รอยเตอร์ – นักวิเคราะห์และผู้ผลิตรถยนต์ระบุวานนี้ (1) ว่า บรรดาผู้ผลิตรถในเอเชียต่างเตรียมหาทางป้องกันตนเอง จากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังที่เจนเนอรัล มอเตอร์ คอร์ป (จีเอ็ม) ของสหรัฐฯ ประกาศขอล้มละลาย โดยเฉพาะในส่วนของกิจการร่วมทุนผลิต นอกจากนั้น ผู้ผลิตรถเอเชียยังคาดว่าจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยืนยันในวันอาทิตย์(31พ.ค.)ว่า จีเอ็มซึ่งเป็นบริษัทที่ยืนยงมาถึง 100 ปี จะประกาศขอล้มละลายในวันจันทร์ (1) อันจะกลายเป็นกรณีการล้มละลายที่ใหญ่เป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปรับโครงสร้างกิจการให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์ในเอเชียซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าได้นั่นเอง
“ความหมายของการล้มละลายข้อแรกสุดก็คือว่า บริษัทจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมและก็จะมีส่วนแบ่งตลาดให้ช่วงชิงกันเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าคู่แข่งอย่างโตโยต้า ฮอนดา นิสสัน และฮุนได ต่างกำลังจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม” คริสโตเฟอร์ ริชเตอร์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์ของซีแอลเอสเอ เอเชีย-แปซิฟิก มาร์เก็ต ในโตเกียวระบุ
ขณะนี้ผู้ผลิตรถยนต์เอเชียยังต้องรอดูรายละเอียดของแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าว แต่ก็แสดงความวิตกถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องการจ้างงานและยอดขายรถยนต์ด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่มีข่าวการประกาศล้มละลายดังกล่าว ราคาหุ้นของบริษัทรถยนต์ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า หรือนิสสันต่างก็ขยับขึ้นตามกัน
ในส่วนของโตโยต้านั้น บริษัทระบุว่ายังต้องการที่จะดำเนินการผลิตต่อไปในโรงงานที่ร่วมทุนกับจีเอ็มในแคลิฟอร์เนีย หลังจากที่ดำเนินงานมานานถึง 25 ปีแล้ว และได้รับแจ้งจากทางจีเอ็มแล้วเช่นกันว่า จีเอ็มก็เห็นด้วย
ทว่า แหล่งข่าวรายหนึ่งจากโตโยต้าบอกว่า เจ้าของกิจการจีเอ็มรายใหม่ ซึ่งก็คือรัฐบาลสหรัฐฯ อาจมีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้นโตโยต้าจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับ “สถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ต่างๆ นานา” โดยอาจรวมถึงการขอซื้อหุ้นของจีเอ็มในโรงงานดังกล่าว ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวผลิตรถยนต์โตโยต้าเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว
“เราหวังว่าการขอล้มละลายจะช่วยในจีเอ็มมีเสถียรภาพมากขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาที่เข้มแข็งสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ โดยภาพรวม” โตโยต้าแถลง
ปัจจุบันจีเอ็มว่าจ้างพนักงานอยู่ทั้งหมดถึง 92,000 คนในสหรัฐฯ และยังมีส่วนรับผิดชอบโดยทางอ้อมต่อผู้เกษียณอายุแล้วอีกราว 500,000 คน
ส่วนฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถอันดับสองของญี่ปุ่นและมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐฯ แซงหน้าไครสเลอร์ ก็ได้เตรียมสต๊อกชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ไว้เพื่อป้องกันปัญหาด้านซัปพลายหลังจากที่จีเอ็มล้มละลาย อีกทั้งยังสั่งซื้อเบ้าหล่อสำรองจากผู้ผลิตรายย่อยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนประกอบให้เพียงพอ
“เรารู้ว่าสถานการณ์ของจีเอ็มกำลังย่ำแย่ ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมรับมือไว้หลายๆ ทาง” โฆษกของฮอนด้ากล่าว “แต่สำหรับเฉพาะหน้านี้ เราหวังว่าจะการผลิตจะไม่มีปัญหาติดขัดอะไร”
ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ป และอิซูซุ มอเตอร์ เป็นสองบริษัทที่ร่วมมือกับจีเอ็มด้านการผลิตโดยตรง แต่ทั้งสองบริษัทระบุว่าได้มีแผนที่จะสานต่อโครงการที่ร่วมมือกับจีเอ็มต่อไป เว้นเสียแต่ว่าเมื่อจีเอ็มปรับโครงสร้างใหม่แล้วจะเปลี่ยนท่าทีเป็นอื่น
ส่วนโฆษกของจีเอ็มที่ดูแลเรื่องโครงการร่วมทุนของจีเอ็มกับผู้ผลิตรถยนต์ในเกาหลีใต้และจีนปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ในขณะนี้
ทาเคโอะ คาวามูระ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่ายังไม่มีหลักฐานใดๆ ชี้ว่าบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบมากนัก แต่รัฐบาลก็จะ “เฝ้าจับตาดูเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด” เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนประกอบต่งๆ ของญี่ปุ่นจะดำเนินไปอย่างราบรื่น”
พวกเจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ยืนยันในวันอาทิตย์(31พ.ค.)ว่า จีเอ็มซึ่งเป็นบริษัทที่ยืนยงมาถึง 100 ปี จะประกาศขอล้มละลายในวันจันทร์ (1) อันจะกลายเป็นกรณีการล้มละลายที่ใหญ่เป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะปรับโครงสร้างกิจการให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรถยนต์ในเอเชียซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่าได้นั่นเอง
“ความหมายของการล้มละลายข้อแรกสุดก็คือว่า บริษัทจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมและก็จะมีส่วนแบ่งตลาดให้ช่วงชิงกันเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าคู่แข่งอย่างโตโยต้า ฮอนดา นิสสัน และฮุนได ต่างกำลังจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม” คริสโตเฟอร์ ริชเตอร์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์ของซีแอลเอสเอ เอเชีย-แปซิฟิก มาร์เก็ต ในโตเกียวระบุ
ขณะนี้ผู้ผลิตรถยนต์เอเชียยังต้องรอดูรายละเอียดของแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าว แต่ก็แสดงความวิตกถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องการจ้างงานและยอดขายรถยนต์ด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่มีข่าวการประกาศล้มละลายดังกล่าว ราคาหุ้นของบริษัทรถยนต์ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า หรือนิสสันต่างก็ขยับขึ้นตามกัน
ในส่วนของโตโยต้านั้น บริษัทระบุว่ายังต้องการที่จะดำเนินการผลิตต่อไปในโรงงานที่ร่วมทุนกับจีเอ็มในแคลิฟอร์เนีย หลังจากที่ดำเนินงานมานานถึง 25 ปีแล้ว และได้รับแจ้งจากทางจีเอ็มแล้วเช่นกันว่า จีเอ็มก็เห็นด้วย
ทว่า แหล่งข่าวรายหนึ่งจากโตโยต้าบอกว่า เจ้าของกิจการจีเอ็มรายใหม่ ซึ่งก็คือรัฐบาลสหรัฐฯ อาจมีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้นโตโยต้าจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับ “สถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ต่างๆ นานา” โดยอาจรวมถึงการขอซื้อหุ้นของจีเอ็มในโรงงานดังกล่าว ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวผลิตรถยนต์โตโยต้าเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว
“เราหวังว่าการขอล้มละลายจะช่วยในจีเอ็มมีเสถียรภาพมากขึ้นและนำไปสู่การพัฒนาที่เข้มแข็งสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์สหรัฐฯ โดยภาพรวม” โตโยต้าแถลง
ปัจจุบันจีเอ็มว่าจ้างพนักงานอยู่ทั้งหมดถึง 92,000 คนในสหรัฐฯ และยังมีส่วนรับผิดชอบโดยทางอ้อมต่อผู้เกษียณอายุแล้วอีกราว 500,000 คน
ส่วนฮอนด้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถอันดับสองของญี่ปุ่นและมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐฯ แซงหน้าไครสเลอร์ ก็ได้เตรียมสต๊อกชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ไว้เพื่อป้องกันปัญหาด้านซัปพลายหลังจากที่จีเอ็มล้มละลาย อีกทั้งยังสั่งซื้อเบ้าหล่อสำรองจากผู้ผลิตรายย่อยเพื่อรองรับการผลิตชิ้นส่วนประกอบให้เพียงพอ
“เรารู้ว่าสถานการณ์ของจีเอ็มกำลังย่ำแย่ ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมรับมือไว้หลายๆ ทาง” โฆษกของฮอนด้ากล่าว “แต่สำหรับเฉพาะหน้านี้ เราหวังว่าจะการผลิตจะไม่มีปัญหาติดขัดอะไร”
ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ป และอิซูซุ มอเตอร์ เป็นสองบริษัทที่ร่วมมือกับจีเอ็มด้านการผลิตโดยตรง แต่ทั้งสองบริษัทระบุว่าได้มีแผนที่จะสานต่อโครงการที่ร่วมมือกับจีเอ็มต่อไป เว้นเสียแต่ว่าเมื่อจีเอ็มปรับโครงสร้างใหม่แล้วจะเปลี่ยนท่าทีเป็นอื่น
ส่วนโฆษกของจีเอ็มที่ดูแลเรื่องโครงการร่วมทุนของจีเอ็มกับผู้ผลิตรถยนต์ในเกาหลีใต้และจีนปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ ในขณะนี้
ทาเคโอะ คาวามูระ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่ายังไม่มีหลักฐานใดๆ ชี้ว่าบริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่นจะได้รับผลกระทบมากนัก แต่รัฐบาลก็จะ “เฝ้าจับตาดูเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด” เพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนประกอบต่งๆ ของญี่ปุ่นจะดำเนินไปอย่างราบรื่น”