ผ่านร้อนผ่านหนาว ทำพลาด ตัดสินใจถูก มาเยอะกับการดำเนินธุรกิจในไทย ถึงวันนี้ค่ายรถยนต์ “ฮอนด้า” ถือว่าประสบความสำเร็จ ทั้งการสร้างแบรนด์ และยอดขายที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากหลักพัน หลักหมื่น จนถึงหลักแสนในปีที่ผ่านมา
หลายคนคงทราบถึงการเปิดตัว “บริโอ้” อีโคคาร์น้องใหม่ ที่จะเข้ามาสร้างความแข็งแกร่งด้านโปรดักต์ เสริมคู่ไปกับเก๋งรุ่นพี่อย่าง ซิตี้ แจ๊ซ ซีวิค แอคคอร์ด
ก่อนจะถึงเรื่องของ “บริโอ้” ที่ “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป...ฮอนด้า ประเดิมต้นปีด้วยการจับซับ-คอมแพกต์รุ่น “แจ๊ซ” มาแต่งหน้าทาปากและปรับออปชัน พร้อมจัดให้ผู้สื่อข่าวได้ลองขับสั้นๆ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดย “แจ๊ซ” นับตั้งแต่เจเนอเรชันแรก (เปิดตัวปี 2546) จนถึงรุ่นล่าสุดซึ่งเป็นเจเนอเรชันที่สอง (เปิดตัวปี 2551) ทำยอดขายสะสมในไทยไปกว่า 130,000 คัน และส่งผลให้ “แจ๊ซ” กลายเป็นรถแฮตช์แบ็ก 5 ประตูในกลุ่มซับคอมแพกต์ ที่ขายดีที่สุดของเมืองไทยตลอด 7 ปีที่ผ่านมา
ส่วนรุ่นไมเนอร์เชนจ์ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ ฮอนด้าจัดการปรับรูปลักษณ์ภายนอกทั้ง ออกแบบกันชนหน้า-หลัง และกระจังหน้า ไฟหน้าใหม่ ส่วนรุ่นท็อป SV เพิ่มไฟตัดหมอกหน้า สเกิร์ตข้าง ปลายท่อไอเสียโครเมียม พร้อมไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง (3 รายการหลังรุ่นเก่าก็มี) ขณะเดียวกันยังหันมาใช้หลอด LED กับไฟท้าย (ลายใหม่) และไฟเบรกดวงที่สาม ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกรุ่น
ภายในปรับเพียงเบาะผ้าลายใหม่ และมาตรวัดเรืองแสงสีส้ม ส่วนออปชันที่เพิ่มเป็นมาตรฐานทุกรุ่น คือ ช่องเชื่อมต่อ USB เครื่องเสียงแบบโมดูล พร้อมระบบปรับระดับเสียงอัตโนมัติ รวมถึงถุงลมนิรภัยคู่หน้า และเข็มขัดนิรภัยแบบดึงกลับอัตโนมัติ
เมื่อดูออปชันที่เพิ่มเข้ามาก็ดูสมเหตุสมผลกับราคาที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000-20,000 บาท แล้วแต่รุ่น หรือสนนราคาตั้งแต่ 590,000-715,000 บาท
สำหรับรูปลักษณ์ที่ปรับโฉม ดูโฉบเฉี่ยวเตะตามากขึ้น แต่ในรุ่นท็อป SV ที่ได้ลองขับ ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าดูแปลกไปนิด ทั้งกันชนหน้า-ไฟตัดหมอก ดูเกินๆ ล้ำๆ พิกล (หรือผู้เขียนอายุมาก) ผิดกับรุ่นล่างที่ดูพอดีลงตัวกว่า แม้จะใช้ล้อขนาด 15 นิ้วก็ตาม
พลันเข้าไปนั่งตำแหน่งผู้ขับ ยังประทับใจกับทัศนวิสัยชัดเจน ผ่านกระจกหน้า กระจกมองข้าง ด้านเบาะผ้าโอบกระชับขนาดพอดีตัว ไม่นุ่มไม่แข็งเกินไป
ส่วนบานประตูหน้า-หลัง เปิดกว้าง และน่าจะมีระยะเปิดอยู่ 3 ระดับ คือจะเอาแคบหรือเอากว้างสุดๆ เพื่อรองรับการเข้า-ออกอย่างสะดวกสบาย ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าฮอนด้าทำการบ้านมาดี
ภายในรวมๆ กว้างขวางทุกที่นั่ง ระยะขา-ระยะหัวเหลือเพียบ เรียกว่าเป็นซับคอมแพกต์ตัวถังแฮตช์แบ็ก ที่พื้นที่ใช้สอยมากที่สุดก็ว่าได้ ขณะเดียวกัน เบาะนั่งแถวสองสามารถปรับพับได้หลายรูปแบบ ช่วยเพิ่มความอเนกประสงค์ในการบรรทุกสัมภาระได้อย่างยอดเยี่ยม
เครื่องเสียงที่เล่น ซีดี MP3 ได้ 1 แผ่น พร้อมขับด้วยลำโพง 4 ตัว คุณภาพเสียงดี แถมมีช่องเสียบ AUX USB เชื่อมต่อกับเครื่องเล่นต่างๆได้ แต่กระนั้นการเก็บเสียงภายในห้องโดยสารรวมถือว่าอยู่ระดับพอใช้ เพราะเสียงจากภายนอกรู้สึกจะเล็ดลอดเข้ามาเยอะเหลือเกิน นี่ยังไม่นับรวมเสียงเครื่องยนต์ที่ถือว่าดังตามสไตล์ฮอนด้ามานานแล้ว
ด้านเครื่องยนต์ไม่ได้ปรับจูนอะไร กับ i-VTEC แบบ SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ขนาด 1,497 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 120 แรงม้าที่ 6,600 รอบต่อนาที แรงบิด 145 นิวตัน-เมตร ที่ 4,800 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด โดยจังหวะออกตัวพุ่งเล็กน้อย และมีอาการดึงเล็กๆ
สำหรับอัตราเร่งมาทันใจตอบสนองดีทุกย่านความเร็ว ส่วนการเปลี่ยนเกียร์อาจรับรู้ถึงจังหวะรอยต่อ หรือกระชากนิดๆ จังหวะไล่ไปแต่ละเกียร์ดูปลดปล่อยพลังออกมาได้เต็มอารมณ์สปอร์ต
ขณะที่พวงมาลัยไฟฟ้าน้ำหนักเบา แต่สั่งงานแม่นยำ การควบคุมในเมืองการจราจรหนาแน่นให้ความคล่องตัว ยิ่งจังหวะขึ้นห้าง หรือถอยเข้าที่จอดทำได้สบาย แต่ในช่วงการขับขี่ความเร็วสูงน่าจะทดน้ำหนักให้หน่วง กระชับมือกว่านี้อีกนิด
ช่วงล่างของ “แจ๊ซ ไมเนอร์เชนจ์” ไม่ได้ปรับอะไรเช่นกัน โดยด้านหน้าเป็นแบบ อิสระแม็กเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นแบบคานแข็งตามสไตล์รถเล็ก เซ็ทมานุ่ม การขับในเมืองรองรับแรงสะท้านจากพื้นถนนเยี่ยม มีอาการโยกคลอนเล็กน้อยช่วงเปลี่ยนเลนกะทันหัน ส่วนการขับทางไกลใช้ความเร็วสูงการทรงตัวค่อนข้างดี ในส่วนของสัมผัสเบรกเบาลึก แต่ตอบสนองดี ระยะชะลอหยุดอยู่ในความคาดหมาย
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย จากการขับนอกเมือง-ในเมืองรถติด ผู้เขียนทำได้ 13.3 กิโลเมตรต่อลิตร
รวบรัดตัดความ...ยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ชอบรถสไตล์แฮตช์แบ็ก โดดเด่นด้วยความอเนกประสงค์ ภายในกว้างขวาง พร้อมตอบสนองการขับในเมือง เน้นควบคุมง่าย นุ่มมือ สบายเท้า...ซื้อได้ ก็ซื้อเลย!
หลายคนคงทราบถึงการเปิดตัว “บริโอ้” อีโคคาร์น้องใหม่ ที่จะเข้ามาสร้างความแข็งแกร่งด้านโปรดักต์ เสริมคู่ไปกับเก๋งรุ่นพี่อย่าง ซิตี้ แจ๊ซ ซีวิค แอคคอร์ด
ก่อนจะถึงเรื่องของ “บริโอ้” ที่ “ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป...ฮอนด้า ประเดิมต้นปีด้วยการจับซับ-คอมแพกต์รุ่น “แจ๊ซ” มาแต่งหน้าทาปากและปรับออปชัน พร้อมจัดให้ผู้สื่อข่าวได้ลองขับสั้นๆ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดย “แจ๊ซ” นับตั้งแต่เจเนอเรชันแรก (เปิดตัวปี 2546) จนถึงรุ่นล่าสุดซึ่งเป็นเจเนอเรชันที่สอง (เปิดตัวปี 2551) ทำยอดขายสะสมในไทยไปกว่า 130,000 คัน และส่งผลให้ “แจ๊ซ” กลายเป็นรถแฮตช์แบ็ก 5 ประตูในกลุ่มซับคอมแพกต์ ที่ขายดีที่สุดของเมืองไทยตลอด 7 ปีที่ผ่านมา
ส่วนรุ่นไมเนอร์เชนจ์ที่เพิ่งเปิดตัวไปหมาดๆ ฮอนด้าจัดการปรับรูปลักษณ์ภายนอกทั้ง ออกแบบกันชนหน้า-หลัง และกระจังหน้า ไฟหน้าใหม่ ส่วนรุ่นท็อป SV เพิ่มไฟตัดหมอกหน้า สเกิร์ตข้าง ปลายท่อไอเสียโครเมียม พร้อมไฟเลี้ยวที่กระจกมองข้าง (3 รายการหลังรุ่นเก่าก็มี) ขณะเดียวกันยังหันมาใช้หลอด LED กับไฟท้าย (ลายใหม่) และไฟเบรกดวงที่สาม ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกรุ่น
ภายในปรับเพียงเบาะผ้าลายใหม่ และมาตรวัดเรืองแสงสีส้ม ส่วนออปชันที่เพิ่มเป็นมาตรฐานทุกรุ่น คือ ช่องเชื่อมต่อ USB เครื่องเสียงแบบโมดูล พร้อมระบบปรับระดับเสียงอัตโนมัติ รวมถึงถุงลมนิรภัยคู่หน้า และเข็มขัดนิรภัยแบบดึงกลับอัตโนมัติ
เมื่อดูออปชันที่เพิ่มเข้ามาก็ดูสมเหตุสมผลกับราคาที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10,000-20,000 บาท แล้วแต่รุ่น หรือสนนราคาตั้งแต่ 590,000-715,000 บาท
สำหรับรูปลักษณ์ที่ปรับโฉม ดูโฉบเฉี่ยวเตะตามากขึ้น แต่ในรุ่นท็อป SV ที่ได้ลองขับ ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าดูแปลกไปนิด ทั้งกันชนหน้า-ไฟตัดหมอก ดูเกินๆ ล้ำๆ พิกล (หรือผู้เขียนอายุมาก) ผิดกับรุ่นล่างที่ดูพอดีลงตัวกว่า แม้จะใช้ล้อขนาด 15 นิ้วก็ตาม
พลันเข้าไปนั่งตำแหน่งผู้ขับ ยังประทับใจกับทัศนวิสัยชัดเจน ผ่านกระจกหน้า กระจกมองข้าง ด้านเบาะผ้าโอบกระชับขนาดพอดีตัว ไม่นุ่มไม่แข็งเกินไป
ส่วนบานประตูหน้า-หลัง เปิดกว้าง และน่าจะมีระยะเปิดอยู่ 3 ระดับ คือจะเอาแคบหรือเอากว้างสุดๆ เพื่อรองรับการเข้า-ออกอย่างสะดวกสบาย ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าฮอนด้าทำการบ้านมาดี
ภายในรวมๆ กว้างขวางทุกที่นั่ง ระยะขา-ระยะหัวเหลือเพียบ เรียกว่าเป็นซับคอมแพกต์ตัวถังแฮตช์แบ็ก ที่พื้นที่ใช้สอยมากที่สุดก็ว่าได้ ขณะเดียวกัน เบาะนั่งแถวสองสามารถปรับพับได้หลายรูปแบบ ช่วยเพิ่มความอเนกประสงค์ในการบรรทุกสัมภาระได้อย่างยอดเยี่ยม
เครื่องเสียงที่เล่น ซีดี MP3 ได้ 1 แผ่น พร้อมขับด้วยลำโพง 4 ตัว คุณภาพเสียงดี แถมมีช่องเสียบ AUX USB เชื่อมต่อกับเครื่องเล่นต่างๆได้ แต่กระนั้นการเก็บเสียงภายในห้องโดยสารรวมถือว่าอยู่ระดับพอใช้ เพราะเสียงจากภายนอกรู้สึกจะเล็ดลอดเข้ามาเยอะเหลือเกิน นี่ยังไม่นับรวมเสียงเครื่องยนต์ที่ถือว่าดังตามสไตล์ฮอนด้ามานานแล้ว
ด้านเครื่องยนต์ไม่ได้ปรับจูนอะไร กับ i-VTEC แบบ SOHC 4 สูบ 16 วาล์ว ขนาด 1,497 ซีซี ให้กำลังสูงสุด 120 แรงม้าที่ 6,600 รอบต่อนาที แรงบิด 145 นิวตัน-เมตร ที่ 4,800 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 5 สปีด โดยจังหวะออกตัวพุ่งเล็กน้อย และมีอาการดึงเล็กๆ
สำหรับอัตราเร่งมาทันใจตอบสนองดีทุกย่านความเร็ว ส่วนการเปลี่ยนเกียร์อาจรับรู้ถึงจังหวะรอยต่อ หรือกระชากนิดๆ จังหวะไล่ไปแต่ละเกียร์ดูปลดปล่อยพลังออกมาได้เต็มอารมณ์สปอร์ต
ขณะที่พวงมาลัยไฟฟ้าน้ำหนักเบา แต่สั่งงานแม่นยำ การควบคุมในเมืองการจราจรหนาแน่นให้ความคล่องตัว ยิ่งจังหวะขึ้นห้าง หรือถอยเข้าที่จอดทำได้สบาย แต่ในช่วงการขับขี่ความเร็วสูงน่าจะทดน้ำหนักให้หน่วง กระชับมือกว่านี้อีกนิด
ช่วงล่างของ “แจ๊ซ ไมเนอร์เชนจ์” ไม่ได้ปรับอะไรเช่นกัน โดยด้านหน้าเป็นแบบ อิสระแม็กเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง หลังเป็นแบบคานแข็งตามสไตล์รถเล็ก เซ็ทมานุ่ม การขับในเมืองรองรับแรงสะท้านจากพื้นถนนเยี่ยม มีอาการโยกคลอนเล็กน้อยช่วงเปลี่ยนเลนกะทันหัน ส่วนการขับทางไกลใช้ความเร็วสูงการทรงตัวค่อนข้างดี ในส่วนของสัมผัสเบรกเบาลึก แต่ตอบสนองดี ระยะชะลอหยุดอยู่ในความคาดหมาย
ปิดท้ายด้วยอัตราบริโภคน้ำมันเฉลี่ย จากการขับนอกเมือง-ในเมืองรถติด ผู้เขียนทำได้ 13.3 กิโลเมตรต่อลิตร
รวบรัดตัดความ...ยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ชอบรถสไตล์แฮตช์แบ็ก โดดเด่นด้วยความอเนกประสงค์ ภายในกว้างขวาง พร้อมตอบสนองการขับในเมือง เน้นควบคุมง่าย นุ่มมือ สบายเท้า...ซื้อได้ ก็ซื้อเลย!