เช็คอาการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย หลังยอดขาย-ส่งออก 5 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ค.2552) ฟุบไปกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สถาบันยานยนต์เชื่อครึ่งปีหลังสถานการณ์เริ่มนิ่ง เหตุวิกฤตเศรษฐกิจโลกตกลงมาถึงจุดต่ำสุดแล้ว รอเพียงจังหวะฟื้นตัว ด้านบริษัทไฟแนนซ์ส่งสัญญาณผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อ บวกกระแสเก๋งใหม่หลายรุ่นรอคิวเปิดตัว ทั้ง “คัมรี่ ไฮบริด” “แลนเซอร์ ใหม่” และ “มาสด้า 2” ส่งตลาดกลับมาคึกคักแน่นอน
ธุรกิจยานยนต์นับเป็นหนึ่งในดัชนีสะท้อนความรุ่งเรื่องของอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคส่งออกหรือการผลิตเพื่อทำตลาดในประเทศ โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทุกค่ายต้องเผชิญมรสุม และพยายามปรับตัวอย่างหนักกับวิกฤตที่เกิดขึ้น
สถาบันยานยนต์ คือหนึ่งหน่วยงานที่มีส่วนในการกำหนดทิศทาง วางแผนงานและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งมุมมองของผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง จึงน่าสนใจและไม่อาจมองข้ามได้…“ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์ วัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ถึงแนวโน้มและทิศทางอุตสาหกรรมยานยต์ไทย ในช่วงที่เหลือของปีนี้
- สรุปสถานการณ์ครึ่งปีแรก
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ยอดขายรถยนต์ในประเทศและยอดส่งออก น่าจะลดลงระดับเดียวกันคือกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันทั่วโลก ทั้งนี้ถ้ามองลงไปเฉพาะตลาดในประเทศจะเห็นว่าเซกเมนท์รถยนต์นั่งถือว่าได้รับผลกระทบน้อย โดยเฉพาะพวกรถขนาดซับ-คอมแพกต์ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในส่วนปิกอัพ 1 ตัน หรือพวกรถเพื่อการพาณิชย์นั้นอิงอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน จึงเห็นว่ายอดขายหดตัวเกือบ 40%
“เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลกับรถเพื่อการพาณิชย์แน่นอน ส่วนปิกอัพ 1 ตันที่ตลาดกว่า 90% เป็นลูกค้าต่างจังหวัด เชื่อว่ายังมีดีมานแฝงอยู่ เพราะลักษณะประเทศไทย อย่างไรเสียก็เหมาะกับปิกอัพ ดัง
นั้นคงต้อรอเวลา และสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ อันจะส่งผลให้ยอดขายพลิกฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว”
- มองตลาดครึ่งปีหลังอย่างไร
ยอดขายรถยนต์ในตลาดรวมน่าจะหดตัวถึง 25% เมื่อเทียบกับปี 2551 (6.15 แสนคัน) ขณะที่ยอดผลิตเดิมคาดไว้ถึง 1.1 ล้านคัน แต่ล่าสุดได้ปรับเหลือเพียง 9 แสนกว่าคันเท่านั้น แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายไปกว่านี้แล้ว ที่สำคัญแนวโน้มวิกฤตเศรษฐกิจโลกเริ่มนิ่ง หรือลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดแล้ว และเมื่อทิศทางต่างประเทศเริ่มดี ย่อมส่งผลให้ตลาดในประเทศดีตามไปด้วย
นอกจากนี้การที่สถาบันการเงินเริ่มผ่อนปรนเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อ ถือเป็นสัญญาณที่ดี ขณะเดียวกันการเตรียมเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่หลายรุ่น (โตโยต้า คัมรี่ ไมเนอร์เชนจ์ และรุ่นไฮบริด,มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ใหม่, มาสด้า 2)จะเข้ามาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าและสร้างความคึกคักให้ตลาดได้แน่นอน
“ช่วงตลาดซบบริษัทรถยนต์จะทำสองอย่างคือ หนึ่งพยายามลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย สองคือการเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ ซึ่งเรื่องหลังนี้จะเริ่มทำตอนมีสัญญาณตลาดฟื้นตัว และเมื่อเสริมกับโปรโมชั่นส่งเสริมการขายหลากหลายรูปแบบ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น”
- หลายค่ายพยายามกู้เงินเสริมสภาพคล่อง
ที่ผ่านมาหลายบริษัทรถยนต์ มักใช้แหล่งเงินทุนจากประเทศของบริษัทแม่ แต่เมื่อเกิดวิกฤตบริษัทแม่ประสบปัญหาสถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยเงินกู้ ดังนั้นช่วงนี้บริษัทรถยนต์ที่ดำเนินธุรกิจในไทย ต้องหันมากู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศมากขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยต่ำ หรืออยู่ระดับใกล้เคียงกับสถาบันการเงินต่างประเทศ รวมถึงไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ดังนั้นบริษัทรถยนต์จึงตัดสินใจกู้แหล่งเงินในประเทศเพื่อเสริมสภาพคล่อง ขณะเดียวกันสถาบันการเงิน อยากปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ มากกว่าลูกค้าต่างประเทศอยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยก็ควบคุมได้ง่ายกว่า
“ต้องมองว่าวิกฤตช่วงนี้ แตกต่างกับปี 2540 ชัดเจน เพราะไม่เกิดวิกฤตทางการเงิน หรือสถาบันการเงินเองก็ไม่ได้ล้ม เพียงแต่ที่ผ่านมาอาจเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากการไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ แต่นับจากนี้ไปสถานการณ์ต่างๆเริ่มดีขึ้น ทั้งการเมือง และการลงทุน ที่สำคัญถ้าพรก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทผ่านสภา น่าจะเพิ่มความมั่นใจ พร้อมมีเม็ดเงินลงมากระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น”
- ความคืบหน้าในโครงการลงทุนต่างๆ
สำหรับโครงการอีโคคาร์ ไม่มีค่ายรถยนต์ไหนขอปรับลดเงื่อนไข หรือเลื่อนการเปิดตัว ซึ่งอาจจะมีเพียงซูซูกิเพียงรายเดียว ที่บริษัทแม่ประกาศชะลอโครงการออกไปหลังซื้อที่ดินเตรียมทำโรงงานไว้แล้ว แต่ในส่วน 5 ค่ายที่เหลือ (โตโยต้า,ฮอนด้า,นิสสัน,มิตซูบิชิ,ทาทา)กำลังดำเนินการตามแผน
นอกจากนี้การที่บีโอไอ ส่งเสริมประเภทกิจการประกอบรถยนต์ใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทรถยนต์ใหม่ๆเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยเพิ่มเติมนั้น เชื่อว่าไม่มีผลกระทบกับอีโคคาร์ เพราะอีโคคาร์ให้สิทธิประโยชน์ที่สูงกว่า และผ่านการอนุมัติไปแล้ว แต่ถ้ามีการตัดสินใจลงทุนในโครงการใหม่จริง จะช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
ธุรกิจยานยนต์นับเป็นหนึ่งในดัชนีสะท้อนความรุ่งเรื่องของอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคส่งออกหรือการผลิตเพื่อทำตลาดในประเทศ โดยเฉพาะช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทุกค่ายต้องเผชิญมรสุม และพยายามปรับตัวอย่างหนักกับวิกฤตที่เกิดขึ้น
สถาบันยานยนต์ คือหนึ่งหน่วยงานที่มีส่วนในการกำหนดทิศทาง วางแผนงานและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ซึ่งมุมมองของผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง จึงน่าสนใจและไม่อาจมองข้ามได้…“ASTVผู้จัดการมอเตอริ่ง” สัมภาษณ์ วัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ถึงแนวโน้มและทิศทางอุตสาหกรรมยานยต์ไทย ในช่วงที่เหลือของปีนี้
- สรุปสถานการณ์ครึ่งปีแรก
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ยอดขายรถยนต์ในประเทศและยอดส่งออก น่าจะลดลงระดับเดียวกันคือกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกันทั่วโลก ทั้งนี้ถ้ามองลงไปเฉพาะตลาดในประเทศจะเห็นว่าเซกเมนท์รถยนต์นั่งถือว่าได้รับผลกระทบน้อย โดยเฉพาะพวกรถขนาดซับ-คอมแพกต์ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในส่วนปิกอัพ 1 ตัน หรือพวกรถเพื่อการพาณิชย์นั้นอิงอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน จึงเห็นว่ายอดขายหดตัวเกือบ 40%
“เศรษฐกิจไม่ดี ส่งผลกับรถเพื่อการพาณิชย์แน่นอน ส่วนปิกอัพ 1 ตันที่ตลาดกว่า 90% เป็นลูกค้าต่างจังหวัด เชื่อว่ายังมีดีมานแฝงอยู่ เพราะลักษณะประเทศไทย อย่างไรเสียก็เหมาะกับปิกอัพ ดัง
นั้นคงต้อรอเวลา และสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ อันจะส่งผลให้ยอดขายพลิกฟื้นกลับมาได้อย่างรวดเร็ว”
- มองตลาดครึ่งปีหลังอย่างไร
ยอดขายรถยนต์ในตลาดรวมน่าจะหดตัวถึง 25% เมื่อเทียบกับปี 2551 (6.15 แสนคัน) ขณะที่ยอดผลิตเดิมคาดไว้ถึง 1.1 ล้านคัน แต่ล่าสุดได้ปรับเหลือเพียง 9 แสนกว่าคันเท่านั้น แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะไม่เลวร้ายไปกว่านี้แล้ว ที่สำคัญแนวโน้มวิกฤตเศรษฐกิจโลกเริ่มนิ่ง หรือลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดแล้ว และเมื่อทิศทางต่างประเทศเริ่มดี ย่อมส่งผลให้ตลาดในประเทศดีตามไปด้วย
นอกจากนี้การที่สถาบันการเงินเริ่มผ่อนปรนเงื่อนไขในการปล่อยสินเชื่อ ถือเป็นสัญญาณที่ดี ขณะเดียวกันการเตรียมเปิดตัวรถยนต์นั่งรุ่นใหม่หลายรุ่น (โตโยต้า คัมรี่ ไมเนอร์เชนจ์ และรุ่นไฮบริด,มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ใหม่, มาสด้า 2)จะเข้ามาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าและสร้างความคึกคักให้ตลาดได้แน่นอน
“ช่วงตลาดซบบริษัทรถยนต์จะทำสองอย่างคือ หนึ่งพยายามลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย สองคือการเปิดตัวโปรดักต์ใหม่ ซึ่งเรื่องหลังนี้จะเริ่มทำตอนมีสัญญาณตลาดฟื้นตัว และเมื่อเสริมกับโปรโมชั่นส่งเสริมการขายหลากหลายรูปแบบ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น”
- หลายค่ายพยายามกู้เงินเสริมสภาพคล่อง
ที่ผ่านมาหลายบริษัทรถยนต์ มักใช้แหล่งเงินทุนจากประเทศของบริษัทแม่ แต่เมื่อเกิดวิกฤตบริษัทแม่ประสบปัญหาสถาบันการเงินไม่กล้าปล่อยเงินกู้ ดังนั้นช่วงนี้บริษัทรถยนต์ที่ดำเนินธุรกิจในไทย ต้องหันมากู้เงินจากสถาบันการเงินในประเทศมากขึ้น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยต่ำ หรืออยู่ระดับใกล้เคียงกับสถาบันการเงินต่างประเทศ รวมถึงไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ดังนั้นบริษัทรถยนต์จึงตัดสินใจกู้แหล่งเงินในประเทศเพื่อเสริมสภาพคล่อง ขณะเดียวกันสถาบันการเงิน อยากปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ มากกว่าลูกค้าต่างประเทศอยู่แล้ว เพราะอย่างน้อยก็ควบคุมได้ง่ายกว่า
“ต้องมองว่าวิกฤตช่วงนี้ แตกต่างกับปี 2540 ชัดเจน เพราะไม่เกิดวิกฤตทางการเงิน หรือสถาบันการเงินเองก็ไม่ได้ล้ม เพียงแต่ที่ผ่านมาอาจเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากการไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ แต่นับจากนี้ไปสถานการณ์ต่างๆเริ่มดีขึ้น ทั้งการเมือง และการลงทุน ที่สำคัญถ้าพรก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทผ่านสภา น่าจะเพิ่มความมั่นใจ พร้อมมีเม็ดเงินลงมากระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น”
- ความคืบหน้าในโครงการลงทุนต่างๆ
สำหรับโครงการอีโคคาร์ ไม่มีค่ายรถยนต์ไหนขอปรับลดเงื่อนไข หรือเลื่อนการเปิดตัว ซึ่งอาจจะมีเพียงซูซูกิเพียงรายเดียว ที่บริษัทแม่ประกาศชะลอโครงการออกไปหลังซื้อที่ดินเตรียมทำโรงงานไว้แล้ว แต่ในส่วน 5 ค่ายที่เหลือ (โตโยต้า,ฮอนด้า,นิสสัน,มิตซูบิชิ,ทาทา)กำลังดำเนินการตามแผน
นอกจากนี้การที่บีโอไอ ส่งเสริมประเภทกิจการประกอบรถยนต์ใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทรถยนต์ใหม่ๆเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยเพิ่มเติมนั้น เชื่อว่าไม่มีผลกระทบกับอีโคคาร์ เพราะอีโคคาร์ให้สิทธิประโยชน์ที่สูงกว่า และผ่านการอนุมัติไปแล้ว แต่ถ้ามีการตัดสินใจลงทุนในโครงการใหม่จริง จะช่วยเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น