ตลาดรถหรูเมืองไทย ระยะหลังเริ่มมีการขยับปรับตัวในหลายมิติ และอย่าแปลกใจที่เงินระดับ 2 ล้านบาทในกระเป๋าท่าน จะแลกความหรูได้หลากรุ่นหลายยี่ห้อ อย่างล่าสุด บีเอ็มดับเบิลยู X1 sDrive18i รุ่นประกอบในประเทศ ราคา 2.149 ล้านบาท รวมถึงน้องใหม่หมาดๆ “เลกซัส ซีที200เอช” (Lexus CT 200h) เปิดราคาเพียง 2.19ล้านบาท
สำหรับ “เลกซัส” โดยโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย พยายามสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ยิ่งได้ “ซีที200เอช” ซึ่งถือเป็นรถประเภท Entry Level แถมเป็นไฮบริดเสียด้วย ก็น่าจะเข้ามาช่วยขยายฐานลูกค้าได้พอสมควร
...หลังจากเปิดตัวไม่นาน(22 ก.พ.) “โตโยต้า” เจ้าของแบรนด์ รีบจัดแจงให้นักข่าวได้ทดสอบ “ซีที200เอช” ทันที โดยใช้เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน
สำหรับระบบไฮบริดของ “ซีที200เอช” ยกชุดมาจาก “โตโยต้า พริอุส” โดยยึดเครื่องยนต์เบนซินแบบ Atkinson Cycle พร้อมวาล์วไอดีแปรผัน VVT-i ขนาด 1.8 ลิตร 99 แรงม้า แต่ปรับจูนแรงบิดสูงสุด 142 นิวตัน-เมตร ให้มาตั้งแต่รอบต่ำ 2,800-4,400 รอบต่อนาที ส่วน “พริอุส” แรงบิดเดียวกันจะมาที่ 4,000 รอบ โดยทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ แม่เหล็กถาวร ที่ให้กำลังสูงสุด 60 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 207 นิวตัน-เมตร
อย่างไรก็ตามเมื่อผสานพลังของเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าแล้ว จะรีดกำลังสูงสุดได้ 136 แรงม้า เท่ากับ “พริอุส” ไม่ผิดเพี้ยน
ในส่วนของช่วงล่างมีความแตกต่างกันนิดหน่อย โดย“ซีที200เอช” จะใช้แบบแมคเฟอร์สันสตรัทในด้านหน้า ส่วนหลังเป็นปีกนก 2 ชั้น คอยล์สปริง โช้คอัพแก็ส พร้อมเหล็กกันโคลง ซึ่งต่างจากพริอุสที่ด้านหลังเป็นแบบคานแข็ง ขณะเดียวกันถ้าเป็น“ซีที200เอช”รุ่น F-Sport ด้านหน้าจะเสริม เหล็กค้ำโช้คแบบยืดหยุ่น ซึ่งโตโยต้าเรียกว่า Performance Damper Absorber มาให้ด้วย
...เอาเป็นว่าต้องปรับให้เนียนเพื่อบุคลิกสไตล์เลกซัส ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงน้ำหนักตัวรถ ที่มากกว่าพริอุส 15-70 กิโลกรัมแล้วแต่รุ่น
ด้านความรู้สึกการขับขี่ “ซีที200เอช” เป็นรถที่ครบรสครับ เพราะมีโหมดการขับให้เลือก (หมุนหรือกดปุ่มที่คอนโซลกลาง) ตั้งแต่ EV ใช้ไฟฟ้าล้วน(ขับความเร็ว 30-40 กม./ชม. ได้ระยะประมาณ 3-5 กิโลเมตร) โหมด “อีโค” เน้นประหยัด รวมถึงโหมดปกติ(Normal) และโหมดสปอร์ตเน้นแรง
ในโหมด “อีโค” และ “ปกติ” ความรู้สึกการขับแทบไม่ต่างกันมาก โดย “พาวเวอร์ คอนโทรล ยูนิต” (PCU) จะสั่งจ่ายไฟฟ้าสูงสุดให้มอเตอร์ 550 โวลต์ และคอยยับยั้งชั่งใจไม่ให้รถพลุ่งพล่านตามแรงกดของเท้าขวา
ส่วนโหมดสปอร์ตนั้นต่างชัดเจน เพราะ“พาวเวอร์ คอนโทรล ยูนิต” จะสั่งจ่ายไฟให้มอเตอร์ 650 โวลต์ ตลอดเวลา พร้อมเครื่องยนต์ตอบสนองกระตือรือร้น อัตราเร่งมาทันใช้ ขณะเดียวกันยังปรับให้พวงมาลัยหนืดหน่วง สั่งงานกระชับมั่นใจ
นอกจากนี้หน้าจอแสดงผล ยังเปลี่ยนไฟเรืองแสงเป็นสีแดง แถมเรือนไมล์ดิจิตอลด้านซ้าย ยังเปลี่ยนจากการแสดงผลแบบ“อีโค มิเตอร์” เป็นความเร้าใจแบบวัดรอบเครื่องยนต์ เหมือนรถทั่วไปอีกด้วย
สำหรับเส้นทางการขับในทริปนี้ เริ่มจากโรงแรมดังย่านราชประสงค์ วิ่งผ่านย่านการค้าจราจรหนาแน่น (สยาม-วรจักร-ราชดำเนิน) “ซีที200เอช” ถือเป็นรถทำความคุ้นเคยได้เร็ว ยิ่งเลือกใช้โหมดสปอร์ต การขับคล่องแคล่ว พวงมาลัยควบคุมง่าย สั่งงานแม่นยำ ที่สำคัญพละกำลังจากเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ถ่ายทอดผ่านเกียร์ CVT ชุดนี้ดูฉลาด ตอบสนองได้ฉับไว
หลังลงมาจากทางลอยฟ้าบรมราชชนนี มุ่งไปนครปฐม-ราชบุรี ผู้เขียนมีโอกาสได้ใช้ความเร็วสูงขึ้น และยิ่งทำให้รับรู้ว่า “ซีที200เอช” เป็นรถขับสนุก หรือถ้าเทียบกับ“พริอุส” ก็ถือว่าขับมันมือมันเท้ากว่า
ในจังหวะเปลี่ยนเลน หรือเข้าโค้ง คนขับจะรู้ถึงอาการเหวี่ยงนิดๆ ซึ่งอาการที่ว่าไม่ได้หมายถึงรถโคลงเคลง หรือสะบัดอะไรนะครับ แต่เข้าใจว่าวิศวกรน่าจะออกแบบให้“ซีที200เอช”มีอารมณ์สปอร์ต หรือให้ความรู้สึกว่าคนขับกับรถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การทรงตัวรวมๆถือว่ายอดเยี่ยม ช่วงล่างออกแนวนุ่มหนึบ ขับทางไกลถนนโล่งใช้ความเร็ว 120-140 กม./ชม. ยังให้ความมั่นใจ
ในช่วงท้ายของทริปผู้เขียนลองผันไปเป็นผู้โดยสารด้านหลัง พบว่าช่วงล่างซับอาการสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี และนั่งนุ่มสบายแม้จะผ่านถนนแย่ หรือช่วงขึ้นลงคอสะพาน อย่างไรก็ตามในส่วนของเบาะพิงหลังชันไปนิด แถมพื้นที่ช่วงขาก็ไม่ได้เหลือเฟือมากมาย
นอกจากนี้สิ่งที่ผู้เขียน ไม่ประทับใจเป็นการส่วนตัวคือ จังหวะเบรกที่ดูเหมือนจะมี 2 สเต็ป คือ สัมผัสแรกแป้นเบรกจะแข็ง แต่พอกดลงไปลึกสักนิดจะเบา แถมการกะระยะชะลอหยุดต้องปรับความรู้สึกพอสมควร
...ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ กรณีขับรถติดในเมือง ใช้ความเร็วตามกันไป เมื่อผู้ขับกดแป้นเบรกในสัมผัสแรก รถเหมือนจะหน้าจิกเตรียมหยุดแล้ว แต่กลับผิดคาดครับ เพราะตัวรถจะยังไหลไปต่ออีกนิด ซึ่งผู้ขับจำเป็นต้องเพิ่มแรงลงไปให้สุด รถถึงจะสงบนิ่ง
ประเด็นการตอบสนองของเบรกนี้ ถือเป็นสไตล์ของรถไฮบริดครับ (ไม่ได้ใช้หม้อลมหรือไฮดรอลิก) ฉะนั้นก็แล้วแต่ความชอบ และความคุ้นเคยแล้วกัน
ส่วนของอุปกรณ์อำนวยความสะดวก จัดหนักตามสไตล์เลกซัส โดยรุ่นที่ผู้เขียนได้เป็นพาหนะคือ พรีเมี่ยมพร้อมระบบนำทางจราจรอัจฉริยะ ราคา 2.59 ล้านบาท (ถ้าตัวท็อปมี “มูนรูฟ” ราคา 2.69 ล้านบาท) ซึ่งมีออปชันเด่นคือ
ชุดควบคุมคล้ายๆเมาส์คอมพิวเตอร์บริเวณคอนโซลกลาง เอาไว้จัดการฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆของรถ โดยแสดงผลผ่านหน้าจอคมชัดที่ฝังบริเวณแดชบอร์ดหน้า
สำหรับการควบคุมเมาส์อัจฉริยะตัวนี้ อาจแปลกมือในช่วงแรก แต่เชื่อว่าถ้าใช้ไปสักระยะน่าจะคุ้นเคยและสนุกเอาเรื่อง เพราะออปชันการทำงานหลากหาย แถมออกแบซอร์ฟแวร์ให้ถูกตรรกะใช้งานง่าย
ส่วนระบบนำทาง ที่นอกจากจะทำงานเหมือนระบบทั่วไปแล้ว เลกซัสยังพัฒนาให้ แสดงข้อมูลการจราจรในเขตกรุงเทพแบบ Real-time โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งผู้เขียนลองเล่นแล้ว ถือว่าพอใช้ได้ครับ
โดยระบบดังกล่าวจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ คล้ายๆป้ายจราจร เท่าที่เห็นก็ 2-3 ตัว เพื่อบอกว่าบริเวณแยกหรือถนนสายใดสายหนึ่ง มีรถคับคั่งแค่ไหน ขณะเดียวกันยังโชว์เป็นสีถนน ม่วง(รถติดหนัก) ส้ม(รถติด) ฟ้า (คล่องตัว) อีกด้วย
อย่างไรก็ตามทางเลกซัสก็ยอมรับว่า ยังต้องใช้เวลาพัฒนาระบบต่อเนื่องอีกสักระยะ เพื่อความสมบูรณ์แบบกับสภาพการจราจรเมืองไทย
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน หลังถึงจุดหมายที่หัวหิน ปรากฎตัวเลขที่หน้าจอแสดงผลประมาณ 15กม./ลิตร ซึ่ง 100 กิโลเมตรหลัง พรรคพวกขับกันหนักครับ(ผู้เขียนเป็นผู้โดยสาร) เหยียบกันอย่างต่ำ 120-140 กม./ชม. (เครื่องยนต์ทำงานเป็นส่วนใหญ่)
รวบรัดตัดความ… “ซีที200เอช” เป็นรถไฮบริดขับสนุก แต่ถ้าใครชอบแบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ก็มีโหมด “อีโค” และโหมด “ปกติ” ให้เลือก ส่วนราคาก็ยั่วยวนสำหรับการเป็นเจ้าของ เอาเป็นว่ารถดี-ออปชันโดน สมเหตุสมผลกับเงินที่จ่ายไป
ที่สำคัญเมื่อแนวทางไลน์โปรดักต์จากญี่ปุ่นค่อนข้างชัดเจน เหลือแต่เพียงโตโยต้า หรือเลกซัส ในไทย น่าจะเน้นเรื่องการสร้างแบรนด์มากกว่านี้อีกนิด....มีของดีแล้วอย่ากลัวใครครับ บู๊หน่อย!
สำหรับ “เลกซัส” โดยโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย พยายามสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง ยิ่งได้ “ซีที200เอช” ซึ่งถือเป็นรถประเภท Entry Level แถมเป็นไฮบริดเสียด้วย ก็น่าจะเข้ามาช่วยขยายฐานลูกค้าได้พอสมควร
...หลังจากเปิดตัวไม่นาน(22 ก.พ.) “โตโยต้า” เจ้าของแบรนด์ รีบจัดแจงให้นักข่าวได้ทดสอบ “ซีที200เอช” ทันที โดยใช้เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน
สำหรับระบบไฮบริดของ “ซีที200เอช” ยกชุดมาจาก “โตโยต้า พริอุส” โดยยึดเครื่องยนต์เบนซินแบบ Atkinson Cycle พร้อมวาล์วไอดีแปรผัน VVT-i ขนาด 1.8 ลิตร 99 แรงม้า แต่ปรับจูนแรงบิดสูงสุด 142 นิวตัน-เมตร ให้มาตั้งแต่รอบต่ำ 2,800-4,400 รอบต่อนาที ส่วน “พริอุส” แรงบิดเดียวกันจะมาที่ 4,000 รอบ โดยทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ แม่เหล็กถาวร ที่ให้กำลังสูงสุด 60 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 207 นิวตัน-เมตร
อย่างไรก็ตามเมื่อผสานพลังของเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าแล้ว จะรีดกำลังสูงสุดได้ 136 แรงม้า เท่ากับ “พริอุส” ไม่ผิดเพี้ยน
ในส่วนของช่วงล่างมีความแตกต่างกันนิดหน่อย โดย“ซีที200เอช” จะใช้แบบแมคเฟอร์สันสตรัทในด้านหน้า ส่วนหลังเป็นปีกนก 2 ชั้น คอยล์สปริง โช้คอัพแก็ส พร้อมเหล็กกันโคลง ซึ่งต่างจากพริอุสที่ด้านหลังเป็นแบบคานแข็ง ขณะเดียวกันถ้าเป็น“ซีที200เอช”รุ่น F-Sport ด้านหน้าจะเสริม เหล็กค้ำโช้คแบบยืดหยุ่น ซึ่งโตโยต้าเรียกว่า Performance Damper Absorber มาให้ด้วย
...เอาเป็นว่าต้องปรับให้เนียนเพื่อบุคลิกสไตล์เลกซัส ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงน้ำหนักตัวรถ ที่มากกว่าพริอุส 15-70 กิโลกรัมแล้วแต่รุ่น
ด้านความรู้สึกการขับขี่ “ซีที200เอช” เป็นรถที่ครบรสครับ เพราะมีโหมดการขับให้เลือก (หมุนหรือกดปุ่มที่คอนโซลกลาง) ตั้งแต่ EV ใช้ไฟฟ้าล้วน(ขับความเร็ว 30-40 กม./ชม. ได้ระยะประมาณ 3-5 กิโลเมตร) โหมด “อีโค” เน้นประหยัด รวมถึงโหมดปกติ(Normal) และโหมดสปอร์ตเน้นแรง
ในโหมด “อีโค” และ “ปกติ” ความรู้สึกการขับแทบไม่ต่างกันมาก โดย “พาวเวอร์ คอนโทรล ยูนิต” (PCU) จะสั่งจ่ายไฟฟ้าสูงสุดให้มอเตอร์ 550 โวลต์ และคอยยับยั้งชั่งใจไม่ให้รถพลุ่งพล่านตามแรงกดของเท้าขวา
ส่วนโหมดสปอร์ตนั้นต่างชัดเจน เพราะ“พาวเวอร์ คอนโทรล ยูนิต” จะสั่งจ่ายไฟให้มอเตอร์ 650 โวลต์ ตลอดเวลา พร้อมเครื่องยนต์ตอบสนองกระตือรือร้น อัตราเร่งมาทันใช้ ขณะเดียวกันยังปรับให้พวงมาลัยหนืดหน่วง สั่งงานกระชับมั่นใจ
นอกจากนี้หน้าจอแสดงผล ยังเปลี่ยนไฟเรืองแสงเป็นสีแดง แถมเรือนไมล์ดิจิตอลด้านซ้าย ยังเปลี่ยนจากการแสดงผลแบบ“อีโค มิเตอร์” เป็นความเร้าใจแบบวัดรอบเครื่องยนต์ เหมือนรถทั่วไปอีกด้วย
สำหรับเส้นทางการขับในทริปนี้ เริ่มจากโรงแรมดังย่านราชประสงค์ วิ่งผ่านย่านการค้าจราจรหนาแน่น (สยาม-วรจักร-ราชดำเนิน) “ซีที200เอช” ถือเป็นรถทำความคุ้นเคยได้เร็ว ยิ่งเลือกใช้โหมดสปอร์ต การขับคล่องแคล่ว พวงมาลัยควบคุมง่าย สั่งงานแม่นยำ ที่สำคัญพละกำลังจากเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ถ่ายทอดผ่านเกียร์ CVT ชุดนี้ดูฉลาด ตอบสนองได้ฉับไว
หลังลงมาจากทางลอยฟ้าบรมราชชนนี มุ่งไปนครปฐม-ราชบุรี ผู้เขียนมีโอกาสได้ใช้ความเร็วสูงขึ้น และยิ่งทำให้รับรู้ว่า “ซีที200เอช” เป็นรถขับสนุก หรือถ้าเทียบกับ“พริอุส” ก็ถือว่าขับมันมือมันเท้ากว่า
ในจังหวะเปลี่ยนเลน หรือเข้าโค้ง คนขับจะรู้ถึงอาการเหวี่ยงนิดๆ ซึ่งอาการที่ว่าไม่ได้หมายถึงรถโคลงเคลง หรือสะบัดอะไรนะครับ แต่เข้าใจว่าวิศวกรน่าจะออกแบบให้“ซีที200เอช”มีอารมณ์สปอร์ต หรือให้ความรู้สึกว่าคนขับกับรถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การทรงตัวรวมๆถือว่ายอดเยี่ยม ช่วงล่างออกแนวนุ่มหนึบ ขับทางไกลถนนโล่งใช้ความเร็ว 120-140 กม./ชม. ยังให้ความมั่นใจ
ในช่วงท้ายของทริปผู้เขียนลองผันไปเป็นผู้โดยสารด้านหลัง พบว่าช่วงล่างซับอาการสะเทือนจากพื้นถนนได้ดี และนั่งนุ่มสบายแม้จะผ่านถนนแย่ หรือช่วงขึ้นลงคอสะพาน อย่างไรก็ตามในส่วนของเบาะพิงหลังชันไปนิด แถมพื้นที่ช่วงขาก็ไม่ได้เหลือเฟือมากมาย
นอกจากนี้สิ่งที่ผู้เขียน ไม่ประทับใจเป็นการส่วนตัวคือ จังหวะเบรกที่ดูเหมือนจะมี 2 สเต็ป คือ สัมผัสแรกแป้นเบรกจะแข็ง แต่พอกดลงไปลึกสักนิดจะเบา แถมการกะระยะชะลอหยุดต้องปรับความรู้สึกพอสมควร
...ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ กรณีขับรถติดในเมือง ใช้ความเร็วตามกันไป เมื่อผู้ขับกดแป้นเบรกในสัมผัสแรก รถเหมือนจะหน้าจิกเตรียมหยุดแล้ว แต่กลับผิดคาดครับ เพราะตัวรถจะยังไหลไปต่ออีกนิด ซึ่งผู้ขับจำเป็นต้องเพิ่มแรงลงไปให้สุด รถถึงจะสงบนิ่ง
ประเด็นการตอบสนองของเบรกนี้ ถือเป็นสไตล์ของรถไฮบริดครับ (ไม่ได้ใช้หม้อลมหรือไฮดรอลิก) ฉะนั้นก็แล้วแต่ความชอบ และความคุ้นเคยแล้วกัน
ส่วนของอุปกรณ์อำนวยความสะดวก จัดหนักตามสไตล์เลกซัส โดยรุ่นที่ผู้เขียนได้เป็นพาหนะคือ พรีเมี่ยมพร้อมระบบนำทางจราจรอัจฉริยะ ราคา 2.59 ล้านบาท (ถ้าตัวท็อปมี “มูนรูฟ” ราคา 2.69 ล้านบาท) ซึ่งมีออปชันเด่นคือ
ชุดควบคุมคล้ายๆเมาส์คอมพิวเตอร์บริเวณคอนโซลกลาง เอาไว้จัดการฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆของรถ โดยแสดงผลผ่านหน้าจอคมชัดที่ฝังบริเวณแดชบอร์ดหน้า
สำหรับการควบคุมเมาส์อัจฉริยะตัวนี้ อาจแปลกมือในช่วงแรก แต่เชื่อว่าถ้าใช้ไปสักระยะน่าจะคุ้นเคยและสนุกเอาเรื่อง เพราะออปชันการทำงานหลากหาย แถมออกแบซอร์ฟแวร์ให้ถูกตรรกะใช้งานง่าย
ส่วนระบบนำทาง ที่นอกจากจะทำงานเหมือนระบบทั่วไปแล้ว เลกซัสยังพัฒนาให้ แสดงข้อมูลการจราจรในเขตกรุงเทพแบบ Real-time โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกองบังคับการตำรวจจราจร ซึ่งผู้เขียนลองเล่นแล้ว ถือว่าพอใช้ได้ครับ
โดยระบบดังกล่าวจะแสดงเป็นสัญลักษณ์ คล้ายๆป้ายจราจร เท่าที่เห็นก็ 2-3 ตัว เพื่อบอกว่าบริเวณแยกหรือถนนสายใดสายหนึ่ง มีรถคับคั่งแค่ไหน ขณะเดียวกันยังโชว์เป็นสีถนน ม่วง(รถติดหนัก) ส้ม(รถติด) ฟ้า (คล่องตัว) อีกด้วย
อย่างไรก็ตามทางเลกซัสก็ยอมรับว่า ยังต้องใช้เวลาพัฒนาระบบต่อเนื่องอีกสักระยะ เพื่อความสมบูรณ์แบบกับสภาพการจราจรเมืองไทย
ด้านอัตราบริโภคน้ำมัน หลังถึงจุดหมายที่หัวหิน ปรากฎตัวเลขที่หน้าจอแสดงผลประมาณ 15กม./ลิตร ซึ่ง 100 กิโลเมตรหลัง พรรคพวกขับกันหนักครับ(ผู้เขียนเป็นผู้โดยสาร) เหยียบกันอย่างต่ำ 120-140 กม./ชม. (เครื่องยนต์ทำงานเป็นส่วนใหญ่)
รวบรัดตัดความ… “ซีที200เอช” เป็นรถไฮบริดขับสนุก แต่ถ้าใครชอบแบบเรื่อยๆมาเรียงๆ ก็มีโหมด “อีโค” และโหมด “ปกติ” ให้เลือก ส่วนราคาก็ยั่วยวนสำหรับการเป็นเจ้าของ เอาเป็นว่ารถดี-ออปชันโดน สมเหตุสมผลกับเงินที่จ่ายไป
ที่สำคัญเมื่อแนวทางไลน์โปรดักต์จากญี่ปุ่นค่อนข้างชัดเจน เหลือแต่เพียงโตโยต้า หรือเลกซัส ในไทย น่าจะเน้นเรื่องการสร้างแบรนด์มากกว่านี้อีกนิด....มีของดีแล้วอย่ากลัวใครครับ บู๊หน่อย!