ข่าวในประเทศ - “เซียงไฮ้ ออโตโมทีฟ” หรือ SAIC ร่วมทุนกลุ่มซีพี(CP) สัดส่วน 51 : 49 ตั้งบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด โดยมี “หวู่ ฮวน” ของเซคนั่งประธานบริษัทฯ และ “อภิเชต สีตกะลิน” ที่มาจากรถยนต์ทาทาเป็นตัวแทนซีพีดูแลธุรกิจยานยนต์ เพื่อขายเก๋งแบรนด์อังกฤษ “เอ็มจี” ในไทยเริ่มปี 2557 พร้อมเซ็นสัญญาเช่าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชฯ ขึ้นไลน์ประกอบ 50,000 คันต่อปี หลังจากก่อนหน้านี้ประกาศลงทุนเฟสแรกหมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี (CP) เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของการตั้งบริษัทขายและผลิตรถยนต์ยี่ห้อ “เอ็มจี” (MG) แบรนด์เก่าแก่จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการร่วมกับ บริษัท เซียงไฮ้ ออโต้โมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือเซค (Shanghai Automotive Industry Corp. - SAIC) โดยปัจจุบันได้มีการเซ็นสัญญาและร่วมทุนเรียบร้อย ภายใต้ชื่อบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ - ซีพี จำกัด (SAIC Motor - CP Co.,Ltd.) ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างฝ่ายเซค 51% และอีก 49% เป็นของซีพี ถือโดยบริษัทในเครือ บริษัท ซีพี มอเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด
“ตอนนี้ได้มีการตั้งทีมบริหารบางส่วนแล้ว โดยมีนายหวู่ ฮวน(Wu Huan) เป็นประธานบริษัทของเซค มอเตอร์-ซีพี ซึ่งมาในฐานะตัวแทนของเซียงไฮ้ ออโตโมทีฟฯ และฝ่ายไทยจะมีนายนพดล เจียรวนนท์ เป็นกรรมการบริษัท พร้อมกับดึงนายอภิเชต สีตกะลิน มาเป็นผู้ดูแลธุรกิจยานยนต์ทั้งหมดของซีพี ในนามบริษัทซีพี มอเตอร์ โฮลดิ้ง เพราะเป็นผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจรถยนต์มาหลายยี่ห้อ และก่อนที่จะมาอยู่กับซีพีเคยเป็นรองประธานบริษัท ทาทา มอเตอร์ส ประเทศไทย”
ในส่วนของการแผนงานต่างๆ ตอนนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยได้มีการตั้งทีมงานบางส่วนเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ซึ่งจะมีผู้ที่มาจากแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ และคนของซีพีทำงานวางแผนควบคู่ประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมแผนงานด้านผลิตภัณฑ์ การตลาด และเครือข่ายการขาย คาดว่าจะสามารถประกาศเปิดตัวบริษัทได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หรืออาจจะมีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับองค์กร และแบรนด์เอ็มจีให้กับผู้บริโภคชาวไทย ในช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2013 ปลายปีนี้ ก่อนที่จะเริ่มเปิดตัวขายรถอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2557
“เอ็มจีเป็นแบรนด์รถในอังกฤษ ที่มีประวัติมายาวนานเกือบ 100 ปี แต่ภายหลังทางเซียงไฮ้ ออโตโมทีฟฯ ได้เข้ามาซื้อกิจการเมื่อปี 2550 แต่การดำเนินงานยังคงอยู่ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและออกแบบ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เช่นเดียวกับรถยนต์หลายยี่ห้อในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแลนด์โรเวอร์ หรือจากัวร์ ที่ทางทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดียซื้อไป หรือวอลโว่ที่บริษัทรถยนต์ในจีนซื้อกิจการไปเช่นกัน ดังนั้นเอ็มจีจึงเป็นรถยนต์เทคโนโลยียุโรป เพียงแต่ดึงความเชี่ยวชาญของการหาแหล่งชิ้นส่วน หรือการบริหารต้นทุนของเซียงไฮ้ฯ มาช่วย”
สำหรับการดำเนินงานเรื่องของโรงงานประกอบรถยนต์ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการหาโรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่ง รวมถึงโรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์ ตามที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ แต่ที่สุดเซค มอเตอร์-ซีพีได้ตั้งสินใจตั้งโรงงานประกอบรถเอง โดยได้มีการเซ็นสัญญาเช่าโรงงานสำเร็จรูปของนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอิสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์เอ็มจีพวงมาลัยขวา เพราะอยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง จึงสะดวกในการส่งออกไปยังต่างประเทศ
“โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นกว่า 17,000 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง 'เอ็มจี' ตั้งแต่ขนาดซับคอมแพ็กต์ หรือ 1,500 ซีซี.ขึ้นไป แต่จะไม่ทำตลาดกลุ่มอีโคคาร์ เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 50,000 คันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับการผลิตได้ภายในช่วง 2 ปีแรก แต่หลังจากนั้นเมื่อมีการขยายกำลังการผลิตในเฟสสอง อาจจะต้องตั้งโรงงานแห่งใหม่ ตอนนี้ได้มีการพิจารณาที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะเป็นสำคัญ”
ก่อนหน้านี้ นายนพดล เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจยานยนต์ และอุตสาหกรรม (จีน) เครือเจริญโภคภัณฑ์ ระบุว่าในเฟสแรกของการลงทุนจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มทำการตลาดในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรถยนต์เอ็มจีที่จะจำหน่ายในไทยนั้น จะเป็น MG6, MG5 และ MG3 ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบในไทย และช่วงแรกตั้งเป้าหมายผลิต 50,000 คัน/ปี และในอนาคตมีแผนที่จะขยายการผลิตเป็น 200,000 คัน/ปี
รายงานข่าวจากกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี (CP) เปิดเผยว่า ขณะนี้ความคืบหน้าของการตั้งบริษัทขายและผลิตรถยนต์ยี่ห้อ “เอ็มจี” (MG) แบรนด์เก่าแก่จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการร่วมกับ บริษัท เซียงไฮ้ ออโต้โมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือเซค (Shanghai Automotive Industry Corp. - SAIC) โดยปัจจุบันได้มีการเซ็นสัญญาและร่วมทุนเรียบร้อย ภายใต้ชื่อบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ - ซีพี จำกัด (SAIC Motor - CP Co.,Ltd.) ด้วยสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างฝ่ายเซค 51% และอีก 49% เป็นของซีพี ถือโดยบริษัทในเครือ บริษัท ซีพี มอเตอร์ โฮลดิ้ง จำกัด
“ตอนนี้ได้มีการตั้งทีมบริหารบางส่วนแล้ว โดยมีนายหวู่ ฮวน(Wu Huan) เป็นประธานบริษัทของเซค มอเตอร์-ซีพี ซึ่งมาในฐานะตัวแทนของเซียงไฮ้ ออโตโมทีฟฯ และฝ่ายไทยจะมีนายนพดล เจียรวนนท์ เป็นกรรมการบริษัท พร้อมกับดึงนายอภิเชต สีตกะลิน มาเป็นผู้ดูแลธุรกิจยานยนต์ทั้งหมดของซีพี ในนามบริษัทซีพี มอเตอร์ โฮลดิ้ง เพราะเป็นผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจรถยนต์มาหลายยี่ห้อ และก่อนที่จะมาอยู่กับซีพีเคยเป็นรองประธานบริษัท ทาทา มอเตอร์ส ประเทศไทย”
ในส่วนของการแผนงานต่างๆ ตอนนี้มีความคืบหน้าไปมาก โดยได้มีการตั้งทีมงานบางส่วนเข้ามาทำหน้าที่แล้ว ซึ่งจะมีผู้ที่มาจากแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ และคนของซีพีทำงานวางแผนควบคู่ประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมแผนงานด้านผลิตภัณฑ์ การตลาด และเครือข่ายการขาย คาดว่าจะสามารถประกาศเปิดตัวบริษัทได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หรืออาจจะมีการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับองค์กร และแบรนด์เอ็มจีให้กับผู้บริโภคชาวไทย ในช่วงงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2013 ปลายปีนี้ ก่อนที่จะเริ่มเปิดตัวขายรถอย่างเป็นทางการในช่วงกลางปี 2557
“เอ็มจีเป็นแบรนด์รถในอังกฤษ ที่มีประวัติมายาวนานเกือบ 100 ปี แต่ภายหลังทางเซียงไฮ้ ออโตโมทีฟฯ ได้เข้ามาซื้อกิจการเมื่อปี 2550 แต่การดำเนินงานยังคงอยู่ที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาและออกแบบ รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ เช่นเดียวกับรถยนต์หลายยี่ห้อในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแลนด์โรเวอร์ หรือจากัวร์ ที่ทางทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดียซื้อไป หรือวอลโว่ที่บริษัทรถยนต์ในจีนซื้อกิจการไปเช่นกัน ดังนั้นเอ็มจีจึงเป็นรถยนต์เทคโนโลยียุโรป เพียงแต่ดึงความเชี่ยวชาญของการหาแหล่งชิ้นส่วน หรือการบริหารต้นทุนของเซียงไฮ้ฯ มาช่วย”
สำหรับการดำเนินงานเรื่องของโรงงานประกอบรถยนต์ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการหาโรงงานประกอบรถยนต์หลายแห่ง รวมถึงโรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์ ตามที่เป็นข่าวไปก่อนหน้านี้ แต่ที่สุดเซค มอเตอร์-ซีพีได้ตั้งสินใจตั้งโรงงานประกอบรถเอง โดยได้มีการเซ็นสัญญาเช่าโรงงานสำเร็จรูปของนิคมอุตสาหกรรมเหมราชอิสเทิร์นซีบอร์ด เพื่อขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์เอ็มจีพวงมาลัยขวา เพราะอยู่ใกล้กับท่าเรือแหลมฉบัง จึงสะดวกในการส่งออกไปยังต่างประเทศ
“โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นกว่า 17,000 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์นั่ง หรือเก๋ง 'เอ็มจี' ตั้งแต่ขนาดซับคอมแพ็กต์ หรือ 1,500 ซีซี.ขึ้นไป แต่จะไม่ทำตลาดกลุ่มอีโคคาร์ เพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยจะมีกำลังการผลิตทั้งสิ้น 50,000 คันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถรองรับการผลิตได้ภายในช่วง 2 ปีแรก แต่หลังจากนั้นเมื่อมีการขยายกำลังการผลิตในเฟสสอง อาจจะต้องตั้งโรงงานแห่งใหม่ ตอนนี้ได้มีการพิจารณาที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะเป็นสำคัญ”
ก่อนหน้านี้ นายนพดล เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการกลุ่มธุรกิจยานยนต์ และอุตสาหกรรม (จีน) เครือเจริญโภคภัณฑ์ ระบุว่าในเฟสแรกของการลงทุนจะใช้เงินไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มทำการตลาดในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรถยนต์เอ็มจีที่จะจำหน่ายในไทยนั้น จะเป็น MG6, MG5 และ MG3 ซึ่งในระยะเริ่มต้นจะนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบในไทย และช่วงแรกตั้งเป้าหมายผลิต 50,000 คัน/ปี และในอนาคตมีแผนที่จะขยายการผลิตเป็น 200,000 คัน/ปี