ถือเป็นข่าวดีสำหรับลูกค้าชาวไทย ที่“มาสด้า”ปรับนโยบายการแนะนำรถยนต์เข้าสู่ตลาด เพราะจากนี้ไปการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ในเมืองไทย จะต้องรวดเร็วตามตลาดโลก หรือขายช้ากว่าการเปิดตัวแบบ “เวิลด์ ลอนซ์” (World Launch) ไม่เกิน 6 เดือน
…จากเมื่อก่อนเห็นรูปกันทางอินเตอร์เน็ตจนจืด ลืมความสดใหม่ ลดความตื่นเต้นจากการเปิดตัวช้ากว่าตลาดโลก 1-2 ปีจะไม่มีเห็นอีกแล้ว
แนวทางนี้มาสด้าประเดิมทันที ทำได้ทันใดกับ “มาสด้า 3 ใหม่” ซึ่งรุ่นโมเดลเชนจ์นี้เพิ่งเผยโฉมให้เห็นในตลาดโลกเมื่อกลางปี 2556 และทำตลาดช่วงปลายปีเดียวกัน ส่วนเมืองไทยเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนมีนาคมนี้
เหนืออื่นใดครับ เหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของ “มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย” ในระยะหลังๆ ที่ก่อนการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการ จะต้องเชิญสื่อมวลชนให้ไปเรียนรู้รถ สัมผัสเทคโนโลยี และขับขี่กันพอหอมปากหอมคอ
สำหรับ“มาสด้า 3 โฉมใหม่”เจเนอเรชันที่3 จะเข้ามาสานต่อความสำเร็จจากสองโมเดลแรก (ซึ่งเป็นคอมแพกต์คาร์ยุคใหม่ของมาสด้า มาทำตลาดแทนรุ่น 323) ที่สร้างยอดขายทั่วโลกรวมกันกว่า 3.7 ล้านคัน ภายในระยะเวลา 10 ปี
โดยจุดเด่นประเด็นขายยังอยู่ที่การออกแบบตามแนวคิด Kodo Design สื่อถึงพลังและความเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ที่จะช่วยให้รถประหยัดน้ำมันแต่ยังคงบุคลิกขับสนุกตามแบบฉบับของมาสด้า
ทั้งนี้มาสด้าได้ตั้งธงของการพัฒนามาสด้า3 ใหม่เอาไว้ 4 เรื่องครับ คือหนึ่งรูปลักษณ์ต้องทันสมัย แรกเห็นต้องประทับใจ ยิ่งขับๆไปต้องประทับจิต และรักรถคันนี้มากขึ้นทุกวัน (เหมือนเป็นศรีภรรยา?)
ประการที่สอง สมรรถนะการขับขี่ต้องตอบสนองได้ดังหวัง ทั้งเรี่ยวแรงและการควบคุม ส่วนประการที่สาม จะต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้วระบบ Connectivity เชื่อมโยงโลกออนไลน์เข้ามาภายในรถ และยึดหลักการวางอุปกรณ์ต่างๆให้สัมพันธ์กับการใช้งานมากที่สุด
ประการสุดท้าย คำนึงถึงความปลอดภัยที่ยั่งยืน ซึ่งมาสด้า3 ใหม่จะมากับ ระบบความปลอดภัย i-Activesense ที่จะเข้ามาช่วยเตือนหรือเพิ่มการรับรู้สถานการณ์ล่วงหน้า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
…4 ข้อคร่าวๆนั่นละครับ ที่วิศวกรมาสด้าตั้งธงเป็นคุณค่าของ มาสด้า 3 เอาไว้ ซึ่งการขับขี่จริงก็สะท้อนทุกๆประการออกมาได้ครบ สมคำคุย!
สำหรับการทดสอบในครั้งนี้ ทีมงานมาสด้าเตรียมรถเอาไว้ให้ลอง 4 คัน บนสนามแข่งโบนันซ่า สปีดเวย์ เขาใหญ่ แต่ละคันล้วนถูกพลางหน้าปิดตาด้วยสติกเกอร์รอบคัน (ตามกฎของมาสด้า) แต่กระนั้นทีมงานยังใจดี แยกมาสด้า3 ตัวถังแฮทช์แบ็ก สีแดง แบบใสๆเอามาจอดโชว์ พร้อมปล่อยให้นักข่าวได้ลองสัมผัสนั่งกันแบบเต็มๆ(แต่ห้ามถ่ายรูป)
ตัวจริงต้องบอกว่าสวยครับ เห็นแล้วขนลุกด้วยเส้นสายคมเข้ม รถดูมีพลัง เหมือนเตรียมจะพุ่งไปข้างหน้า ซึ่งวิศวกรมาสด้ายังแจ้งว่า มาสด้า3 ใหม่ ตัวรถจะเตี้ยลงและเสาร์เอ-พิลลาร์จะลาดเอียงมากกว่ารุ่นเก่า โดยความสูง1,450 มม. ลดลงจากเดิม 20 มม. แต่ด้วยการออกแบบโครงสร้างยังสามารถคงพื้นที่เหนือศีรษะให้มีขนาดเท่าเดิมได้ ขณะที่ระยะฐานล้อยาว 2,700 มม. เพิ่มขึ้น 60 มม. จึงส่งผลให้พื้นที่ภายในห้องโดยสารขยับขยายได้มากขึ้น
ด้านขุมพลัง มาสด้า3 ใหม่ จะมีเฉพาะเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.0 ลิตรทำตลาด (ไม่มีเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร) ซึ่งจะว่าไปในกลุ่มคอมแพกต์คาร์รุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร มาสด้าเขาก็ขายดีสุด โดยเฉพาะตัวถังแฮทช์แบ็กนั้นมีสัดส่วนขายมากกว่าซีดาน
ทั้งนี้มาสด้า3 ใหม่ รุ่นที่นำมาให้ผู้สื่อข่าวได้ลองขับในทริปนี้ เป็นเวอร์ชัน JDM (Japanese Domestic Market) สั่งตรงมาจากญี่ปุ่น ดังนั้นสเปกต่างๆจึงต้องไปอิงกับเวอร์ชันญี่ปุ่น (เรียกว่า Axela) ซึ่งเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ-จี ขนาด 2.0 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ไดเรกอินเจกชัน พร้อมระบบวาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 155 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที (เวอร์ชันขายบ้านเรา 165 แรงม้า) แรงบิดสูงสุด 196 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที (บ้านเรา 210 นิวตันเมตร)ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด
การทดสอบที่สนามโบนันซ่า เราได้ขับคนละ 5-6 รอบ รอบละ 2.8 กิโลเมตร ซึ่งความรู้สึกแรกหลังเข้าไปนั่งหลังพวงมาลัย พื้นที่อาจจะบีบแคบนิดๆและการเข้าออกจะต้องระวังหัว เพราะเสาเอ-พิลลาร์ค่อนข้างลาดเอียงแถมหลังคาต่ำ
ภายในเน้นโทนสีดำ (สีเบจที่เห็นในภาพเป็นคันที่นำมาจอดโชว์) ออกแบบสวยกว่ามาสด้าทุกรุ่นที่ทำตลาดในไทย ณ ปัจจุบัน และมีปุ่มควบคุมคล้ายๆ“ไอไดรฟ์” ของบีเอ็มดับเบิลยูฝังอยู่บริเวณคอนโซลกลาง พร้อมแสดงผลด้วยจอสีทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว รวมถึงติดตั้ง Head up display เป็นกระจกเล็กๆตั้งขึ้นมาอยู่หน้าคนขับ เพื่อแสดงข้อมูลการขับขี่(ความเร็ว) ดูเท่เหมือนรถยุโรปเลยทีเดียว (ระบบนี้ของค่ายอื่นจะแสดงผลบนกระจกบังลมหน้า)
ส่วนเบาะนั่งบางลง แต่โอบกระชับรับสรีระ ระยะวางมือกับคันเกียร์กำลังเหมาะ เช่นเดียวกับปุ่มสั่งงานต่างๆดูเหมือนจะวางให้โอบล้อม พร้อมควบคุมง่าย หวังเอาใจคนขับเป็นพิเศษ
…อย่างที่เรียนครับ ขับกันหอมปากหอมคอ แต่ก็พอจะรับรู้บุคลิกของมาสด้า 3 ใหม่ได้ระดับหนึ่ง เรื่องการออกตัวหรืออัตราเร่งไม่ต้องห่วง ตอบสนองได้ทันใจ การเพิ่มความเร็วมาพร้อมเสียงเครื่องยนต์ที่ดังหวานหู พลังปลดปล่อยมาได้ต่อเนื่องตามแรงกดของเท้าขวา จังหวะเพิ่มความเร็ว เกียร์ก็ฉลาดฉับไว ถ่ายทอดกำลังลงสู่ล้อหน้าได้ลื่นๆเนียนๆ
บางช่วงของการขับในสนาม ผู้เขียนลองเล่นเปลี่ยนเกียร์บนแพดเดิลชิฟท์หลังพวงมาลัย พบว่าการสั่งงานตามใจแถมแม่นยำ ช่วยให้การเข้า-ออกโค้งทำได้อย่างเต็มที่และสนุกสนาน ด้านพวงมาลัยไม่หนักไม่เบาจนเกินไป ควบคุมถนัดมือพร้อมบังคับเลี้ยวได้เฉียบคม เห็นว่าวิศวกรมาสด้าเขาปรับอัตราทดพวงมาลัยลงอีกหน่อย เพื่อให้สมดุลกับสมรรถนะด้านอื่นๆของรถ ไม่ว่าจะเป็นช่วงล่าง เบรก ตัวถัง
อย่างช่วงล่างที่ด้านหน้าเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังเป็นมัลติลิงค์พร้อมจัดวางตำแหน่งเทรลลิงอาร์มใหม่ เมื่อรวมกับการปรับปรุงในส่วนอื่นๆ จึงช่วยลดแรงหน่วง และลดการสะเทือนในแนวตั้งได้เป็นอย่างดี
มาสด้า3 คันที่ได้ขับใช้ล้ออัลลอยขนาด 18 นิ้ว ประกบยางของโตโยไทร์ ขนาด 215/45 R18 แม้จะเป็นแก้มเตี้ย แต่การรองรับยังนุ่มพอสมควร ส่วนการทรงตัวเมื่อขับขี่ความเร็วสูงให้ความมั่นใจ ด้วยช่วงล่างแน่นๆ พวงมาลัยนิ่งๆ ที่สำคัญยังคงจุดเด่นเมื่อขับเข้าโค้งแรงๆ ตัวรถแทบไม่เสียอาการ สามารถเลียดเลาะเอเปกไปได้แบบพลิ้วๆ หรือไม่ต้องลุ้นไม่ต้องแก้ไขให้เหนื่อย
ส่วนการตอบสนองของแป้นเบรก ออกแนวนุ่มนวล พร้อมชะลอการหยุดได้ตามระยะที่คาดหมาย สอดคล้องกับช่วงล่างที่เนียนหนึบ จนเรียกได้ว่ามาสด้า3 ใหม่ กลายเป็นรถมีคลาส สามารถยกระดับจากคอมแพกต์คาร์ยี่ห้ออื่นๆขึ้นไปอีกขั้น
ปิดท้ายด้วยประเด็นออปชันความปลอดภัย ที่มาสด้าคุยว่าจัดมาเป็นครั้งแรกคือ i-ACTIVSENSE ซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะมากมาย ไล่ตั้งแต่ ระบบเตือนภัยจากวัตถุที่เคลื่อนเข้ามาด้านหลัง Rear Vehicle Monitoring (RVM) และระบบช่วยหยุดรถอัจฉริยะ Smart City Brake Support (SCBS) ที่จะเบรกให้อัตโนมัติ กรณีขับที่ความเร็ว 4-30 กม./ชม. โดยเมื่อชุดเลเซอร์เซนเซอร์ด้านหน้าตรวจจับวัตถุสิ่งกีดขวาง ระบบจะทำการคำนวณความเสี่ยงในการเกิดการชนปะทะ และจะสั่งการไปที่แป้นเบรกให้กดตัวลงในทันทีเพื่อทำการหยุดรถเมื่อผู้ขับขี่มิได้มีการบังคับควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการชนปะทะในขณะนั้น
…แน่นอนว่าสองออปชันนี้อาจจะมาในรุ่นท็อปๆ และต้องมารอดูอีกทีว่ามาสด้าจะทำราคาได้น่าสนใจขนาดไหน อย่างไรก็ตามพวกระบบมาตรฐานที่จัดมาไม่ได้ขาดก็น่าจะมีพวก ถุงลมนิรภัย 6 จุด คู่หน้า ด้านข้าง และม่านนิรภัย ตลอดจนพนังพิงศีรษะด้านหน้าที่ช่วยลดการกระแทก (Whiplash-reducing front headrests)
ระบบดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อพร้อมครีบระบายความร้อน และระบบป้องกันล้อล็อค (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก Electronic Brake-force Distribution (EBD) และระบบช่วยเบรก Brake Assist (BA) ระบบไฟส่องสว่างอัตโนมัติขณะกลางวัน Daytime Running Lights ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว Dynamic Stability Control (DSC) ระบบป้องกันการลื่นไถล Traction Control System (TCS)
รวบรัดตัดความ…วิศวกรมาสด้าแจ้งว่าขุมพลังสกายแอคทีฟบล็อกนี้ จะให้อัตราบริโภคน้ำมันต่ำกว่ารุ่นเครื่องยนต์ 1.6 เดิม และเมื่อเทียบกับพิกัด 2.0 ลิตรเท่ากันของเครื่องยนต์รุ่นเก่า จะประหยัดน้ำมันกว่า20%
โดยมาสด้า3 ใหม่ ที่เตรียมขายแต่เครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร จะเคลมให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ส่งผลให้ทำราคาลงได้ระดับหนึ่ง ซึ่งการทำตลาดมาสด้าน่าจะจัดรุ่นย่อยลงมา ตีกินรถกลุ่มคอมแพกต์เครื่องยนต์ 1.8 ของคู่แข่ง พร้อมราคาเริ่มต้นต้องมีเลข 8 นำหน้าครับ
…จากเมื่อก่อนเห็นรูปกันทางอินเตอร์เน็ตจนจืด ลืมความสดใหม่ ลดความตื่นเต้นจากการเปิดตัวช้ากว่าตลาดโลก 1-2 ปีจะไม่มีเห็นอีกแล้ว
แนวทางนี้มาสด้าประเดิมทันที ทำได้ทันใดกับ “มาสด้า 3 ใหม่” ซึ่งรุ่นโมเดลเชนจ์นี้เพิ่งเผยโฉมให้เห็นในตลาดโลกเมื่อกลางปี 2556 และทำตลาดช่วงปลายปีเดียวกัน ส่วนเมืองไทยเตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนมีนาคมนี้
เหนืออื่นใดครับ เหมือนจะเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของ “มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย” ในระยะหลังๆ ที่ก่อนการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่อย่างเป็นทางการ จะต้องเชิญสื่อมวลชนให้ไปเรียนรู้รถ สัมผัสเทคโนโลยี และขับขี่กันพอหอมปากหอมคอ
สำหรับ“มาสด้า 3 โฉมใหม่”เจเนอเรชันที่3 จะเข้ามาสานต่อความสำเร็จจากสองโมเดลแรก (ซึ่งเป็นคอมแพกต์คาร์ยุคใหม่ของมาสด้า มาทำตลาดแทนรุ่น 323) ที่สร้างยอดขายทั่วโลกรวมกันกว่า 3.7 ล้านคัน ภายในระยะเวลา 10 ปี
โดยจุดเด่นประเด็นขายยังอยู่ที่การออกแบบตามแนวคิด Kodo Design สื่อถึงพลังและความเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีสกายแอคทีฟ ที่จะช่วยให้รถประหยัดน้ำมันแต่ยังคงบุคลิกขับสนุกตามแบบฉบับของมาสด้า
ทั้งนี้มาสด้าได้ตั้งธงของการพัฒนามาสด้า3 ใหม่เอาไว้ 4 เรื่องครับ คือหนึ่งรูปลักษณ์ต้องทันสมัย แรกเห็นต้องประทับใจ ยิ่งขับๆไปต้องประทับจิต และรักรถคันนี้มากขึ้นทุกวัน (เหมือนเป็นศรีภรรยา?)
ประการที่สอง สมรรถนะการขับขี่ต้องตอบสนองได้ดังหวัง ทั้งเรี่ยวแรงและการควบคุม ส่วนประการที่สาม จะต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้วระบบ Connectivity เชื่อมโยงโลกออนไลน์เข้ามาภายในรถ และยึดหลักการวางอุปกรณ์ต่างๆให้สัมพันธ์กับการใช้งานมากที่สุด
ประการสุดท้าย คำนึงถึงความปลอดภัยที่ยั่งยืน ซึ่งมาสด้า3 ใหม่จะมากับ ระบบความปลอดภัย i-Activesense ที่จะเข้ามาช่วยเตือนหรือเพิ่มการรับรู้สถานการณ์ล่วงหน้า เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
…4 ข้อคร่าวๆนั่นละครับ ที่วิศวกรมาสด้าตั้งธงเป็นคุณค่าของ มาสด้า 3 เอาไว้ ซึ่งการขับขี่จริงก็สะท้อนทุกๆประการออกมาได้ครบ สมคำคุย!
สำหรับการทดสอบในครั้งนี้ ทีมงานมาสด้าเตรียมรถเอาไว้ให้ลอง 4 คัน บนสนามแข่งโบนันซ่า สปีดเวย์ เขาใหญ่ แต่ละคันล้วนถูกพลางหน้าปิดตาด้วยสติกเกอร์รอบคัน (ตามกฎของมาสด้า) แต่กระนั้นทีมงานยังใจดี แยกมาสด้า3 ตัวถังแฮทช์แบ็ก สีแดง แบบใสๆเอามาจอดโชว์ พร้อมปล่อยให้นักข่าวได้ลองสัมผัสนั่งกันแบบเต็มๆ(แต่ห้ามถ่ายรูป)
ตัวจริงต้องบอกว่าสวยครับ เห็นแล้วขนลุกด้วยเส้นสายคมเข้ม รถดูมีพลัง เหมือนเตรียมจะพุ่งไปข้างหน้า ซึ่งวิศวกรมาสด้ายังแจ้งว่า มาสด้า3 ใหม่ ตัวรถจะเตี้ยลงและเสาร์เอ-พิลลาร์จะลาดเอียงมากกว่ารุ่นเก่า โดยความสูง1,450 มม. ลดลงจากเดิม 20 มม. แต่ด้วยการออกแบบโครงสร้างยังสามารถคงพื้นที่เหนือศีรษะให้มีขนาดเท่าเดิมได้ ขณะที่ระยะฐานล้อยาว 2,700 มม. เพิ่มขึ้น 60 มม. จึงส่งผลให้พื้นที่ภายในห้องโดยสารขยับขยายได้มากขึ้น
ด้านขุมพลัง มาสด้า3 ใหม่ จะมีเฉพาะเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.0 ลิตรทำตลาด (ไม่มีเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร) ซึ่งจะว่าไปในกลุ่มคอมแพกต์คาร์รุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร มาสด้าเขาก็ขายดีสุด โดยเฉพาะตัวถังแฮทช์แบ็กนั้นมีสัดส่วนขายมากกว่าซีดาน
ทั้งนี้มาสด้า3 ใหม่ รุ่นที่นำมาให้ผู้สื่อข่าวได้ลองขับในทริปนี้ เป็นเวอร์ชัน JDM (Japanese Domestic Market) สั่งตรงมาจากญี่ปุ่น ดังนั้นสเปกต่างๆจึงต้องไปอิงกับเวอร์ชันญี่ปุ่น (เรียกว่า Axela) ซึ่งเครื่องยนต์สกายแอคทีฟ-จี ขนาด 2.0 ลิตร DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ไดเรกอินเจกชัน พร้อมระบบวาล์วไอดี-ไอเสียแปรผัน ให้กำลังสูงสุด 155 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที (เวอร์ชันขายบ้านเรา 165 แรงม้า) แรงบิดสูงสุด 196 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบต่อนาที (บ้านเรา 210 นิวตันเมตร)ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด
การทดสอบที่สนามโบนันซ่า เราได้ขับคนละ 5-6 รอบ รอบละ 2.8 กิโลเมตร ซึ่งความรู้สึกแรกหลังเข้าไปนั่งหลังพวงมาลัย พื้นที่อาจจะบีบแคบนิดๆและการเข้าออกจะต้องระวังหัว เพราะเสาเอ-พิลลาร์ค่อนข้างลาดเอียงแถมหลังคาต่ำ
ภายในเน้นโทนสีดำ (สีเบจที่เห็นในภาพเป็นคันที่นำมาจอดโชว์) ออกแบบสวยกว่ามาสด้าทุกรุ่นที่ทำตลาดในไทย ณ ปัจจุบัน และมีปุ่มควบคุมคล้ายๆ“ไอไดรฟ์” ของบีเอ็มดับเบิลยูฝังอยู่บริเวณคอนโซลกลาง พร้อมแสดงผลด้วยจอสีทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว รวมถึงติดตั้ง Head up display เป็นกระจกเล็กๆตั้งขึ้นมาอยู่หน้าคนขับ เพื่อแสดงข้อมูลการขับขี่(ความเร็ว) ดูเท่เหมือนรถยุโรปเลยทีเดียว (ระบบนี้ของค่ายอื่นจะแสดงผลบนกระจกบังลมหน้า)
ส่วนเบาะนั่งบางลง แต่โอบกระชับรับสรีระ ระยะวางมือกับคันเกียร์กำลังเหมาะ เช่นเดียวกับปุ่มสั่งงานต่างๆดูเหมือนจะวางให้โอบล้อม พร้อมควบคุมง่าย หวังเอาใจคนขับเป็นพิเศษ
…อย่างที่เรียนครับ ขับกันหอมปากหอมคอ แต่ก็พอจะรับรู้บุคลิกของมาสด้า 3 ใหม่ได้ระดับหนึ่ง เรื่องการออกตัวหรืออัตราเร่งไม่ต้องห่วง ตอบสนองได้ทันใจ การเพิ่มความเร็วมาพร้อมเสียงเครื่องยนต์ที่ดังหวานหู พลังปลดปล่อยมาได้ต่อเนื่องตามแรงกดของเท้าขวา จังหวะเพิ่มความเร็ว เกียร์ก็ฉลาดฉับไว ถ่ายทอดกำลังลงสู่ล้อหน้าได้ลื่นๆเนียนๆ
บางช่วงของการขับในสนาม ผู้เขียนลองเล่นเปลี่ยนเกียร์บนแพดเดิลชิฟท์หลังพวงมาลัย พบว่าการสั่งงานตามใจแถมแม่นยำ ช่วยให้การเข้า-ออกโค้งทำได้อย่างเต็มที่และสนุกสนาน ด้านพวงมาลัยไม่หนักไม่เบาจนเกินไป ควบคุมถนัดมือพร้อมบังคับเลี้ยวได้เฉียบคม เห็นว่าวิศวกรมาสด้าเขาปรับอัตราทดพวงมาลัยลงอีกหน่อย เพื่อให้สมดุลกับสมรรถนะด้านอื่นๆของรถ ไม่ว่าจะเป็นช่วงล่าง เบรก ตัวถัง
อย่างช่วงล่างที่ด้านหน้าเป็นแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ด้านหลังเป็นมัลติลิงค์พร้อมจัดวางตำแหน่งเทรลลิงอาร์มใหม่ เมื่อรวมกับการปรับปรุงในส่วนอื่นๆ จึงช่วยลดแรงหน่วง และลดการสะเทือนในแนวตั้งได้เป็นอย่างดี
มาสด้า3 คันที่ได้ขับใช้ล้ออัลลอยขนาด 18 นิ้ว ประกบยางของโตโยไทร์ ขนาด 215/45 R18 แม้จะเป็นแก้มเตี้ย แต่การรองรับยังนุ่มพอสมควร ส่วนการทรงตัวเมื่อขับขี่ความเร็วสูงให้ความมั่นใจ ด้วยช่วงล่างแน่นๆ พวงมาลัยนิ่งๆ ที่สำคัญยังคงจุดเด่นเมื่อขับเข้าโค้งแรงๆ ตัวรถแทบไม่เสียอาการ สามารถเลียดเลาะเอเปกไปได้แบบพลิ้วๆ หรือไม่ต้องลุ้นไม่ต้องแก้ไขให้เหนื่อย
ส่วนการตอบสนองของแป้นเบรก ออกแนวนุ่มนวล พร้อมชะลอการหยุดได้ตามระยะที่คาดหมาย สอดคล้องกับช่วงล่างที่เนียนหนึบ จนเรียกได้ว่ามาสด้า3 ใหม่ กลายเป็นรถมีคลาส สามารถยกระดับจากคอมแพกต์คาร์ยี่ห้ออื่นๆขึ้นไปอีกขั้น
ปิดท้ายด้วยประเด็นออปชันความปลอดภัย ที่มาสด้าคุยว่าจัดมาเป็นครั้งแรกคือ i-ACTIVSENSE ซึ่งประกอบไปด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะมากมาย ไล่ตั้งแต่ ระบบเตือนภัยจากวัตถุที่เคลื่อนเข้ามาด้านหลัง Rear Vehicle Monitoring (RVM) และระบบช่วยหยุดรถอัจฉริยะ Smart City Brake Support (SCBS) ที่จะเบรกให้อัตโนมัติ กรณีขับที่ความเร็ว 4-30 กม./ชม. โดยเมื่อชุดเลเซอร์เซนเซอร์ด้านหน้าตรวจจับวัตถุสิ่งกีดขวาง ระบบจะทำการคำนวณความเสี่ยงในการเกิดการชนปะทะ และจะสั่งการไปที่แป้นเบรกให้กดตัวลงในทันทีเพื่อทำการหยุดรถเมื่อผู้ขับขี่มิได้มีการบังคับควบคุมเพื่อหลีกเลี่ยงการชนปะทะในขณะนั้น
…แน่นอนว่าสองออปชันนี้อาจจะมาในรุ่นท็อปๆ และต้องมารอดูอีกทีว่ามาสด้าจะทำราคาได้น่าสนใจขนาดไหน อย่างไรก็ตามพวกระบบมาตรฐานที่จัดมาไม่ได้ขาดก็น่าจะมีพวก ถุงลมนิรภัย 6 จุด คู่หน้า ด้านข้าง และม่านนิรภัย ตลอดจนพนังพิงศีรษะด้านหน้าที่ช่วยลดการกระแทก (Whiplash-reducing front headrests)
ระบบดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อพร้อมครีบระบายความร้อน และระบบป้องกันล้อล็อค (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก Electronic Brake-force Distribution (EBD) และระบบช่วยเบรก Brake Assist (BA) ระบบไฟส่องสว่างอัตโนมัติขณะกลางวัน Daytime Running Lights ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว Dynamic Stability Control (DSC) ระบบป้องกันการลื่นไถล Traction Control System (TCS)
รวบรัดตัดความ…วิศวกรมาสด้าแจ้งว่าขุมพลังสกายแอคทีฟบล็อกนี้ จะให้อัตราบริโภคน้ำมันต่ำกว่ารุ่นเครื่องยนต์ 1.6 เดิม และเมื่อเทียบกับพิกัด 2.0 ลิตรเท่ากันของเครื่องยนต์รุ่นเก่า จะประหยัดน้ำมันกว่า20%
โดยมาสด้า3 ใหม่ ที่เตรียมขายแต่เครื่องยนต์ขนาด 2.0 ลิตร จะเคลมให้รองรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ส่งผลให้ทำราคาลงได้ระดับหนึ่ง ซึ่งการทำตลาดมาสด้าน่าจะจัดรุ่นย่อยลงมา ตีกินรถกลุ่มคอมแพกต์เครื่องยนต์ 1.8 ของคู่แข่ง พร้อมราคาเริ่มต้นต้องมีเลข 8 นำหน้าครับ