ข่าวในประเทศ - กระแสการพัฒนาเทคโนโลยีแบบ Downsizing หรือเครื่องยนต์เล็กลง ขุมพลังแรงขึ้น กำลังพลิกโฉมตลาดรถยนต์ไทย ล่าสุดค่าย “มิตซูบิชิ” เปิดตัวเครื่องยนต์ใหม่ 2.5 ลิตร วีจี เทอร์โบ 178 แรงม้า ในปิกอัพ “มิตซูบิชิ ไทรทัน” และ “มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต” ยอมรับตลาดจากนี้ไปจะถูกยึดครองด้วยเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3.0 ลิตรลงมา เหตุผู้บริโภคต้องการรถที่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำ ปล่อยไอเสียน้อยลง แต่ต้องมีขุมพลังแรงด้วย โดยทิศทางดังกล่าวเริ่มส่งสัญญาณมาเมื่อ 2-3 ปีก่อน และค่าย “โตโยต้า” ได้ขยับไปแล้ว กับปิกอัพรุ่นยกสูง โตโยต้า วีโก้ 2.5 วีเอ็น เทอร์โบ และการประเดิมบุกตลาดไทยของ “ทาทา” กับปิกอัพเครื่องยนต์ 2.2 ลิตรรายแรก และในอนาคตอันใกล้ช่วงครึ่งหลังปีนี้ จะมีปิกอัพโมเดลใหม่ทยอยตามมาเพียบ ไม่ว่าจะเป็น “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50” โฉมใหม่ ที่รุ่นธงบุกตลาดจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ดูราทอร์ค TDCi ขนาด 2.2 ลิตร 148 แรงม้า ขณะที่“จีเอ็ม” ไม่ง้อค่าย “อีซูซุ” อีกต่อไป ทุ่มลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่จ.ระยอง เพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลของตนเอง กำหนดการผลิตกันยายนนี้ เพื่อส่งออกจำหน่ายทั่วโลก และรองรับปิกอัพ “เชฟโรเลต โคโลราโด” โฉมใหม่ ที่จะวางเครื่องดีเซลขนาด 2.5 และ 2.8 ลิตรทำตลาดแทน
เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ใครเลยจะคาดคิดว่า... ทิศทางตลาดปิกอัพจะเปลี่ยนมานิยมเครื่องยนต์ขนาดเล็กลง เพราะไม่อย่างนั้นคงไม่มีค่ายรถบางราย ปฏิบัติการกล่อมรัฐบาลไทยให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตปิกอัพ 1 ตัน ให้ขยับสเปกเครื่องยนต์จากเดิมไม่เกิน 3.0 ลิตร มาเป็นขนาดไม่เกิน 3.2 ลิตรหรอก และหลายฝ่ายก็เชื่อว่า แนวโน้มจะต้องเป็นเช่นนั้น เนื่องจากปิกอัพจะมีขนาดตัวถังใหญ่ขึ้น และใช้กำลังมากขึ้น การปรับเปลี่ยนสเปกเครื่องยนต์ปิกอัพครั้งนั้น จึงไม่ได้รับการต่อต้านเลย แต่เหตุการณ์วิกฤตพลังงานและราคาน้ำมันปรับพุ่งกระฉูดเมื่อ 2-3 ปีก่อน ประกอบกับพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ๆ พลิกกลับมาในแนวทาง Downsizing หรือเครื่องยนต์เล็กลง แต่ขุมพลังแรงขึ้น ทำให้เริ่มเห็นการปรับตัวของบริษัทรถมากขึ้นในปัจจุบัน
“เนื่องจากผู้ใช้รถหันมาให้ความสำคัญ กับเรื่องรถที่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำ รวมถึงเรื่องการปล่อยไอเสียน้อยลง ทำให้แนวโน้มตลาดปิกอัพในไทยจากนี้ไป ปิกอัพเครื่องยนต์ขนาดเล็กจะมาทดแทน ปิกอัพที่มีเครื่องยนต์ขนาดตั้งแต่ 3.0 ลิตรขึ้นไป นี่จึงทำให้มิตซูบิชิต้องเปิดตัวเครื่องยนต์ใหม่ 2.5 ลิตร วีจี เทอร์โบ ที่ให้กำลังมากขึ้นเป็น 178 แรงม้า แต่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่ารุ่นเดิม 3.2 ลิตรเดิม”
นั่นเป็นคำกล่าวของ “โนบุยูกิ มูราฮาชิ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในวันเปิดตัวปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทัน และรถอเนกประสงค์แบบพีพีวี มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต เครื่องยนต์ใหม่ 2.5 ลิตร วีจี เทอร์โบ ใหม่ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของมิตซูบิชิ ไทรทัน และปาเจโร สปอร์ต ใหม่ จุดสำคัญคือการเริ่มถอดเครื่องยนต์ดีเซล 3.2 ลิตร 165 แรงม้า ออกจากไลน์โปรดักซ์(เฉพาะตลาดไทย) แล้วนำเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ 2.5 ลิตร ดีไอดี- ไฮเปอร์คอมมอนเรล 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว วีจี เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ พร้อมท่อร่วมไอดีแบบทวิน อินเทคแมนิโฟลด์ ให้กำลังสูงสุด 178 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาทีมาเสียบแทน โดยในรุ่นเกียร์ธรรมดามีแรงบิดสูงสุดถึง 400 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000-2,800 รอบต่อนาที และเกียร์อัตโนมัติแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 350 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800 - 3,500 รอบต่อนาที
สำหรับเครื่องยนต์ใหม่นี้เป็นการนำบล็อก 4D56 แบบ 4 สูบ ขนาด 2.5 ลิตร ดีไอ-ดี ไฮเปอร์คอมมอนเรล 140 แรงม้า มาปรับปรุงพัฒนาใหม่ โดยติดตั้งระบบเทอร์โปแปรผัน (VG Turbo) พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพหัวฉีด ให้สามารถฉีดเชื้อเพลิงละเอียดและเป็นฝอยมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการจุดระเบิด ด้วยการลดขนาดรูหัวฉีดลง และเพิ่มเป็น 7 รูหัวฉีด จากเดิมมี 6 รูหัวฉีด นอกจากก็มีการปรับปรุงลูกสูบให้ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น
โดยจุดประสงค์ของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ อย่างที่มูราฮาชิบอกไว้ว่า... “เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งต้องการรถที่ให้ทั้งพละกำลังและประหยัดน้ำมันดีขึ้น และเครื่องยนต์ใหม่นี้ยังผ่านมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 4 ที่ไทยจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2555 แล้วด้วย”
การพัฒนาเครื่องยนต์เล็กลง แต่มีขุมพลังแรงขึ้น หรือเรียกว่าการ Downsizing นี้ เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์นั่ง หรือเก๋งในต่างประเทศ ซึ่งในไทยอาจจะยังไม่เห็นชัดเจนนัก แต่ในส่วนของปิกอัพเริ่มมาในแนวทางนี้แล้ว ดังจะเห็นจากการเปิดตัวเครื่องยนต์ 2.5 วีเอ็น เทอร์โบ ในปิกอัพยกสูงของโตโยต้า ตามความต้องการของลูกค้า หรือการเปิดตัวบุกตลาดปิกอัพไทยของค่าย “ทาทา” ที่เลือกวางเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 2.2 ลิตร140 แรงม้า
แต่ในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ไป จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในตลาดปิกอัพในแนวทาง Downsizing นี้อย่างชัดเจน ที่ค่อนข้างทราบดีกันอยู่แล้ว คงจะเป็นสองพันธมิตร “ฟอร์ด-มาสด้า” ที่จะเปิดตัวปิกอัพโฉมใหม่ของ “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50” สู่ตลาดไทยในช่วงปลายปีนี้
สำหรับรูปลักษณ์โฉมใหม่ของปิกอัพทั้งสองโมเดล คงได้เห็นไปหมดแล้ว แต่จุดที่น่าสนใจอีกอย่าง เห็นจะเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งครั้งนี้เป็นวาระของ ฟอร์ด มอเตอร์ ในการพัฒนาเครื่องยนต์ เพื่อวางในปิกอัพทั้งสองรุ่นตามข้อตกลง สลับกับโฉมปัจจุบันของรถทั้งสองโมเดล เครื่องยนต์ที่วางอยู่เป็นเทคโนโลยีของมาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น
โดยเครื่องยนต์ใหม่ที่จะนำมาติดตั้งใน ฟอร์ด เรนเจอร์ และมาสด้า บีที-50 เรียกรหัสรหัส PUMA เป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ดูราทอร์ค TDCi I4 ขนาด 2.2 ลิตร เทอร์โบ 110 กิโลวัตต์ หรือเทียบเท่ากับ 148 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 375 นิวตัน-เมตร และบล็อกใหญ่ ดูราทอร์ก TDCi I5 ขนาด 3.2 ลิตร เทอร์โบ 147 กิโลวัตต์ หรือ 197 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร และนอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์เบนซิน ดูราเทค 2.5 ลิตร 122 กิโลวัตต์ เทียบเท่ากับ 164 แรงม้า
แม้เครื่องยนต์ดีเซลใหม่จะมีทั้งเครื่องเล็กและใหญ่ให้เลือก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ฟอร์ดไม่ได้ยืนตามแนวเดิมของมาสด้า ที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.5 และ 3.0 ลิตร เพราะได้พัฒนาเครื่องยนต์มีทั้งเล็กลงและใหญ่ขึ้น ประมาณว่าตลาดที่ต้องการเรื่องของอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำ ก็เลือกใช้รุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร และหากตลาดที่มีบ่อน้ำมันเอง หรือต้องการขุมพลังมากๆ ก็มีรุ่น 3.2 ลิตรให้เลือก
ส่วนประเทศไทยยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ จะเลือกเครื่องยนต์ไหนทำตลาด แต่จากการสอบถามคร่าวๆ ทราบว่าโรงงานออโตอัลลายแอนซ์ หรือเอเอที(AAT) จะผลิตปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซลทั้งสองรุ่น เพราะต้องส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งไทยจะไม่ตัดโอกาสหรือทางเลือกของลูกค้า แต่เครื่องยนต์รุ่นหลักที่จะทำตลาดในไทย จะเป็นรุ่น 2.2 ลิตร 147 แรงม้า ที่แม้เครื่องยนต์จะเล็กลงจากปัจจุบัน 2.5 ลิตร แต่จะเห็นว่ามีกำลังและแรงบิดมากกว่าเดิม (ปัจจุบันเครื่องบล็อก MZR 2.5 ลิตร มีกำลัง 143 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 330 นิวตัน-เมตร) แต่ให้อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่า
จากรายงานของบริษัท มาสด้า เซลส์(ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันปิกอัพมาสด้า บีที-50 เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร เป็นรุ่นหลักที่ทำตลาดประมาณ 95-98% แทบจะไม่มีเครื่องยนต์ขนาด 3.0 ลิตรทำตลาดแล้ว เพราะไม่เป็นที่นิยมของลูกค้า ที่ยังมีอยู่ก็วางในรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ซึ่งขณะนี้ตลาดรถประเภทนี้ลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปนิยมปิกอัพยกสูงแทน ส่วนสาเหตุที่คนหันไปนิยมเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3.0 ลิตร เนื่องจากมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำกว่า ขณะเดียวกันเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ให้กำลังที่ดีขึ้นมาก
แน่นอนนอกจาก 2 พันธมิตรดังกล่าวแล้ว ยังมีปิกอัพโฉมใหม่ที่จะแนะนำสู่ตลาดอีก 2 รุ่น นั่นคือ “อีซูซุ ดีแมคซ์” และ “เชฟโรเลต โคโลราโด” ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ด้วย และเช่นเดียวกันถือเป็นอีกพันธมิตร เพราะรถทั้งสองรุ่นใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน แต่ก็มีการแยกกันพัฒนาในส่วนอื่นๆ มากขึ้น ฉะนั้นโฉมใหม่จึงแทบจะหาความเหมือนกันด้วยตาเปล่าไม่เจอ
จุดแตกต่างที่แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองค่ายเริ่มมีการแยกการพัฒนาชัดเจนที่สุด นอกจากเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกและภายในแล้ว ยังเป็นเครื่องยนต์ที่จะติดตั้งในรถทั้งสองโมเดล เพราะเชฟโรเลต โคโลราโด โฉมใหม่ ค่ายจีเอ็มได้ใช้เครื่องยนต์ของตนเอง ซึ่งมาจากโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดระยอง ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง จีเอ็มกับ V.M.MOTORY บริษัทผู้ผิตเครื่องยนต์จากอิตาลี่ ซึ่งจีเอ็มเข้าไปซื้อหุ้นใหญ่เมื่อ 3-4 ปีก่อน จากรายงานข่าวจะเริ่มผลิตเครื่องยนต์ดีเซลจากโรงงานแห่งนี้ เพื่อจำหน่ายทั่วโลกในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
โดยเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ที่จะนำมาวางใน เชฟโรเลต โคโลราโด ใหม่ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด แต่จากกระแสข่าวจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลใหม่ ขนาด 2.5 และ 2.8 ลิตร ซึ่งจะไม่มีเครื่องยนต์ขนาด 3.0 ลิตรเหมือนปัจจุบันอีกต่อไป เพราะเครื่องยนต์ดังกล่าว จีเอ็มเชื่อว่าสามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้เพียงพอแล้ว ขณะที่อีซูซุ ดีแมคซ์ โฉมใหม่ ตามรายงานข่าวยังจะทำตลาดกับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 2.5 และ 3.0 ลิตรเช่นเดิม ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่พัฒนาจากพื้นฐานของบล็อกปัจจุบัน
จากแนวทางการรุกตลาดของปิกอัพ มิตซูบิชิ ไทรทัน หรือยี่ห้ออื่นๆ ก่อนหน้านั้น รวมถึงปิกอัพโฉมใหม่ที่จะทยอยเปิดตัวสู่ตลาด ได้แสดงให้เห็นทิศทางจากนี้ไป...ปิกอัพเครื่องยนต์เล็ก ขุมพลังแรง จะเป็นกระแสหลักในตลาดปิกอัพไทย?!
เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว ใครเลยจะคาดคิดว่า... ทิศทางตลาดปิกอัพจะเปลี่ยนมานิยมเครื่องยนต์ขนาดเล็กลง เพราะไม่อย่างนั้นคงไม่มีค่ายรถบางราย ปฏิบัติการกล่อมรัฐบาลไทยให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตปิกอัพ 1 ตัน ให้ขยับสเปกเครื่องยนต์จากเดิมไม่เกิน 3.0 ลิตร มาเป็นขนาดไม่เกิน 3.2 ลิตรหรอก และหลายฝ่ายก็เชื่อว่า แนวโน้มจะต้องเป็นเช่นนั้น เนื่องจากปิกอัพจะมีขนาดตัวถังใหญ่ขึ้น และใช้กำลังมากขึ้น การปรับเปลี่ยนสเปกเครื่องยนต์ปิกอัพครั้งนั้น จึงไม่ได้รับการต่อต้านเลย แต่เหตุการณ์วิกฤตพลังงานและราคาน้ำมันปรับพุ่งกระฉูดเมื่อ 2-3 ปีก่อน ประกอบกับพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องยนต์ใหม่ๆ พลิกกลับมาในแนวทาง Downsizing หรือเครื่องยนต์เล็กลง แต่ขุมพลังแรงขึ้น ทำให้เริ่มเห็นการปรับตัวของบริษัทรถมากขึ้นในปัจจุบัน
“เนื่องจากผู้ใช้รถหันมาให้ความสำคัญ กับเรื่องรถที่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำ รวมถึงเรื่องการปล่อยไอเสียน้อยลง ทำให้แนวโน้มตลาดปิกอัพในไทยจากนี้ไป ปิกอัพเครื่องยนต์ขนาดเล็กจะมาทดแทน ปิกอัพที่มีเครื่องยนต์ขนาดตั้งแต่ 3.0 ลิตรขึ้นไป นี่จึงทำให้มิตซูบิชิต้องเปิดตัวเครื่องยนต์ใหม่ 2.5 ลิตร วีจี เทอร์โบ ที่ให้กำลังมากขึ้นเป็น 178 แรงม้า แต่มีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันน้อยกว่ารุ่นเดิม 3.2 ลิตรเดิม”
นั่นเป็นคำกล่าวของ “โนบุยูกิ มูราฮาชิ” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในการให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ในวันเปิดตัวปิกอัพมิตซูบิชิ ไทรทัน และรถอเนกประสงค์แบบพีพีวี มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ต เครื่องยนต์ใหม่ 2.5 ลิตร วีจี เทอร์โบ ใหม่ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของมิตซูบิชิ ไทรทัน และปาเจโร สปอร์ต ใหม่ จุดสำคัญคือการเริ่มถอดเครื่องยนต์ดีเซล 3.2 ลิตร 165 แรงม้า ออกจากไลน์โปรดักซ์(เฉพาะตลาดไทย) แล้วนำเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ 2.5 ลิตร ดีไอดี- ไฮเปอร์คอมมอนเรล 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว วีจี เทอร์โบ อินเตอร์คูลเลอร์ พร้อมท่อร่วมไอดีแบบทวิน อินเทคแมนิโฟลด์ ให้กำลังสูงสุด 178 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาทีมาเสียบแทน โดยในรุ่นเกียร์ธรรมดามีแรงบิดสูงสุดถึง 400 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000-2,800 รอบต่อนาที และเกียร์อัตโนมัติแรงบิดสูงสุดอยู่ที่ 350 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800 - 3,500 รอบต่อนาที
สำหรับเครื่องยนต์ใหม่นี้เป็นการนำบล็อก 4D56 แบบ 4 สูบ ขนาด 2.5 ลิตร ดีไอ-ดี ไฮเปอร์คอมมอนเรล 140 แรงม้า มาปรับปรุงพัฒนาใหม่ โดยติดตั้งระบบเทอร์โปแปรผัน (VG Turbo) พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพหัวฉีด ให้สามารถฉีดเชื้อเพลิงละเอียดและเป็นฝอยมากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการจุดระเบิด ด้วยการลดขนาดรูหัวฉีดลง และเพิ่มเป็น 7 รูหัวฉีด จากเดิมมี 6 รูหัวฉีด นอกจากก็มีการปรับปรุงลูกสูบให้ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น
โดยจุดประสงค์ของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ อย่างที่มูราฮาชิบอกไว้ว่า... “เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งต้องการรถที่ให้ทั้งพละกำลังและประหยัดน้ำมันดีขึ้น และเครื่องยนต์ใหม่นี้ยังผ่านมาตรฐานไอเสียระดับยูโร 4 ที่ไทยจะเริ่มบังคับใช้ในปี 2555 แล้วด้วย”
การพัฒนาเครื่องยนต์เล็กลง แต่มีขุมพลังแรงขึ้น หรือเรียกว่าการ Downsizing นี้ เริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่มรถยนต์นั่ง หรือเก๋งในต่างประเทศ ซึ่งในไทยอาจจะยังไม่เห็นชัดเจนนัก แต่ในส่วนของปิกอัพเริ่มมาในแนวทางนี้แล้ว ดังจะเห็นจากการเปิดตัวเครื่องยนต์ 2.5 วีเอ็น เทอร์โบ ในปิกอัพยกสูงของโตโยต้า ตามความต้องการของลูกค้า หรือการเปิดตัวบุกตลาดปิกอัพไทยของค่าย “ทาทา” ที่เลือกวางเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 2.2 ลิตร140 แรงม้า
แต่ในช่วงครึ่งปีหลังจากนี้ไป จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในตลาดปิกอัพในแนวทาง Downsizing นี้อย่างชัดเจน ที่ค่อนข้างทราบดีกันอยู่แล้ว คงจะเป็นสองพันธมิตร “ฟอร์ด-มาสด้า” ที่จะเปิดตัวปิกอัพโฉมใหม่ของ “ฟอร์ด เรนเจอร์” และ “มาสด้า บีที-50” สู่ตลาดไทยในช่วงปลายปีนี้
สำหรับรูปลักษณ์โฉมใหม่ของปิกอัพทั้งสองโมเดล คงได้เห็นไปหมดแล้ว แต่จุดที่น่าสนใจอีกอย่าง เห็นจะเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ ซึ่งครั้งนี้เป็นวาระของ ฟอร์ด มอเตอร์ ในการพัฒนาเครื่องยนต์ เพื่อวางในปิกอัพทั้งสองรุ่นตามข้อตกลง สลับกับโฉมปัจจุบันของรถทั้งสองโมเดล เครื่องยนต์ที่วางอยู่เป็นเทคโนโลยีของมาสด้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น
โดยเครื่องยนต์ใหม่ที่จะนำมาติดตั้งใน ฟอร์ด เรนเจอร์ และมาสด้า บีที-50 เรียกรหัสรหัส PUMA เป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ดูราทอร์ค TDCi I4 ขนาด 2.2 ลิตร เทอร์โบ 110 กิโลวัตต์ หรือเทียบเท่ากับ 148 แรงม้า พร้อมแรงบิดสูงสุด 375 นิวตัน-เมตร และบล็อกใหญ่ ดูราทอร์ก TDCi I5 ขนาด 3.2 ลิตร เทอร์โบ 147 กิโลวัตต์ หรือ 197 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 470 นิวตัน-เมตร และนอกจากนี้ยังมีเครื่องยนต์เบนซิน ดูราเทค 2.5 ลิตร 122 กิโลวัตต์ เทียบเท่ากับ 164 แรงม้า
แม้เครื่องยนต์ดีเซลใหม่จะมีทั้งเครื่องเล็กและใหญ่ให้เลือก แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ฟอร์ดไม่ได้ยืนตามแนวเดิมของมาสด้า ที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.5 และ 3.0 ลิตร เพราะได้พัฒนาเครื่องยนต์มีทั้งเล็กลงและใหญ่ขึ้น ประมาณว่าตลาดที่ต้องการเรื่องของอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำ ก็เลือกใช้รุ่นเครื่องยนต์ดีเซล 2.2 ลิตร และหากตลาดที่มีบ่อน้ำมันเอง หรือต้องการขุมพลังมากๆ ก็มีรุ่น 3.2 ลิตรให้เลือก
ส่วนประเทศไทยยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ จะเลือกเครื่องยนต์ไหนทำตลาด แต่จากการสอบถามคร่าวๆ ทราบว่าโรงงานออโตอัลลายแอนซ์ หรือเอเอที(AAT) จะผลิตปิกอัพเครื่องยนต์ดีเซลทั้งสองรุ่น เพราะต้องส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งไทยจะไม่ตัดโอกาสหรือทางเลือกของลูกค้า แต่เครื่องยนต์รุ่นหลักที่จะทำตลาดในไทย จะเป็นรุ่น 2.2 ลิตร 147 แรงม้า ที่แม้เครื่องยนต์จะเล็กลงจากปัจจุบัน 2.5 ลิตร แต่จะเห็นว่ามีกำลังและแรงบิดมากกว่าเดิม (ปัจจุบันเครื่องบล็อก MZR 2.5 ลิตร มีกำลัง 143 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 330 นิวตัน-เมตร) แต่ให้อัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำกว่า
จากรายงานของบริษัท มาสด้า เซลส์(ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ปัจจุบันปิกอัพมาสด้า บีที-50 เครื่องยนต์ 2.5 ลิตร เป็นรุ่นหลักที่ทำตลาดประมาณ 95-98% แทบจะไม่มีเครื่องยนต์ขนาด 3.0 ลิตรทำตลาดแล้ว เพราะไม่เป็นที่นิยมของลูกค้า ที่ยังมีอยู่ก็วางในรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ซึ่งขณะนี้ตลาดรถประเภทนี้ลดน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากผู้บริโภคหันไปนิยมปิกอัพยกสูงแทน ส่วนสาเหตุที่คนหันไปนิยมเครื่องยนต์ต่ำกว่า 3.0 ลิตร เนื่องจากมีอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันต่ำกว่า ขณะเดียวกันเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ให้กำลังที่ดีขึ้นมาก
แน่นอนนอกจาก 2 พันธมิตรดังกล่าวแล้ว ยังมีปิกอัพโฉมใหม่ที่จะแนะนำสู่ตลาดอีก 2 รุ่น นั่นคือ “อีซูซุ ดีแมคซ์” และ “เชฟโรเลต โคโลราโด” ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ด้วย และเช่นเดียวกันถือเป็นอีกพันธมิตร เพราะรถทั้งสองรุ่นใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน แต่ก็มีการแยกกันพัฒนาในส่วนอื่นๆ มากขึ้น ฉะนั้นโฉมใหม่จึงแทบจะหาความเหมือนกันด้วยตาเปล่าไม่เจอ
จุดแตกต่างที่แสดงให้เห็นว่า ทั้งสองค่ายเริ่มมีการแยกการพัฒนาชัดเจนที่สุด นอกจากเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกและภายในแล้ว ยังเป็นเครื่องยนต์ที่จะติดตั้งในรถทั้งสองโมเดล เพราะเชฟโรเลต โคโลราโด โฉมใหม่ ค่ายจีเอ็มได้ใช้เครื่องยนต์ของตนเอง ซึ่งมาจากโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดระยอง ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง จีเอ็มกับ V.M.MOTORY บริษัทผู้ผิตเครื่องยนต์จากอิตาลี่ ซึ่งจีเอ็มเข้าไปซื้อหุ้นใหญ่เมื่อ 3-4 ปีก่อน จากรายงานข่าวจะเริ่มผลิตเครื่องยนต์ดีเซลจากโรงงานแห่งนี้ เพื่อจำหน่ายทั่วโลกในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
โดยเครื่องยนต์ดีเซลใหม่ที่จะนำมาวางใน เชฟโรเลต โคโลราโด ใหม่ ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด แต่จากกระแสข่าวจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรลใหม่ ขนาด 2.5 และ 2.8 ลิตร ซึ่งจะไม่มีเครื่องยนต์ขนาด 3.0 ลิตรเหมือนปัจจุบันอีกต่อไป เพราะเครื่องยนต์ดังกล่าว จีเอ็มเชื่อว่าสามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้เพียงพอแล้ว ขณะที่อีซูซุ ดีแมคซ์ โฉมใหม่ ตามรายงานข่าวยังจะทำตลาดกับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล 2.5 และ 3.0 ลิตรเช่นเดิม ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่พัฒนาจากพื้นฐานของบล็อกปัจจุบัน
จากแนวทางการรุกตลาดของปิกอัพ มิตซูบิชิ ไทรทัน หรือยี่ห้ออื่นๆ ก่อนหน้านั้น รวมถึงปิกอัพโฉมใหม่ที่จะทยอยเปิดตัวสู่ตลาด ได้แสดงให้เห็นทิศทางจากนี้ไป...ปิกอัพเครื่องยนต์เล็ก ขุมพลังแรง จะเป็นกระแสหลักในตลาดปิกอัพไทย?!