ฟอร์ด จัดงานแถลงข่าวด่วน หลังลูกค้าเหมารวมภาพลักษณ์ติดลบ กรณีจีเอ็ม-ไครส์เลอร์ ล้มละลาย รองประธานฟอร์ดไทยแจงจุดยืนไม่เคยขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐ ยันเข้มแข็ง สภาพคล่องเพียงพอ ส่วนเมืองไทยแม้ยอดขาย 5 เดือนตกตามตลาดกว่า 30% แต่เป็นไปตามคาด เร่งเปิดตัวเก๋งเล็ก“เฟียสต้า” ก่อนกำหนดเดิมหรือปลายไตรมาสแรกปีหน้า เผยวางเครื่องเบนซินพร้อมเกียร์ดูอัลคลัทซ์ แต่ราคาเทียบเท่าคู่แข่ง สุดมั่นยอดขายพุ่งดันส่วนแบ่งการตลาดรวมปีหน้าโตเท่าตัว
นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงกับอุตสาหกรรมยานยนต์อเมริกันมากมาย โดยเฉพาะการยื่นขอล้มละลายของสองค่ายยักษ์ใหญ่ (จีเอ็ม,ไคร์สเลอร์) แต่ในส่วนของฟอร์ดนั้นมีจุดยืนแตกต่างจากคู่แข่ง ที่สำคัญฟอร์ดไม่เคยขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และพร้อมดำเนินธุรกิจอย่างเข้มแข็งตามปกติต่อไป
“แม้สถานการณ์โดยรวมอาจไม่เลิศหรู แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จาก 7 เดือนที่ผ่านมา เรามีส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมฟอร์ดครองถึง 15% นับว่าสูงสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ราคาหุ้นขยับขึ้นจาก 1.99 ดอลลาร์สหรัฐ (11 มี.ค. 52) เป็น 6.41 ดอลลาร์สหรัฐ (5 มิ.ย.52) และเชื่อว่าด้วยแผนการการปรับโครงสร้างทั้งหมด รวมถึงโปรดักต์ใหม่ที่เตรียมเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้บริษัทแม่พ้นจากการขาดทุน และกลับมาอยู่ในจุดคุ้มทุน (Break event point) ในปี 2554 ได้แน่นอน”
สำหรับประเทศไทยแม้ผู้บริโภคจะมีความสับสน และกังวลใจเกี่ยวกับสถานภาพของบริษัท
อยู่พอสมควร แต่บริษัทขอยืนยันว่าธุรกิจ ฟอร์ดในไทยยังเดินหน้าไปได้ดี และพร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ โครงการใหม่ๆตามแผนเดิม โดยวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ โรงงานผลิตรถยนต์ออโต้อัลลายแอนซ์ (AAT)แห่งที่ 2 (ฟอร์ด-มาสด้า) เตรียมทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้กำลังผลิตรวมเพิ่มเป็น 2.75 แสนคันต่อปี แบ่งเป็นการผลิตปิกอัพ 1.75 แสนคัน (คาดยอดผลิตจริงปีนี้ 1.3 แสนคัน) ที่เหลือ 1 แสนคันเป็นรถยนต์นั่งขนาดซับคอมแพกต์รุ่นใหม่ (เฟียสต้า,มาสด้า2)
สาโรช กล่าวเพิ่มว่า ต้องยอมรับว่าถ้าพูดถึงค่ายรถยนต์อเมริกัน ผู้คนส่วนมากต้องนึกถึงฟอร์ดไปด้วย บริษัทจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านภาพลักษณ์จากกรณีดังกล่าว วันนี้จึงอยากชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้อยู่ในสถานะที่มีปัญหา และจะเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความมั่นใจ รวมถึงลงพื้นที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ว่าฟอร์ดเป็นแบรนด์คุณภาพ
"เรามุ่งมั่นขยายการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ซึ่งการลงทุนครั้งสำคัญเพื่อขยายการผลิตของโรงงานเอเอที มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่มีการล่าช้า และเราก็กำลังรอคอยให้ถึงวันเริ่มต้นเดินสายการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กใหม่ในไตรมาส 4 ปีนี้"
นายสาโรช ยังกล่าวถึง ฟอร์ด เฟียสต้า ว่า หลังการเปิดตัวในหลายประเทศทั่วโลก ก็ได้การตอบรับเป็นอย่างดี โดย เฉพาะตลาดยุโรป ที่ทำยอดขายสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งเมื่อรวมรถยนต์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ(แซงหน้าโฟล์คสวาเกน กอล์ฟ) ในส่วนของประเทศไทยบริษัทพยายามเร่งเปิดตัวเร็วกว่ากำหนดเดิม คือเดือนมีนาคมหรือเมษายนปีหน้า
ฟอร์ด เฟียสต้า มากับตัวถัง 4 ประตู และ 5 ประตู ในช่วงแรกจะมีเครื่องยนต์เบนซิน ทำตลาดก่อนและอาจมีเครื่องยนต์ดีเซลตามมา ที่สำคัญเราจะสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความคุ้มค่าด้วยเกียร์ดูอัลคลัซท์(พาวเวอร์ชิฟท์) แบบเดียวกับที่วางในฟอร์ด โฟกัส TCDi ส่วนราคานั้นสมเหตุสมผล สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในเซกเมนท์เดียวกันได้แน่นอน
โดยแนวโน้มของตลาดรถยนต์เมืองไทยมุ่งมาที่รถเก๋งขนาดเล็ก ดังจะเห็นได้จากยอดขายหลังปิดไตรมาสแรกของปี 2552 ที่ตลาดรวมตกกว่า 30% ด้านปิกอัพตกกว่า 40% แต่สวนทางกับรถยนต์ขนาดซับ-คอมแพกต์ ที่มีอัตราเติบโตเป็นบวก โดยบริษัทเชื่อว่าหลังการเปิดตัว เฟียสต้า ใหม่ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 จะได้รับความนิยมพร้อมดันส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทให้เพิ่มขึ้นเป็น 3% จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 1.5%
“อย่างไรก็ตามยอดขายรถยนต์ของบริษัท 5 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ค.2552) แม้ตกไปตามตลาดคือ 33% แต่ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ส่วนตลาดรวมในปีนี้ยอดขายน่าจะปิดประมาณ 4.8 – 5.0 แสนคัน โดยปัจจัยสำคัญต้องจับตาคือราคาน้ำมันที่กำลังขยับตัวสูงขึ้น”นายสาโรชกล่าวตบท้าย
นายสาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงกับอุตสาหกรรมยานยนต์อเมริกันมากมาย โดยเฉพาะการยื่นขอล้มละลายของสองค่ายยักษ์ใหญ่ (จีเอ็ม,ไคร์สเลอร์) แต่ในส่วนของฟอร์ดนั้นมีจุดยืนแตกต่างจากคู่แข่ง ที่สำคัญฟอร์ดไม่เคยขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และพร้อมดำเนินธุรกิจอย่างเข้มแข็งตามปกติต่อไป
“แม้สถานการณ์โดยรวมอาจไม่เลิศหรู แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จาก 7 เดือนที่ผ่านมา เรามีส่วนแบ่งการตลาดในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดในเดือนพฤษภาคมฟอร์ดครองถึง 15% นับว่าสูงสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ราคาหุ้นขยับขึ้นจาก 1.99 ดอลลาร์สหรัฐ (11 มี.ค. 52) เป็น 6.41 ดอลลาร์สหรัฐ (5 มิ.ย.52) และเชื่อว่าด้วยแผนการการปรับโครงสร้างทั้งหมด รวมถึงโปรดักต์ใหม่ที่เตรียมเปิดตัวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้บริษัทแม่พ้นจากการขาดทุน และกลับมาอยู่ในจุดคุ้มทุน (Break event point) ในปี 2554 ได้แน่นอน”
สำหรับประเทศไทยแม้ผู้บริโภคจะมีความสับสน และกังวลใจเกี่ยวกับสถานภาพของบริษัท
อยู่พอสมควร แต่บริษัทขอยืนยันว่าธุรกิจ ฟอร์ดในไทยยังเดินหน้าไปได้ดี และพร้อมเปิดตัวสินค้าใหม่ โครงการใหม่ๆตามแผนเดิม โดยวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ โรงงานผลิตรถยนต์ออโต้อัลลายแอนซ์ (AAT)แห่งที่ 2 (ฟอร์ด-มาสด้า) เตรียมทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้กำลังผลิตรวมเพิ่มเป็น 2.75 แสนคันต่อปี แบ่งเป็นการผลิตปิกอัพ 1.75 แสนคัน (คาดยอดผลิตจริงปีนี้ 1.3 แสนคัน) ที่เหลือ 1 แสนคันเป็นรถยนต์นั่งขนาดซับคอมแพกต์รุ่นใหม่ (เฟียสต้า,มาสด้า2)
สาโรช กล่าวเพิ่มว่า ต้องยอมรับว่าถ้าพูดถึงค่ายรถยนต์อเมริกัน ผู้คนส่วนมากต้องนึกถึงฟอร์ดไปด้วย บริษัทจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านภาพลักษณ์จากกรณีดังกล่าว วันนี้จึงอยากชี้แจงว่าบริษัทไม่ได้อยู่ในสถานะที่มีปัญหา และจะเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความมั่นใจ รวมถึงลงพื้นที่จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ว่าฟอร์ดเป็นแบรนด์คุณภาพ
"เรามุ่งมั่นขยายการดำเนินงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา ซึ่งการลงทุนครั้งสำคัญเพื่อขยายการผลิตของโรงงานเอเอที มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องไม่มีการล่าช้า และเราก็กำลังรอคอยให้ถึงวันเริ่มต้นเดินสายการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กใหม่ในไตรมาส 4 ปีนี้"
นายสาโรช ยังกล่าวถึง ฟอร์ด เฟียสต้า ว่า หลังการเปิดตัวในหลายประเทศทั่วโลก ก็ได้การตอบรับเป็นอย่างดี โดย เฉพาะตลาดยุโรป ที่ทำยอดขายสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งเมื่อรวมรถยนต์ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ(แซงหน้าโฟล์คสวาเกน กอล์ฟ) ในส่วนของประเทศไทยบริษัทพยายามเร่งเปิดตัวเร็วกว่ากำหนดเดิม คือเดือนมีนาคมหรือเมษายนปีหน้า
ฟอร์ด เฟียสต้า มากับตัวถัง 4 ประตู และ 5 ประตู ในช่วงแรกจะมีเครื่องยนต์เบนซิน ทำตลาดก่อนและอาจมีเครื่องยนต์ดีเซลตามมา ที่สำคัญเราจะสร้างความแตกต่าง และเพิ่มความคุ้มค่าด้วยเกียร์ดูอัลคลัซท์(พาวเวอร์ชิฟท์) แบบเดียวกับที่วางในฟอร์ด โฟกัส TCDi ส่วนราคานั้นสมเหตุสมผล สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในเซกเมนท์เดียวกันได้แน่นอน
โดยแนวโน้มของตลาดรถยนต์เมืองไทยมุ่งมาที่รถเก๋งขนาดเล็ก ดังจะเห็นได้จากยอดขายหลังปิดไตรมาสแรกของปี 2552 ที่ตลาดรวมตกกว่า 30% ด้านปิกอัพตกกว่า 40% แต่สวนทางกับรถยนต์ขนาดซับ-คอมแพกต์ ที่มีอัตราเติบโตเป็นบวก โดยบริษัทเชื่อว่าหลังการเปิดตัว เฟียสต้า ใหม่ ช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 จะได้รับความนิยมพร้อมดันส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทให้เพิ่มขึ้นเป็น 3% จากเดิมที่มีอยู่ประมาณ 1.5%
“อย่างไรก็ตามยอดขายรถยนต์ของบริษัท 5 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ค.2552) แม้ตกไปตามตลาดคือ 33% แต่ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ส่วนตลาดรวมในปีนี้ยอดขายน่าจะปิดประมาณ 4.8 – 5.0 แสนคัน โดยปัจจัยสำคัญต้องจับตาคือราคาน้ำมันที่กำลังขยับตัวสูงขึ้น”นายสาโรชกล่าวตบท้าย