โบคู่ เกียร์ดูอัลคลัทช์ แต่ถ้าหวังความนุ่มนวลในการขับขี่ก็เหลือๆ เป็นรถที่สามารถใช้ได้จริงทุกวัน บางวันมีเพื่อนมีครอบครัวเดินทางด้วยยังรับรองได้สบาย
การขับ M6 Convertible ในวันนั้นการจราจรในออโต้บาห์นค่อนข้างหนาแน่น และมีฝนตกตลอดทาง ผู้เขียนก็ระมัดระวังสุดๆ แต่ข้อดีนอกเหนือจากสมรรถนะที่มั่นใจได้ของรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูแล้ว สิ่งที่ผู้เขียนชอบมาก คือระบบ Head Up Display (HUD) (จอเล็กๆอยู่หลังพวงมาลัย ก่อนถึงกระจกบังลมหน้า) พร้อมระบบนำทางเนวิเกอร์เตอร์ที่บอกทิศทางชัดเจน แจ้งล่วงหน้าอย่างเข้าใจและแม่นยำ พร้อมแสดงความเร็วที่ใช้ในปัจจุบันและป้ายจำกัดความเร็ว ช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้นเยอะ
ถัดมาอีกรุ่นที่ได้ทดสอบคือ “ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์” (ได้ลองขับช่วงขากลับเข้าเมืองมิวนิค) ที่เมืองไทยเพิ่งเปิดตัวในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ผ่านมา
โดยตัวถังนี้เป็นแบบ “มินิแวน” 5 ที่นั่ง ขับเคลื่อนล้อหน้า คล้ายๆกับ “บี-คลาส” ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งผู้เขียนยัง งงๆ กับแนวทางของบีเอ็มดับเบิลยูที่เอามินิแวนมาใส่ในรถอนุกรมนี้ เพราะตอนแรกซีรีส์2 มากับตัวถังคูเป้ และเปิดประทุนอยู่ก่อนแล้ว(ขับเคลื่อนล้อหลัง) แถมล่าสุดยังเพิ่มตัวถังแบบ “แกรนด์ ทัวเรอร์” ซึ่งก็คือ “แอกทีฟ ทัวเรอร์” ที่ขยายความยาวและมีทั้งแบบ 2 แถว 5 ที่นั่ง และ 3 แถว 7 ที่นั่ง เข้ามาเป็นทางเลือก ทีนี้ก็ยิ่งสับสนเข้าไปกันใหญ่
สำหรับ “ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์” ที่ได้ลองขับสัมผัสบรรยากาศทะเลสาบ Tegernsee และตะลุยฝ่าความสุดยอดของทางหลวงออโต้บาห์นในวันฝนพรำ เป็นรุ่น 220i วางเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 2.0 ลิตร 192 แรงม้า ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด
รถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้ารุ่นแรกของบีเอ็มดับเบิลยู น่าจะเหมาะเป็นรถครอบครัว หรือเพื่อคุณแม่บ้านเอาไว้ใช้ส่งลูก ขับไปซื้อกับข้าวประมาณนั้น ด้วยบุคลิกการขับขี่แบบเนียนๆ ราบรื่นไร้อารมณ์สปอร์ตตำแหน่งนั่งของผู้ขับเหมือนจะยกให้สูงเพื่อทัศวิสัยการขับขี่ที่ดีขึ้น ประกอบกับการควบคุมเชื่องมือ(ในความเร็วต่ำและปานกลาง) พร้อมช่วงล่างที่นุ่มนวล
ตัวรถยาว 4,324 มิลลิเมตร กว้าง 1,800 มิลลิเมตร สูง 1,586 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,670 มิลลิเมตร ให้ความอเนกประสงค์ด้วยเบาะนั่งแถวสองแยกพับได้ 40:20:40 แต่เมื่อพับให้ราบลงมาหมดจะเพิ่มพื้นที่ได้เป็น1,510 ลิตร (ไม่พับเบาะจะมีพื้นที่ 468 ลิตร)
ขณะที่การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารทำได้ดีระดับหนึ่ง ทั้งเสียงการจราจรภายนอก เสียงเครื่องยนต์ และเสียงยางบดพื้นถนนเล็ดรอดเข้ามาน้อย ทว่าเมื่อใช้ความเร็วสูงขึ้นเกิน 120 กม./ชม.ขึ้นไป การตอบสนองของช่วงล่างและการควบคุมไม่ถึงกับสุดยอดหรือให้ความประทับใจนัก
...หลังจากขับ M6 แล้วเปลี่ยนมาขับคันนี้ คงไม่ต้องบอกว่า อารมณ์ต่างกันขนาดไหน?
เมืองไทย “ซีรีส์ 2 แอกทีฟ ทัวเรอร์” มีขายในรุ่น 218i วางเครื่องยนต์เบนซิน 3 สูบ ขนาด 1.5 ลิตร ราคา 2.599 ล้านบาท ส่วน M6 เปิดประทุนขายอยู่ 14.399 ล้านบาท