ข่าวในประเทศ - โค้งสุดท้ายกับการยื่นคำขอรับการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโค คาร์ เฟส2 ที่มีกำหนดยื่นแบบคำขอเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2557 ท่ามกลางการจับตามองของนักลงทุน ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยมีค่ายรถยนต์ชั้นนำต่างขอเข้ารับคำปรึกษาจากสถาบันยานยนต์(สยย.) หาแนวทางในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้
ทัศนา พิริยพฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ (สยย.) กล่าวว่า โครงการ อีโค คาร์ รุ่นที่ 2 หรือเฟส2 ในขณะนี้เป็นช่วงที่สำคัญสำหรับค่ายรถยนต์ผู้ผลิตทั้งรายเดิมและรายใหม่ ที่ต้องใช้เวลาการวิเคราะห์อย่างละเอียดในเรื่องของการพัฒนาแผนการลงทุน ให้เข้าหลักเกณฑ์การคัดเลือก และผ่านเงื่อนไขใหม่อย่างรอบครอบ จากที่หลายค่ายรถยนต์ได้เข้าพบขอคำปรึกษา กับทางสถาบันยานยนต์ถึงแผนการพัฒนา
จากความสำเร็จในโครงการอีโค คาร์ รุ่นที่ 1 ซึ่งด าเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 มีค่ายรถยนต์ 5 บริษัทชั้นนำรวม 8 รุ่น ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบไปด้วย ซูซูกิ รุ่นสวิฟต์ มิตซูบิชิ รุ่นมิราจ และแอททราจ นิสสัน รุ่นมาร์ช และอัลเมรา ฮอนด้า รุ่นบริโอ และบริโอ อเมซ และล่าสุด โตโยต้า รุ่นนิว ยาริส โดยมียอดผลิตจำหน่ายและส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย
เหตุนี้จึงนำไปสู่การผลักดันเพื่อต่อยอด โครงการอีโค คาร์ รุ่นที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการผลิตภายในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ เพื่อยกระดับมาตรฐานอีโคคาร์ ให้เป็นนวัตกรรมรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานมลพิษระดับ Euro 5 การปล่อย CO2 จากท่อไอเสียไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร รวมถึงมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น โดยอย่างน้อยต้องมีระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ อาทิ ระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล๊อก (ABS) เพื่อเพิ่มมาตรฐานคุณภาพรถที่ผลิตในประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปกป้องผู้บริโภคมากขึ้น
ทั้งนี้การลงทุนสำหรับผู้ผลิตรายใหม่ จะต้องมีขนาดการลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านบาท และผู้ผลิตรายเดิมที่เป็นไปตามเงื่อนไขไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท โดยได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6 – 8 ปี รวมถึงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่สำหรับรถอีโค คาร์ รุ่นที่ 2 ที่มีอัตราลดลง ล้วนเป็นสิ่งจูงใจผู้ลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ขอรับการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโค คาร์ รุ่นที่ 2 นี้ ทั้งรายเดิมและรายใหม่ ไม่น้อยกว่า 5 – 7 ค่ายรถยนต์อย่างแน่นอน
“การส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโค คาร์ ทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างแน่นอน เพราะศักยภาพในการพัฒนา ฐานการผลิตในขณะนี้ของประเทศไทย พร้อมแล้วส าหรับการเป็นผู้น าการผลิตยานยนต์เพื่อสิ่งแวดดล้อมของ AEC และสถาบันยานยนต์พร้อมที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจร่วมโครงการอย่างเต็มกำลัง” ทัศนากล่าว
ทัศนา พิริยพฤทธิ์ รองผู้อำนวยการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ (สยย.) กล่าวว่า โครงการ อีโค คาร์ รุ่นที่ 2 หรือเฟส2 ในขณะนี้เป็นช่วงที่สำคัญสำหรับค่ายรถยนต์ผู้ผลิตทั้งรายเดิมและรายใหม่ ที่ต้องใช้เวลาการวิเคราะห์อย่างละเอียดในเรื่องของการพัฒนาแผนการลงทุน ให้เข้าหลักเกณฑ์การคัดเลือก และผ่านเงื่อนไขใหม่อย่างรอบครอบ จากที่หลายค่ายรถยนต์ได้เข้าพบขอคำปรึกษา กับทางสถาบันยานยนต์ถึงแผนการพัฒนา
จากความสำเร็จในโครงการอีโค คาร์ รุ่นที่ 1 ซึ่งด าเนินการมาเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 มีค่ายรถยนต์ 5 บริษัทชั้นนำรวม 8 รุ่น ที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบไปด้วย ซูซูกิ รุ่นสวิฟต์ มิตซูบิชิ รุ่นมิราจ และแอททราจ นิสสัน รุ่นมาร์ช และอัลเมรา ฮอนด้า รุ่นบริโอ และบริโอ อเมซ และล่าสุด โตโยต้า รุ่นนิว ยาริส โดยมียอดผลิตจำหน่ายและส่งออกเป็นไปตามเป้าหมาย
เหตุนี้จึงนำไปสู่การผลักดันเพื่อต่อยอด โครงการอีโค คาร์ รุ่นที่ 2 ที่จะต้องดำเนินการผลิตภายในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้กำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ เพื่อยกระดับมาตรฐานอีโคคาร์ ให้เป็นนวัตกรรมรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานมลพิษระดับ Euro 5 การปล่อย CO2 จากท่อไอเสียไม่เกิน 100 กรัม/กิโลเมตร รวมถึงมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยที่สูงขึ้น โดยอย่างน้อยต้องมีระบบความปลอดภัยเชิงป้องกันก่อนเกิดเหตุ อาทิ ระบบห้ามล้อแบบป้องกันการล๊อก (ABS) เพื่อเพิ่มมาตรฐานคุณภาพรถที่ผลิตในประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและปกป้องผู้บริโภคมากขึ้น
ทั้งนี้การลงทุนสำหรับผู้ผลิตรายใหม่ จะต้องมีขนาดการลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 6,500 ล้านบาท และผู้ผลิตรายเดิมที่เป็นไปตามเงื่อนไขไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท โดยได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 6 – 8 ปี รวมถึงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่สำหรับรถอีโค คาร์ รุ่นที่ 2 ที่มีอัตราลดลง ล้วนเป็นสิ่งจูงใจผู้ลงทุน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ขอรับการส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโค คาร์ รุ่นที่ 2 นี้ ทั้งรายเดิมและรายใหม่ ไม่น้อยกว่า 5 – 7 ค่ายรถยนต์อย่างแน่นอน
“การส่งเสริมกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโค คาร์ ทั้งรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างแน่นอน เพราะศักยภาพในการพัฒนา ฐานการผลิตในขณะนี้ของประเทศไทย พร้อมแล้วส าหรับการเป็นผู้น าการผลิตยานยนต์เพื่อสิ่งแวดดล้อมของ AEC และสถาบันยานยนต์พร้อมที่จะให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่สนใจร่วมโครงการอย่างเต็มกำลัง” ทัศนากล่าว