เมื่อครั้ง “พระนครออโต้เซลส์” เปิดตัวเก๋งคอมแพกต์รุ่นใหม่ Proton Preve ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2012 ปลายปีก่อน นอกจากผู้เขียนจะอึ้งในความสวยงาม และชื่มชมที่ได้เห็นการวางเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร เทอร์โบกับรถยนต์สัญชาติมาเลเซียแล้ว
สิ่งที่ผู้เขียนสงสัยและได้ถาม “น้องหมวย”เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์สุดสวยของโปรตอน ไปด้วยความใสซื่อคือ รถคันนี้มันชื่อรุ่นว่าอะไร? หรือจะให้เรียกอย่างไรถึงจะถูกต้อง?
“เพร-เว่” คะพี่.....น้องสาวคนเดิมตอบกลับมาอย่างภูมิใจ
อย่างไรก็ตามด้วยความสงสัย ผู้เขียนจึงไปหาข้อมูล (ในเวบไซต์ของโปรตอนนั่นแหละ) จนพบว่า “เพรเว่” (Preve : Pray-vay) เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ ให้ความหมายเดียวกับคำว่า “Prove” ซึ่งหมายถึง “การพิสูจน์” โดยโปรตอนพยายามสื่อสารถึง ความสำเร็จที่ได้พิสูจน์ ผ่านความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างสรรค์เทคโนโลยียานยนต์เพื่อมวลชนทั่วไป
…อ่อครับ ที่แท้ก็มีที่มาที่ไปอย่างนี้นี่เอง เพราะที่ผ่านมาโปรตอน ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนา พร้อมยกระดับแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งวันนี้“พิสูจน์”ความสามารถแล้วระดับหนึ่ง (แต่ต้องแยกประเด็นให้ออกระหว่างการพัฒนาในภาพใหญ่ของ “โปรตอน มาเลเซีย” (โปรดักต์) กับตัวแทนจำหน่ายในไทย “พระนครออโต้เซลส์” (ขาย,บริการหลังการขาย))
สำหรับ “เพรเว่” ถือเป็นความภูมิใจครั้งใหม่ของชาวโปรตอน ด้วยพื้นฐานการพัฒนาทางวิศวกรรมเดียวกับเอ็มพีวี “เอ็กซ์โซล่า” ทั้งแพลตฟอร์มและระบบขับเคลื่อน
มิติตัวถังยาว 4,543 มม. กว้าง 1,786 มม. สูง 1,524 มม. ระยะฐานล้อ 2,650 มม. ใหญ่กว่าเก๋งรุ่นพี่อย่าง “เพอร์โซน่า” ทุกมิติ และถ้าเทียบกับคู่แข่งในตลาด “เพรเว่” จะได้เปรียบเรื่องความกว้างและสูง ส่วนความยาวและระยะฐานล้อมากกว่าโตโยต้า อัลติส และฟอร์ด โฟกัส แต่ถ้าวัดระยะฐานล้อเพรเว่ ยังเป็นรอง นิสสัน ซิลฟี และฮอนด้า ซีวิค
โปรตอน เพรเว่ แบ่งทำตลาดเป็น 3 รุ่นคือ Standard, Executive และ Premium โดยทุกรุ่นมาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตร แต่สองรุ่นแรกจะใช้เครื่องยนต์รหัส CAMPRO IAFM+ 109 แรงม้า (ไร้ระบบอัดอากาศ) มีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และอัตโนมัติแบบCVT
ส่วนรุ่น Premium ใช้เครื่องยนต์ CAMPRO CFE ( CamPro Charge Fuel Efficiency) แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 138 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 205นิวตัน -เมตร ที่ 2,000-4,000 รอบต่อนาที ประกบเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT
…ผู้เขียนได้ตัวท็อป Premium ราคา7.59 แสนบาทมาลองขับ ซึ่งเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร ถูกรีดกำลังด้วยเทอร์โบ ส่งให้ม้าทั้ง 138 ตัว ทำงานกระฉับกระเฉง ปล่อยพลังเต็มสูบตั้งแต่รอบต่ำ
การตอบสนองทันใจทั้งช่วงออกตัว เร่งแซง เมื่อผสานกับเกียร์ CVT ที่เซ็ทไว้ 7 สปีด ส่งกำลังได้นุ่มนวลและฉับไว ที่สำคัญโปรตอนยังเพิ่มความสปอร์ตด้วยการโยกเปลี่ยนเกียร์ได้เองจากคันเกียร์ และแพดเดิลชิฟท์หลังพวงมาลัย
เพรเว่รุ่นนี้ขับสนุกครับ พละกำลังมาแบบเนียนต่อเนื่อง อัตราเร่งจัดให้ตามน้ำหนักเท้า เรียกว่าทันทุกความต้องการ หรือถ้าชอบเล่นเปลี่ยนเกียร์เอง ลากรอบให้สูงหน่อย พร้อมฟังเสียงหวีดหวานของเทอร์โบยิ่งเพิ่มความเร้าใจ
ขณะที่ช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังมัลติลิงก์ พร้อมเหล็กกันโคลง รับกับอัตราทดสุดท้ายอย่างล้ออัลลอยด์ 16 นิ้ว ประกบยาง 205/55 R16 ขับขี่ได้อย่างมั่นใจ ไม่เสียแรงที่เป็นเจ้าของ “โลตัส” สปอร์ตคาร์แห่งอังกฤษ
โดยความเร็ว 100-120 กม./ชม.สาดใส่ในโค้งยาวๆ รถยังทรงตัวหนึบ หรือขับทางตรงความเร็ว 140 -160 กม./ชม. ช่วงล่างแน่น ห้องโดยสารยังนิ่ง
ต้องยอมรับว่าความแรงของรถกับช่วงล่างสอดรับกันดี ไม่มีดิ้นไม่วอกแวก ทั้งนี้โปรตอน เพรเว่ อาจจะมีน้ำหนักพวงมาลัยมากไปนิด(ผ่อนแรงด้วยไฮดรอลิก) แน่นอนว่าขับทางไกลความเร็วสูงไม่ออกอาการเต้น แต่เรื่องความแม่นยำยังดูขาดๆเกินๆ ส่วนการขับขี่ในเมืองบนความเร็วต่ำ หรือวนหาที่จอดรถตามห้าง ก็คงต้องสาวพวงมาลัยกันเหนื่อยพอสมควร
การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารดีกว่าโปรตอนหลายๆรุ่นที่ผ่านมา เบาะนั่งออกแบบโครงสร้างรับสรีระแต่สัมผัสแข็งไปนิด วัสดุอุปกรณ์ดูดีมีสกุลเทียบชั้นรถญี่ปุ่น ซึ่งในรุ่นท็อปนี้จัดออปชันมาเต็มครับ ทั้งระบบนำทางเนวิเกเตอร์ พร้อมจอทัชสกรีน เครื่องเล่นวิทยุ CD MP3 พร้อมช่องต่อUSB แอร์อัตโนมัติ ตลอดจนระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ ไฟเลี้ยว LED ที่กระจกมองข้าง ปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ และครูสคอนโทรล
นอกจากนี้ยังต้องชมในความพยามเรื่องระบบอำนวยความสะดวก แก่ผู้เป็นเจ้าของไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟส่องนำทาง (เข้าบ้านกลางดึก) ที่ไฟหน้ายังเปิดค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที หลังจากล็อกรถ รวมถึงการเปิดฝากระโปรงท้ายรถ เมื่อกดปุ่มปลดล็อกจากรีโมทค้างไว้
ขณะที่ทัศนวิสัยการขับขี่ด้านหน้าชัดเจน แต่มองออกไปจะไม่เห็นฝากระโปรงหน้า ส่วนมุมมองผ่านกระจกหลังค่อนข้างบีบแคบ เนื่องจากพื้นที่กระจกหลังน้อยเพราะถูกบังคับโดยเส้นสายการออกแบบของเสาร์ซีพิลลาร์ที่ลาดเอียง (ต้องการให้สวยเหมือนรถคูเป้)
ส่วนความรู้สึกในการเบรกให้จังหวะชะลอหยุดนุ่มนวล แต่ต้องกดแป้นเบรกลงไปลึกหน่อย ซึ่งโปรตอน เพรเว่ ใช้ดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมเสริมด้วยระบบไฟฟ้าอย่าง เบรกป้องกันล้อล็อกABS และระบบกระจายแรงเบรก EBD ทำหน้าที่กระจายแรงเบรกระหว่างล้อคู่หน้าและหลังได้อย่างสมดุล พร้อมระบบควบคุมการทรงตัวESC (Electronic Stability Control ) และระบบป้องกันการลื่นไถล (Traction Control) มากไปกว่านั้นยังให้ถุงลมนิรภัยมากถึง 6 ใบ คือคู่หน้า - ด้านข้าง (คนขับ-ผู้โดยสาร)และม่านถุงลม
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมัน จากการแสดงผลผ่านหน้าจออัจฉริยะ(ใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ 95แต่ตามสเปกเพรเว่สามารถเติมแก็สโซฮอล์ อี20 ได้) ขับช่วงการจราจรหนาแน่น สลับเคลื่อนตัวได้ดี มีตัวเลข 10 ลิตรต่อ 100 กม.(10 กม./ลิตร) หรือวิ่งนิ่งบนความเร็ว 100-120 กม./ชม. ยังทำได้ 9 ลิตร ต่อ 100 กม.(11.11 กม./ลิตร)
รวบรัดตัดความ...เคยขับโปรตอนมาก็หลายรุ่น แต่ผู้เขียนว่า“เพรเว่”ลงตัวที่สุด และพัฒนาดีขึ้นในหลายๆด้าน ทั้งคุณภาพการประกอบ รูปลักษณ์การออกแบบ พร้อมสมรรถนะจากเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร เทอร์โบ ช่วงล่างการทรงตัว ที่รวมๆแล้วให้ความสนุกสนาน และความมั่นใจในการขับขี่...เพลินๆลืมยี่ห้อนึกว่าขับ “โลตัส อีโวร่า”
สิ่งที่ผู้เขียนสงสัยและได้ถาม “น้องหมวย”เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์สุดสวยของโปรตอน ไปด้วยความใสซื่อคือ รถคันนี้มันชื่อรุ่นว่าอะไร? หรือจะให้เรียกอย่างไรถึงจะถูกต้อง?
“เพร-เว่” คะพี่.....น้องสาวคนเดิมตอบกลับมาอย่างภูมิใจ
อย่างไรก็ตามด้วยความสงสัย ผู้เขียนจึงไปหาข้อมูล (ในเวบไซต์ของโปรตอนนั่นแหละ) จนพบว่า “เพรเว่” (Preve : Pray-vay) เป็นคำที่มาจากภาษาอังกฤษ ให้ความหมายเดียวกับคำว่า “Prove” ซึ่งหมายถึง “การพิสูจน์” โดยโปรตอนพยายามสื่อสารถึง ความสำเร็จที่ได้พิสูจน์ ผ่านความมุ่งมั่นตั้งใจในการสร้างสรรค์เทคโนโลยียานยนต์เพื่อมวลชนทั่วไป
…อ่อครับ ที่แท้ก็มีที่มาที่ไปอย่างนี้นี่เอง เพราะที่ผ่านมาโปรตอน ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนา พร้อมยกระดับแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งวันนี้“พิสูจน์”ความสามารถแล้วระดับหนึ่ง (แต่ต้องแยกประเด็นให้ออกระหว่างการพัฒนาในภาพใหญ่ของ “โปรตอน มาเลเซีย” (โปรดักต์) กับตัวแทนจำหน่ายในไทย “พระนครออโต้เซลส์” (ขาย,บริการหลังการขาย))
สำหรับ “เพรเว่” ถือเป็นความภูมิใจครั้งใหม่ของชาวโปรตอน ด้วยพื้นฐานการพัฒนาทางวิศวกรรมเดียวกับเอ็มพีวี “เอ็กซ์โซล่า” ทั้งแพลตฟอร์มและระบบขับเคลื่อน
มิติตัวถังยาว 4,543 มม. กว้าง 1,786 มม. สูง 1,524 มม. ระยะฐานล้อ 2,650 มม. ใหญ่กว่าเก๋งรุ่นพี่อย่าง “เพอร์โซน่า” ทุกมิติ และถ้าเทียบกับคู่แข่งในตลาด “เพรเว่” จะได้เปรียบเรื่องความกว้างและสูง ส่วนความยาวและระยะฐานล้อมากกว่าโตโยต้า อัลติส และฟอร์ด โฟกัส แต่ถ้าวัดระยะฐานล้อเพรเว่ ยังเป็นรอง นิสสัน ซิลฟี และฮอนด้า ซีวิค
โปรตอน เพรเว่ แบ่งทำตลาดเป็น 3 รุ่นคือ Standard, Executive และ Premium โดยทุกรุ่นมาพร้อมเครื่องยนต์ขนาด 1.6 ลิตร แต่สองรุ่นแรกจะใช้เครื่องยนต์รหัส CAMPRO IAFM+ 109 แรงม้า (ไร้ระบบอัดอากาศ) มีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และอัตโนมัติแบบCVT
ส่วนรุ่น Premium ใช้เครื่องยนต์ CAMPRO CFE ( CamPro Charge Fuel Efficiency) แบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 138 แรงม้า ที่ 5,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 205นิวตัน -เมตร ที่ 2,000-4,000 รอบต่อนาที ประกบเกียร์อัตโนมัติแบบ CVT
…ผู้เขียนได้ตัวท็อป Premium ราคา7.59 แสนบาทมาลองขับ ซึ่งเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร ถูกรีดกำลังด้วยเทอร์โบ ส่งให้ม้าทั้ง 138 ตัว ทำงานกระฉับกระเฉง ปล่อยพลังเต็มสูบตั้งแต่รอบต่ำ
การตอบสนองทันใจทั้งช่วงออกตัว เร่งแซง เมื่อผสานกับเกียร์ CVT ที่เซ็ทไว้ 7 สปีด ส่งกำลังได้นุ่มนวลและฉับไว ที่สำคัญโปรตอนยังเพิ่มความสปอร์ตด้วยการโยกเปลี่ยนเกียร์ได้เองจากคันเกียร์ และแพดเดิลชิฟท์หลังพวงมาลัย
เพรเว่รุ่นนี้ขับสนุกครับ พละกำลังมาแบบเนียนต่อเนื่อง อัตราเร่งจัดให้ตามน้ำหนักเท้า เรียกว่าทันทุกความต้องการ หรือถ้าชอบเล่นเปลี่ยนเกียร์เอง ลากรอบให้สูงหน่อย พร้อมฟังเสียงหวีดหวานของเทอร์โบยิ่งเพิ่มความเร้าใจ
ขณะที่ช่วงล่างหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังมัลติลิงก์ พร้อมเหล็กกันโคลง รับกับอัตราทดสุดท้ายอย่างล้ออัลลอยด์ 16 นิ้ว ประกบยาง 205/55 R16 ขับขี่ได้อย่างมั่นใจ ไม่เสียแรงที่เป็นเจ้าของ “โลตัส” สปอร์ตคาร์แห่งอังกฤษ
โดยความเร็ว 100-120 กม./ชม.สาดใส่ในโค้งยาวๆ รถยังทรงตัวหนึบ หรือขับทางตรงความเร็ว 140 -160 กม./ชม. ช่วงล่างแน่น ห้องโดยสารยังนิ่ง
ต้องยอมรับว่าความแรงของรถกับช่วงล่างสอดรับกันดี ไม่มีดิ้นไม่วอกแวก ทั้งนี้โปรตอน เพรเว่ อาจจะมีน้ำหนักพวงมาลัยมากไปนิด(ผ่อนแรงด้วยไฮดรอลิก) แน่นอนว่าขับทางไกลความเร็วสูงไม่ออกอาการเต้น แต่เรื่องความแม่นยำยังดูขาดๆเกินๆ ส่วนการขับขี่ในเมืองบนความเร็วต่ำ หรือวนหาที่จอดรถตามห้าง ก็คงต้องสาวพวงมาลัยกันเหนื่อยพอสมควร
การเก็บเสียงภายในห้องโดยสารดีกว่าโปรตอนหลายๆรุ่นที่ผ่านมา เบาะนั่งออกแบบโครงสร้างรับสรีระแต่สัมผัสแข็งไปนิด วัสดุอุปกรณ์ดูดีมีสกุลเทียบชั้นรถญี่ปุ่น ซึ่งในรุ่นท็อปนี้จัดออปชันมาเต็มครับ ทั้งระบบนำทางเนวิเกเตอร์ พร้อมจอทัชสกรีน เครื่องเล่นวิทยุ CD MP3 พร้อมช่องต่อUSB แอร์อัตโนมัติ ตลอดจนระบบเปิด-ปิดไฟหน้าอัตโนมัติ ไฟเลี้ยว LED ที่กระจกมองข้าง ปุ่มสตาร์ท-ดับเครื่องยนต์ และครูสคอนโทรล
นอกจากนี้ยังต้องชมในความพยามเรื่องระบบอำนวยความสะดวก แก่ผู้เป็นเจ้าของไม่ว่าจะเป็น ระบบไฟส่องนำทาง (เข้าบ้านกลางดึก) ที่ไฟหน้ายังเปิดค้างไว้ประมาณ 10-15 วินาที หลังจากล็อกรถ รวมถึงการเปิดฝากระโปรงท้ายรถ เมื่อกดปุ่มปลดล็อกจากรีโมทค้างไว้
ขณะที่ทัศนวิสัยการขับขี่ด้านหน้าชัดเจน แต่มองออกไปจะไม่เห็นฝากระโปรงหน้า ส่วนมุมมองผ่านกระจกหลังค่อนข้างบีบแคบ เนื่องจากพื้นที่กระจกหลังน้อยเพราะถูกบังคับโดยเส้นสายการออกแบบของเสาร์ซีพิลลาร์ที่ลาดเอียง (ต้องการให้สวยเหมือนรถคูเป้)
ส่วนความรู้สึกในการเบรกให้จังหวะชะลอหยุดนุ่มนวล แต่ต้องกดแป้นเบรกลงไปลึกหน่อย ซึ่งโปรตอน เพรเว่ ใช้ดิสก์เบรก 4 ล้อ พร้อมเสริมด้วยระบบไฟฟ้าอย่าง เบรกป้องกันล้อล็อกABS และระบบกระจายแรงเบรก EBD ทำหน้าที่กระจายแรงเบรกระหว่างล้อคู่หน้าและหลังได้อย่างสมดุล พร้อมระบบควบคุมการทรงตัวESC (Electronic Stability Control ) และระบบป้องกันการลื่นไถล (Traction Control) มากไปกว่านั้นยังให้ถุงลมนิรภัยมากถึง 6 ใบ คือคู่หน้า - ด้านข้าง (คนขับ-ผู้โดยสาร)และม่านถุงลม
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมัน จากการแสดงผลผ่านหน้าจออัจฉริยะ(ใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ 95แต่ตามสเปกเพรเว่สามารถเติมแก็สโซฮอล์ อี20 ได้) ขับช่วงการจราจรหนาแน่น สลับเคลื่อนตัวได้ดี มีตัวเลข 10 ลิตรต่อ 100 กม.(10 กม./ลิตร) หรือวิ่งนิ่งบนความเร็ว 100-120 กม./ชม. ยังทำได้ 9 ลิตร ต่อ 100 กม.(11.11 กม./ลิตร)
รวบรัดตัดความ...เคยขับโปรตอนมาก็หลายรุ่น แต่ผู้เขียนว่า“เพรเว่”ลงตัวที่สุด และพัฒนาดีขึ้นในหลายๆด้าน ทั้งคุณภาพการประกอบ รูปลักษณ์การออกแบบ พร้อมสมรรถนะจากเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร เทอร์โบ ช่วงล่างการทรงตัว ที่รวมๆแล้วให้ความสนุกสนาน และความมั่นใจในการขับขี่...เพลินๆลืมยี่ห้อนึกว่าขับ “โลตัส อีโวร่า”