ประจำทุกช่วงก่อนสิ้นปี หรือต้นปีถัดไป จะมีการมอบรางวัลเกี่ยวกับรถยนต์ โดยปัจจุบันมีหลายรูปแบบหลายประเภท ตามหลักและวิธีการสำรวจที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักใหญ่ๆ มีอยู่ 2 แบบ คือการสำรวจและตัดสินใจจากคณะบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ และอีกแบบเป็นการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้รถโดยตรง เพื่อหาค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด ในไทยที่ใช้หลักเกณฑ์นี้มอบรางวัล จะเป็นของ "เจ.ดี.พาวเวอร์" และรางวัล "TAQA Award" ซึ่งล่าสุดทั้งสองสำนักได้เปิดเผยรถยนต์ที่ได้รับความวางใจจากมวลมหาประชาชนชาวไทยออกมาแล้ว ส่วนยี่ห้อ/รุ่น และมีสิ่งบ่งชี้อะไรบ้าง? ตรงกันหรือไม่? “ASTV ผู้จัดการมอเตอริ่ง” จะพาไปดูกัน…
ทั้งสองรางวัลได้มีการเปิดเผยเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเริ่มจาก เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก (J.D. Power Asia Pacific 2013 Thailand Initial Quality StudySM (IQS)) ที่ทำการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2556 จากการประเมินคำตอบของเจ้าของรถใหม่จำนวน 5,015 ราย ที่ซื้อรถในช่วงเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถกระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์จำนวนทั้งสิ้น 78 รุ่น จากทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน 2556
จากการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2556 ของเจ.ดี.พาวเวอร์ มีการจัด 3 อันดับแยกแต่ละประเภทรถยนต์ และต้องมีค่าคุณภาพรถดีกว่าค่าเฉลี่ย(ต่อปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน (PP100) หรือคะแนนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแสดงถึงคุณภาพรถยนต์ที่ดีกว่า) อย่างน้อย 1 รุ่น ทำให้การจัดอันดับของเจ.ดี.พาวเวอร์ครั้งนี้ ไม่สามารถจัดอันดับกลุ่มประเภทรถยนต์หรูหรา (Luxury Car) และกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์(MPV) ได้ (ดูแผนภูมิและกราฟประกอบ)
ปรากฎว่าอันดับหนึ่งประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก “ฮอนด้า บริโอ้” ได้ค่าคุณภาพ 62 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็ก 108 ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลางระดับต้น “ฮอนด้า ซิตี้” 58 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 77 รถยนต์ขนาดกลางดีสุด “มาสด้า 3” ทำได้ 52 จากค่าเฉลี่ยกลุ่ม 75 รถยนต์ขนาดกลางพรีเมียม “โตโยต้า คัมรี ไฮบริด” ค่าคุณภาพรถ 30 และเป็นเพียงรุ่นที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 67 รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง (SUV) “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” ทำได้ดีสุด 61 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 78
ด้านรถกระบะตอนเดียว “โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์” มีค่าคุณภาพรถดีสุด 60 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 89 เช่นเดียวกับรถกระบะตอนขยาย(Pickup Extended Cab) ที่โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์ สมาร์ท ทำได้ดีเป็นอันดับหนึ่งจำนวน 78 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 96 และรถกระบะ 4 ประตู ยังเป็นโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์ พรีรันเนอร์-ดีแค็บ ทำดีสุด 70 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 84
เจ.ดี.พาวเวอร์ ยังมีข้อมูลสำคัญที่ได้จากการผลสำรวจครั้งนี้ พบว่าค่าเฉลี่ยคุณภาพรถใหม่โดยรวมอยู่ที่ 84 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน (PP100) ในปี 2556 เมื่อเทียบกับ 116 ปัญหา ต่อรถยนต์ 100 คัน ของปีที่แล้ว โดย 44% ของเจ้าของรถใหม่ไม่พบปัญหาหรือความผิดปกติใดๆ ในช่วง 2-6 เดือนแรกของการใช้งาน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากครั้งก่อน และเจ้าของรถขนาดกลางระดับพรีเมี่ยมเป็นกลุ่มที่พบปัญหา หรือความผิดปกติของรถน้อยที่สุด (55 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน) ในขณะที่เจ้าของรถขนาดเล็ก เป็นกลุ่มที่พบปัญหาหรือความผิดปกติของรถมากที่สุด (108 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)
สำหรับปัญหาเสียงลมภายนอกดังเข้าห้องโดยสารมากเกินไป ยังคงเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด พบว่าปัญหานี้เกิดขึ้นถึง 1 ใน 8 ของเจ้าของรถใหม่ และแม้ว่าจำนวนปัญหาหรือความผิดปกติของรถที่พบโดยเฉลี่ยลดลง แต่ปัญหาเบรกมีเสียงดัง, ปัญหาจากเครื่องยนต์รอบเดินเบา และแผงหน้าปัด/ คอนโซลมีเสียงรบกวน/กอกแกก กลับเพิ่มขึ้นในปี 2556 เมื่อเทียบกับปี 2555 ขณะที่ปัญหารถกินน้ำมันมากเกินไป เป็นหนึ่งในห้าปัญหาที่พบมากที่สุด ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า น้อยกว่า 1 ใน 3 ของเจ้าของรถได้รับการแจ้งถึงประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมัน
ในส่วนของรางวัลที่ประกาศตามออกมาไล่ๆ กัน รางวัล TAQA Award (Thailand Automobile Quality Award) หรือรางวัลธุรกิจยานยนต์ยอดนิยม ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปี 12 แล้ว เป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม, บริษัท คัสต้อม เอเชีย จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดมากว่า 30 ปี, หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ และบริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงานมหกรรมยานยนต์ หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป
รางวัล TAQA Award พิจารณาจากผลสำรวจวิจัยเชิงปริมาณกับผู้ใช้รถทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2556 นี้ได้กำหนดให้สุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถจากพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือน ด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทางโทรศัพท์ จำนวน 6,700 ราย และที่สำคัญจะต้องเป็นรถที่ใช้มาไม่เกิน 6 เดือน เพื่อบ่งชี้คุณภาพของรถจากโรงงานโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากปัญหาการใช้รถมานาน โดยการสำรวจทำครอบคลุมรถยนต์กว่า 45 รุ่น จาก 12 ยี่ห้อ
หลักเกณฑ์ในการสำรวจวิจัย แบ่งออกเป็นคุณภาพการบริการทางด้านการซื้อ-ขายรถใหม่ ความพึงพอใจในคุณภาพรถแรกใช้ และการบริการหลังการขาย แต่ในรายงานนี้จะโฟกัสไปที่ความพึงพอใจในคุณภาพรถแรกใช้ ซึ่งคำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจจากการได้ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก
จากการสำรวจจากผู้ใช้รถโดยตรง ปรากฎว่ารางวัล TAQA Award ด้านคุณภาพแรกใช้ผลิตภัณฑ์ ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล- อีโคคาร์ ประจำปี 2556 “มิตซูบิชิ มิราจ” คว้าไปครอง ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็ก ตกเป็นของ “โตโยต้า วีออส” ส่วนประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดกลางเล็ก หรือคอมแพ็กต์คาร์ “นิสสัน ซิลฟี” สอดแทรกเข้ามาคว้าไปได้ แต่ขยับขึ้นมาประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดกลางยังเป็น “โตโยต้า คัมรี” ขณะที่ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลระดับหรูหรา ไม่ว่าจะขนาดกลาง-เล็ก และขนาดกลางใหญ่ ค่ายตราดาวเมอร์เซเดส-แบนซ์ กวาดไปจากรุ่น “ซี-คลาส” และ “อี-คลาส” ตามลำดับ
ส่วนรางวัลคุณภาพแรกใช้ผลิตภัณฑ์ ประเภทรถยนต์กิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” คว้าไปครอง แต่ในส่วนของประเภทรถกระบะดัดแปลงอเนกประสงค์ (PPV) กลับมาเป็นของโตโยต้ากับรุ่น “ฟอร์จูนเนอร์” เช่นเดียวกับรางวัลประเภทรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ หรือกระบะ “โตโยต้า วีโก้” กวาดไปหมด ทั้งประเภทขนาด 1 ตัน แบบ 4 ประตู ขนาด 1 ตัน แบบ 2 ประตู ขับเคลื่อน 4 ล้อ และขนาด 1 ตัน แบบ 2 ประตู ขับเคลื่อน 2 ล้อ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 รางวัล TAQA Award ได้มีการเพิ่มประเภทรางวัลด้านคุณแรกใช้ผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน 5 ดาว ซึ่งได้รับคะแนนจากการสำรวจของผู้ใช้เกิน 900 คะแนน จากคะแนนเต็ม 1,000 ซึ่งตามหลักสากลรถที่ได้คะแนนระดับนี้ ถือเป็นรถที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง ปรากฎว่าในส่วนของกระบะขนาด 1 ตัน แบบ 4 ประตู และ 2 ประตู ขับเคลื่อน 2 ล้อ “มาสด้า บีที-50” คว้าไปครอง โดยมี “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “อีซูซุ ดีแมคซ์” ได้ควบคู่ไปด้วย ในรุ่นกระบะ 2 ประตู ขับเคลื่อน 2 ล้อ ขณะที่รถกระบะดัดแปลงอเนกประสงค์ (PPV) เป็นของ “อีซูซุ มิว-7”
สำหรับกลุ่มประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ฮอนด้ารับไปทั้งประเภทรถขนาดเล็ก และขนาดกลางเล็ก จาก "ฮอนด้า ซิตี้" และรุ่น "ซีวิค" ตามลำดับ โดยในประเภทขนาดกลางเล็กยังรุ่น “โตโยต้า อัลติส” และ “โตโยต้า พริอุส” ที่ได้รับรางวัลคุณภาพแรกใช้ผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน 5 ดาวด้วยเช่นกัน
จากการสำรวจและศึกษาวิจัยของทั้ง 2 สำนัก จะเห็นว่า “โตโยต้า” และ “ฮอนด้า” ค่อนข้างได้รับความวางใจจากผู้ใช้รถมากที่สุด ส่วนจะตรงใจท่านผู้อ่านหรือไม่? ลองเทียบเคียงดู…
ทั้งสองรางวัลได้มีการเปิดเผยเมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยเริ่มจาก เจ.ดี. พาวเวอร์ เอเชีย แปซิฟิก (J.D. Power Asia Pacific 2013 Thailand Initial Quality StudySM (IQS)) ที่ทำการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2556 จากการประเมินคำตอบของเจ้าของรถใหม่จำนวน 5,015 ราย ที่ซื้อรถในช่วงเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถกระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์จำนวนทั้งสิ้น 78 รุ่น จากทั้งหมด 13 ยี่ห้อ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในช่วงเดือนเมษายน-กันยายน 2556
จากการศึกษาวิจัยคุณภาพรถใหม่ในประเทศไทย ประจำปี 2556 ของเจ.ดี.พาวเวอร์ มีการจัด 3 อันดับแยกแต่ละประเภทรถยนต์ และต้องมีค่าคุณภาพรถดีกว่าค่าเฉลี่ย(ต่อปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน (PP100) หรือคะแนนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยแสดงถึงคุณภาพรถยนต์ที่ดีกว่า) อย่างน้อย 1 รุ่น ทำให้การจัดอันดับของเจ.ดี.พาวเวอร์ครั้งนี้ ไม่สามารถจัดอันดับกลุ่มประเภทรถยนต์หรูหรา (Luxury Car) และกลุ่มรถยนต์อเนกประสงค์(MPV) ได้ (ดูแผนภูมิและกราฟประกอบ)
ปรากฎว่าอันดับหนึ่งประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็ก “ฮอนด้า บริโอ้” ได้ค่าคุณภาพ 62 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่มรถยนต์ขนาดเล็ก 108 ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลางระดับต้น “ฮอนด้า ซิตี้” 58 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 77 รถยนต์ขนาดกลางดีสุด “มาสด้า 3” ทำได้ 52 จากค่าเฉลี่ยกลุ่ม 75 รถยนต์ขนาดกลางพรีเมียม “โตโยต้า คัมรี ไฮบริด” ค่าคุณภาพรถ 30 และเป็นเพียงรุ่นที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 67 รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูง (SUV) “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” ทำได้ดีสุด 61 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 78
ด้านรถกระบะตอนเดียว “โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์” มีค่าคุณภาพรถดีสุด 60 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 89 เช่นเดียวกับรถกระบะตอนขยาย(Pickup Extended Cab) ที่โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์ สมาร์ท ทำได้ดีเป็นอันดับหนึ่งจำนวน 78 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่ม 96 และรถกระบะ 4 ประตู ยังเป็นโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ แชมป์ พรีรันเนอร์-ดีแค็บ ทำดีสุด 70 จากค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 84
เจ.ดี.พาวเวอร์ ยังมีข้อมูลสำคัญที่ได้จากการผลสำรวจครั้งนี้ พบว่าค่าเฉลี่ยคุณภาพรถใหม่โดยรวมอยู่ที่ 84 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน (PP100) ในปี 2556 เมื่อเทียบกับ 116 ปัญหา ต่อรถยนต์ 100 คัน ของปีที่แล้ว โดย 44% ของเจ้าของรถใหม่ไม่พบปัญหาหรือความผิดปกติใดๆ ในช่วง 2-6 เดือนแรกของการใช้งาน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากครั้งก่อน และเจ้าของรถขนาดกลางระดับพรีเมี่ยมเป็นกลุ่มที่พบปัญหา หรือความผิดปกติของรถน้อยที่สุด (55 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน) ในขณะที่เจ้าของรถขนาดเล็ก เป็นกลุ่มที่พบปัญหาหรือความผิดปกติของรถมากที่สุด (108 ปัญหาต่อรถยนต์ 100 คัน)
สำหรับปัญหาเสียงลมภายนอกดังเข้าห้องโดยสารมากเกินไป ยังคงเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด พบว่าปัญหานี้เกิดขึ้นถึง 1 ใน 8 ของเจ้าของรถใหม่ และแม้ว่าจำนวนปัญหาหรือความผิดปกติของรถที่พบโดยเฉลี่ยลดลง แต่ปัญหาเบรกมีเสียงดัง, ปัญหาจากเครื่องยนต์รอบเดินเบา และแผงหน้าปัด/ คอนโซลมีเสียงรบกวน/กอกแกก กลับเพิ่มขึ้นในปี 2556 เมื่อเทียบกับปี 2555 ขณะที่ปัญหารถกินน้ำมันมากเกินไป เป็นหนึ่งในห้าปัญหาที่พบมากที่สุด ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า น้อยกว่า 1 ใน 3 ของเจ้าของรถได้รับการแจ้งถึงประสิทธิภาพการประหยัดน้ำมัน
ในส่วนของรางวัลที่ประกาศตามออกมาไล่ๆ กัน รางวัล TAQA Award (Thailand Automobile Quality Award) หรือรางวัลธุรกิจยานยนต์ยอดนิยม ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปี 12 แล้ว เป็นความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม, บริษัท คัสต้อม เอเชีย จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยตลาดมากว่า 30 ปี, หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการ และบริษัท สื่อสากล จำกัด ผู้จัดงานมหกรรมยานยนต์ หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป
รางวัล TAQA Award พิจารณาจากผลสำรวจวิจัยเชิงปริมาณกับผู้ใช้รถทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2556 นี้ได้กำหนดให้สุ่มตัวอย่างผู้ใช้รถจากพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือน ด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวทางโทรศัพท์ จำนวน 6,700 ราย และที่สำคัญจะต้องเป็นรถที่ใช้มาไม่เกิน 6 เดือน เพื่อบ่งชี้คุณภาพของรถจากโรงงานโดยตรง ไม่ใช่เกิดจากปัญหาการใช้รถมานาน โดยการสำรวจทำครอบคลุมรถยนต์กว่า 45 รุ่น จาก 12 ยี่ห้อ
หลักเกณฑ์ในการสำรวจวิจัย แบ่งออกเป็นคุณภาพการบริการทางด้านการซื้อ-ขายรถใหม่ ความพึงพอใจในคุณภาพรถแรกใช้ และการบริการหลังการขาย แต่ในรายงานนี้จะโฟกัสไปที่ความพึงพอใจในคุณภาพรถแรกใช้ ซึ่งคำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ และความพึงพอใจจากการได้ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นหลัก
จากการสำรวจจากผู้ใช้รถโดยตรง ปรากฎว่ารางวัล TAQA Award ด้านคุณภาพแรกใช้ผลิตภัณฑ์ ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล- อีโคคาร์ ประจำปี 2556 “มิตซูบิชิ มิราจ” คว้าไปครอง ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็ก ตกเป็นของ “โตโยต้า วีออส” ส่วนประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดกลางเล็ก หรือคอมแพ็กต์คาร์ “นิสสัน ซิลฟี” สอดแทรกเข้ามาคว้าไปได้ แต่ขยับขึ้นมาประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดกลางยังเป็น “โตโยต้า คัมรี” ขณะที่ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลระดับหรูหรา ไม่ว่าจะขนาดกลาง-เล็ก และขนาดกลางใหญ่ ค่ายตราดาวเมอร์เซเดส-แบนซ์ กวาดไปจากรุ่น “ซี-คลาส” และ “อี-คลาส” ตามลำดับ
ส่วนรางวัลคุณภาพแรกใช้ผลิตภัณฑ์ ประเภทรถยนต์กิจกรรมกลางแจ้ง (SUV) “ฮอนด้า ซีอาร์-วี” คว้าไปครอง แต่ในส่วนของประเภทรถกระบะดัดแปลงอเนกประสงค์ (PPV) กลับมาเป็นของโตโยต้ากับรุ่น “ฟอร์จูนเนอร์” เช่นเดียวกับรางวัลประเภทรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ หรือกระบะ “โตโยต้า วีโก้” กวาดไปหมด ทั้งประเภทขนาด 1 ตัน แบบ 4 ประตู ขนาด 1 ตัน แบบ 2 ประตู ขับเคลื่อน 4 ล้อ และขนาด 1 ตัน แบบ 2 ประตู ขับเคลื่อน 2 ล้อ
อย่างไรก็ตาม ในปี 2556 รางวัล TAQA Award ได้มีการเพิ่มประเภทรางวัลด้านคุณแรกใช้ผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน 5 ดาว ซึ่งได้รับคะแนนจากการสำรวจของผู้ใช้เกิน 900 คะแนน จากคะแนนเต็ม 1,000 ซึ่งตามหลักสากลรถที่ได้คะแนนระดับนี้ ถือเป็นรถที่มีมาตรฐานคุณภาพระดับสูง ปรากฎว่าในส่วนของกระบะขนาด 1 ตัน แบบ 4 ประตู และ 2 ประตู ขับเคลื่อน 2 ล้อ “มาสด้า บีที-50” คว้าไปครอง โดยมี “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “อีซูซุ ดีแมคซ์” ได้ควบคู่ไปด้วย ในรุ่นกระบะ 2 ประตู ขับเคลื่อน 2 ล้อ ขณะที่รถกระบะดัดแปลงอเนกประสงค์ (PPV) เป็นของ “อีซูซุ มิว-7”
สำหรับกลุ่มประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ฮอนด้ารับไปทั้งประเภทรถขนาดเล็ก และขนาดกลางเล็ก จาก "ฮอนด้า ซิตี้" และรุ่น "ซีวิค" ตามลำดับ โดยในประเภทขนาดกลางเล็กยังรุ่น “โตโยต้า อัลติส” และ “โตโยต้า พริอุส” ที่ได้รับรางวัลคุณภาพแรกใช้ผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน 5 ดาวด้วยเช่นกัน
จากการสำรวจและศึกษาวิจัยของทั้ง 2 สำนัก จะเห็นว่า “โตโยต้า” และ “ฮอนด้า” ค่อนข้างได้รับความวางใจจากผู้ใช้รถมากที่สุด ส่วนจะตรงใจท่านผู้อ่านหรือไม่? ลองเทียบเคียงดู…