แม้จะมีชื่อว่าเป็นต้นแบบที่มีคิวโชว์ตัวในงานแฟรงค์เฟิร์ต มอเตอร์โชว์ หรือ IAA 2011 ที่จะเริ่มรอบสื่อมวลชนวันแรกในวันที่ 13 กันยายน 2554 แต่ดูๆ แล้ว ต้นแบบอาจจะกลายเป็นจริงในเร็วๆ นี้ โดยเชื่อว่าฟอร์วิชั่น คอนเซปต์มีส่วนคล้ายอย่างมากในการที่จะกลายเป็นรุ่นใหม่ หรือโมเดลเชนจ์ของซิตี้คาร์รุ่นฟอร์ทู ที่เปิดตัวขายมาตั้งแต่ปี 1998
ที่บอกเช่นนี้ก็เพราะตัวรถมีส่วนละม้ายคล้ายกับฟอร์ทูอย่างมาก โดยเฉพาะรูปทรงโดยรวมในแบบซิตี้คาร์ 2 ที่นั่ง และเชื่อว่าเครื่องยนต์ก็น่าจะยังวางด้านท้ายเหมือนเดิม โดยโปรเจกต์นี้ทางสมาร์ททำงานร่วมกับ BASF ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์รถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเคมีภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเยอรมนี และมีเป้าหมายเดียวกัน คือ การแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความสามารถทางด้านเทคโนโลยีที่พวกเขามีอยู่ในการตอบสนองการใช้งานในยุคหน้า
จุดเด่นของตัวรถคือ การพัฒนารถยนต์ที่ใช้วัสดุรูปแบบใหม่ที่สามารถตอบสนองในด้านการใช้งาน และมีจุดเด่นในเรื่องของการลดความสิ้นเปลืองน้ำมันและพลังงานในระหว่างเดินทาง ซึ่งทางดร.คริสเตียน ฟิสเชอร์ หัวหน้าในส่วนวิจัยงานโพลีเมอร์ของ BASF กล่าวว่า รถยนต์ในยุคหน้าจำเป็นจะต้องได้รับการสร้างขึ้นมาโดยใช้วัสดุที่มีความทันสมัยและลดความสิ้นเปลืองการเชื้อเพลิง แต่ยังคงต้องเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานและสมรรถนะในการขับขี่
“นี่คือเหตุผลที่ทำให้ทาง BASF จำเป็นต้องพัฒนาวัสดุประเภทใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับกับความต้องการ และจะต้องเป็นวัสดุที่มีความเป็นไปได้ในการผลิตจริงในเชิงพาณิชย์สำหรับในอนาคต” ดร.ฟิสเชอร์ กล่าว
ไฮไลต์ของตัวรถเห็นจะเป็นหลังคาที่มาพร้อมกับลดลายทรงหกเหลี่ยมซึ่งมีการติดตั้งกระจกใสเอาไว้ เพื่อทำหน้าที่เป็นเสมือนกับตัวกรองแสงเข้าสู่ห้องโดยสาร และขณะเดียวกันก็เป็นหลังคาแบบ Light-Transmitting Roof สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์แบบโปร่งใสเอาไว้ด้วย โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งไปใช้กับระบบอำนวยความสะดวกภายในห้องโดยสาร
ส่วนอีกเทคโนโลยีที่ติดตั้งอยู่ในรถ คือ หลอดแบบ OLED หรือ Organic Light-Emitting Diodes จะทำหน้าที่เป็นไฟส่องสว่างภายในห้องโดยสาร ซึ่งมีความทนทาน และที่สำคัญคือ ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดปกติหลายเท่า
ไฮไลต์ของตัวรถเห็นจะเป็นหลังคาที่มาพร้อมกับลดลายทรงหกเหลี่ยมซึ่งมีการติดตั้งกระจกใสเอาไว้ เพื่อทำหน้าที่เป็นเสมือนกับตัวกรองแสงเข้าสู่ห้องโดยสาร และขณะเดียวกันก็เป็นหลังคาแบบ Light-Transmitting Roof สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์แบบโปร่งใสเอาไว้ด้วย โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกส่งไปใช้กับระบบอำนวยความสะดวกภายในห้องโดยสาร
ส่วนอีกเทคโนโลยีที่ติดตั้งอยู่ในรถ คือ หลอดแบบ OLED หรือ Organic Light-Emitting Diodes จะทำหน้าที่เป็นไฟส่องสว่างภายในห้องโดยสาร ซึ่งมีความทนทาน และที่สำคัญคือ ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่าหลอดปกติหลายเท่า
ในส่วนของวัสดุที่เน้นน้ำหนักตามที่ BASF บอก คือ การพัฒนาพลาสติกชนิดพิเศษที่สามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์ โดยสมาร์ทนำมาใช้ในการผลิตตามส่วนต่างๆ ของตัวรถ ยกเว้นบานประตูที่ผลิตจากคาร์บอนไฟเบอร์ ส่วนโครงสร้างหลักก็เป็นตัวถังนิรภัยของสมาร์ทที่ชื่อว่า Tridion ขณะที่ล้อแม็กเป็นวัสดุใหม่เช่นกัน ซึ่งทาง BASF เคลมว่ามีน้ำหนักเบากว่าล้อที่ใช้วัสดุปกติถึง 3 กิโลกรัมต่อวงเลยทีเดียว
นอกจากนั้น ในส่วนของชิ้นส่วนภายในห้องโดยสารก็มีการใช้วัสดุที่มีความล้ำหน้าทางด้านเทคโนโลยีเช่นกัน อย่างโฟมที่ใช้ในเบาะนั่งก็มีน้ำหนักเบากกว่า 10-20% เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุปกติที่ใช้ในการทำเบาะ ขณะที่การควบคุมอุณหภูมิในห้องโดยสารถือเป็นอีกไฮไลต์ของตัวรถ
เรื่องนี้มีการให้ความสำคัญก็เพราะยิ่งลดปัญหาในเรื่องความร้อนภายในห้องโดยสารลงได้เท่าไร ก็เท่ากับว่าเป็นการช่วยลดภาระให้กับระบบเครื่องปรับอากาศ และทำให้ลดความสิ้นเปลืองของการใช้ไฟฟ้า โดยทาง BASF บอกว่าวัสดุที่ใช้ในการกันความร้อนเป็นวัสดุใหม่ล่าสุดที่ยังไม่เคยนำมาใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์มาก่อน แต่ก็ยังไม่เปิดเผย ส่วนกระจกรอบคันก็เป็นแบบที่ติดฟิล์มซึ่งสามาราถสะท้อนคลื่นรังสีอินฟาเรดได้
ภาพรวมในเรื่องของการลดน้ำหนักด้วยวัสดุแบบใหม่ในต้นแบบรุ่นนี้คือ น้ำหนักลดลงถึง 50% เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ขนาดเดียวกันที่ผลิตจากเหล็ก และ 30% เมื่อเปรียบเทียบกับอะลูมิเนียมเลยทีเดียว
ถือเป็นรถยนต์ยุคหน้าที่มาพร้อมกับวัสดุที่สุดแสนจะไฮเทคจริงๆ