ต้องบอกว่าร้อนแรงตามสภาพอากาศ สำหรับ “มาสด้า 3 โฉมใหม่” เจเนอเรชันที่3 ยิ่งใครมีโอกาสเดินในงานบางกอกมอเตอร์โชว์ 2014 ที่ผ่านมา ต้องบอกว่าบูทแทบแตก เพราะผู้คนให้ความสนใจล้นหลามถามข้อมูลกับเพียบ เมื่อรู้ว่าคอมแพกต์คาร์ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตรรุ่นนี้ มีราคาเริ่มต้นเพียง 8 แสนกว่าๆเท่านั้น
…เห็นว่าล่าสุดมาสด้า3 ใหม่ มียอดค้างส่งมอบกว่า 2,600 คัน หรือลูกค้าจองแล้วต้องรอรถประมาณ 2 เดือน
มาสด้า3ใหม่ ยังมากับตัวถังซีดานและแฮทช์แบ็ก ซึ่งรวมแล้วมี 7 รุ่นย่อย ราคา 8.33 แสนบาท - 1.094 ล้านบาท ทั้งหมดวางเครื่องยนต์เบนซิน “แอคทีฟ-จี” ขนาด 2.0 ลิตร (เดิมมี 1.6 ลิตร กับ 2.0 ลิตร) รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ E85 ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด
ด้วยเทคโนโลยีสกายแอคทีฟทั้งคันไล่ตั้งแต่ ตัวถัง ช่วงล่าง เครื่องยนต์ เกียร์ และการออกแบบสไตล์ “โคโดะ” ซึ่งเป็นแนวทางของมาสด้ายุคใหม่ (หน้าตาจะคล้ายๆกันหมด) เน้นรูปทรงโฉบเฉี่ยว ลู่ลม แถมน้ำหนักตัวเบากว่าเดิม จึงช่วยส่งเสริมสมรรถนะการขับขี่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันมาสด้าย้ำว่ารุ่นใหม่ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร จะกินน้ำมันน้อยกว่า “มาสด้า3รุ่นเก่า” ที่วางเครื่องยนต์ 1.6 ลิตรแน่นอน
การขับขี่จริงผู้เขียนได้ลองตัวท็อปของตัวถังแฮทช์แบ็ก 2.0SP Sport ราคา 1.094 ล้านบาท และตัวท็อปซีดาน 2.0S ราคา 9.74 แสนบาท ซึ่งตัวถังแฮทช์แบ็กจะมาพร้อมปลายท่อไอเสียโครเมียมคู่ครบทุกรุ่นย่อย แต่ในรุ่นท็อปราคาเกินล้านจะมาต่างกันตรงออปชันภายใน(เป็นรุ่นเดียวที่มี) อย่างเบาะนั่งเป็นสีครีม ใช้กุญแจอัจฉริยะ(Keyless) มีระบบนำทาง Navigator และแพดเดิ้ลชิฟท์เปลี่ยนเกียร์หลังพวงมาลัย
รวมถึงความปลอดภัย ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดที่สายตาผู้ขับมองไม่เห็น Rear Vehicle Monitoring (RVM) และระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ Smart City Brake Support (SCBS) ที่จะทำงานขณะขับความเร็ว 4-30 กม/ชม. เมื่อเซนเซอร์ด้านหน้าตรวจจับวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง ระบบจะทำการคำนวณความเสี่ยงในการเกิดการชน พร้อมเบรกให้รถหยุดหัวทิ่มทันที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ(มีในคู่แข่งอย่างฟอร์ด โฟกัส เช่นกัน)
….นั่นเป็นเทคโนโลยีสุดล้ำที่มาสด้าใส่เข้ามาในรุ่นท็อป แต่ถ้าพิจารณาอุปกรณ์มาตรฐานตั้งแต่รุ่นล่าง 2.0E ราคา 8.33 แสนบาท มาสด้าก็จัดมาให้ไม่ขี้เหร่ ทั้ง ปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบดิสก์เบรกสี่ล้อพร้อมครีบระบายความร้อน ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก Electronic Brake-force Distribution (EBD) ระบบช่วยเบรก Brake Assist (BA) และระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว Dynamic Stability Control (DSC) ระบบป้องกันการลื่นไถล Traction Control System (TCS)
สำหรับการทดสอบเราเริ่มขับจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัดเข้าทางหลวง 401 เส้นเขาสก(เขื่อนรัชประภา) มุ่งสู่อำเภอคุระบุรี และขึ้นไปจบที่จังหวัดระนอง ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร ซึ่งตลอดเส้นทางเป็นถนนคอนกรีต สภาพดีเป็นส่วนมาก พร้อมโค้งซ้าย-ขวา ขึ้น-ลงเนินเขา งานนี้จึงได้เรียนรู้บุคลิกของมาสด้า3 ใหม่กันแบบถึงใจ
เริ่มจากตัวถังแฮทช์แบ็ก 2.0SP Sport หลังประจำตำแหน่งผู้ขับแล้วปรับเบาะด้วยระบบแมนวล(มือโยก)เรียบร้อย พบว่าเบาะนั่งปรับระดับได้เตี้ยสุดๆ โครงเบาะออกแบบรับกับสรีระมีปีกข้างรับชายโครง ให้ความรู้สึกกระชับ ส่วนทัศนวิสัยด้านหน้าแจ่มชัด เสาเอ-พิลลาร์ที่ลาดเอียงเข้ามามากอาจจะทำให้อึดอัดเล็กน้อยในช่วงแรก แต่ก็ไม่ได้บดบังมุมมองให้แย่จนน่าเกลียด เช่นเดียวกับจอ Active Driving Display ที่โผล่มาหลังพวงมาลัย เพื่อแสดงผลการขับขี่(อาทิเช่น ความเร็วรถ) ไม่ได้ทำให้รำคาญตา
ส่วนปุ่มควบคุมฟังก์ชันต่างๆของรถคล้ายๆ “ไอ-ไดร์ฟ”ของบีเอ็มดับเบิลยู ฝังไว้บริเวณคอนโซลกลาง(ใกล้ๆคันเกียร์) ใช้งานง่าย ช่วยให้เรียนรู้การทำงานได้เร็ว ไม่ว่าจะเรียกดู(ฟัง)เพลง ระบบนำทาง และโทรศัพท์ พร้อมแสดงผลบนหน้าจอสีแบบทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว ขับขี่กลางวันยังเห็นข้อมูลชัดพอสมควร
เรื่องการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร มาสด้าก็ทำการบ้านมาดีอยู่ในระดับต้นๆของคลาส พวกเสียงการจราจรจากภายนอก เสียงลมปะทะ เข้ามารบกวนน้อย หรือยอดเยี่ยมระดับเดียวกับ “ฟอร์ด โฟกัส” แต่อาจจะมีเสียงยางดันลอป SP Sport Maxx ขนาด 215/45R18 บดถนนเล็ดลอดเข้ามาบ้าง ตรงนี้ต่างจากมาสด้า3 เวอร์ชันญี่ปุ่น ที่มาสด้าเคยนำเข้ามาให้ผู้สื่อข่าวลองขับก่อนเปิดตัว ซึ่งตัว JDM นั้นใช้ยางซีรีย์เดียวกัน แต่เป็นของ“โตโยไทร์” ที่ให้ความเงียบกว่าชัดเจน
ด้านช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นมัลติลิงค์ พร้อมเหล็กกันโคลง รองรับแรงสั่นอาการสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ทั้งนี้มาสด้าได้ปรับปรุงเรื่องจุดยึด และวางตำแหน่งเทรลลิงอาร์มใหม่ หวังลดการสะเทือนในแนวตั้ง พร้อมคงพื้นสัมผัสของหน้ายางกับถนนให้มากขึ้น สอดคล้องกับการควบคุมพวงมาลัย(ผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า) ที่ตอบสนองดีกว่าเดิม โดยสั่งงานซ้าย-ขวา หรือเล็งทิศทางเข้า-ออกโค้งได้แม่นฉลุย
อย่างไรก็ตามแม้ช่วงล่างของมาสด้า 3 ใหม่จะออกแนวนุ่มนวลพร้อมความหนึบ แต่กระนั้นเรื่องการทรงตัวในโค้งผู้เขียนว่ารุ่นตัวถังซีดานจะให้เสถียรภาพดีกว่าตัวแฮทช์แบ็กนิดๆ ทั้งความโคลงและแรงกดต่างๆ ซึ่งคนกับรถเหมือนจะหลอมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแนวคิด “จินบะ อิไต” ของมาสด้า กล่าวคือการถ่ายเทน้ำหนักของรุ่นตัวถังซีดานจะสมดุลและให้อารมณ์ขับสนุกกว่าแฮทช์แบ็ก 5 ประตู
ส่วนเรี่ยวแรงของเครื่องยนต์เบนซินสกายแอคทีฟ-จี ขนาด 2.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 165 แรงม้าที่ 6,000 รอบ แรงบิดสูงสุด 210 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบ ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ขับจริงๆไม่ถึงกับพลุ่งพล่านหลังติดเบาะ แต่พลังจะปลดปล่อยออกมาแบบไหลลื่นต่อเนื่อง อัตราเร่งติดเท้าแบบเนียนๆ และถ้าต้องการแรงแบบกะทันหันก็มีให้ทันตามความต้องการ
ส่วนหนึ่งต้องชมเกียร์ 6 สปีดชุดนี้ของมาสด้า ที่ให้ทั้งความนุ่มนวลในการเปลี่ยนเกียร์ (คล้ายๆพวก CVT) และจังหวะเปลี่ยนเกียร์รวดเร็ว (เหมือนพวกดูอัลคลัทช์) ซึ่งมีผลโดยตรงกับบุคลิกของรถที่ให้ทั้งความสุภาพและความดุดัน ผสมกลมกลืนกันดี
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน มาสด้าคุยว่าประหยัดน้ำมันมากกว่า “มาสด้า3รุ่นเก่า” ที่วางเครื่องยนต์ 1.6 ลิตรแน่นอน แต่ในเมืองไทยยังไม่มีตัวเลขทดสอบอย่างเป็นทางการ ส่วนผลของการขับในทริปที่ใช้ความเร็วสูง ผ่านทางคดเคี้ยว เติมคันเร่งแรงๆบ่อยครั้ง สุดท้ายตัวเลขหน้าจอแสดงผลประมาณ 8ลิตรต่อ 100 กม. หรือ 12.5 กม./ลิตร (ใช้น้ำมันเบนซิน 95)
รวบรัดตัดความ...มาสด้า3 ใหม่ มีขายแต่รุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ต่างจากคู่แข่งที่มีทางเลือกหลากหลาย แต่ด้วยภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของแบรนด์ เน้นความเร้าใจในสมรรถนะ จึงไม่ถือเป็นการเสียโอกาสจากเหตุนี้มากนัก เช่นเดียวกับการพยายามสื่อสารว่าขุมพลังบล็อกดังกล่าวไม่ได้กินน้ำมันอย่างที่คิดด้วยเทคโนโลยีสกายแอคทีฟอันทันสมัย
ส่วนการขับขี่แทบจะหาที่ติลำบาก เครื่อง-เกียร์ผสานการทำงานลงตัว ช่วงล่างนุ่มหนึบ(แต่เหมือนตัวถังซีดานจะเนียนกว่า) การควบคุมเฉียบคม แต่สบายมือ พร้อมการเก็บเสียงภายในห้องโดยสารเยี่ยม...หลับตาขับพานให้นึกไปถึงอารมณ์ของ“ซีรีย์3”
…เห็นว่าล่าสุดมาสด้า3 ใหม่ มียอดค้างส่งมอบกว่า 2,600 คัน หรือลูกค้าจองแล้วต้องรอรถประมาณ 2 เดือน
มาสด้า3ใหม่ ยังมากับตัวถังซีดานและแฮทช์แบ็ก ซึ่งรวมแล้วมี 7 รุ่นย่อย ราคา 8.33 แสนบาท - 1.094 ล้านบาท ทั้งหมดวางเครื่องยนต์เบนซิน “แอคทีฟ-จี” ขนาด 2.0 ลิตร (เดิมมี 1.6 ลิตร กับ 2.0 ลิตร) รองรับน้ำมันแก็สโซฮอล์ E85 ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด
ด้วยเทคโนโลยีสกายแอคทีฟทั้งคันไล่ตั้งแต่ ตัวถัง ช่วงล่าง เครื่องยนต์ เกียร์ และการออกแบบสไตล์ “โคโดะ” ซึ่งเป็นแนวทางของมาสด้ายุคใหม่ (หน้าตาจะคล้ายๆกันหมด) เน้นรูปทรงโฉบเฉี่ยว ลู่ลม แถมน้ำหนักตัวเบากว่าเดิม จึงช่วยส่งเสริมสมรรถนะการขับขี่ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันมาสด้าย้ำว่ารุ่นใหม่ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร จะกินน้ำมันน้อยกว่า “มาสด้า3รุ่นเก่า” ที่วางเครื่องยนต์ 1.6 ลิตรแน่นอน
การขับขี่จริงผู้เขียนได้ลองตัวท็อปของตัวถังแฮทช์แบ็ก 2.0SP Sport ราคา 1.094 ล้านบาท และตัวท็อปซีดาน 2.0S ราคา 9.74 แสนบาท ซึ่งตัวถังแฮทช์แบ็กจะมาพร้อมปลายท่อไอเสียโครเมียมคู่ครบทุกรุ่นย่อย แต่ในรุ่นท็อปราคาเกินล้านจะมาต่างกันตรงออปชันภายใน(เป็นรุ่นเดียวที่มี) อย่างเบาะนั่งเป็นสีครีม ใช้กุญแจอัจฉริยะ(Keyless) มีระบบนำทาง Navigator และแพดเดิ้ลชิฟท์เปลี่ยนเกียร์หลังพวงมาลัย
รวมถึงความปลอดภัย ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดที่สายตาผู้ขับมองไม่เห็น Rear Vehicle Monitoring (RVM) และระบบช่วยหยุดรถอัตโนมัติ Smart City Brake Support (SCBS) ที่จะทำงานขณะขับความเร็ว 4-30 กม/ชม. เมื่อเซนเซอร์ด้านหน้าตรวจจับวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง ระบบจะทำการคำนวณความเสี่ยงในการเกิดการชน พร้อมเบรกให้รถหยุดหัวทิ่มทันที เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ(มีในคู่แข่งอย่างฟอร์ด โฟกัส เช่นกัน)
….นั่นเป็นเทคโนโลยีสุดล้ำที่มาสด้าใส่เข้ามาในรุ่นท็อป แต่ถ้าพิจารณาอุปกรณ์มาตรฐานตั้งแต่รุ่นล่าง 2.0E ราคา 8.33 แสนบาท มาสด้าก็จัดมาให้ไม่ขี้เหร่ ทั้ง ปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ ถุงลมนิรภัยคู่หน้า ระบบดิสก์เบรกสี่ล้อพร้อมครีบระบายความร้อน ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค (ABS) ระบบกระจายแรงเบรก Electronic Brake-force Distribution (EBD) ระบบช่วยเบรก Brake Assist (BA) และระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว Dynamic Stability Control (DSC) ระบบป้องกันการลื่นไถล Traction Control System (TCS)
สำหรับการทดสอบเราเริ่มขับจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัดเข้าทางหลวง 401 เส้นเขาสก(เขื่อนรัชประภา) มุ่งสู่อำเภอคุระบุรี และขึ้นไปจบที่จังหวัดระนอง ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร ซึ่งตลอดเส้นทางเป็นถนนคอนกรีต สภาพดีเป็นส่วนมาก พร้อมโค้งซ้าย-ขวา ขึ้น-ลงเนินเขา งานนี้จึงได้เรียนรู้บุคลิกของมาสด้า3 ใหม่กันแบบถึงใจ
เริ่มจากตัวถังแฮทช์แบ็ก 2.0SP Sport หลังประจำตำแหน่งผู้ขับแล้วปรับเบาะด้วยระบบแมนวล(มือโยก)เรียบร้อย พบว่าเบาะนั่งปรับระดับได้เตี้ยสุดๆ โครงเบาะออกแบบรับกับสรีระมีปีกข้างรับชายโครง ให้ความรู้สึกกระชับ ส่วนทัศนวิสัยด้านหน้าแจ่มชัด เสาเอ-พิลลาร์ที่ลาดเอียงเข้ามามากอาจจะทำให้อึดอัดเล็กน้อยในช่วงแรก แต่ก็ไม่ได้บดบังมุมมองให้แย่จนน่าเกลียด เช่นเดียวกับจอ Active Driving Display ที่โผล่มาหลังพวงมาลัย เพื่อแสดงผลการขับขี่(อาทิเช่น ความเร็วรถ) ไม่ได้ทำให้รำคาญตา
ส่วนปุ่มควบคุมฟังก์ชันต่างๆของรถคล้ายๆ “ไอ-ไดร์ฟ”ของบีเอ็มดับเบิลยู ฝังไว้บริเวณคอนโซลกลาง(ใกล้ๆคันเกียร์) ใช้งานง่าย ช่วยให้เรียนรู้การทำงานได้เร็ว ไม่ว่าจะเรียกดู(ฟัง)เพลง ระบบนำทาง และโทรศัพท์ พร้อมแสดงผลบนหน้าจอสีแบบทัชสกรีนขนาด 7 นิ้ว ขับขี่กลางวันยังเห็นข้อมูลชัดพอสมควร
เรื่องการเก็บเสียงภายในห้องโดยสาร มาสด้าก็ทำการบ้านมาดีอยู่ในระดับต้นๆของคลาส พวกเสียงการจราจรจากภายนอก เสียงลมปะทะ เข้ามารบกวนน้อย หรือยอดเยี่ยมระดับเดียวกับ “ฟอร์ด โฟกัส” แต่อาจจะมีเสียงยางดันลอป SP Sport Maxx ขนาด 215/45R18 บดถนนเล็ดลอดเข้ามาบ้าง ตรงนี้ต่างจากมาสด้า3 เวอร์ชันญี่ปุ่น ที่มาสด้าเคยนำเข้ามาให้ผู้สื่อข่าวลองขับก่อนเปิดตัว ซึ่งตัว JDM นั้นใช้ยางซีรีย์เดียวกัน แต่เป็นของ“โตโยไทร์” ที่ให้ความเงียบกว่าชัดเจน
ด้านช่วงล่างหน้าแบบแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นมัลติลิงค์ พร้อมเหล็กกันโคลง รองรับแรงสั่นอาการสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี ทั้งนี้มาสด้าได้ปรับปรุงเรื่องจุดยึด และวางตำแหน่งเทรลลิงอาร์มใหม่ หวังลดการสะเทือนในแนวตั้ง พร้อมคงพื้นสัมผัสของหน้ายางกับถนนให้มากขึ้น สอดคล้องกับการควบคุมพวงมาลัย(ผ่อนแรงด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า) ที่ตอบสนองดีกว่าเดิม โดยสั่งงานซ้าย-ขวา หรือเล็งทิศทางเข้า-ออกโค้งได้แม่นฉลุย
อย่างไรก็ตามแม้ช่วงล่างของมาสด้า 3 ใหม่จะออกแนวนุ่มนวลพร้อมความหนึบ แต่กระนั้นเรื่องการทรงตัวในโค้งผู้เขียนว่ารุ่นตัวถังซีดานจะให้เสถียรภาพดีกว่าตัวแฮทช์แบ็กนิดๆ ทั้งความโคลงและแรงกดต่างๆ ซึ่งคนกับรถเหมือนจะหลอมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแนวคิด “จินบะ อิไต” ของมาสด้า กล่าวคือการถ่ายเทน้ำหนักของรุ่นตัวถังซีดานจะสมดุลและให้อารมณ์ขับสนุกกว่าแฮทช์แบ็ก 5 ประตู
ส่วนเรี่ยวแรงของเครื่องยนต์เบนซินสกายแอคทีฟ-จี ขนาด 2.0 ลิตร ให้กำลังสูงสุด 165 แรงม้าที่ 6,000 รอบ แรงบิดสูงสุด 210 นิวตันเมตร ที่ 4,000 รอบ ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด ขับจริงๆไม่ถึงกับพลุ่งพล่านหลังติดเบาะ แต่พลังจะปลดปล่อยออกมาแบบไหลลื่นต่อเนื่อง อัตราเร่งติดเท้าแบบเนียนๆ และถ้าต้องการแรงแบบกะทันหันก็มีให้ทันตามความต้องการ
ส่วนหนึ่งต้องชมเกียร์ 6 สปีดชุดนี้ของมาสด้า ที่ให้ทั้งความนุ่มนวลในการเปลี่ยนเกียร์ (คล้ายๆพวก CVT) และจังหวะเปลี่ยนเกียร์รวดเร็ว (เหมือนพวกดูอัลคลัทช์) ซึ่งมีผลโดยตรงกับบุคลิกของรถที่ให้ทั้งความสุภาพและความดุดัน ผสมกลมกลืนกันดี
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน มาสด้าคุยว่าประหยัดน้ำมันมากกว่า “มาสด้า3รุ่นเก่า” ที่วางเครื่องยนต์ 1.6 ลิตรแน่นอน แต่ในเมืองไทยยังไม่มีตัวเลขทดสอบอย่างเป็นทางการ ส่วนผลของการขับในทริปที่ใช้ความเร็วสูง ผ่านทางคดเคี้ยว เติมคันเร่งแรงๆบ่อยครั้ง สุดท้ายตัวเลขหน้าจอแสดงผลประมาณ 8ลิตรต่อ 100 กม. หรือ 12.5 กม./ลิตร (ใช้น้ำมันเบนซิน 95)
รวบรัดตัดความ...มาสด้า3 ใหม่ มีขายแต่รุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ต่างจากคู่แข่งที่มีทางเลือกหลากหลาย แต่ด้วยภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของแบรนด์ เน้นความเร้าใจในสมรรถนะ จึงไม่ถือเป็นการเสียโอกาสจากเหตุนี้มากนัก เช่นเดียวกับการพยายามสื่อสารว่าขุมพลังบล็อกดังกล่าวไม่ได้กินน้ำมันอย่างที่คิดด้วยเทคโนโลยีสกายแอคทีฟอันทันสมัย
ส่วนการขับขี่แทบจะหาที่ติลำบาก เครื่อง-เกียร์ผสานการทำงานลงตัว ช่วงล่างนุ่มหนึบ(แต่เหมือนตัวถังซีดานจะเนียนกว่า) การควบคุมเฉียบคม แต่สบายมือ พร้อมการเก็บเสียงภายในห้องโดยสารเยี่ยม...หลับตาขับพานให้นึกไปถึงอารมณ์ของ“ซีรีย์3”