(เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ www.atimes.com)
Time for China and ASEAN to make up
By Karl Lee
09/08/2013
คำพูดคำแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน ระหว่างที่เขาตระเวนเยือนหลายประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าปักกิ่งยังคงมุ่งมั่นที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบรรดาชาติอาเซียน ถึงแม้มีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับเรื่องดินแดนเพิ่มมากขึ้นก็ตามที ทั้งนี้จีนยังกำลังเริ่มต้นแสดงให้เห็นความอดกลั้นเพิ่มขึ้นด้วย ต่อการที่บางประเทศเดี่ยวๆ ดำเนินการเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ด้วยความมุ่งหมายที่จะป้องกันตนเองจากการรุกคืบอย่างแข็งกร้าวของแดนมังกร ในสภาวการณ์เช่นนี้ อาเซียนจึงสามารถที่จะตอบแทนการผ่อนปรนอย่างนี้ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนคำจำกัดความเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับจีนกันใหม่อีกคำรบหนึ่ง
ในขณะที่ปักกิ่งพิจารณาครุ่นคิดถึงความเป็นไปได้ที่จะสถาปนา “ความเป็นหุ้นส่วนกัน” กับสหรัฐฯขึ้นมาใหม่อยู่นี้เอง แนวโน้มทำนองเดียวกันก็ดูเหมือนจะกำลังบังเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพวกชาติสมาชิกของสมาคมอาเซียนด้วย
ระหว่างการตระเวนเยือนหลายชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน ได้กล่าวย้ำอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า จีนจะยังคงเดินหน้าไปตาม “สูตร 3 เส้นทาง” (three-way formula) ของตนเอง ในการแก้ไขคลี่คลายกรณีพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับ 4 รัฐสมาชิกสมาคมอาเซียนซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลแห่งนั้นอย่างชนิดทับซ้อนกับแดนมังกร (4 ชาติดังกล่าวได้แก่ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, และบรูไน)
ในเวลาเดียวกับที่จีนเวลานี้ดูเหมือนอยู่ในโหมด “ป้องกันตัว” ("defensive" mode) เพื่อต่อสู้คัดค้าน “การทูตแบบมุ่งเน้นย้ำคุณค่าร่วม” (common values diplomacy) ของคณะรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น (การที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังเข้ามาเกี้ยวพาพวกชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแข็งขันในเวลานี้ คือตัวอย่างสำคัญซึ่งสาธิตให้เห็นความพยายามทางการทูตลักษณะนี้ของรัฐบาลอาเบะ) ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ หวัง ก็เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งยังมีความมุ่งมั่นอย่างสูงที่จะคงการมีการปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศอาเซียนเอาไว้ ถึงแม้มีการทะเลาะเบาะแว้งในระดับภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นก็ตามที
ระหว่างการตระเวนเยือนหลายชาติสมาชิกอาเซียนของรัฐมนตรีต่างประเทศแดนมังกรในเที่ยวนี้ ปักกิ่งได้ดำเนินการส่งสัญญาณอันสำคัญมาก 2 ประการต่อบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการแรก การเดินทางของ หวัง ในเที่ยวนี้ ได้นำเขาไปยังมาเลเซีย, ไทย, ลาว, และเวียดนาม ทว่าไม่มีฟิลิปปินส์รวมอยู่ด้วย นี่คือสัญญาณเครื่องบ่งชี้อันสำคัญทีเดียว ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการที่มาเลเซียกับเวียดนามต่างก็กำลังดำเนินยุทธศาสตร์แบบมุ่งประกันความเสี่ยง ด้วยการคบหาสมาคมใกล้ชิดกับมหาอำนาจรายอื่นๆ เพื่อเป็นการป้องกันทัดทานการรุกคืบอย่างแข็งกร้าวของแดนมังกร (โดยที่ทั้งสองชาติได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์เช่นนี้ในระดับที่แตกต่างกัน) มิได้ทำให้จีนถึงกับหันเหยกเลิกความปรารถนาที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศทั้งสอง ท่าทีเช่นนี้ต้องถือว่าตรงกันข้ามกับในอดีตที่ผ่านมา เมื่อเหล่าผู้ดำเนินนโยบายในปักกิ่งพร้อมที่จะแสดงออกมาให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งเปิดเผยว่าพวกเขาไม่พอใจประดาประเทศซึ่งทำท่าแข็งข้อไม่โอนอ่อน
การที่ หวัง เรียกร้องให้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้กับมาเลเซีย [1] และการที่เขากล่าวเน้นย้ำถึงความผูกพันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับเวียดนาม [2] เป็นสิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปักกิ่งกำลังแสดงความอดกลั้นอดทนเพิ่มขึ้นต่อการกระทำของรัฐเหล่านี้ ยิ่งกว่านั้น จีนยังกำลังคำนึงถึงความเป็นจริงมากขึ้นด้วยในความสัมพันธ์ที่ตนเองมีอยู่กับมาเลเซียและเวียดนาม โดยที่ไม่มีอีกแล้วที่แดนมังกรจะยอมปล่อยให้สภาวการณ์ซึ่งกัวลาลัมเปอร์กับฮานอยมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมหาอำนาจต่างประเทศรายอื่นๆ เข้ามาส่งผลกระทบกระเทือนความร่วมมือระดับทวิภาคีที่มีอยู่กับจีนโดยภาพรวม
ประการที่สอง จีนกำลังมองหาทางฟื้นฟูชุบชีวิตความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างแดนมังกรกับสมาคมอาเซียน ซึ่งได้มีการลงนามเป็นเอกสารกันไว้ตั้งแต่ปี 2003 ทว่ายังคงค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ ไม่ใช่เรื่องที่พูดเกินเลยไปหรอกถ้าหากจะกล่าวถึงภาพรวมของพัฒนาการในความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า ยังคงอยู่ในสภาพต่ำกว่าความคาดหวังสำหรับสายสัมพันธ์ทวิภาคีอันรอบด้านเช่นนี้ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดมาเป็นเกณฑ์วัดก็ตามที
ทั้งนี้นอกเหนือจากความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจซึ่งดูจะเป็นเนื้อเป็นหนังแล้ว การประสานงานกันระดับทวิภาคีระหว่างจีนกับอาเซียนในแวดวงการเมือง-ความมั่นคงนั้น ยังคงล้าหลังห่างไกลจากเรื่องเศรษฐกิจมากมายหลายช่วงตัวนัก สภาพแนวโน้มเช่นนี้ช่างตรงกันข้ามกับคำมั่นสัญญาที่เหล่าผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้เคยประกาศออกมาว่าจะสร้างความเป็นหุ้นส่วนกันอย่างรอบด้านขึ้นมาให้สำเร็จ ดังที่ระบุยืนยันอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ลงนามกันไว้เมื่อ 10 ปีก่อน
การเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งหลังสุดของ หวัง ซึ่งถือเป็นรอบที่ 3 แล้วนับตั้งแต่ที่เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของแดนมังกร จึงควรที่จะทำความเข้าใจภายในบริบทของความพยายามใหม่อีกคำรบหนึ่งของปักกิ่ง ที่จะแก้ไขคลี่คลายโครงสร้างความร่วมมือระหว่างจีนกับบรรดาชาติอาเซียน ซึ่งในเวลานี้ยังอยู่ในลักษณะที่ขาดความสมดุล
จากการที่ หวัง แถลงออกมาอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า จีนเลือกที่จะใช้วิธีการแบบค่อยๆก้าวไปอย่างช้าๆ ในการจัดทำ “แนวทางในการปฏิบัติ” (Code of Conduct) ในทะเลจีนใต้ กับบรรดารัฐอาเซียนซึ่งมี 4 รายที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับจีน[3] มันก็ดูเหมือนกับว่า ปักกิ่งกำลังหาทางที่จะเร่งรัดปรับปรุงแผนแม่บทแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ทำไว้กับเหล่าชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว (ซึ่งก็คือเอกสารประกาศความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนในปี 2003) ให้บังเกิดความทะมัดทะแมงยิ่งขึ้น โดยที่จะถือเรื่องนี้เป็นตัวนำหน้าตัวหนึ่ง (precursor) ในการสร้างสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมจูงใจ เพื่อให้เกิดการตกลงรอมชอมกันในกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้
สำหรับเหล่าชาติอาเซียนซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้แล้ว พวกเขาควรที่จะต้องมองให้ออกว่า ท่าทีอย่างเปิดเผยของ หวัง ในคราวนี้ ไม่ได้เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต หากแต่เป็นสิ่งพิเศษผิดธรรมดาสำหรับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคนไหนก็ตามที ในที่นี้เราจึงสามารถคาดหวังได้ว่า จีนกำลังอยู่ในภาวะที่พรักพร้อมยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน ในการมีปฏิสัมพันธ์กับเหล่าประเทศอาเซียนในช่วงระยะเวลาหลายๆ ปีต่อจากนี้ไป ดังนั้น นี่จึงต้องถือเป็นจังหวะเวลาอันสำคัญมากสำหรับบรรดารัฐสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนในทะเลจีนใต้อยู่กับจีนด้วยแล้ว สมควรที่จะต้องมองหาช่องทางเพื่อใช้ประโยชน์จากสภาวการณ์เช่นนี้
การขยายความร่วมมือทวิภาคีระหว่างจีนกับอาเซียนในแวดวงเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า ในภาคการก่อสร้าง, การท่องเที่ยว, อาหารฮาลาล, เวชภัณฑ์, พลังงานหมุนเวียน, และอุตสาหกรรมการผลิตระดับไฮเอนด์ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทีเดียว ส่วนสำหรับในปริมณฑลทางการเมือง-ความมั่นคงนั้น ทั้งจีนและพวกรัฐอาเซียนซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ควรที่จะยกระดับสายสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างกัน รวมทั้งเพิ่มการแลกเปลี่ยนทางด้านกลาโหม และทำให้การพูดจากันเกี่ยวกับทะเลจีนใต้กลายเป็นกรอบโครงในทางปฏิบัติและมีการพูดจากันในหลายๆ ระดับ ไล่เรียงตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีว่าการ, รัฐมนตรีช่วย, พรรคการเมือง, ไปจนกระทั่งถึงระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง และระดับหน่วยทหาร
เมื่อได้ดำเนินความพยายามใหม่ๆ เหล่านี้แล้ว เหล่าประเทศอาเซียนย่อมสามารถคาดหวังได้ว่าจะมีการสมาคมคลุกคลีกับจีนเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และยังจะช่วยให้ปักกิ่งสามารถแบกรับบทบาทการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งมีความรับผิดชอบ เคียงข้างกับมหาอำนาจรายอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯหรือญี่ปุ่น
ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงเป็นเวลาอันเหมาะสมแล้วที่เหล่ารัฐอาเซียน เป็นต้นว่า มาเลเซีย, บรูไน, และเวียดนาม จะทบทวนปรับเปลี่ยนคำจำกัดความให้แก่ “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบใหม่” ที่พวกเขามีอยู่กับจีน รวมทั้งดำเนินการสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อให้กลายเป็นการตอบสนองอย่างดียิ่งขึ้นต่อระเบียบระดับภูมิภาค (regional order) ที่กำลังถูกท้าทายหนัก สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านี้อีกก็คือ พวกเขาควรที่จะมองเห็นและยอมรับว่า ความเป็นหุ้นส่วนกันรูปแบบใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บนความมีน้ำอดน้ำทนมากขึ้นของจีน ต่อการเดินนโยบายประกันความเสี่ยงของอาเซียนนี้ คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่สมควรจะต้องฉวยคว้าเอาไว้
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง China, Malaysia Hail Cooperation, Pledge Deeper Ties, Xinhuanet, August 1, 2013.
[2] ดูเรื่อง Vietnamese PM Meets with Chinese FM on Ties, Xinhua, August 6, 2013.
[3] ดูเรื่อง Beijing Tells ASEAN to be Realistic in Hopes for South China Sea Code of Conduct, South China Morning Post, August 6, 2013.
ข้อเขียนนี้ปรากฏอยู่ในส่วน “Speaking Freely ” ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดทางให้เหล่านักเขียนรับเชิญสามารถแสดงความคิดเห็นของพวกตน โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
คาร์ล ลี เป็นนักวิเคราะห์อยู่ที่ Anbound Malaysia ซึ่งเป็นกิจการในเครือของ Anbound China หน่วยงานศึกษาวิจัยภาคเอกชนที่ตั้งฐานอยู่ในปักกิ่ง
Time for China and ASEAN to make up
By Karl Lee
09/08/2013
คำพูดคำแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน ระหว่างที่เขาตระเวนเยือนหลายประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าปักกิ่งยังคงมุ่งมั่นที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบรรดาชาติอาเซียน ถึงแม้มีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับเรื่องดินแดนเพิ่มมากขึ้นก็ตามที ทั้งนี้จีนยังกำลังเริ่มต้นแสดงให้เห็นความอดกลั้นเพิ่มขึ้นด้วย ต่อการที่บางประเทศเดี่ยวๆ ดำเนินการเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ด้วยความมุ่งหมายที่จะป้องกันตนเองจากการรุกคืบอย่างแข็งกร้าวของแดนมังกร ในสภาวการณ์เช่นนี้ อาเซียนจึงสามารถที่จะตอบแทนการผ่อนปรนอย่างนี้ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนคำจำกัดความเรื่องความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับจีนกันใหม่อีกคำรบหนึ่ง
ในขณะที่ปักกิ่งพิจารณาครุ่นคิดถึงความเป็นไปได้ที่จะสถาปนา “ความเป็นหุ้นส่วนกัน” กับสหรัฐฯขึ้นมาใหม่อยู่นี้เอง แนวโน้มทำนองเดียวกันก็ดูเหมือนจะกำลังบังเกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับพวกชาติสมาชิกของสมาคมอาเซียนด้วย
ระหว่างการตระเวนเยือนหลายชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน ได้กล่าวย้ำอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า จีนจะยังคงเดินหน้าไปตาม “สูตร 3 เส้นทาง” (three-way formula) ของตนเอง ในการแก้ไขคลี่คลายกรณีพิพาทต่างๆ ในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับ 4 รัฐสมาชิกสมาคมอาเซียนซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลแห่งนั้นอย่างชนิดทับซ้อนกับแดนมังกร (4 ชาติดังกล่าวได้แก่ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, และบรูไน)
ในเวลาเดียวกับที่จีนเวลานี้ดูเหมือนอยู่ในโหมด “ป้องกันตัว” ("defensive" mode) เพื่อต่อสู้คัดค้าน “การทูตแบบมุ่งเน้นย้ำคุณค่าร่วม” (common values diplomacy) ของคณะรัฐบาลนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ แห่งญี่ปุ่น (การที่แดนอาทิตย์อุทัยกำลังเข้ามาเกี้ยวพาพวกชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแข็งขันในเวลานี้ คือตัวอย่างสำคัญซึ่งสาธิตให้เห็นความพยายามทางการทูตลักษณะนี้ของรัฐบาลอาเบะ) ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ หวัง ก็เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า ปักกิ่งยังมีความมุ่งมั่นอย่างสูงที่จะคงการมีการปฏิสัมพันธ์กับพวกประเทศอาเซียนเอาไว้ ถึงแม้มีการทะเลาะเบาะแว้งในระดับภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นก็ตามที
ระหว่างการตระเวนเยือนหลายชาติสมาชิกอาเซียนของรัฐมนตรีต่างประเทศแดนมังกรในเที่ยวนี้ ปักกิ่งได้ดำเนินการส่งสัญญาณอันสำคัญมาก 2 ประการต่อบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการแรก การเดินทางของ หวัง ในเที่ยวนี้ ได้นำเขาไปยังมาเลเซีย, ไทย, ลาว, และเวียดนาม ทว่าไม่มีฟิลิปปินส์รวมอยู่ด้วย นี่คือสัญญาณเครื่องบ่งชี้อันสำคัญทีเดียว ทั้งนี้ดูเหมือนว่าการที่มาเลเซียกับเวียดนามต่างก็กำลังดำเนินยุทธศาสตร์แบบมุ่งประกันความเสี่ยง ด้วยการคบหาสมาคมใกล้ชิดกับมหาอำนาจรายอื่นๆ เพื่อเป็นการป้องกันทัดทานการรุกคืบอย่างแข็งกร้าวของแดนมังกร (โดยที่ทั้งสองชาติได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์เช่นนี้ในระดับที่แตกต่างกัน) มิได้ทำให้จีนถึงกับหันเหยกเลิกความปรารถนาที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศทั้งสอง ท่าทีเช่นนี้ต้องถือว่าตรงกันข้ามกับในอดีตที่ผ่านมา เมื่อเหล่าผู้ดำเนินนโยบายในปักกิ่งพร้อมที่จะแสดงออกมาให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งเปิดเผยว่าพวกเขาไม่พอใจประดาประเทศซึ่งทำท่าแข็งข้อไม่โอนอ่อน
การที่ หวัง เรียกร้องให้พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้กับมาเลเซีย [1] และการที่เขากล่าวเน้นย้ำถึงความผูกพันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีนกับเวียดนาม [2] เป็นสิ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าปักกิ่งกำลังแสดงความอดกลั้นอดทนเพิ่มขึ้นต่อการกระทำของรัฐเหล่านี้ ยิ่งกว่านั้น จีนยังกำลังคำนึงถึงความเป็นจริงมากขึ้นด้วยในความสัมพันธ์ที่ตนเองมีอยู่กับมาเลเซียและเวียดนาม โดยที่ไม่มีอีกแล้วที่แดนมังกรจะยอมปล่อยให้สภาวการณ์ซึ่งกัวลาลัมเปอร์กับฮานอยมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมหาอำนาจต่างประเทศรายอื่นๆ เข้ามาส่งผลกระทบกระเทือนความร่วมมือระดับทวิภาคีที่มีอยู่กับจีนโดยภาพรวม
ประการที่สอง จีนกำลังมองหาทางฟื้นฟูชุบชีวิตความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างแดนมังกรกับสมาคมอาเซียน ซึ่งได้มีการลงนามเป็นเอกสารกันไว้ตั้งแต่ปี 2003 ทว่ายังคงค่อนข้างไร้ประสิทธิภาพ ไม่ใช่เรื่องที่พูดเกินเลยไปหรอกถ้าหากจะกล่าวถึงภาพรวมของพัฒนาการในความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่า ยังคงอยู่ในสภาพต่ำกว่าความคาดหวังสำหรับสายสัมพันธ์ทวิภาคีอันรอบด้านเช่นนี้ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดมาเป็นเกณฑ์วัดก็ตามที
ทั้งนี้นอกเหนือจากความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจซึ่งดูจะเป็นเนื้อเป็นหนังแล้ว การประสานงานกันระดับทวิภาคีระหว่างจีนกับอาเซียนในแวดวงการเมือง-ความมั่นคงนั้น ยังคงล้าหลังห่างไกลจากเรื่องเศรษฐกิจมากมายหลายช่วงตัวนัก สภาพแนวโน้มเช่นนี้ช่างตรงกันข้ามกับคำมั่นสัญญาที่เหล่าผู้นำของทั้งสองฝ่ายได้เคยประกาศออกมาว่าจะสร้างความเป็นหุ้นส่วนกันอย่างรอบด้านขึ้นมาให้สำเร็จ ดังที่ระบุยืนยันอยู่ในเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ลงนามกันไว้เมื่อ 10 ปีก่อน
การเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งหลังสุดของ หวัง ซึ่งถือเป็นรอบที่ 3 แล้วนับตั้งแต่ที่เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของแดนมังกร จึงควรที่จะทำความเข้าใจภายในบริบทของความพยายามใหม่อีกคำรบหนึ่งของปักกิ่ง ที่จะแก้ไขคลี่คลายโครงสร้างความร่วมมือระหว่างจีนกับบรรดาชาติอาเซียน ซึ่งในเวลานี้ยังอยู่ในลักษณะที่ขาดความสมดุล
จากการที่ หวัง แถลงออกมาอย่างเปิดเผยชัดเจนว่า จีนเลือกที่จะใช้วิธีการแบบค่อยๆก้าวไปอย่างช้าๆ ในการจัดทำ “แนวทางในการปฏิบัติ” (Code of Conduct) ในทะเลจีนใต้ กับบรรดารัฐอาเซียนซึ่งมี 4 รายที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับจีน[3] มันก็ดูเหมือนกับว่า ปักกิ่งกำลังหาทางที่จะเร่งรัดปรับปรุงแผนแม่บทแห่งความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ทำไว้กับเหล่าชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่แล้ว (ซึ่งก็คือเอกสารประกาศความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์จีน-อาเซียนในปี 2003) ให้บังเกิดความทะมัดทะแมงยิ่งขึ้น โดยที่จะถือเรื่องนี้เป็นตัวนำหน้าตัวหนึ่ง (precursor) ในการสร้างสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมจูงใจ เพื่อให้เกิดการตกลงรอมชอมกันในกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนต่างๆ ในทะเลจีนใต้
สำหรับเหล่าชาติอาเซียนซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในทะเลจีนใต้แล้ว พวกเขาควรที่จะต้องมองให้ออกว่า ท่าทีอย่างเปิดเผยของ หวัง ในคราวนี้ ไม่ได้เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต หากแต่เป็นสิ่งพิเศษผิดธรรมดาสำหรับรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนไม่ว่าจะเป็นรัฐมนตรีคนไหนก็ตามที ในที่นี้เราจึงสามารถคาดหวังได้ว่า จีนกำลังอยู่ในภาวะที่พรักพร้อมยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อน ในการมีปฏิสัมพันธ์กับเหล่าประเทศอาเซียนในช่วงระยะเวลาหลายๆ ปีต่อจากนี้ไป ดังนั้น นี่จึงต้องถือเป็นจังหวะเวลาอันสำคัญมากสำหรับบรรดารัฐสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่มีกรณีพิพาทช่วงชิงดินแดนในทะเลจีนใต้อยู่กับจีนด้วยแล้ว สมควรที่จะต้องมองหาช่องทางเพื่อใช้ประโยชน์จากสภาวการณ์เช่นนี้
การขยายความร่วมมือทวิภาคีระหว่างจีนกับอาเซียนในแวดวงเศรษฐกิจ เป็นต้นว่า ในภาคการก่อสร้าง, การท่องเที่ยว, อาหารฮาลาล, เวชภัณฑ์, พลังงานหมุนเวียน, และอุตสาหกรรมการผลิตระดับไฮเอนด์ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทีเดียว ส่วนสำหรับในปริมณฑลทางการเมือง-ความมั่นคงนั้น ทั้งจีนและพวกรัฐอาเซียนซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อน ควรที่จะยกระดับสายสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างกัน รวมทั้งเพิ่มการแลกเปลี่ยนทางด้านกลาโหม และทำให้การพูดจากันเกี่ยวกับทะเลจีนใต้กลายเป็นกรอบโครงในทางปฏิบัติและมีการพูดจากันในหลายๆ ระดับ ไล่เรียงตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีว่าการ, รัฐมนตรีช่วย, พรรคการเมือง, ไปจนกระทั่งถึงระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง และระดับหน่วยทหาร
เมื่อได้ดำเนินความพยายามใหม่ๆ เหล่านี้แล้ว เหล่าประเทศอาเซียนย่อมสามารถคาดหวังได้ว่าจะมีการสมาคมคลุกคลีกับจีนเพิ่มมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และยังจะช่วยให้ปักกิ่งสามารถแบกรับบทบาทการเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียซึ่งมีความรับผิดชอบ เคียงข้างกับมหาอำนาจรายอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯหรือญี่ปุ่น
ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงเป็นเวลาอันเหมาะสมแล้วที่เหล่ารัฐอาเซียน เป็นต้นว่า มาเลเซีย, บรูไน, และเวียดนาม จะทบทวนปรับเปลี่ยนคำจำกัดความให้แก่ “ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบใหม่” ที่พวกเขามีอยู่กับจีน รวมทั้งดำเนินการสร้างเสริมความเป็นหุ้นส่วนดังกล่าวนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง เพื่อให้กลายเป็นการตอบสนองอย่างดียิ่งขึ้นต่อระเบียบระดับภูมิภาค (regional order) ที่กำลังถูกท้าทายหนัก สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านี้อีกก็คือ พวกเขาควรที่จะมองเห็นและยอมรับว่า ความเป็นหุ้นส่วนกันรูปแบบใหม่ ซึ่งตั้งอยู่บนความมีน้ำอดน้ำทนมากขึ้นของจีน ต่อการเดินนโยบายประกันความเสี่ยงของอาเซียนนี้ คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่สมควรจะต้องฉวยคว้าเอาไว้
**หมายเหตุ**
[1] ดูเรื่อง China, Malaysia Hail Cooperation, Pledge Deeper Ties, Xinhuanet, August 1, 2013.
[2] ดูเรื่อง Vietnamese PM Meets with Chinese FM on Ties, Xinhua, August 6, 2013.
[3] ดูเรื่อง Beijing Tells ASEAN to be Realistic in Hopes for South China Sea Code of Conduct, South China Morning Post, August 6, 2013.
ข้อเขียนนี้ปรากฏอยู่ในส่วน “Speaking Freely ” ของเอเชียไทมส์ออนไลน์ ซึ่งเป็นส่วนที่เปิดทางให้เหล่านักเขียนรับเชิญสามารถแสดงความคิดเห็นของพวกตน โดยไม่จำเป็นต้องมีมาตรฐานทางด้านบรรณาธิการในระดับเดียวกับพวกนักเขียนที่เขียนให้แก่เอเชียไทมส์ออนไลน์เป็นประจำ
คาร์ล ลี เป็นนักวิเคราะห์อยู่ที่ Anbound Malaysia ซึ่งเป็นกิจการในเครือของ Anbound China หน่วยงานศึกษาวิจัยภาคเอกชนที่ตั้งฐานอยู่ในปักกิ่ง