ถ้ายังจำกันได้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” มีโอกาสร่วมงาน Next Generation Mazda3 Prototype & Test Drive ซึ่งถือเป็นการ “พรีลอนซ์ โปรดักต์” พร้อมให้ลองขับแบบแอบๆ ที่สนามโบนันซ่า มอเตอร์ สปอร์ตแลนด์ เขาใหญ่ ซึ่งครานั้น “มาสด้า3 โมเดลเชนจ์” ถูกปิดหน้าพรางตาเสียมิดชิด และไม่ได้บอกสเปกระบบขับเคลื่อนใดๆ(แต่ก็พอรู้คร่าวๆจากสเปกเมืองนอก ที่ทำตลาดมาก่อนหน้าเกือบ 2 ปี)
คลิกที่นี่อ่านข่าว อุ่นเครื่อง“มาสด้า3 ใหม่”-ลองขับแบบ“แอบ แอบ”
ล่าสุดสัปดาห์ที่แล้ว บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่งจัดงานทดสอบ “มาสด้า 3 ใหม่” โดยเชิญนักข่าวหลายสำนักมาสัมผัสประสบการณ์เต็ม บนเส้นทาง กรุงเทพ-กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งทีมงานเลือกใช้ถนนสายมิตรภาพ แล้วตัดเข้าถนนธนะรัชต์-เขาใหญ่ วิ่งผ่านโค้งเขียว-เขาสวย รวมระยะทางเกือบ 400 กิโลเมตร
สำหรับ“มาสด้า 3 ใหม่” เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน “บางกอกมอเตอร์โชว์ 2011” พร้อมทำตลาดกับรุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ตัวถังซีดานและแฮทซ์แบ็ก โดยโมเดลนี้ถูกขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงาน เอเอที จังหวัดระยอง ซึ่งต่างกับโฉมเก่าที่นำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์
ทั้งนี้ช่วงแรกของการประกอบ “มาสด้า 3 ใหม่” จะใช้ชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น 100% เรียกว่ายกชุด CKD กันมาเลย ดังนั้นหลังการเปิดตัวช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เลยโดน“แจคพ็อต”ขาดแคลนชิ้นส่วนจากพิษสึนามิ-แผ่นดินไหว เหมือนรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรุ่น จน “มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย” ต้องเลื่อนส่งมอบรถให้ลูกค้า หรือทำให้เสียโอกาสทางการขายไปเกือบ 2 เดือน
...แต่ถึงวันนี้ทั้งคน(ขาย) และรถ(จากโรงงาน) พร้อมแล้วที่จะให้ท่านเป็นเจ้าของ กับราคา 1.064 ล้านบาท เท่ากันทั้งซีดานและแฮทซ์แบ็ก
ในส่วนของรูปลักษณ์ภายนอก ก็แล้วแต่ความชอบและไลฟ์สไตล์ส่วนตัวนะครับว่า จะเลือกตัวถังซีดานหรือแฮทซ์แบ็ก แต่ส่วนตัวผู้เขียนนะ ชอบรถท้ายตัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
สำหรับตัวแฮทซ์แบ็กที่ผู้เขียนได้ลองในทริปนี้ มาพร้อมรูปลักษณ์โฉบเฉี่ยว สวยแบบไม่บันยะบันยัง ทั้งโคมไฟหน้า กระจังหน้า เส้นสายรอบคัน ไล่ตั้งแต่เสาร์เอ-พิลลาร์ เสาซี-พิลลาร์ ไปจรดไฟท้าย โดดเด่นทุกมุมมอง
ภายในของรุ่นแฮทซ์แบ็ก จะใช้โทนสีดำตัดกับ“ทริม”เมทาลิกที่แต้มแต่งบริเวณพวงมาลัย คันเกียร์ ปุ่มควบคุม และแผงคอนโซลต่างๆ (ถ้าเป็นตัวถังซีดานจะเน้นโทนสีเบจสลับดำ)
การตกแต่งภายในทำได้ทันสมัย มองภาพรวมแล้วสบายตา อุปกรณ์ต่างๆจัดวางถนัดมือใช้งานง่าย ส่วนเบาะนั่งคู่หน้า โครงสร้างโอบกระชับ แต่การรองรับแข็งไปนิด และสามารถปรับระดับสูง-ต่ำ เอนองศาได้ด้วยมือโยก
นอกจากนี้ยังรู้สึกว่า ทัศนวิสัยด้านหน้าของ “มาสด้า 3 ใหม่” ไม่ได้โปร่งมากนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะการออกแบบโครงสร้างลาดเอียงแนวสปอร์ต ทำให้“เสาเอ” ต้นโตดูขวางหูขวางตาพอสมควร
อย่างไรก็ตาม“มาสด้า 3 ใหม่” ยังยึดโครงสร้างพัฒนาจากโมเดลเดิม ดังนั้นในส่วนของมิติตัวถังแม้จะดูอวบนูนขึ้นแต่ถ้ากางสเปกแล้ว จะพบว่าระยะฐานล้อและความกว้างจะเท่ากับรุ่นเก่าไม่ผิดเพี้ยน หรือ 2,640 มม. และ1,755 ตามลำดับ (แต่ความยาวจะเพิ่มขึ้น 75 มม.เมื่อเทียบกับตัวถังแฮทซ์แบ็กรุ่นเก่า)
เช่นเดียวกับเครื่องยนต์เบนซิน MZR บล็อกเดิม ขนาด 1999 ซีซี DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมวาล์วแปรผัน S-VT ให้กำลังสูงสุด147 แรงม้าเท่าเดิม แต่ปรับระบบส่งกำลังเป็นเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด (รุ่นเก่า 4 สปีด)
แม้ขุมพลังไม่เปลี่ยน แต่วิศวกรมาสด้า บอกว่าด้วยเกียร์ 5 สปีดใหม่ แบบ Active Adaptive Shift (AAS) ซึ่งเป็นระบบเทพที่ใช้ใน “อาร์เอ็กซ์8” และ “มาสด้า 6” จะช่วยให้ประสิทธิภาพการส่งกำลังสู่ล้อคู่หน้าทำได้ดีกว่ารุ่นเก่า
การลองขับนอกเมืองทางยาวๆ เกียร์ชุดนี้ส่งกำลังได้ต่อเนื่อง แต่รอบก็ดีดสูงพอสมควร ในส่วนของอัตราเร่งนั้น มาแบบนุ่มเรียบ แต่ถ้าจะเรียกใช้ก็มาทันใจ จัดให้ไม่ได้ขาด
การวิ่งทางเขา ผ่านเนิน โค้งเยอะ ก็แช่เอาไว้ที่ตำแหน่งเกียร์ D ระบบจะทดหรือเลือกเกียร์ที่เหมาะสมในการขับขี่ ขณะเดียวกันกรณีที่ผู้เขียนลองเลือกเล่นเปลี่ยนเกียร์เอง โดยใช้แพดเดิลชิฟท์หลังพวงมาลัย เกียร์ก็ตอบสนองได้รวดเร็ว และฉลาดเอาเรื่อง
อย่างไรก็ตามส่วนที่ประทับใจผู้เขียน และรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงชัดมากๆคือช่วงล่าง ซึ่งใน“มาสด้า 3 ใหม่” วิศวกรมาสด้าพยายามจะหาความสมดุลระหว่างความสปอร์ตกับความนุ่มสบาย และผลที่ได้คือ ความดิบกระด้างน้อยลง รองรับแรงสะท้านจากพื้นถนนได้นุ่มเงียบ แต่ถ้าอยากได้ความรู้สึก “ซูม-ซูม” ในโค้งหรือการขับความเร็วสูง ตัวรถยังเฟิร์มแน่น ไม่มีอาการยวบย้อย
สำหรับช่วงล่างหน้า แม็คเฟอร์สันสตรัท โช้คอัพ คอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง หลังมัลติลิงค์ โช้คอัพ คอยล์สปริงและเหล็กกันโคลง ดูแล้วเหมือนจะเป็นโครงสร้างที่คุ้นเคย แต่วิศวกรมาสด้าบอกว่า ระบบรองรับของ “มาสด้า 3 ใหม่” ถูกปรับให้มีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็น หน้าตัดซับเฟรมที่หนาขึ้น เหล็กกันโคลงหน้า-หลังยาวขึ้น และเพิ่มจุดยึดในหลายชิ้นส่วน เพื่อการรองรับอย่างสมดุลและแข็งแกร่ง
ขณะเดียวกันการพัฒนาโครงสร้างตัวถังและช่วงล่างใหม่ ยังส่งผลกับการเก็บเสียง ซึ่งภายในห้องโดยสาร“มาสด้า 3 ใหม่” ถือว่าเงียบมากนะครับ เมื่อเทียบกับรุ่นเก่า ทั้งเสียงเครื่อง เสียงลมปะทะ หรือเสียงรบกวนต่างๆ จัดการได้ดี
อย่างไรก็ตามถ้าขับความเร็วสูง จะมีเสียงยางบนพื้นถนน กรีดดังเข้ามานิดหน่อย ซึ่งวิศวกรมาสด้ายอมรับว่า เป็นผลจากการใช้ยางขนาด 205/50 R17 รวมถึงลายดอกยาง ที่มาเจอถนนเมืองไทย ก็อาจจะมีเสียงดังบ้าง
ทั้งนี้การขับความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ภายในห้องโดยสารยังรู้สึกนิ่ง การทรงตัวเยี่ยม บวกกับพวงมาลัย ที่แม้จะหันมาใช้ระบบผ่อนด้วยแรงไฟฟ้าตามสมัยนิยม แต่น้ำหนักไม่เบาโหวงเหมือนรถขนาดคอมแพกต์บางรุ่น โดยการสั่งงานซ้าย-ขวาตรงไปตรงมา หรือกรณีขับความเร็วสูงยังบังคับได้เชื่องมือ
ส่วนหน้าที่การห้ามล้อของ ดิสก์เบรกหน้า-หลัง ทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่กระนั้นอาจต้องปรับความรู้สึกในช่วงแรก เพราะคนขับต้องเหยียบแป้นให้จมไปลึกหน่อย ถึงจะรับรู้ถึงอาการจับของเบรก ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่า มาสด้าพยายามจะทำให้การเบรกนุ่มนวล ไม่หัวทิ่มหัวตำ หวังตอบสนองลูกค้าในวงกว้าง
...แหมแต่นี่รุ่น 2.0 ลิตรนะครับ น่าจะทำให้สปอร์ต หรือรู้สึกว่าเบรกหนึบจับ สัมพันธ์ทันใจกับน้ำหนักการกดแป้นเบรกกว่านี้สักนิด
ทั้งหมดเป็นเรื่องของความรู้สึกและสมรรถนะที่ผู้เขียนพอจับสัมผัสได้กับ “มาสด้า 3 ใหม่” แต่ในส่วนของออปชันอำนวยความสะดวกปลอดภัยในรุ่น 2.0 ลิตรนี้ถือว่ามาเต็ม ทั้ง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก 4W-ABS ระบบกระจายแรงเบรค EBD ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล Traction Control ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวDSC พร้อมถุงลมนิรภัยคู่หน้า ตลอดจน กุญแจรีโมทอัจฉริยะ (Smart Keyless Entry) แบบ Push Start Button และระบบไฟหน้าปรับระดับสูง-ต่ำอัตโนมัติ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันของมาสด้า 3 ตัวถังแฮทซ์แบ็ก รุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ที่ผ่านการขับโหดบนทางตรงใช้ความเร็วเกิน120 กม./ชม. ตามโอกาสอำนวย พร้อมการวิ่งขึ้นเนิน-ลงเขา หรือบางช่วงก็มีเพื่อนรถบรรทุกประกบตลอดทาง(จำเป็นต้องเร่งแซง) สุดท้ายหน้าปัดอัจฉริยะของรถคำนวณให้เสร็จสรรพ(เป็นหน่วยลิตรต่อ 100 กม.) จนได้ตัวเลข 8-9 กิโลเมตรต่อลิตร ส่วนอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย มาสด้าเคลมไว้ 12.2 กิโลเมตรต่อลิตร
รวบรัดตัดความ... “มาสด้า 3 ใหม่” แม้จะเว้นวรรคการขาย แต่ไม่ได้เว้นวรรคความสวย ด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร และเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีดใหม่ ตอบสนองดีระดับหนึ่ง เหนืออื่นใดที่ต้องชมเชย คงเป็นช่วงล่างที่เซ็ทมานุ่มหนึบแบบรถยุโรป พร้อมการควบคุมผ่านพวงมาลัยนิ่งเนียน รองรับทุกสไตล์การขับ
...แม้ยอดขายต่อปีจะไม่มาก แต่มาสด้าย้ำเป็นหนักแน่นว่า ที่ผ่านมาในเซกเมนต์คอมแพกต์คาร์ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร “มาสด้า 3” สามารถทำยอดขายเป็นอันดับหนึ่ง เหนือ “ฮอนด้า ซีวิค” และ “โตโยต้า อัลติส” ซึ่งมาถึงโฉมใหม่นี้ ก็ยังหวังรักษาถ้วยแชมป์ใบเดิมเอาไว้ ส่วนใครชอบรูปลักษณ์สวยเฉียบ แต่อยากได้ราคาที่เป็นมิตร กับเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร คงต้องรอการเปิดรับจองช่วงปลายปี หรือในงาน “มอเตอร์เอ็กซ์โป 2011” และรับรถได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า
คลิกที่นี่อ่านข่าว อุ่นเครื่อง“มาสด้า3 ใหม่”-ลองขับแบบ“แอบ แอบ”
ล่าสุดสัปดาห์ที่แล้ว บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่งจัดงานทดสอบ “มาสด้า 3 ใหม่” โดยเชิญนักข่าวหลายสำนักมาสัมผัสประสบการณ์เต็ม บนเส้นทาง กรุงเทพ-กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งทีมงานเลือกใช้ถนนสายมิตรภาพ แล้วตัดเข้าถนนธนะรัชต์-เขาใหญ่ วิ่งผ่านโค้งเขียว-เขาสวย รวมระยะทางเกือบ 400 กิโลเมตร
สำหรับ“มาสด้า 3 ใหม่” เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน “บางกอกมอเตอร์โชว์ 2011” พร้อมทำตลาดกับรุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ตัวถังซีดานและแฮทซ์แบ็ก โดยโมเดลนี้ถูกขึ้นไลน์ผลิตที่โรงงาน เอเอที จังหวัดระยอง ซึ่งต่างกับโฉมเก่าที่นำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์
ทั้งนี้ช่วงแรกของการประกอบ “มาสด้า 3 ใหม่” จะใช้ชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น 100% เรียกว่ายกชุด CKD กันมาเลย ดังนั้นหลังการเปิดตัวช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เลยโดน“แจคพ็อต”ขาดแคลนชิ้นส่วนจากพิษสึนามิ-แผ่นดินไหว เหมือนรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรุ่น จน “มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย” ต้องเลื่อนส่งมอบรถให้ลูกค้า หรือทำให้เสียโอกาสทางการขายไปเกือบ 2 เดือน
...แต่ถึงวันนี้ทั้งคน(ขาย) และรถ(จากโรงงาน) พร้อมแล้วที่จะให้ท่านเป็นเจ้าของ กับราคา 1.064 ล้านบาท เท่ากันทั้งซีดานและแฮทซ์แบ็ก
ในส่วนของรูปลักษณ์ภายนอก ก็แล้วแต่ความชอบและไลฟ์สไตล์ส่วนตัวนะครับว่า จะเลือกตัวถังซีดานหรือแฮทซ์แบ็ก แต่ส่วนตัวผู้เขียนนะ ชอบรถท้ายตัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
สำหรับตัวแฮทซ์แบ็กที่ผู้เขียนได้ลองในทริปนี้ มาพร้อมรูปลักษณ์โฉบเฉี่ยว สวยแบบไม่บันยะบันยัง ทั้งโคมไฟหน้า กระจังหน้า เส้นสายรอบคัน ไล่ตั้งแต่เสาร์เอ-พิลลาร์ เสาซี-พิลลาร์ ไปจรดไฟท้าย โดดเด่นทุกมุมมอง
ภายในของรุ่นแฮทซ์แบ็ก จะใช้โทนสีดำตัดกับ“ทริม”เมทาลิกที่แต้มแต่งบริเวณพวงมาลัย คันเกียร์ ปุ่มควบคุม และแผงคอนโซลต่างๆ (ถ้าเป็นตัวถังซีดานจะเน้นโทนสีเบจสลับดำ)
การตกแต่งภายในทำได้ทันสมัย มองภาพรวมแล้วสบายตา อุปกรณ์ต่างๆจัดวางถนัดมือใช้งานง่าย ส่วนเบาะนั่งคู่หน้า โครงสร้างโอบกระชับ แต่การรองรับแข็งไปนิด และสามารถปรับระดับสูง-ต่ำ เอนองศาได้ด้วยมือโยก
นอกจากนี้ยังรู้สึกว่า ทัศนวิสัยด้านหน้าของ “มาสด้า 3 ใหม่” ไม่ได้โปร่งมากนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะการออกแบบโครงสร้างลาดเอียงแนวสปอร์ต ทำให้“เสาเอ” ต้นโตดูขวางหูขวางตาพอสมควร
อย่างไรก็ตาม“มาสด้า 3 ใหม่” ยังยึดโครงสร้างพัฒนาจากโมเดลเดิม ดังนั้นในส่วนของมิติตัวถังแม้จะดูอวบนูนขึ้นแต่ถ้ากางสเปกแล้ว จะพบว่าระยะฐานล้อและความกว้างจะเท่ากับรุ่นเก่าไม่ผิดเพี้ยน หรือ 2,640 มม. และ1,755 ตามลำดับ (แต่ความยาวจะเพิ่มขึ้น 75 มม.เมื่อเทียบกับตัวถังแฮทซ์แบ็กรุ่นเก่า)
เช่นเดียวกับเครื่องยนต์เบนซิน MZR บล็อกเดิม ขนาด 1999 ซีซี DOHC 4 สูบ 16 วาล์ว พร้อมวาล์วแปรผัน S-VT ให้กำลังสูงสุด147 แรงม้าเท่าเดิม แต่ปรับระบบส่งกำลังเป็นเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด (รุ่นเก่า 4 สปีด)
แม้ขุมพลังไม่เปลี่ยน แต่วิศวกรมาสด้า บอกว่าด้วยเกียร์ 5 สปีดใหม่ แบบ Active Adaptive Shift (AAS) ซึ่งเป็นระบบเทพที่ใช้ใน “อาร์เอ็กซ์8” และ “มาสด้า 6” จะช่วยให้ประสิทธิภาพการส่งกำลังสู่ล้อคู่หน้าทำได้ดีกว่ารุ่นเก่า
การลองขับนอกเมืองทางยาวๆ เกียร์ชุดนี้ส่งกำลังได้ต่อเนื่อง แต่รอบก็ดีดสูงพอสมควร ในส่วนของอัตราเร่งนั้น มาแบบนุ่มเรียบ แต่ถ้าจะเรียกใช้ก็มาทันใจ จัดให้ไม่ได้ขาด
การวิ่งทางเขา ผ่านเนิน โค้งเยอะ ก็แช่เอาไว้ที่ตำแหน่งเกียร์ D ระบบจะทดหรือเลือกเกียร์ที่เหมาะสมในการขับขี่ ขณะเดียวกันกรณีที่ผู้เขียนลองเลือกเล่นเปลี่ยนเกียร์เอง โดยใช้แพดเดิลชิฟท์หลังพวงมาลัย เกียร์ก็ตอบสนองได้รวดเร็ว และฉลาดเอาเรื่อง
อย่างไรก็ตามส่วนที่ประทับใจผู้เขียน และรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงชัดมากๆคือช่วงล่าง ซึ่งใน“มาสด้า 3 ใหม่” วิศวกรมาสด้าพยายามจะหาความสมดุลระหว่างความสปอร์ตกับความนุ่มสบาย และผลที่ได้คือ ความดิบกระด้างน้อยลง รองรับแรงสะท้านจากพื้นถนนได้นุ่มเงียบ แต่ถ้าอยากได้ความรู้สึก “ซูม-ซูม” ในโค้งหรือการขับความเร็วสูง ตัวรถยังเฟิร์มแน่น ไม่มีอาการยวบย้อย
สำหรับช่วงล่างหน้า แม็คเฟอร์สันสตรัท โช้คอัพ คอยล์สปริง และเหล็กกันโคลง หลังมัลติลิงค์ โช้คอัพ คอยล์สปริงและเหล็กกันโคลง ดูแล้วเหมือนจะเป็นโครงสร้างที่คุ้นเคย แต่วิศวกรมาสด้าบอกว่า ระบบรองรับของ “มาสด้า 3 ใหม่” ถูกปรับให้มีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็น หน้าตัดซับเฟรมที่หนาขึ้น เหล็กกันโคลงหน้า-หลังยาวขึ้น และเพิ่มจุดยึดในหลายชิ้นส่วน เพื่อการรองรับอย่างสมดุลและแข็งแกร่ง
ขณะเดียวกันการพัฒนาโครงสร้างตัวถังและช่วงล่างใหม่ ยังส่งผลกับการเก็บเสียง ซึ่งภายในห้องโดยสาร“มาสด้า 3 ใหม่” ถือว่าเงียบมากนะครับ เมื่อเทียบกับรุ่นเก่า ทั้งเสียงเครื่อง เสียงลมปะทะ หรือเสียงรบกวนต่างๆ จัดการได้ดี
อย่างไรก็ตามถ้าขับความเร็วสูง จะมีเสียงยางบนพื้นถนน กรีดดังเข้ามานิดหน่อย ซึ่งวิศวกรมาสด้ายอมรับว่า เป็นผลจากการใช้ยางขนาด 205/50 R17 รวมถึงลายดอกยาง ที่มาเจอถนนเมืองไทย ก็อาจจะมีเสียงดังบ้าง
ทั้งนี้การขับความเร็วเกิน 120 กม./ชม. ภายในห้องโดยสารยังรู้สึกนิ่ง การทรงตัวเยี่ยม บวกกับพวงมาลัย ที่แม้จะหันมาใช้ระบบผ่อนด้วยแรงไฟฟ้าตามสมัยนิยม แต่น้ำหนักไม่เบาโหวงเหมือนรถขนาดคอมแพกต์บางรุ่น โดยการสั่งงานซ้าย-ขวาตรงไปตรงมา หรือกรณีขับความเร็วสูงยังบังคับได้เชื่องมือ
ส่วนหน้าที่การห้ามล้อของ ดิสก์เบรกหน้า-หลัง ทำได้ดีระดับหนึ่ง แต่กระนั้นอาจต้องปรับความรู้สึกในช่วงแรก เพราะคนขับต้องเหยียบแป้นให้จมไปลึกหน่อย ถึงจะรับรู้ถึงอาการจับของเบรก ซึ่งผู้เขียนเข้าใจว่า มาสด้าพยายามจะทำให้การเบรกนุ่มนวล ไม่หัวทิ่มหัวตำ หวังตอบสนองลูกค้าในวงกว้าง
...แหมแต่นี่รุ่น 2.0 ลิตรนะครับ น่าจะทำให้สปอร์ต หรือรู้สึกว่าเบรกหนึบจับ สัมพันธ์ทันใจกับน้ำหนักการกดแป้นเบรกกว่านี้สักนิด
ทั้งหมดเป็นเรื่องของความรู้สึกและสมรรถนะที่ผู้เขียนพอจับสัมผัสได้กับ “มาสด้า 3 ใหม่” แต่ในส่วนของออปชันอำนวยความสะดวกปลอดภัยในรุ่น 2.0 ลิตรนี้ถือว่ามาเต็ม ทั้ง ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก 4W-ABS ระบบกระจายแรงเบรค EBD ระบบป้องกันล้อหมุนฟรีและควบคุมการลื่นไถล Traction Control ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวDSC พร้อมถุงลมนิรภัยคู่หน้า ตลอดจน กุญแจรีโมทอัจฉริยะ (Smart Keyless Entry) แบบ Push Start Button และระบบไฟหน้าปรับระดับสูง-ต่ำอัตโนมัติ
ด้านอัตราบริโภคน้ำมันของมาสด้า 3 ตัวถังแฮทซ์แบ็ก รุ่นเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร ที่ผ่านการขับโหดบนทางตรงใช้ความเร็วเกิน120 กม./ชม. ตามโอกาสอำนวย พร้อมการวิ่งขึ้นเนิน-ลงเขา หรือบางช่วงก็มีเพื่อนรถบรรทุกประกบตลอดทาง(จำเป็นต้องเร่งแซง) สุดท้ายหน้าปัดอัจฉริยะของรถคำนวณให้เสร็จสรรพ(เป็นหน่วยลิตรต่อ 100 กม.) จนได้ตัวเลข 8-9 กิโลเมตรต่อลิตร ส่วนอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย มาสด้าเคลมไว้ 12.2 กิโลเมตรต่อลิตร
รวบรัดตัดความ... “มาสด้า 3 ใหม่” แม้จะเว้นวรรคการขาย แต่ไม่ได้เว้นวรรคความสวย ด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์ 2.0 ลิตร และเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีดใหม่ ตอบสนองดีระดับหนึ่ง เหนืออื่นใดที่ต้องชมเชย คงเป็นช่วงล่างที่เซ็ทมานุ่มหนึบแบบรถยุโรป พร้อมการควบคุมผ่านพวงมาลัยนิ่งเนียน รองรับทุกสไตล์การขับ
...แม้ยอดขายต่อปีจะไม่มาก แต่มาสด้าย้ำเป็นหนักแน่นว่า ที่ผ่านมาในเซกเมนต์คอมแพกต์คาร์ เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร “มาสด้า 3” สามารถทำยอดขายเป็นอันดับหนึ่ง เหนือ “ฮอนด้า ซีวิค” และ “โตโยต้า อัลติส” ซึ่งมาถึงโฉมใหม่นี้ ก็ยังหวังรักษาถ้วยแชมป์ใบเดิมเอาไว้ ส่วนใครชอบรูปลักษณ์สวยเฉียบ แต่อยากได้ราคาที่เป็นมิตร กับเครื่องยนต์ 1.6 ลิตร คงต้องรอการเปิดรับจองช่วงปลายปี หรือในงาน “มอเตอร์เอ็กซ์โป 2011” และรับรถได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า