ข่าวในประเทศ - ผ้าเบรก“คอมแพ็ค” ย้ำเป็นผู้นำตลาดสินค้าทดแทน (After Market) พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 150,000 ชุดต่อปีภายในเดือนตุลาคมนี้ หวังกวาดรายได้รวม 800 ล้านบาท โต 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เล็งตั้งโรงงานใหม่ที่พม่าคาด 2 ปีดำเนินการเรียบร้อย
พัฒนะ อิสระพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท คอมแพ็คอินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์เมืองไทยปีนี้เติบโตเป็นประวัติการณ์ ด้วยยอดขายภายในประเทศและส่งออกกว่า 2,000,000 คัน แต่ผลิตภัณฑ์บริษัทภายใต้แบรนด์ คอมแพ็ค ไดมอนด์ มูซาชิ และเคนจิ ไม่ได้รับอานิสงส์มากนัก เนื่องจากไม่ได้ทำตลาด OEM กับค่ายผู้ผลิตรถยนต์ แต่มั่นใจว่าจะทำยอดขายตามที่ตั้งเป้าไว้แน่นอน
“ผ้าเบรกคอมแพ็คมีอยู่ 2 ตลาดหลัก คือ ตลาด OES และตลาด After Market โดย After Market เราส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายที่ศูนย์คลิกเซอร์วิส เช่น ศูนย์บริการและร้านอะไหล่ ส่วนตลาดที่ใหญ่กว่านี้มี 2 ประเภท คือ OEM และ OES โดยศูนย์บริการรถยนต์แบรนด์ต่างๆ จะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เราแล้วไปติดโลโก้ของตัวเอง และนำไปติดตั้งในรถของผู้บริโภค ซึ่งเราเข้าไปตลาดนี้มาร่วม 2 ปีแล้ว แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ทราบ แม้ปัจจุบันมียอดขายไม่มากนัก เพราะป้อนสินค้าให้รถยนต์ไม่กี่รุ่น แต่ในอนาคตจะมีเพิ่มอีก 2 แบรนด์ เป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถบรรทุกยอดนิยม ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายได้แบบก้าวกระโดด ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปีจากนี้ ต้องเพิ่มสัดส่วนตลาด OES ให้ได้ 15% เนื่องจากตลาด OES ใหญ่กว่า OEM เป็นเท่าตัว มูลค่าตลาดคือ จำนวนรถที่วิ่งอยู่บนท้องถนนและรถป้ายแดงที่ใช้งานมา 2-3 ปี หรือขับมาแล้ว 50,000 กิโลเมตร ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายพยายามดึงรถเหล่านี้กลับมาใช้บริการที่ในศูนย์บริการตนเอง”
ส่วนตลาด After Market ผ้าเบรกในปีนี้มีมูลค่าใกล้เคียงปีก่อนหรือราว 2,500 ล้านบาท โดยได้รับอานิสงส์จากรถปิกอัพ รถแท็กซี่ และรถตู้บริการที่มีจำนวนมากที่ถูกใช้งานสมบุกสมบัน แต่หลังจากที่ภาครัฐผลักดันนโยบายรถคันแรกผนวกกับภัยน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว ทำให้ผู้ใช้ปล่อยรถเก่าไปซื้อรถใหม่มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการเปลี่ยนผ้าเบรกลดลง โดยปีที่แล้วคอมแพ็คปิดยอดขายกว่า 700 ล้านบาท คาดปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 10-20% หรือกว่า 800 ล้านบาท โดย 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) คอมแพ็คมียอดขายกว่า 700 ล้านบาท และมีภาคขนส่งมวลชนเป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะรถตู้ Commuter รุ่นเดียว มียอดขายกว่า 300,000 ชุด คอมแพ็คมีส่วนแบ่งตลาด 32% หรือกว่า 100,000 ชุด
นายพัฒนะกล่าวว่าอีก 5 ปีจากนี้ไป จะทำตลาด OEM กับค่ายผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ เป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ โดยทุ่มงบ 100-300 ล้าน ขยายโรงงานในจังหวัดเพชรบุรีที่มีพื้นที่ 45 ไร่ เพื่อป้อนสินค้าให้โรงงานผลิตรถยนต์
“ปัจจุบันเริ่มก่อสร้างอาคาร 2 หลังแล้ว มีพื้นที่ใช้สอย 6,000-10,000 ตารางเมตร และเชิญที่ปรึกษาเข้ามาดูกระบวนการพัฒนาว่าต้องปรับเปลี่ยนสิ่งใด เบื้องต้นประเมินการลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรมูลค่า 100 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรระบบ Automation ต้องใช้เงินลงทุน 300 ล้าน และได้ส่งทีมงานไปดูเครื่องจักรทั้งในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และจีน โดยเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีของเสียน้อย และกระบวนการผลิตต้องนำสิ่งที่เหลือใช้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีก”
นอกจากนี้ยังเตรียมขยายการลงทุนตลาดต่างประเทศแบบ 360 องศา นอกเหนือจากส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในหลายประเทศ โดยจะรุกตลาดร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในมาเลเซีย เพื่อกระจายสินค้าคอมแพ็ค มูซาชิ เคนจิ และไดมอนด์ ที่ทำร่วมกันมากว่า 1 ปีแล้ว พร้อมทั้งวางแผนตั้งโรงงานผลิตผ้าเบรก ณ นิคมอุตสาหกรรมเมืองทวาย ประเทศพม่า และลงทุนกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในอินโดนีเซีย เพื่อขยายตลาดและรองรับเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558
“2 ปีข้างหน้าจะเปิดโรงงานที่ทวาย ด้วยงบลงทุนราว 100 ล้านบาท ระยะแรกเน้นผลิตสินค้าบางประเภท เช่น ผ้าเบรกรถจักรยานยนต์และรถบรรทุก เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดทั้งในประเทศพม่าและประเทศเป้าหมาย เนื่องจากทวายเป็นฐานที่สามารถส่งสินค้าไปตามประเทศที่อยู่รอบๆ ได้สะดวก หรือส่งไปประเทศที่ 3 เช่น บังกลาเทศ ศรีลังกา ปากีสถาน ส่วนเครื่องจักรจะขนย้ายจากโรงงานที่ไทยไปติดตั้ง ขณะที่โรงงานในไทยจะลงทุนเพิ่ม ด้วยนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่เข้ามาทดแทน เพื่อยกระดับการผลิตให้ทันสมัยกว่าใคร ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่มีมาตรฐานระดับโลกอยู่แล้ว” นายพัฒนะกล่าว
พัฒนะ อิสระพิทักษ์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานพัฒนาธุรกิจและภาพลักษณ์ บริษัท คอมแพ็คอินเตอร์เนชั่นแนล (1994) จำกัด กล่าวว่า ตลาดรถยนต์เมืองไทยปีนี้เติบโตเป็นประวัติการณ์ ด้วยยอดขายภายในประเทศและส่งออกกว่า 2,000,000 คัน แต่ผลิตภัณฑ์บริษัทภายใต้แบรนด์ คอมแพ็ค ไดมอนด์ มูซาชิ และเคนจิ ไม่ได้รับอานิสงส์มากนัก เนื่องจากไม่ได้ทำตลาด OEM กับค่ายผู้ผลิตรถยนต์ แต่มั่นใจว่าจะทำยอดขายตามที่ตั้งเป้าไว้แน่นอน
“ผ้าเบรกคอมแพ็คมีอยู่ 2 ตลาดหลัก คือ ตลาด OES และตลาด After Market โดย After Market เราส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายที่ศูนย์คลิกเซอร์วิส เช่น ศูนย์บริการและร้านอะไหล่ ส่วนตลาดที่ใหญ่กว่านี้มี 2 ประเภท คือ OEM และ OES โดยศูนย์บริการรถยนต์แบรนด์ต่างๆ จะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เราแล้วไปติดโลโก้ของตัวเอง และนำไปติดตั้งในรถของผู้บริโภค ซึ่งเราเข้าไปตลาดนี้มาร่วม 2 ปีแล้ว แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่ทราบ แม้ปัจจุบันมียอดขายไม่มากนัก เพราะป้อนสินค้าให้รถยนต์ไม่กี่รุ่น แต่ในอนาคตจะมีเพิ่มอีก 2 แบรนด์ เป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถบรรทุกยอดนิยม ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายได้แบบก้าวกระโดด ตั้งเป้าว่าภายใน 5 ปีจากนี้ ต้องเพิ่มสัดส่วนตลาด OES ให้ได้ 15% เนื่องจากตลาด OES ใหญ่กว่า OEM เป็นเท่าตัว มูลค่าตลาดคือ จำนวนรถที่วิ่งอยู่บนท้องถนนและรถป้ายแดงที่ใช้งานมา 2-3 ปี หรือขับมาแล้ว 50,000 กิโลเมตร ต้องเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายพยายามดึงรถเหล่านี้กลับมาใช้บริการที่ในศูนย์บริการตนเอง”
ส่วนตลาด After Market ผ้าเบรกในปีนี้มีมูลค่าใกล้เคียงปีก่อนหรือราว 2,500 ล้านบาท โดยได้รับอานิสงส์จากรถปิกอัพ รถแท็กซี่ และรถตู้บริการที่มีจำนวนมากที่ถูกใช้งานสมบุกสมบัน แต่หลังจากที่ภาครัฐผลักดันนโยบายรถคันแรกผนวกกับภัยน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว ทำให้ผู้ใช้ปล่อยรถเก่าไปซื้อรถใหม่มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการเปลี่ยนผ้าเบรกลดลง โดยปีที่แล้วคอมแพ็คปิดยอดขายกว่า 700 ล้านบาท คาดปีนี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 10-20% หรือกว่า 800 ล้านบาท โดย 9 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน) คอมแพ็คมียอดขายกว่า 700 ล้านบาท และมีภาคขนส่งมวลชนเป็นตลาดใหญ่ โดยเฉพาะรถตู้ Commuter รุ่นเดียว มียอดขายกว่า 300,000 ชุด คอมแพ็คมีส่วนแบ่งตลาด 32% หรือกว่า 100,000 ชุด
นายพัฒนะกล่าวว่าอีก 5 ปีจากนี้ไป จะทำตลาด OEM กับค่ายผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆ เป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่ที่น่าสนใจ โดยทุ่มงบ 100-300 ล้าน ขยายโรงงานในจังหวัดเพชรบุรีที่มีพื้นที่ 45 ไร่ เพื่อป้อนสินค้าให้โรงงานผลิตรถยนต์
“ปัจจุบันเริ่มก่อสร้างอาคาร 2 หลังแล้ว มีพื้นที่ใช้สอย 6,000-10,000 ตารางเมตร และเชิญที่ปรึกษาเข้ามาดูกระบวนการพัฒนาว่าต้องปรับเปลี่ยนสิ่งใด เบื้องต้นประเมินการลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรมูลค่า 100 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นเครื่องจักรระบบ Automation ต้องใช้เงินลงทุน 300 ล้าน และได้ส่งทีมงานไปดูเครื่องจักรทั้งในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน และจีน โดยเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีของเสียน้อย และกระบวนการผลิตต้องนำสิ่งที่เหลือใช้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีก”
นอกจากนี้ยังเตรียมขยายการลงทุนตลาดต่างประเทศแบบ 360 องศา นอกเหนือจากส่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในหลายประเทศ โดยจะรุกตลาดร่วมกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในมาเลเซีย เพื่อกระจายสินค้าคอมแพ็ค มูซาชิ เคนจิ และไดมอนด์ ที่ทำร่วมกันมากว่า 1 ปีแล้ว พร้อมทั้งวางแผนตั้งโรงงานผลิตผ้าเบรก ณ นิคมอุตสาหกรรมเมืองทวาย ประเทศพม่า และลงทุนกับผู้ประกอบการรายใหญ่ในอินโดนีเซีย เพื่อขยายตลาดและรองรับเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2558
“2 ปีข้างหน้าจะเปิดโรงงานที่ทวาย ด้วยงบลงทุนราว 100 ล้านบาท ระยะแรกเน้นผลิตสินค้าบางประเภท เช่น ผ้าเบรกรถจักรยานยนต์และรถบรรทุก เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดทั้งในประเทศพม่าและประเทศเป้าหมาย เนื่องจากทวายเป็นฐานที่สามารถส่งสินค้าไปตามประเทศที่อยู่รอบๆ ได้สะดวก หรือส่งไปประเทศที่ 3 เช่น บังกลาเทศ ศรีลังกา ปากีสถาน ส่วนเครื่องจักรจะขนย้ายจากโรงงานที่ไทยไปติดตั้ง ขณะที่โรงงานในไทยจะลงทุนเพิ่ม ด้วยนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่เข้ามาทดแทน เพื่อยกระดับการผลิตให้ทันสมัยกว่าใคร ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่มีมาตรฐานระดับโลกอยู่แล้ว” นายพัฒนะกล่าว