ต่อเนื่องจากการเปิดตัว “ซีรีย์3 โมเดลเชนจ์” ตัวถังซีดาน F30 ที่เริ่มขาย(รุ่น320d) กันจริงจังตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จากนั้นปลายปีเดียวกันในงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2012 บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย ปูพรมเสริมไลน์ให้คอมแพกต์หรูคู่บุญอย่างต่อเนื่อง
โดยเพิ่มรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 320i ราคา 2.679 ล้านบาท และ328i ราคา3.099 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังส่งตัวถังสเตชันแวกอน320d Touring (F31) เข้าสู่ตลาดอีกหนึ่งรุ่น ซึ่งถือเป็นการยืนยันกลยุทธ์เสริมทัพโปรดักต์ไลน์อัพให้หลากหลาย เอาใจสาวกบิมเมอร์กันอย่างเต็มที่ (แม้บางรุ่นจะไม่ทำยอดขายแต่ได้เรื่องภาพลักษณ์ก็โอเค)
ถ้าพูดถึงรถตัวถังแวกอนที่บีเอ็มดับเบิลยูเรียก “ทัวริ่ง” ที่ผ่านมาเงียบหายไปจากโชว์รูมบีเอ็มดับเบิลยูช่วงระยะหนึ่ง แต่ถึงวันนี้น่าจะใช้คำว่าถูกขุดกลับมาทำตลาดอีกครั้งครับ เห็นชัดๆเริ่มจาก ซีรีย์5 F11 กับรุ่น520d Touring Sport ที่เปิดตัวงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2011 จากนั้นถัดมาอีกหนึ่งปีในงานเดียวกัน คนไทยก็มีโอกาสได้สัมผัส 320d Touring ทันที
ทั้งนี้ 520d Touring กับ 320d Touring ใช้เครื่องยนต์ดีเซลบล็อกเดียวกัน แรงม้า-แรงบิดเท่ากัน ที่สำคัญหน้าตาโดยเฉพาะด้านท้าย ถ้ามองแบบผ่านๆและมึนๆเรื่องขนาด อาจจะแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่ารุ่นไหนเป็นซีรีย์3 รุ่นไหนซีรีย์ 5
ด้านหน้า-ฝากระโปรง ถัดขึ้นมาเสาเอ-พิลลาร์ ต่อเนื่องมาถึงเสาบี-พิลลาร์ ใช้ชิ้นส่วนร่วมกับตัวถังซีดาน ขณะที่ตัวถังใหญ่กว่า “ซีรีย์3 ทัวริ่ง” รุ่นเดิมทุกมิติ ความยาวเพิ่มขึ้น97 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระยะฐานล้อขยายอีก 50 มิลลิเมตร ส่วนความกว้างล้อหน้า-หลังเพิ่มขึ้น 37 และ 48 มิลลิเมตรตามลำดับ
320d Touring ที่บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย นำเข้ามาขาย มาพร้อมชุดแต่ง M Sport Package กับชุดแอโรไดนามิครอบคัน ภายในใช้เบาะนั่งคู่หน้าแบบสปอร์ต, พวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่นหุ้มด้วยหนังแท้ดีไซน์พิเศษ เย็บตะเข็บด้วยสีน้ำเงินแบบ "M" พร้อมแพดเดิลชิฟท์เปลี่ยนเกียร์หลังพวงมาลัย และกาบบันไดอลูมิเนียมดีไซน์พิเศษพร้อมสัญลักษณ์ "M"
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า “ซีรีย์3 ทัวริ่ง” เป็นรถแวกอนที่ทำให้ลืมทัศนคติเดิมๆเรื่องความเชยของรถทรงกล่อง หรือความสูงอายุของ(คนขับ) รถประเภทนี้ไปเลย โดยภาพรวมออกแบบลงตัว ไม่ว่าจะมองเส้นสายด้านข้าง หรือมอง 45 องศาจากด้านท้ายก็งามหยด
นอกจากนี้บีเอ็มดับเบิลยูยังใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อย่างไฟหรี่ที่สว่างตรงมือเปิดประตูทั้งสี่บาน รวมถึงไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง ซึ่งคนขับสามารถเห็นแสงแว้บวาว(เล็กๆ)ได้จากภายใน เพื่อเตือนใจอีกครั้งว่าเปิดไฟเลี้ยวแล้ว ส่วนประตูหลังบานที่5 ยังติดตั้งระบบเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้าแบบ “วันทัช” ไม่ว่าจะเลือกงัดเปิดที่บานประตู หรือกดจากกุญแจรีโมท เช่นเดียวกับการปิดจะมีปุ่มให้กด(ฝังอยู่ขอบประตูด้านล่าง) ซึ่งประตูจะค่อยๆเลื่อนปิดลงมา โดยเราไม่ต้องใช้แรงแม้แต่น้อย
ส่วนออปชันมาตรฐานอื่นๆ มีกุญแจอัจฉริยะ เปิดประตูเข้าห้องโดยสาร สตาร์ท-ดับเครื่องยนต์โดยไม่ต้องใช้กุญแจ ระบบควบคุมฟังก์ชันการทำงานต่างๆของรถด้วย iDrive แสดงผลผ่านหน้าจอสีคมชัดขนาด 8 นิ้ว รวมถึงเลือกโหมดการขับขี่ได้ 4 แบบ คือ 1.อีโคโปร - ประหยัดน้ำมัน2.ธรรมดา - ขับขี่ปกติ 3.สปอร์ต - เครื่องยนต์ เกียร์ ตอบสนองเร้าใจ พวงมาลัยเฉียบคม ช่วงล่างหนึบขึ้น 4. สปอร์ต พลัส - เหมือนโหมดสปอร์ต แต่จะตัดระบบควบคุมการทรงตัวออกไป
ตลอดจนระบบออโต้สตาร์สต็อป ตัดการทำงานเครื่องยนต์เมื่อรถจอดหยุดนิ่ง(ติดไฟแดง) และติดขึ้นมาใหม่ทันทีเมื่อยกเท้าออกจากแป้นเบรก(เตรียมออกตัว) หวังลดอัตราบริโภคน้ำมันให้ได้มากที่สุด โดยตามสเปกเห็นบอกตัวเลขเฉลี่ยไว้ 21.7 กิโลเมตรต่อลิตร
ด้านเครื่องยนต์ดีเซล N47 ขนาด 2.0 ลิตรTwinPower Turbo 4 สูบแถวเรียง ให้กำลังสูงสุด184 แรงม้าที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 380 นิวตัน-เมตรที่ 1,750-2,750 รอบต่อนาที เมื่อส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด การทำงานนุ่มนวล เรียบลื่นดีครับ
บีเอ็มดับเบิลยูเคลมอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเอาไว้ 7.6 วินาที ก็ถือว่าไม่ขี้เหร่สำหรับรถแบบสเตชันแวกอน แต่ในโหมดการขับปกติ อาจจะดุดันน้อยกว่า 320d E90 (ขอเทียบกับตัวถังซีดานเพราะไม่เคยขับ E91) ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ารถจะอืดนะครับ เพียงแต่อารมณ์ฉุดกระฉากไม่เหมือนเดิม
ขณะที่แป้นเบรก แป้นคันเร่งค่อนข้างเบา ถ้าหวังอัตราเร่งแบบจี๊ดจ๊าด ต้องเพิ่มน้ำหนักเท้า กดคันเร่งลงไปเกินครึ่ง ส่วนการตอบสนองของพวงมาลัย ถ้าขับช้าๆหรือวนหาที่จอดรถก็เบามือผ่อนแรงดีมาก แต่เมื่อขับความเร็วสูงก็หน่วงน้ำหนักให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตามการขับขี่ในโหมดธรรมดา พวงมาลัยสั่งงานซ้าย-ขวาคล่องตัวระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับเฉียบคมนัก ซึ่งใครอยากได้อารมณ์แน่นๆมันๆ ก็เชิญไปที่โหมดสปอร์ตได้เลย
ด้วยโครงสร้างตัวถังแบบสเตชันแวกอน แม้การขับทางตรงรถทรงตัวดี หนึบนิ่งและแฝงความนุ่มนวลไว้พอสมควร แต่การขับขี่ในช่วงเข้าโค้ง อย่างไรเสียตัวถังซีดานยังให้ความปราดเปรียวกว่า กล่าวคือช่วงเข้า-ออกโค้งบนความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงของ 320d Touring ผู้ขับจะรับรู้ถึงอาการหน่วงที่ด้านท้ายอยู่นิดๆ
สำหรับ320d Touring เป็นรถนำเข้าทั้งคัน ราคาขายอยู่ที่ 4.499 ล้านบาท โดดหนีไปจากตัวถังซีดาน(320d ประกอบในประเทศ 2.899 ล้านบาท) ถึง 1.6 ล้านบาท แต่กระนั้นราคาก็ถูกกว่า 520d Touring (4.999 ล้านบาท) 5แสนบาท
รวบรัดตัดความ...ของเล่นเยอะพร้อมด้วยออปชันอำนวยความสะดวกปลอดภัย ขุมพลังดีเซลบล็อกนี้เมื่อประกบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดก็กลายเป็นสุดยอดระบบขับเคลื่อน ส่งผ่านกำลังสู่ล้อหลังได้ไหลลื่น ทั้งยังมีโหมดการขับขี่ให้เลือกหลากหลายตามอารมณ์ว่า ชอบประหยัดหรืออยากได้ความเร้าใจ อเนกประสงค์กับการเป็นรถตัวถังสเตชันแวกอน แถมรูปร่างหน้าตายังหล่อเท่...เจ้าของรถคันนี้ไม่เชย แต่ดูชีวิตประสบความสำเร็จและเป็นคนอบอุ่น
โดยเพิ่มรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 320i ราคา 2.679 ล้านบาท และ328i ราคา3.099 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังส่งตัวถังสเตชันแวกอน320d Touring (F31) เข้าสู่ตลาดอีกหนึ่งรุ่น ซึ่งถือเป็นการยืนยันกลยุทธ์เสริมทัพโปรดักต์ไลน์อัพให้หลากหลาย เอาใจสาวกบิมเมอร์กันอย่างเต็มที่ (แม้บางรุ่นจะไม่ทำยอดขายแต่ได้เรื่องภาพลักษณ์ก็โอเค)
ถ้าพูดถึงรถตัวถังแวกอนที่บีเอ็มดับเบิลยูเรียก “ทัวริ่ง” ที่ผ่านมาเงียบหายไปจากโชว์รูมบีเอ็มดับเบิลยูช่วงระยะหนึ่ง แต่ถึงวันนี้น่าจะใช้คำว่าถูกขุดกลับมาทำตลาดอีกครั้งครับ เห็นชัดๆเริ่มจาก ซีรีย์5 F11 กับรุ่น520d Touring Sport ที่เปิดตัวงานมอเตอร์เอ็กซ์โป 2011 จากนั้นถัดมาอีกหนึ่งปีในงานเดียวกัน คนไทยก็มีโอกาสได้สัมผัส 320d Touring ทันที
ทั้งนี้ 520d Touring กับ 320d Touring ใช้เครื่องยนต์ดีเซลบล็อกเดียวกัน แรงม้า-แรงบิดเท่ากัน ที่สำคัญหน้าตาโดยเฉพาะด้านท้าย ถ้ามองแบบผ่านๆและมึนๆเรื่องขนาด อาจจะแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่ารุ่นไหนเป็นซีรีย์3 รุ่นไหนซีรีย์ 5
ด้านหน้า-ฝากระโปรง ถัดขึ้นมาเสาเอ-พิลลาร์ ต่อเนื่องมาถึงเสาบี-พิลลาร์ ใช้ชิ้นส่วนร่วมกับตัวถังซีดาน ขณะที่ตัวถังใหญ่กว่า “ซีรีย์3 ทัวริ่ง” รุ่นเดิมทุกมิติ ความยาวเพิ่มขึ้น97 มิลลิเมตร ส่งผลให้ระยะฐานล้อขยายอีก 50 มิลลิเมตร ส่วนความกว้างล้อหน้า-หลังเพิ่มขึ้น 37 และ 48 มิลลิเมตรตามลำดับ
320d Touring ที่บีเอ็มดับเบิลยู ประเทศไทย นำเข้ามาขาย มาพร้อมชุดแต่ง M Sport Package กับชุดแอโรไดนามิครอบคัน ภายในใช้เบาะนั่งคู่หน้าแบบสปอร์ต, พวงมาลัยมัลติฟังก์ชั่นหุ้มด้วยหนังแท้ดีไซน์พิเศษ เย็บตะเข็บด้วยสีน้ำเงินแบบ "M" พร้อมแพดเดิลชิฟท์เปลี่ยนเกียร์หลังพวงมาลัย และกาบบันไดอลูมิเนียมดีไซน์พิเศษพร้อมสัญลักษณ์ "M"
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า “ซีรีย์3 ทัวริ่ง” เป็นรถแวกอนที่ทำให้ลืมทัศนคติเดิมๆเรื่องความเชยของรถทรงกล่อง หรือความสูงอายุของ(คนขับ) รถประเภทนี้ไปเลย โดยภาพรวมออกแบบลงตัว ไม่ว่าจะมองเส้นสายด้านข้าง หรือมอง 45 องศาจากด้านท้ายก็งามหยด
นอกจากนี้บีเอ็มดับเบิลยูยังใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อย่างไฟหรี่ที่สว่างตรงมือเปิดประตูทั้งสี่บาน รวมถึงไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง ซึ่งคนขับสามารถเห็นแสงแว้บวาว(เล็กๆ)ได้จากภายใน เพื่อเตือนใจอีกครั้งว่าเปิดไฟเลี้ยวแล้ว ส่วนประตูหลังบานที่5 ยังติดตั้งระบบเปิด-ปิดด้วยไฟฟ้าแบบ “วันทัช” ไม่ว่าจะเลือกงัดเปิดที่บานประตู หรือกดจากกุญแจรีโมท เช่นเดียวกับการปิดจะมีปุ่มให้กด(ฝังอยู่ขอบประตูด้านล่าง) ซึ่งประตูจะค่อยๆเลื่อนปิดลงมา โดยเราไม่ต้องใช้แรงแม้แต่น้อย
ส่วนออปชันมาตรฐานอื่นๆ มีกุญแจอัจฉริยะ เปิดประตูเข้าห้องโดยสาร สตาร์ท-ดับเครื่องยนต์โดยไม่ต้องใช้กุญแจ ระบบควบคุมฟังก์ชันการทำงานต่างๆของรถด้วย iDrive แสดงผลผ่านหน้าจอสีคมชัดขนาด 8 นิ้ว รวมถึงเลือกโหมดการขับขี่ได้ 4 แบบ คือ 1.อีโคโปร - ประหยัดน้ำมัน2.ธรรมดา - ขับขี่ปกติ 3.สปอร์ต - เครื่องยนต์ เกียร์ ตอบสนองเร้าใจ พวงมาลัยเฉียบคม ช่วงล่างหนึบขึ้น 4. สปอร์ต พลัส - เหมือนโหมดสปอร์ต แต่จะตัดระบบควบคุมการทรงตัวออกไป
ตลอดจนระบบออโต้สตาร์สต็อป ตัดการทำงานเครื่องยนต์เมื่อรถจอดหยุดนิ่ง(ติดไฟแดง) และติดขึ้นมาใหม่ทันทีเมื่อยกเท้าออกจากแป้นเบรก(เตรียมออกตัว) หวังลดอัตราบริโภคน้ำมันให้ได้มากที่สุด โดยตามสเปกเห็นบอกตัวเลขเฉลี่ยไว้ 21.7 กิโลเมตรต่อลิตร
ด้านเครื่องยนต์ดีเซล N47 ขนาด 2.0 ลิตรTwinPower Turbo 4 สูบแถวเรียง ให้กำลังสูงสุด184 แรงม้าที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 380 นิวตัน-เมตรที่ 1,750-2,750 รอบต่อนาที เมื่อส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีด การทำงานนุ่มนวล เรียบลื่นดีครับ
บีเอ็มดับเบิลยูเคลมอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเอาไว้ 7.6 วินาที ก็ถือว่าไม่ขี้เหร่สำหรับรถแบบสเตชันแวกอน แต่ในโหมดการขับปกติ อาจจะดุดันน้อยกว่า 320d E90 (ขอเทียบกับตัวถังซีดานเพราะไม่เคยขับ E91) ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความว่ารถจะอืดนะครับ เพียงแต่อารมณ์ฉุดกระฉากไม่เหมือนเดิม
ขณะที่แป้นเบรก แป้นคันเร่งค่อนข้างเบา ถ้าหวังอัตราเร่งแบบจี๊ดจ๊าด ต้องเพิ่มน้ำหนักเท้า กดคันเร่งลงไปเกินครึ่ง ส่วนการตอบสนองของพวงมาลัย ถ้าขับช้าๆหรือวนหาที่จอดรถก็เบามือผ่อนแรงดีมาก แต่เมื่อขับความเร็วสูงก็หน่วงน้ำหนักให้ความมั่นใจเพิ่มขึ้นมา
อย่างไรก็ตามการขับขี่ในโหมดธรรมดา พวงมาลัยสั่งงานซ้าย-ขวาคล่องตัวระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับเฉียบคมนัก ซึ่งใครอยากได้อารมณ์แน่นๆมันๆ ก็เชิญไปที่โหมดสปอร์ตได้เลย
ด้วยโครงสร้างตัวถังแบบสเตชันแวกอน แม้การขับทางตรงรถทรงตัวดี หนึบนิ่งและแฝงความนุ่มนวลไว้พอสมควร แต่การขับขี่ในช่วงเข้าโค้ง อย่างไรเสียตัวถังซีดานยังให้ความปราดเปรียวกว่า กล่าวคือช่วงเข้า-ออกโค้งบนความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงของ 320d Touring ผู้ขับจะรับรู้ถึงอาการหน่วงที่ด้านท้ายอยู่นิดๆ
สำหรับ320d Touring เป็นรถนำเข้าทั้งคัน ราคาขายอยู่ที่ 4.499 ล้านบาท โดดหนีไปจากตัวถังซีดาน(320d ประกอบในประเทศ 2.899 ล้านบาท) ถึง 1.6 ล้านบาท แต่กระนั้นราคาก็ถูกกว่า 520d Touring (4.999 ล้านบาท) 5แสนบาท
รวบรัดตัดความ...ของเล่นเยอะพร้อมด้วยออปชันอำนวยความสะดวกปลอดภัย ขุมพลังดีเซลบล็อกนี้เมื่อประกบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดก็กลายเป็นสุดยอดระบบขับเคลื่อน ส่งผ่านกำลังสู่ล้อหลังได้ไหลลื่น ทั้งยังมีโหมดการขับขี่ให้เลือกหลากหลายตามอารมณ์ว่า ชอบประหยัดหรืออยากได้ความเร้าใจ อเนกประสงค์กับการเป็นรถตัวถังสเตชันแวกอน แถมรูปร่างหน้าตายังหล่อเท่...เจ้าของรถคันนี้ไม่เชย แต่ดูชีวิตประสบความสำเร็จและเป็นคนอบอุ่น