ขานรับกระแส Green Mobility เต็มสูบ สถาบันยานยนต์เร่งเสริมเครื่องมือเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ ดันไทยสู่ฐานการผลิตและวิจัยยานยนต์พลังงานยั่งยืนแห่งอาเซียน ผนึก รี้ด เทรดเด็กซ์ จัดงาน ออโตโมทีฟ ซัมมิท 2014 ร่วมระดมสมองกับกูรูยานยนต์ทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงระหว่างวันที่ 19 - 20 มิถุนายน นี้ ณ ไบเทค บางนา
นายวิชัย จิราธิยุต ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์เปิดเผยถึงแนวโน้มของยานยนต์พลังงานยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมว่า กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวมในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงไปทุกที ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทน ในส่วนของประเทศไทยได้มีการกำหนดแผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2555-2559 โดยมีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของโลกด้วยห่วงโซ่อุปทานที่สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“ในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 9 ของโลก มียอดการผลิตอยู่ที่ 2.45 ล้านคันในปี 2546 โดยมียอดขายอันดับ 13 ของโลก ขณะที่ในกลุ่มอาเซียน มาเลเซียและอินโดนีเซียมีการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์สูงขึ้น แต่โดยภาพรวมแล้ว เชื่อว่าไทยยังมีศักยภาพที่ดีกว่า เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี และเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพราะมีทำเลที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ รวมถึงนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์อีโคคาร์เฟส 2 ซึ่งผมมั่นใจว่าจะเป็นนโยบายต่อเนื่องในทุกรัฐบาล และจะเป็นแรงผลักดันให้เราก้าวกระโดดสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก”
สำหรับตลาดส่งออกโดยรวมเปรียบเทียบระหว่างปี 2555 กับ 2556 เพิ่มขึ้นมา 5% แบ่งเป็น รถยนต์เพิ่มขึ้น 4% จักรยานยนต์ เพิ่มขึ้น 22% ชิ้นส่วนรถยนต์ 4% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากปี 2555 นั่นคือยอดสรุปทั้งปี แต่ถ้าเปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2556 และ 2557 จะเห็นได้ว่าการส่งออกโดยรวมในไตรมาสของปี 2557 เพิ่มขึ้นถึง 13% ด้วยกัน
ในการผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตและวิจัยยานยนต์พลังงานยั่งยืนแห่งอาเซียนนายวิชัยกล่าวว่า ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ที่ผ่านมาสถาบันยานยนต์และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดหาเทคโนโลยีและเครื่องมือตรวจสอบมาตรฐานยานยนต์ 19 รายการ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 8 รายการ ยังเหลืออีก 11 รายการที่ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จและครอบคลุมภายในปี 2559-2560และยังต้องใช้งบประมาณอีกอย่างน้อย 3,000 ล้านบาท หากเครื่องมือและเทคโนโลยีตรงนี้มีความสมบูรณ์พร้อม จะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการลงทุนสร้างสนามทดสอบ พรูฟวิ่งกราวนด์ และ แคร็ซ เทสต์ เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีสนามทดสอบและศูนย์ทดสอบอย่างเต็มรูปแบบ
และนับเป็นแรงผลักสำคัญที่จะมาสานต่อความความสำเร็จให้กับเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่ยั่งยืนเพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเปลี่ยนภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทั้งระบบโดยจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของโลก ตรงนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เร่งให้อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องเร่งแจ้งเกิดGreen Mobility
ในส่วนของการจัด“งานออโตโมทีฟ ซัมมิท 2014” สถาบันยานยนต์ ได้ร่วมกับรี้ด เทรดเด็กซ์ จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “เปลี่ยนโลกทั้งใบ....ด้วยการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน” หรือGreen Mobility Changing the World ภายใต้แนวคิดที่ทั่วโลกหันมาสนใจพลังงานสีเขียว พลังงานที่ยั่งยืน ยานยนต์สีเขียว เทคโนโลยีสะอาด โดยเชิญวิทยากรระดับแนวหน้าในธุรกิจยานยนต์และที่เกี่ยวข้อง ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชียตัวแทนจากค่ายต่างๆ อาทิ เมอร์ซีเดส เบนซ์, โตโยต้า, ฟอร์ด, มาสด้า วอลโว่และฮอนด้า เป็นต้นมาแสดงวิสัยทัศน์ ความต้องการด้านการผลิตสำหรับโมเดลรถยนต์ในอนาคต รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านต่างๆเพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพยานยนต์ของไทยต่อไป
นายสุทธิศักดิ์ วิลานันท์ ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์จำกัดกล่าวว่า จากกระแสของเทคโนโลยีสะอาดที่จะเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในอนาคต ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่างมีการวางแผนในการจัดซื้อเครื่องจักร และเทคโนโลยี เพื่อรองรับการผลิตยานยนต์สีเขียว โดยในช่วงไตรมาสแรกปี 2557 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักร เพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งสิ้น 26.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ร้อยละ 3.01 ซึ่งเรามั่นใจว่ายอดคำสั่ง ซื้อ - ขาย เพื่อรองรับการผลิต Eco Car จะเพิ่มขึ้น และเห็นได้ชัดเจนภายใน 6 เดือน หลังงานแมนูเฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป2014 มหกรรมเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งคัน ระหว่างวันที่ 19 -22 มิถุนายนนี้ ณ ไบเทค บางนา
“สำหรับแนวโน้มในอนาคต เราอาจจะเห็นรถยนต์ใช้พลังงานธรรมชาติน้อยลง โดยผู้ผลิตจะหันมาผลิตรถยนต์พลังงานทดแทนหรือพลังงานที่สามารถผลิตได้เองมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันทั่วโลก ขณะเดียวกันการจัดงานแสดงเอ็กซ์ฮิบิชั่นนับว่ามีส่วนสำคัญยิ่งในการนำเสนอเครื่องจักร และเทคโนโลยีล่าสุด รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิต และในงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2014ก็ได้มีจัดแสดงเครื่องจักรใหม่ที่นำมาปรับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับการปรับตัวของโครงการอีโคคาร์ เฟส2”
ระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2557บริษัทฯ ร่วมกับ สถาบันยานยนต์ จัดสัมมนา Automotive Summit 2014 หนึ่งในไฮไลท์สัมมนางานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป ณ ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมนานาชาติ ไบเทค บางนา โดยไฮไลต์สัมมนา ต้องการแสดงให้เห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ การพัฒนา และการวิจัยในอาเซียน การเป็น Automotive Supplier ระดับโลก วิสัยทัศน์ความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคตของค่ายรถยนต์ระดับโลก พลังงานในอนาคต พลังงานทางเลือก เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยขั้นสูงเป็นต้น
นายวิชัย จิราธิยุต ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์เปิดเผยถึงแนวโน้มของยานยนต์พลังงานยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมว่า กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวมในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงในธรรมชาติมีปริมาณลดน้อยลงไปทุกที ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ จึงต้องมองหาพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทน ในส่วนของประเทศไทยได้มีการกำหนดแผนแม่บทอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2555-2559 โดยมีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของโลกด้วยห่วงโซ่อุปทานที่สร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“ในปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 9 ของโลก มียอดการผลิตอยู่ที่ 2.45 ล้านคันในปี 2546 โดยมียอดขายอันดับ 13 ของโลก ขณะที่ในกลุ่มอาเซียน มาเลเซียและอินโดนีเซียมีการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์สูงขึ้น แต่โดยภาพรวมแล้ว เชื่อว่าไทยยังมีศักยภาพที่ดีกว่า เนื่องจากมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี และเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เพราะมีทำเลที่ได้เปรียบประเทศอื่นๆ รวมถึงนโยบายส่งเสริมการผลิตรถยนต์อีโคคาร์เฟส 2 ซึ่งผมมั่นใจว่าจะเป็นนโยบายต่อเนื่องในทุกรัฐบาล และจะเป็นแรงผลักดันให้เราก้าวกระโดดสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลก”
สำหรับตลาดส่งออกโดยรวมเปรียบเทียบระหว่างปี 2555 กับ 2556 เพิ่มขึ้นมา 5% แบ่งเป็น รถยนต์เพิ่มขึ้น 4% จักรยานยนต์ เพิ่มขึ้น 22% ชิ้นส่วนรถยนต์ 4% คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1.11 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากปี 2555 นั่นคือยอดสรุปทั้งปี แต่ถ้าเปรียบเทียบระหว่างไตรมาสแรกของปี 2556 และ 2557 จะเห็นได้ว่าการส่งออกโดยรวมในไตรมาสของปี 2557 เพิ่มขึ้นถึง 13% ด้วยกัน
ในการผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตและวิจัยยานยนต์พลังงานยั่งยืนแห่งอาเซียนนายวิชัยกล่าวว่า ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ที่ผ่านมาสถาบันยานยนต์และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดหาเทคโนโลยีและเครื่องมือตรวจสอบมาตรฐานยานยนต์ 19 รายการ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 8 รายการ ยังเหลืออีก 11 รายการที่ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จและครอบคลุมภายในปี 2559-2560และยังต้องใช้งบประมาณอีกอย่างน้อย 3,000 ล้านบาท หากเครื่องมือและเทคโนโลยีตรงนี้มีความสมบูรณ์พร้อม จะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อการลงทุนสร้างสนามทดสอบ พรูฟวิ่งกราวนด์ และ แคร็ซ เทสต์ เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีสนามทดสอบและศูนย์ทดสอบอย่างเต็มรูปแบบ
และนับเป็นแรงผลักสำคัญที่จะมาสานต่อความความสำเร็จให้กับเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานที่ยั่งยืนเพราะตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559เป็นต้นไป ประเทศไทยจะเปลี่ยนภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทั้งระบบโดยจัดเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีรถยนต์และเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ของโลก ตรงนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เร่งให้อุตสาหกรรมยานยนต์ต้องเร่งแจ้งเกิดGreen Mobility
ในส่วนของการจัด“งานออโตโมทีฟ ซัมมิท 2014” สถาบันยานยนต์ ได้ร่วมกับรี้ด เทรดเด็กซ์ จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “เปลี่ยนโลกทั้งใบ....ด้วยการขับเคลื่อนที่ยั่งยืน” หรือGreen Mobility Changing the World ภายใต้แนวคิดที่ทั่วโลกหันมาสนใจพลังงานสีเขียว พลังงานที่ยั่งยืน ยานยนต์สีเขียว เทคโนโลยีสะอาด โดยเชิญวิทยากรระดับแนวหน้าในธุรกิจยานยนต์และที่เกี่ยวข้อง ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชียตัวแทนจากค่ายต่างๆ อาทิ เมอร์ซีเดส เบนซ์, โตโยต้า, ฟอร์ด, มาสด้า วอลโว่และฮอนด้า เป็นต้นมาแสดงวิสัยทัศน์ ความต้องการด้านการผลิตสำหรับโมเดลรถยนต์ในอนาคต รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านต่างๆเพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพยานยนต์ของไทยต่อไป
นายสุทธิศักดิ์ วิลานันท์ ผู้อำนวยการโครงการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์จำกัดกล่าวว่า จากกระแสของเทคโนโลยีสะอาดที่จะเข้ามาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์โลกในอนาคต ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่างมีการวางแผนในการจัดซื้อเครื่องจักร และเทคโนโลยี เพื่อรองรับการผลิตยานยนต์สีเขียว โดยในช่วงไตรมาสแรกปี 2557 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการนำเข้าเครื่องจักร เพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ทั้งสิ้น 26.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา ร้อยละ 3.01 ซึ่งเรามั่นใจว่ายอดคำสั่ง ซื้อ - ขาย เพื่อรองรับการผลิต Eco Car จะเพิ่มขึ้น และเห็นได้ชัดเจนภายใน 6 เดือน หลังงานแมนูเฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป2014 มหกรรมเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งคัน ระหว่างวันที่ 19 -22 มิถุนายนนี้ ณ ไบเทค บางนา
“สำหรับแนวโน้มในอนาคต เราอาจจะเห็นรถยนต์ใช้พลังงานธรรมชาติน้อยลง โดยผู้ผลิตจะหันมาผลิตรถยนต์พลังงานทดแทนหรือพลังงานที่สามารถผลิตได้เองมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันทั่วโลก ขณะเดียวกันการจัดงานแสดงเอ็กซ์ฮิบิชั่นนับว่ามีส่วนสำคัญยิ่งในการนำเสนอเครื่องจักร และเทคโนโลยีล่าสุด รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิต และในงานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2014ก็ได้มีจัดแสดงเครื่องจักรใหม่ที่นำมาปรับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรองรับการปรับตัวของโครงการอีโคคาร์ เฟส2”
ระหว่างวันที่ 19-20 มิถุนายน 2557บริษัทฯ ร่วมกับ สถาบันยานยนต์ จัดสัมมนา Automotive Summit 2014 หนึ่งในไฮไลท์สัมมนางานแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป ณ ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมนานาชาติ ไบเทค บางนา โดยไฮไลต์สัมมนา ต้องการแสดงให้เห็นศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ การพัฒนา และการวิจัยในอาเซียน การเป็น Automotive Supplier ระดับโลก วิสัยทัศน์ความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์ในอนาคตของค่ายรถยนต์ระดับโลก พลังงานในอนาคต พลังงานทางเลือก เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยขั้นสูงเป็นต้น