ข่าวในประเทศ - ฮอนด้า ปลื้ม “ซีวิค ใหม่” คว้ามาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาวจาก ASEAN NCAP ผ่านฉลุยทั้ง การชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ และความปลอดภัยของผู้โดยสารที่เป็นเด็ก
รายงานจาก บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ว่า รถยนต์ฮอนด้า ซีวิคได้ผ่านการทดสอบการชน โดย ASEAN NCAP (ASEAN New Car Assessment Program) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์รุ่นใหม่ที่วางจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยฮอนด้า ซีวิค ผ่านการทดสอบสมรรถนะความปลอดภัยในระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ และได้คะแนน 82% ด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารที่เป็นเด็ก (Child Occupant Protection: COP) นับเป็นอีกหนึ่งความความสำเร็จ หลังจากเมื่อปี 2555 ที่ฮอนด้า ซิตี้ ผ่านการทดสอบความปลอดภัยระดับ 5 ดาว และด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารเด็กได้คะแนน 81% ฮอนด้าภูมิใจที่ได้นำเสนอรถยนต์ที่มีสมรรถนะความปลอดภัยระดับ 5 ดาว ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กและกลาง ถึง 2 รุ่น
การทดสอบการชนเพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์ของ ASEAN NCAP จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย (The Malaysian Institute of Road Safety Research: MIROS) กระทรวงคมนาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2554 สถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับ Global NCAP ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหราชอาณาจักร เพื่อมุ่งลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เร่งสร้างสรรค์ยานยนต์ที่มีระบบเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของยานยนต์ที่เชื่อถือได้สำหรับผู้บริโภคทั่วโลก
สถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย ถือเป็นสถาบันอิสระที่มีบทบาทหน้าที่ในการทดสอบการชนรถยนต์รุ่นใหม่ที่วางจำหน่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน การทดสอบการชนครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 (กุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2556) ซึ่งเป็นการทดสอบรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์สปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) และรถยนต์อเนกประสงค์ (MPV) จำนวนทั้งหมด 11 รุ่น รวมรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค ที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อส่งออกให้กับประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในกลุ่มรถยนต์ทดสอบ โดยรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค รุ่นนี้ มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยเหมือนกับรถยนต์ฮอนด้า ซีวิคที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย
สำหรับฮอนด้า ซีวิค ประกอบด้วยโครงสร้างตัวถังแบบ G-CON ที่ช่วยจัดการแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการชนด้านหน้า และลดระดับความเสียหายอันเป็นผลมาจากการชนกันระหว่างรถ ทั้งยังมีอุปกรณ์ความปลอดภัย มาตรฐาน เช่น ระบบป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าแบบดึงกลับอัตโนมัติ ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยด้านผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ถุงลมคู่หน้า Dual SRS ถุงลมด้านข้างคู่หน้าอัจฉริยะ i-Side Airbags ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว VSA และระบบพวงมาลัยพร้อมระบบช่วยควบคุมการบังคับพวงมาลัย (Motion Adaptive Electric Power Steering System : MA-EPS)* ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางของตัวรถได้อย่างแม่นยำ และช่วยลดการเกิดอาการหน้าดื้อโค้ง หรือท้ายปัดได้
ทั้งนี้การทดสอบการชนของ ASEAN NCAP เป็นการทดสอบการชนทางด้านหน้า ซึ่งรถยนต์ที่เข้าร่วมทดสอบจะพุ่งชนสิ่งกีดขวางซึ่งทำด้วยอลูมิเนียมที่ความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีหุ่นทดสอบขนาดผู้ใหญ่ 2 ตัว นั่งอยู่ด้านหน้า และหุ่นทดสอบขนาดเด็กจำลองอายุ 3 ปี และ 18 เดือน อย่างละ 1 ตัว นั่งอยู่ในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กทางด้านหลัง และบันทึกผลการทดสอบด้วยระบบเซนเซอร์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ตัวหุ่นทดสอบและที่รถยนต์ จากนั้นจึงเทียบผลที่ได้กับระดับความปลอดภัยของ NCAP
รายงานจาก บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ว่า รถยนต์ฮอนด้า ซีวิคได้ผ่านการทดสอบการชน โดย ASEAN NCAP (ASEAN New Car Assessment Program) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์รุ่นใหม่ที่วางจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยฮอนด้า ซีวิค ผ่านการทดสอบสมรรถนะความปลอดภัยในระดับ 5 ดาว จากการทดสอบการชนด้านหน้าแบบเยื้องศูนย์ และได้คะแนน 82% ด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารที่เป็นเด็ก (Child Occupant Protection: COP) นับเป็นอีกหนึ่งความความสำเร็จ หลังจากเมื่อปี 2555 ที่ฮอนด้า ซิตี้ ผ่านการทดสอบความปลอดภัยระดับ 5 ดาว และด้านความปลอดภัยของผู้โดยสารเด็กได้คะแนน 81% ฮอนด้าภูมิใจที่ได้นำเสนอรถยนต์ที่มีสมรรถนะความปลอดภัยระดับ 5 ดาว ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดเล็กและกลาง ถึง 2 รุ่น
การทดสอบการชนเพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์ของ ASEAN NCAP จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย (The Malaysian Institute of Road Safety Research: MIROS) กระทรวงคมนาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2554 สถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับ Global NCAP ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหราชอาณาจักร เพื่อมุ่งลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ควบคู่ไปกับการสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เร่งสร้างสรรค์ยานยนต์ที่มีระบบเพื่อความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลด้านความปลอดภัยของยานยนต์ที่เชื่อถือได้สำหรับผู้บริโภคทั่วโลก
สถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย ถือเป็นสถาบันอิสระที่มีบทบาทหน้าที่ในการทดสอบการชนรถยนต์รุ่นใหม่ที่วางจำหน่ายในกลุ่มประเทศอาเซียน การทดสอบการชนครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 (กุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2556) ซึ่งเป็นการทดสอบรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์สปอร์ตอเนกประสงค์ (SUV) และรถยนต์อเนกประสงค์ (MPV) จำนวนทั้งหมด 11 รุ่น รวมรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค ที่ผลิตในประเทศไทยเพื่อส่งออกให้กับประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในกลุ่มรถยนต์ทดสอบ โดยรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค รุ่นนี้ มีสมรรถนะด้านความปลอดภัยเหมือนกับรถยนต์ฮอนด้า ซีวิคที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย
สำหรับฮอนด้า ซีวิค ประกอบด้วยโครงสร้างตัวถังแบบ G-CON ที่ช่วยจัดการแรงกระแทกที่เกิดขึ้นจากการชนด้านหน้า และลดระดับความเสียหายอันเป็นผลมาจากการชนกันระหว่างรถ ทั้งยังมีอุปกรณ์ความปลอดภัย มาตรฐาน เช่น ระบบป้องกันล้อล็อก ABS ระบบกระจายแรงเบรก EBD เข็มขัดนิรภัยคู่หน้าแบบดึงกลับอัตโนมัติ ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยด้านผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ถุงลมคู่หน้า Dual SRS ถุงลมด้านข้างคู่หน้าอัจฉริยะ i-Side Airbags ระบบช่วยควบคุมการทรงตัว VSA และระบบพวงมาลัยพร้อมระบบช่วยควบคุมการบังคับพวงมาลัย (Motion Adaptive Electric Power Steering System : MA-EPS)* ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางของตัวรถได้อย่างแม่นยำ และช่วยลดการเกิดอาการหน้าดื้อโค้ง หรือท้ายปัดได้
ทั้งนี้การทดสอบการชนของ ASEAN NCAP เป็นการทดสอบการชนทางด้านหน้า ซึ่งรถยนต์ที่เข้าร่วมทดสอบจะพุ่งชนสิ่งกีดขวางซึ่งทำด้วยอลูมิเนียมที่ความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีหุ่นทดสอบขนาดผู้ใหญ่ 2 ตัว นั่งอยู่ด้านหน้า และหุ่นทดสอบขนาดเด็กจำลองอายุ 3 ปี และ 18 เดือน อย่างละ 1 ตัว นั่งอยู่ในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กทางด้านหลัง และบันทึกผลการทดสอบด้วยระบบเซนเซอร์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ตัวหุ่นทดสอบและที่รถยนต์ จากนั้นจึงเทียบผลที่ได้กับระดับความปลอดภัยของ NCAP